Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

Alphabet บริษัทแม่ของ Google จะทำการรวมระบบปฎิบัติการ Chrome OS เข้ากับ Android

ก่อนหน้านี้ทาง Google ได้ทำการเปิดตัวบริษัท Alphabet ที่จะกลายมาเป็นบริษัทใหญ่ในการดูแลบริหารโครงการของ Google ทั้งหมด ออกมาครับ หลังจากนั้นไม่นานเท่าไรนักทางบริษัท Alphabet

ก่อนหน้านี้ทาง Google ได้ทำการเปิดตัวบริษัท Alphabet ที่จะกลายมาเป็นบริษัทใหญ่ในการดูแลบริหารโครงการของ Google ทั้งหมด ออกมาครับ หลังจากนั้นไม่นานเท่าไรนักทางบริษัท Alphabet ก็ได้ทำการเปิดแผนการของ Google(ซึ่งกลายเป็นบริษัทลูกของ Alphabet ไปแล้ว) ออกมาว่าจะทำการรวมระบบปฎิบัติการอย่าง Chrome ที่ถูกใช้งานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(Chromebook และ Chromebox) เข้ากับระบบปฎิบัติการ Android ที่ถูกใช้งานสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่เข้าด้วยกันครับ

Chrome OS combine with Android 600

Advertisement

ตามข้อมูลนั้นวิศวกรของ Google ได้จัดการตามแผนการรวมปฎิบัติการดังกล่าวมาได้ประมาณ 2 ปีแล้วครับ โดยกระบวนการควบรวมระบบปฎิบัติการดังกล่าวนั้นเริ่มเป็นไปด้วยดีในช่วงไม่นานที่ผ่านมานี้ ทีมงานวิศวกรของบริษัทได้ออกมาพูดว่าทางบริษัทมีแผนการที่จะเผยข้อมูลการรวมตัวดังกล่าวออกมาอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ และคาดว่าจะสามารถโชว์ตัวระบบปฎิบัติการที่ถูกรวมกันเวอร์ชันแรกๆ ได้ในปี 2016 และหากไม่มีอะไรผิดพลาดในปี 2017 นั้นการควบรวมระบบปฎิบัติการเป็นหนึ่งเดียวนี้ก็จะสมบูรณ์ครับ

การเคลื่อนไหวในครั้งนี้นั้นดูเป็นเพราะว่า Android และ Chrome OS นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Google อีกต่อไปครับ และจากอดีตที่ผ่านมานั้น Android เป็นระบบปฎิบัติการที่ได้รับความนิยมมากโดยมีอุปกรณ์ที่ใช้งานระบบปฎิบัติการ Android เกินกว่า 1 พันล้านอุปกรณ์เลยทีเดียว ทว่ากับ Chrome OS แล้วสามารถที่จะแย่งส่วนแบ่งในตลาดคอมพิวเตอร์ PC ได้แค่ประมาณ 3% เท่านั้น

ความแตกต่างของ Chrome OS และ Android นั้นค่อนข้างที่จะชัดเจนครับ โดย Chrome OS นั้นเป็นระบบปฎิบัติการที่เป็น cloud-base ซึ่งอาศัยการทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ที่ทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ Chrome OS นั้นค่อนข้างจะมีราคาถูก ส่วน Android นั้นเป็นระบบปฎิบัติการที่เน้นไปทางด้านซอฟต์แวร์และการลงแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เพื่อที่จะทำการใช้งานมากกว่า ซึ่งตอนที่ Google ทำการพัฒนาระบบปฎิบัติการทั้ง 2 ขึ้นมานั้น Google เองก็ไม่สามารถทราบได้ครับว่าแนวคิดของระบบปฎิบัติการแบบไหนที่จะประสบความสำเร็จกันแน่ แต่ ณ ปัจจุบันนี้เราเห็นกันได้ชัดเจนแล้วครับ

ตามแนวทางแล้ว Google ก็จะทำการรวมระบบปฎิบัติการทั้ง 2 โดยใช้ Android เป็นพื้นฐานสำคัญ ซึ่งใน Android เวอร์ชันใหม่นั้นผู้ใช้จะสามารถทำการเข้าถึง Google Play Store ได้ด้วย ซึ่งในตอนนี้ใน Google Play Store เองก็มีแอปพลิเคชันมากกว่าล้านแอปพลิเคชันแล้ว ในส่วนของ Chrome OS นั้นก็จะถูกปล่อยให้เป็นระบบปฎิบัติการแบบ open source ต่อไปและสำหรับผู้ใช้เก่าก็ไม่ต้องกังวลว่า Google จะทิ้ง Chrome OS เพราะวิศวกรของบริษัทก็จะยังคงบำรุงรักษาดูแลระบบต่อไปครับ(เพียงแต่ว่าจะมุ่งเน้นกำลังไปกับ Android เพื่อที่จะทำให้สามารถรันบนโน๊ตบุ๊คได้ดีมากขึ้นแทน)

