อาจจะห่างหายไปจากบ้านเราสักระยะหนึ่ง สำหรับโน๊ตบุ๊คที่มักจะนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาให้เราสัมผัสกันอย่าง Toshiba นี้ ที่เชื่อว่าหลายคนยังคงจำ โน๊ตบุ๊คในซีรีส์ Portege หรือ Qosmio ซึ่งเป็นโน๊ตบุ๊คเรือธง ที่มาพร้อมกับความแตกต่าง ด้วยฟีเจอร์ที่สร้างประสบการณ์ให้กับผู้ใช้หลายๆ คน เช่นเดียวกับการมาของ Portege Z20t รุ่นนี้ ต้องถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คในกลุ่มของนักธุรกิจหรือผู้ใช้ที่เน้นความบางเบาเป็นพิเศษ พร้อมกับหน้าจอแสดงผล Full-HD แบบสัมผัส และถอดออกได้ในรูปแบบของไฮบริด โดยมีปากกาแบบ Wacom Stylus และเอาใจผู้ใช้ที่ชอบการใช้งานแบบนานๆ ด้วยแบตเตอรี่ที่ระบุไว้ถึง 15 ชั่วโมงเลยทีเดียว จากแบตเตอรี่ 2 ชุดบนตัวเครื่องและชุดคีย์บอร์ด
Toshiba Portege Z20t เน้นไปที่ความคล่องตัวในการใช้งาน สะดวกในการพกพา น้ำหนักเบา ที่สอดคล้องกับรูปแบบการใช้งานในชีวิตประจำวัน ด้วยฟังก์ชั่นที่ตอบสนองกับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ได้อย่างเต็มที่ เช่นเดียวกับการสนับสนุน Windows 10 ที่มาพร้อมกับดีไซน์ทันสมัยตามสไตล์ของ Portege
Specification
Toshiba Portege Z20t มาพร้อมกับขุมพลังที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบนี้ เป็นซีพียูในระดับ Ultrabook หรือ Hybrid กับซีพียู Intel Core M-5Y71 ที่เป็นซีพียูในกลุ่ม Ultra mobile กับความเร็ว 1.20GHz ทำงานในแบบ 2 Core/ 4 Thread แต่ใช้พลังงานต่ำ ในช่วงของการ idle ประมาณ 4.5W เท่านั้น จึงให้ระยะการทำงานได้ยาวนานยิ่งขึ้น รองรับการทำงานทั้งซอฟต์แวร์สำนักงาน และความบันเทิง โดยมีหน้าจอแสดงผล 12.5″ แต่ให้ความละเอียดได้ในระดับ Full-HD หรือ 1920 x 1080 pixel ซึ่งให้แรม DDR3 มาถึง 8GB และฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงในแบบ SSD 256GB และกราฟฟิกจาก Intel HD Graphic 5300 เดี่ยวๆ ไม่มีชิปอื่นที่เป็น Discrete graphic เพิ่มเติมมาให้
พร้อมกันนี้ Toshiba Portege Z20t ยังมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง USB 3.0 มาให้จำนวน 2 พอร์ต และพอร์ต RJ-45 พร้อมพอร์ตแสดงผล HDMI และ D-Sub ที่อยู่บน Keyboard docking ส่วนตัวเครื่องหลัก ยังเติมพอร์ต micro-USB และ micro-HDMI รวมถึงสล็อตสำหรับอ่านมีเดียการ์ดในแบบ microSD มาให้ด้วย และช่องต่อหูฟังมาในตัว กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้อองหลัง 8 ล้านพิกเซล สนับสนุนการเชื่อมต่อ Wireless 802.11 b/g/n และ Bluetooth 4.0 โดยมีน้ำหนักรวมอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม เมื่อรวมคีย์บอร์ดเข้าไปด้วย จัดว่าสบายๆ พกพาง่ายจริงๆ
Hardware / Design
หากดูที่กลุ่มตลาดของ Toshiba Portege Z20t นี้จะสังเกตได้ว่าฉีกออกมาจาก Portege เดิมที่เราคุ้นเคยกันพอสมควร โดยยังคงกลิ่นอายของ Mobility อยู่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการเติมฟังก์ชั่นของทัชแพดที่กว้างขึ้นและใส่ TrackPoint เพิ่มเข้าไปในตัว ยังไม่นับรวมของการทำเป็นไฮบริด ที่สามารถแยกเป็น Tablet mode เพื่อสนองความต้องการในการพกพาหรือจะใช้งานเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับทำงานแบบจริงจังก็ต่อคีย์บอร์ดกลับเข้าไปเพื่อใช้งานตามปกติ ด้วยวัสดุที่เรียบลื่น อาจทำให้การจับถือดูแปลกๆ อยู่บ้าง แต่ในแง่ของความสวยงามให้คุณภาพงานประกอบออกมาดีทีเดียว รวมถึงการใช้แถบบานพับอลูมิเนียม บอดี้ส่วนที่บางสุดไม่ถึง 2cm ก็ทำให้ดูเพรียวบาง
ด้วยน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ที่ถือว่าอยู่ในระดับปกติของโน๊ตบุ๊คในกลุ่มไฮบริดทั่วไป แต่อาจจะดูหนักขึ้นเล็กน้อย ด้วยความที่ใช้วัสดุโครงสร้างที่แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งก็คงยังสะดวกต่อการพกพาในการเดินทางหรือใช้งาน เพราะสามารถแยกส่วนที่เป็นตัวเครื่องแท็ปเล็ตออกจากคีย์บอร์ดได้ และวัสดุที่จับถือง่าย ด้วยความบางถนัดมือ จึงนำไปใช้งานยังที่ต่างๆ ได้สบาย เพียงแต่ว่าถ้าทำขอบให้มีส่วนที่ยึดเกาะกับมือได้บ้างก็คงดีไม่น้อย จะช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นหลุดมือ แต่ด้วยน้ำหนักที่เบาและขนาดที่บาง ก็ช่วยในการเคลื่อนย้ายไปใช้งานได้สะดวก
ทั้งนี้เรื่องของการออกแบบยังคงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากรูปลักษณ์เดิมบน Portege ที่ผ่านมาพอสมควร ตั้งแต่การจัดวางโลโก้ไปไว้ที่มุมล่างของฝา Cover โดยมีไฟแสดงสถานะให้เห็นเพียง 2 จุดที่ด้านข้างคีย์บอร์ดสำหรับเพาเวอร์และแบต ส่วนปุ่มเพาเวอร์จะอยู่ที่ตัวจอหรือส่วนที่เป็นแท็ปเล็ต ซึ่งอาจจะดูหายากไปบ้าง แต่ใช้มือสัมผัสดูสักระยะก็จะเริ่มชิน เช่นเดียวกับปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง ก็ย้ายมาอยู่ในจัดเดียวกับ Power ด้วยเช่นกัน เพื่อให้การใช้งานในแบบ Tablet mode สะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ปุ่มต่างๆ อาจจะเล็กไปบ้าง แต่อย่างน้อยก็เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานเมื่อแยกส่วนออกจากคีย์บอร์ดนั่นเอง
Keyboard / Touchpad
ในส่วนของคีย์บอร์ดบน Portege Z20t นี้เป็นแบบ Chiclet-style ให้ความรู้สึกในการสัมผัสที่นุ่มนวลบนความสูงของคีย์ประมาณ 1.25mm และยังเป็น spill-resistant พร้อมกับ Pointing stick ที่อยู่ระหว่างปุ่ม G และ H รวมถึงมีปุ่ม Function มาครบแถว ประกอบไปด้วย ล็อคเครื่อง, สลับหน้าจอ, ปิดการทำงานทัชแพด, และปรับความสว่างและเสียง ให้การตอบสนองในการกดปุ่มได้อย่างนุ่มนวล ด้วยระยะห่างของปุ่มที่มากพอ ช่วยให้การพิมพ์ไม่สะดุดเพราะนิ้วไปโดนปุ่มอื่นแบบไม่ได้ตั้งใจ ที่น่าสนใจคือ มีไฟ Backlit เรืองแสงใต้ปุ่ม ให้สามารถมองเห็นในที่แสงน้อยได้ชัดเจน ถือว่ามีการจัดวางองค์ประกอบได้ค่อนข้างลงตัว
ทัชแพดบน Portege Z20t นี้ มีขนาด 4″ x 2″ เทียบสัดส่วนบนพื้นที่ดูกว้างพอตัวทีเดียว ให้ฟีเจอร์ในการใช้งานปุ่มกดซ้าย-ขวามา 2 ชุด ซึ่งปกติจะมีปุ่มถูกวางให้อยู่ในพื้นผิวเดียวกัน โดยใช้รอยบากเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับการบอกถึงปุ่มกด และอีกส่วนหนึ่งเป็นปุ่มคลิกซ้าย-ขวา อยู่ด้านบนของทัชแพดเพื่อใช้งานร่วมกับ Pointing stick สีฟ้าสดใสที่อยู่ด้านบน เอาใจคนที่ชอบการคอนโทรลที่รวดเร็ว ซึ่งการเคลื่อนไหวของเคอร์เซอร์เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยที่ตัวทัชแพดเองก็มีฟังก์ชั่น แตะคลิก ย่อ-ขยายได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี Stylus ที่เป็นแบบ Wacom-powered stylus มาให้ในตัวสำหรับการเขียนหรือวาดลวดลาย จดบันทึกหรือสิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการลงบนหน้าจอ ซึ่งผู้ใช้สามารถดึงปากกานี้ได้หลังจากที่ถอดส่วนที่เป็นหน้าจอออกจากส่วนที่เป็นคีย์บอร์ดแล้ว ด้วยการดึงออกมาแบบง่ายๆ เท่านั้น โดยที่ Stylus นี้ ยังมีฟังก์ชั่นในการกดปุ่มมาด้วย 2 ปุ่ม โดยมีซอฟต์แวร์ Wacom ที่ช่วยในการตั้งค่า เพื่อทำงานร่วมกับหน้าจอแบบมัลติทัชที่รองรับได้ถึง 10 จุดด้วยกัน ซึ่งนั่นก็ทำให้การท่องเว็บ จดบันทึกหรือวาดภาพและการตรวจเช็คเอกสารต่างๆ ทำได้สะดวกทีเดียว เพียงแต่อาจจะมีขนาดเล็กไปบ้าง แต่เท่าที่ลองใช้คิดว่าถ้าปรับใช้สักระยะน่าชินมือไปเอง เรื่องของน้ำหนักการกดเขียน เมื่อทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์พื้นฐานอย่าง Paint ที่มากับ Windows ก็สะดวกดีเหมือนกัน
Screen / Speaker
Toshiba เลือกใช้จอภาพขนาด 12.5″ ให้ความละเอียดในระดับ Full-HD (1920 x 1080) มาในแบบ Anti-glare กับมุมมองที่ค่อนข้างกว้าง เรื่องความละเอียดสมตัว เพราะขนาดตัวอักษรในการใช้กำลังพอดี อาจจะดูเล็กไปบ้างนิดหน่อย แต่ก็สามารถปรับได้ในภายหลัง พร้อมให้ความสว่างของภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งเรื่องของความคมชัดและสีสันที่สดใส ในแบบที่ตาเห็น ไม่ดูสว่างเกินไป ในสไตล์ของหน้าจอเช่นนี้ ทำให้การท่องเว็บหรือดูภาพยนตร์ก็ยังสบายตา ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความสว่างระดับ 288 nits ที่ช่วยให้ภาพดูสดใสขึ้น แม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับรุ่นเดียวกันในบางค่าย แต่ก็ยังใช้งานได้น่าประทับใจ
ส่วนเรื่องของลำโพง ก็คงเป็นความสุขใจแบบเล็กๆ สำหรับคนที่ชอบความบันเทิงแบบไม่หวือหวา เพราะชุดขับที่ให้มาตอบโจทย์ได้เหมาะกับพื้นที่ไม่กว้างมากนัก เน้นเสียงกลางเป็นหลักและเสียงเบสที่พอขับออกมาได้ เรียกว่าวางบนโต๊ะในตำแหน่งที่พอเหมาะ ก็จะให้เสียงที่น่าฟังมากขึ้น แต่ใครอยากจะได้เสียงที่ดังไปกว่านี้ การต่อลำโพงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีมากกว่า พร้อมกันนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า DTS Studio Sound มาให้ปรับแต่งทั้งเรื่องเสียงแบบรอบทิศทาง เพิ่มเบสและตั้งค่า Equalizer
Connector / Thin And Weight
แม้ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คไฮบริดที่มีขนาดเล็กและบาง แต่ Toshiba ก็ไม่ได้ถึงกับลดบทบาทของพอร์ตต่อพ่วงลง โดยจัดให้มีสิ่งจำเป็นและใช้งานกันบ่อยๆ ใส่เข้ามาให้ เริ่มตั้งแต่พอร์ต micro-USB, mimi-HDMI และ micro-SD Reader Card มาในตัวสำหรับในส่วนของแท็ปเล็ต ส่วนบนคีย์บอร์ดจะมี USB 3.0 มาให้ 2 พอร์ตและ RJ-45 โดยที่อีกข้างหนึ่งจัดวาง HDMI และ D-sub มาให้ ซึ่งจะเห็นว่าสิ่งสำคัญยังคงมีอยู่ครบ คงไม่ได้เป็นข้อจำกัดในเรื่องของขนาดเสียทีเดียว แต่ด้วยกลุ่มผู้ใช้ที่มีการใช้งานต่อพ่วงเป็นบางอย่าง จึงทำให้การออกแบบพอร์ตต่อพ่วง มาในรูปแบบที่จำเป็นและจะได้ใช้ง่ายอยู่บ่อยครั้ง และอย่างที่เราได้เห็นคือ หากมองที่ตัวเครื่องหลัก ในส่วนที่เป็นแท็ปเล็ต ด้วยการใช้ซีพียูที่มีความร้อนน้อย จึงแทบจะไม่เห็นเป็นช่องระบายอากาศอย่างชัดเจน แต่จากการใช้งาน ก็ไม่ได้พอเรื่องขอความร้อนที่เกิดขึ้นจนผิดปกติแต่อย่างใด
ด้วยความบางที่สุดไม่ถึง 2cm ก็ทำให้บางเทียบเท่ากับนิตยสารขนาดย่อมๆ ในบ้านเรา เรียกว่าบางตั้งแต่ในมุมมองด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนข้างหลังเป็นบานพับที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อความแข็งแรง ก็ทำให้การพกพาหรือเคลื่อนย้ายทำได้ง่าย กับน้ำหนักที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม บอกกับอแดปเตอร์ขนาดเล็ก จึงทำให้น้ำหนักโดยรวมไม่เยอะเกินไป จับใส่กระเป๋าสะพายหรือเก็บใส่เป้สะพายหลัง ก็ยังรู้สึกสบายๆ
Performance / Software
Toshiba Portege Z20t ที่ได้รับมารีวิวในครั้งนี้ มาพร้อมชิปประมวลผล Intel Core M 5Y71 ที่เป็นซีพียูใช้พลังงานต่ำมาก ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับโน๊ตบุ๊คในแบบไฮบริดเช่นนี้ โดยมีความเร็วพื้นฐานที่ 1.20GHz และลดลงต่ำสุดในช่วง idle อยู่ที่ประมาณ 600MHz เท่านั้น และไปได้ถึง 2.90GHz ในโหมดเทอร์โบ ใช้พลังงานต่ำสุดที่ 4.5W จากการรายงานบน CPUz ทำงานในแบบ 2 คอร์ 4 เธรด ที่แม้ว่าจะดูเป็นซีพียูที่เราทราบกันดีว่าเน้นในเรื่องประหยัดพลังงานและการพกพา แต่สิ่งที่ได้มาก็คือ สามารถรองรับกับซอฟต์แวร์หลายๆ ด้านได้อย่างสบาย โดยเฉพาะกับซอฟต์แวร์สำนักงานทั่วไปและเกมพื้นฐาน ที่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากมายนัก จุดที่ช่วยยกระดับการทำงานขึ้นมาก็คือ แรมแบบ DDR3 ขนาด 8GB ทำงานในโหมด Dual-channel ช่วยเพิ่มอัตรการทำงานได้ดีขึ้น
รวมถึงกราฟฟิก Intel HD Graphic 5300 ที่ตอบสนองกับเกมทั่วไปได้ดี ในด้านของกราฟฟิก 3D ก็ทำงานได้พอเหมาะในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ผ่านการทดสอบจากหลายๆ โปรแกรมได้ไม่ยาก เพียงแต่ในเรื่องของความละเอียดสูงๆ ก็คงจะไม่ใช่แนวนัก โดยสิ่งสำคัญคือ การปรับแต่งเรื่องของความละเอียดและคุณภาพของภาพให้สอดคล้องกัน ก็จะช่วยให้เล่นเกมบางอย่างที่มีความต้องการในทรัพยากรที่สูงขึ้น สามารถใช้งานได้ ซึ่งแน่นอนว่าการไม่ได้ใส่ Discrete graphic แม้จะทำให้การทำงานในด้านกราฟฟิกที่คล่องตัวนัก แต่ก็ช่วยให้ลดการใช้พลังงานไปได้ไม่น้อยทีเดียว สิ่งนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักและช่วยให้การใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น
การทดสอบด้วย CINEBENCH อาจไม่ค่อยสู้ดีนัก สำหรับการทำงานของ Core M นี้ ด้วยผลคะแนนที่อาจจะดูดรอปลงไปพอสมควร แต่ก็เป็นไปตามธรรมชาติของซีพียูที่เน้นเรื่องของประหยัดพลังงานเป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจไม่ได้ส่งผลมากนัก เพราะการทดสอบเรนเดอร์ด้วยซีพียูและ OpenGL นี้ อาจจะอยู่ไกลจากการใช้งานพื้นฐาน น่าจะพอตอบโจทย์ร่วมกับซอฟต์แวร์ที่ใกล้เคียงกันได้ดี
แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดก็คือ การทดสอบด้วยเกม RE5 บนความละเอียด 1280×720 ที่ไม่ได้ใช้ FSAA ให้เฟรมเรตที่ประมาณ 22.7fps บนความละเอียด Detail High ก็พอจะช่วยยืนยันในการเล่นเกมได้ดีในระดับหนึ่ง
Battery / Heat / Noise
ในเรื่องของแบตฯ ทาง Toshiba ได้ให้ระยะเวลาการทำงานมาให้ถึง 17 ชั่วโมง กับแบตจำนวน 2 ชุด บนคีย์บอร์ด 1 ชุด และอีกชุดหนึ่ง 9 ชั่วโมงที่มาบน Tablet mode แต่ความจริงแล้วเวลาที่ใช้งานจริงมีใครจะใช้ต่อเนื่องได้ยาวนานแบบนั้นบ้างหรือเปล่า เพราะจากการทดสอบพื้นฐานที่เชื่อมต่อกับ Keyboard dock แล้วใช้งานดู Youtube แบบต่อเนื่องและท่องเว็บไซต์ไปด้วย บนความสว่างหน้าจอ 50% และเปิดเสียงที่ 50% ก็ยังรายงานที่ประมาณ 8 ชั่วโมง
ส่วนถ้าแยกคีย์บอร์ดออกไป ก็ยังให้ระยะเวลาที่ไม่ต่างจากกันมากนัก ตรงนี้คงต้องยกความดีให้กับทาง Toshiba ที่มองถึงการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้ในชีวิตประจำวันและซีพียูอินเทลที่มีการใช้พลังงานน้อยลงอย่างมาก
เรื่องความร้อนจากการทดสอบในโหมด idle ขณะที่เปิดระบบปฏิบัติการไว้อย่างเดียว อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 44-45 องศาเซลเซียส ซึ่งก็นับว่าเย็นพอสมควร เมื่อทำการรันโปรแกรมในแบบ Full load กับการทำงานของซีพียู 60% + อุณหภูมิไปแตะอยู่ที่ 86-87 องศาเซลเซียส อาจจะดูค่อนข้างสูง แต่อย่าลืมว่าด้วยบอดี้ที่บางเฉียบเช่นนี้ กลับไม่ได้รู้สึกร้อนจนน่าตกใจแต่อย่างใด เรียกว่ามีการออกแบบได้ดีในระดับหนึ่ง
Multi-mode
อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นในแง่ของการเป็นไฮบริดของ Toshiba Portege Z20t นี้ ซึ่งไฮไลต์อยู่ที่การทำงานใน Tablet mode ได้อย่างสมบูรณ์เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแยกหน้าจอออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเรื่องของการถอดและประกอบเข้าไป นอกจากจะต้องใส่ง่าย ประกอบไวแล้ว ยังต้องมีการยึดเกาะที่แข็งแรงด้วย ในส่วนนี้ Portege Z20t ออกแบบได้ค่อนข้างดีทีเดียว
โดยที่ Toshiba ออกแบบให้มีทั้งตัวล็อคและแม่เหล็ก เพื่อให้การประกอบเข้าด้วยกันระหว่างหน้าจอและแท่นพิมพ์แน่นหนาขึ้น ในการถอดหน้าจอทำได้ง่ายๆ คือ ขั้นแรกต้องปลดล็อคจากสวิทช์ที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ทั้งสอง จากนั้นก็สามารถดึงหน้าจอออกมาเป็นแท็ปเล็ตได้ทันที ส่วนเมื่อต้องการจะประกอบเข้าที่ ก็เพียงแค่วางลงไปตรงๆ ตามสลักของตัวล็อคบนเครื่องและกดลงไปเบาๆ เท่านั้น
แม้ว่าจะดูว่ามีการใช้งานค่อนข้างง่ายก็ตาม แต่ด้วยการออกแบบที่แข็งแรง แน่นหนาเช่นนี้ ก็ทำให้การประกอบหน้าจอกลับเข้าไปค่อนข้างจะต้องสังเกตเล็กน้อย เพราะต้องวางให้ตรงกับสลักที่เป็นตัวล็อค ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว ดังนั้นการวางด้วยมือเดียวอาจไม่ใช้เรื่องง่ายนัก แต่ถ้ามองว่าเป็นการใช้งานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ทำให้ยุ่งยาก เพราะสิ่งที่ได้มาคือ การล็อคที่แน่นหนามากขึ้น ลองใช้งานสักระยะหนึ่งก็น่าจะชินไปเอง
Conclusion / Award
สรุปในภาพรวมของ Toshiba Portege Z20t กับการออกแบบที่ดูมีเสน่ห์ภายใต้ขนาดที่เล็กและบางนี้ ยังมีลูกเล่นบางอย่างซ่อนอยู่ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้สึกเป็นกันเอง ด้วยพื้นฐานของผู้ผลิตอย่าง Toshiba ที่มีการดีไซน์ให้ผู้ใช้ในกลุ่มนักธุรกิจหรือผู้ใช้ที่เน้นความเบาบางและเคลื่อนย้ายได้คล่องตัวอย่างชำนาญ จึงไม่น่าแปลกใจที่ Portege ยังเป็นอีกซีรีส์หนึ่งที่หลายๆ คนยังนึกถึงและชื่นชอบในการใช้ ยิ่งเวลานี้การออกแบบ Portege รุ่นล่าสุด ได้ปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบประมวลผลที่ใช้ไฟต่ำ Intel Core M ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ รวมถึงลดการใช้พลังงานได้อย่างลงตัว
รวมถึงอีก 2 สิ่งที่ทำออกมาให้ผู้ใช้ได้รู้สึกประทับใจก็คือ ความสามารถในการแยกหรือถอดออกเป็น Table mode ได้ ในกรณีเร่งด่วนหรือไม่จำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ด ตรงจุดนี้เชื่อว่าน่าจะอยู่ในอารมณ์การทำงานของหลายๆ คน เช่น อยากจะเดินไปนั่งดูเว็บในห้องนั่งเล่นหรือจะไปพรีเซนท์ในห้องประชุม แค่แทปเล็ตอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญยังมาพร้อมกับสไตลัส ที่ดูจะตอบสนองกันได้ดีในการวาดรูป เขียน หรือมาร์กสิ่งที่สำคัญเอาไว้ อาจจะสไตลัสที่เล็กไปบ้าง แต่การใช้งานสะดวกทีเดียว
ที่สำคัญก็คือ การออกแบบแบตฯ ให้มีด้วยกันสองชุด ทั้งบนตัวแทปเล็ตและแท่นคีย์บอร์ด ทำให้ระยะเวลาในการใช้งานนั้นยืดออกไปอีก แม้ว่าโอกาสที่จะใช้งานแบบยาวๆ หลายชั่วโมง อาจมีไม่มากนัก แต่สำหรับนักเดินทางหรือนักธุรกิจที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ การเพิ่มระยะการทำงานไปได้กว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน ก็ช่วยให้มั่นใจมากขึ้นโดยไม่ต้องพกที่ชาร์จไปให้เป็นภาระอีกต่อไป ส่วนนี้ถือว่า Toshiba เตรียมความพร้อมให้กับผู้ใช้ Portege ได้อย่างน่าดีใจจริงๆ
จุดเด่น
- มีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ง่าย
- หน่วยประมวลผล Intel Core M รองรับการทำงานได้ดีและประหยัดพลังงาน
- แยกส่วนของหน้าและคีย์บอร์ดออกจากกัน ในแบบ Tablet mode ใช้งานง่ายขึ้น
- มีปากกาแบบ Wacom Stylus มาให้สำหรับการวาดเขียนหรือออกแบบได้บนหน้าจอ
- ให้ความละเอียดหน้าจอได้ในระดับ Full-HD
- Tracking Point ควบคุมเคอร์เซอร์ได้อีกทางหนึ่ง
- ทัชแพดค่อนข้างกว้าง มีพื้นที่สำหรับการใช้งานมากขึ้น
ข้อสังเกต
- ขาล็อคระหว่างคีย์บอร์ดและหน้าจอที่เป็นแทปเล็ตมีหลายจุด ค่อนข้างแข็งแรง แต่ก็ต้องดูจุดที่จะใส่ลงไปให้ตรงด้วย
- สไตลัสอยู่ด้านในฝาพับ ต้องถอดจอออกมาก่อน ถึงจะดึงออกมาใช้ได้
Specification
Toshiba Portege Z20t มาพร้อมกับขุมพลังที่ไม่ธรรมดาเลยทีเดียว โดยรุ่นที่ทีมงานได้รับมาทดสอบนี้ เป็นซีพียูในระดับ Ultrabook หรือ Hybrid กับซีพียู Intel Core M-5Y71 ที่เป็นซีพียูในกลุ่ม Ultra mobile กับความเร็ว 1.20GHz ทำงานในแบบ 2 Core/ 4 Thread แต่ใช้พลังงานต่ำ ในช่วงของการ idle ประมาณ 4.5W เท่านั้น จึงให้ระยะการทำงานได้ยาวนานยิ่งขึ้น รองรับการทำงานทั้งซอฟต์แวร์สำนักงาน และความบันเทิง โดยมีหน้าจอแสดงผล 12.5″ แต่ให้ความละเอียดได้ในระดับ Full-HD หรือ 1920 x 1080 pixel ซึ่งให้แรม DDR3 มาถึง 8GB และฮาร์ดดิสก์ความเร็วสูงในแบบ SSD 256GB และกราฟฟิกจาก Intel HD Graphic 5300 เดี่ยวๆ ไม่มีชิปอื่นที่เป็น Discrete graphic เพิ่มเติมมาให้
พร้อมกันนี้ Toshiba Portege Z20t ยังมีพอร์ตสำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วง USB 3.0 มาให้จำนวน 2 พอร์ต และพอร์ต RJ-45 พร้อมพอร์ตแสดงผล HDMI และ D-Sub ที่อยู่บน Keyboard docking ส่วนตัวเครื่องหลัก ยังเติมพอร์ต micro-USB และ micro-HDMI รวมถึงสล็อตสำหรับอ่านมีเดียการ์ดในแบบ microSD มาให้ด้วย และช่องต่อหูฟังมาในตัว กล้องหน้าความละเอียด 2 ล้านพิกเซล ส่วนกล้อองหลัง 8 ล้านพิกเซล สนับสนุนการเชื่อมต่อ Wireless 802.11 b/g/n และ Bluetooth 4.0 โดยมีน้ำหนักรวมอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม เมื่อรวมคีย์บอร์ดเข้าไปด้วย จัดว่าสบายๆ พกพาง่ายจริงๆ
Hardware / Design
หากดูที่กลุ่มตลาดของ Toshiba Portege Z20t นี้จะสังเกตได้ว่าฉีกออกมาจาก Portege เดิมที่เราคุ้นเคยกันพอสมควร โดยยังคงกลิ่นอายของ Mobility อยู่อย่างชัดเจน โดยเฉพาะการเติมฟังก์ชั่นของทัชแพดที่กว้างขึ้นและใส่ TrackPoint เพิ่มเข้าไปในตัว ยังไม่นับรวมของการทำเป็นไฮบริด ที่สามารถแยกเป็น Tablet mode เพื่อสนองความต้องการในการพกพาหรือจะใช้งานเป็นโน๊ตบุ๊คสำหรับทำงานแบบจริงจังก็ต่อคีย์บอร์ดกลับเข้าไปเพื่อใช้งานตามปกติ ด้วยวัสดุที่เรียบลื่น อาจทำให้การจับถือดูแปลกๆ อยู่บ้าง แต่ในแง่ของความสวยงามให้คุณภาพงานประกอบออกมาดีทีเดียว รวมถึงการใช้แถบบานพับอลูมิเนียม บอดี้ส่วนที่บางสุดไม่ถึง 2cm ก็ทำให้ดูเพรียวบาง
ด้วยน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ที่ถือว่าอยู่ในระดับปกติของโน๊ตบุ๊คในกลุ่มไฮบริดทั่วไป แต่อาจจะดูหนักขึ้นเล็กน้อย ด้วยความที่ใช้วัสดุโครงสร้างที่แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งก็คงยังสะดวกต่อการพกพาในการเดินทางหรือใช้งาน เพราะสามารถแยกส่วนที่เป็นตัวเครื่องแท็ปเล็ตออกจากคีย์บอร์ดได้ และวัสดุที่จับถือง่าย ด้วยความบางถนัดมือ จึงนำไปใช้งานยังที่ต่างๆ ได้สบาย เพียงแต่ว่าถ้าทำขอบให้มีส่วนที่ยึดเกาะกับมือได้บ้างก็คงดีไม่น้อย จะช่วยลดความเสี่ยงในการลื่นหลุดมือ แต่ด้วยน้ำหนักที่เบาและขนาดที่บาง ก็ช่วยในการเคลื่อนย้ายไปใช้งานได้สะดวก
ทั้งนี้เรื่องของการออกแบบยังคงแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากรูปลักษณ์เดิมบน Portege ที่ผ่านมาพอสมควร ตั้งแต่การจัดวางโลโก้ไปไว้ที่มุมล่างของฝา Cover โดยมีไฟแสดงสถานะให้เห็นเพียง 2 จุดที่ด้านข้างคีย์บอร์ดสำหรับเพาเวอร์และแบต ส่วนปุ่มเพาเวอร์จะอยู่ที่ตัวจอหรือส่วนที่เป็นแท็ปเล็ต ซึ่งอาจจะดูหายากไปบ้าง แต่ใช้มือสัมผัสดูสักระยะก็จะเริ่มชิน เช่นเดียวกับปุ่มเพิ่ม-ลดเสียง ก็ย้ายมาอยู่ในจัดเดียวกับ Power ด้วยเช่นกัน เพื่อให้การใช้งานในแบบ Tablet mode สะดวกมากยิ่งขึ้น เพียงแต่ปุ่มต่างๆ อาจจะเล็กไปบ้าง แต่อย่างน้อยก็เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้งานเมื่อแยกส่วนออกจากคีย์บอร์ดนั่นเอง
Keyboard / Touchpad
ในส่วนของคีย์บอร์ดบน Portege Z20t นี้เป็นแบบ Chiclet-style ให้ความรู้สึกในการสัมผัสที่นุ่มนวลบนความสูงของคีย์ประมาณ 1.25mm และยังเป็น spill-resistant พร้อมกับ Pointing stick ที่อยู่ระหว่างปุ่ม G และ H รวมถึงมีปุ่ม Function มาครบแถว ประกอบไปด้วย ล็อคเครื่อง, สลับหน้าจอ, ปิดการทำงานทัชแพด, และปรับความสว่างและเสียง ให้การตอบสนองในการกดปุ่มได้อย่างนุ่มนวล ด้วยระยะห่างของปุ่มที่มากพอ ช่วยให้การพิมพ์ไม่สะดุดเพราะนิ้วไปโดนปุ่มอื่นแบบไม่ได้ตั้งใจ ที่น่าสนใจคือ มีไฟ Backlit เรืองแสงใต้ปุ่ม ให้สามารถมองเห็นในที่แสงน้อยได้ชัดเจน ถือว่ามีการจัดวางองค์ประกอบได้ค่อนข้างลงตัว
ทัชแพดบน Portege Z20t นี้ มีขนาด 4″ x 2″ เทียบสัดส่วนบนพื้นที่ดูกว้างพอตัวทีเดียว ให้ฟีเจอร์ในการใช้งานปุ่มกดซ้าย-ขวามา 2 ชุด ซึ่งปกติจะมีปุ่มถูกวางให้อยู่ในพื้นผิวเดียวกัน โดยใช้รอยบากเป็นเส้นเล็กๆ สำหรับการบอกถึงปุ่มกด และอีกส่วนหนึ่งเป็นปุ่มคลิกซ้าย-ขวา อยู่ด้านบนของทัชแพดเพื่อใช้งานร่วมกับ Pointing stick สีฟ้าสดใสที่อยู่ด้านบน เอาใจคนที่ชอบการคอนโทรลที่รวดเร็ว ซึ่งการเคลื่อนไหวของเคอร์เซอร์เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยที่ตัวทัชแพดเองก็มีฟังก์ชั่น แตะคลิก ย่อ-ขยายได้อีกด้วย
นอกจากนี้ยังมี Stylus ที่เป็นแบบ Wacom-powered stylus มาให้ในตัวสำหรับการเขียนหรือวาดลวดลาย จดบันทึกหรือสิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการลงบนหน้าจอ ซึ่งผู้ใช้สามารถดึงปากกานี้ได้หลังจากที่ถอดส่วนที่เป็นหน้าจอออกจากส่วนที่เป็นคีย์บอร์ดแล้ว ด้วยการดึงออกมาแบบง่ายๆ เท่านั้น โดยที่ Stylus นี้ ยังมีฟังก์ชั่นในการกดปุ่มมาด้วย 2 ปุ่ม โดยมีซอฟต์แวร์ Wacom ที่ช่วยในการตั้งค่า เพื่อทำงานร่วมกับหน้าจอแบบมัลติทัชที่รองรับได้ถึง 10 จุดด้วยกัน ซึ่งนั่นก็ทำให้การท่องเว็บ จดบันทึกหรือวาดภาพและการตรวจเช็คเอกสารต่างๆ ทำได้สะดวกทีเดียว เพียงแต่อาจจะมีขนาดเล็กไปบ้าง แต่เท่าที่ลองใช้คิดว่าถ้าปรับใช้สักระยะน่าชินมือไปเอง เรื่องของน้ำหนักการกดเขียน เมื่อทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์พื้นฐานอย่าง Paint ที่มากับ Windows ก