หมายเหตุ – Chromebook นั้นจะถูกใช้ชื่อเรียกใหม่ซึ่งยังคงไม่ทราบว่าจะเป็นชื่ออะไรกันแน่ แต่ในส่วนของชื่อเบราว์เซอร์ของตัวเองอย่าง Chrome นั้นจะยังคงถูกสงวนไว้เป็นชื่อเดิมทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการลดความซ้ำซ้อนของชื่อครับ

ที่มา : The Wall Street Journal

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

How to

ในยุคนี้เมื่อแทบทุกงานในชีวิตต้องใช้อินเทอร์เน็ต ถ้าโน๊ตบุ๊คเชื่อมต่อ WiFi ไม่ได้เมื่อไหร่ก็เป็นเรื่อง ทำงานลำบากอัปเดตงานกับเพื่อนร่วมงานไม่ได้หรือแม้แต่เปิดดูสตรีมมิ่งเสพย์ความบันเทิงไม่ได้ ทำเอาใครหลายคนหงุดหงิดไม่อยากเจอปัญหาแบบนี้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ยังพอมีวิธีแก้ปัญหาได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องยกคอมไปหาช่างให้วุ่นวาย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นอาจจะใช้ 1 ใน 7 วิธีนี้อาจแก้ปัญหาได้แถมอาจจะช่วยเพื่อนที่เจอปัญหาเดียวกันได้ด้วย โน๊ตบุ๊คเชื่อมต่อ WiFi ไม่ได้ด้วยหลายเหตุผล แต่ก็สันนิษฐานปัญหาได้ไม่ยาก! ปัญหาหลักเวลาโน๊ตบุ๊คเชื่อมต่อ WiFi ไม่ได้ เพราะบางคนเผลอกด Airplane mode อยู่...

CONTENT

Google services 7 บริการที่เคยมี แต่วันนี้หายไป มีอะไรบ้าง ตามที่มีข้อมูลออกมา ก็นับเป็นเวลานานมากแล้วที่ Google services มีนโยบายค่อนข้างเปิดกว้างให้กับพนักงานของตนเองได้ลองเสนอไอเดีย สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมา เราจึงได้เห็นว่าจะมีบริการใหม่ออกมาอยู่เสมอ บางตัวก็ได้รับการใช้งานจนติดตลาดและกลายเป็นหนึ่งในบริการหลักไปเลย แต่บางตัวที่อาจจะได้รับความนิยมน้อยหน่อย หรือมีการปรับเปลี่ยนแนวทางภายใน เราก็มักจะเห็น Google ปิดบริการเหล่านั้น หรือยุบไปรวมกับบริการอื่นแทน ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่ามีบริการใดบ้างที่ถูกปิดไปแล้ว ซึ่งบางตัวก็ต้องบอกว่ามันใช้งานได้ดีในยุคนั้น...

Special Story

WiFi Speed Test เปิดเว็บช้า เน็ตอืด ไม่ทันใจ เช็คได้จาก 5 เว็บนี้ WiFi Speed Test เป็นเว็บอีกประเภทที่หลายคนรู้จักแต่ก็ไม่ได้เข้าบ่อย อย่างมากก็ตอนรู้สึกได้ว่าเน็ตช้าหรือต่อแล้วไม่ติดเปิดเว็บไม่ไป ก็จะเข้ามาทดสอบความเร็วกันว่าเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเราเสียหรือเกิดจากเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์นั้นล่มกันแน่ จะได้ทำความเข้าใจได้ถูกต้อง แต่ข้อดีอีกอย่างของเว็บทดสอบความเร็วพวกนี้ คือ ใช้ช่วยเช็คคอมเวลามีปัญหา Download/Upload ได้ไม่เต็มความเร็วแพ็คเกจได้ด้วย โดยเฉพาะคนอยู่ในหมู่บ้านแล้วมีต้นไม้เยอะโดนกระรอกกัดสายเน็ตเสียหายหรือ Hub สัญญาณต้นทางมีปัญหาก็สามารถแจ้งทางผู้ให้บริการเข้ามาดูแลได้ทันที...

Buyer's Guide

แท็บเล็ตราคาไม่เกิน 3000 บาทอยากซื้อไว้ดูหนังหรืออ่านหนังสือก็ได้นะ! แม้แท็บเล็ตราคาไม่เกิน 3000 บาทจะดูราคาไม่แพงมากจนบางคนติดภาพว่าประสิทธิภาพของมันคงทำอะไรไม่ได้มาก แต่จริงๆ แล้วชิปเซ็ตยุคใหม่นี้ก็มีประสิทธิภาพดีขึ้นพอควร จะใช้ดูคลิปบน YouTube หรือใช้เป็น Ebook Reader ก็ยังได้ แถมส่วนใหญ่ติดตั้งพอร์ต USB-C มาให้โอนไฟล์และชาร์จแบตเตอรี่แล้ว และขนาดตัวเครื่องก็พกพาง่ายเพียง 8 นิ้วเท่านั้น จึงหยิบใส่กระเป๋าไปไหนมาไหนได้ง่ายขึ้นมาก อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นแท็บเล็ตราคาประหยัดทำให้ผู้ผลิตไม่ค่อยอัปเดตเวอร์ชั่น Android ให้เป็นปัจจุบันนัก...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก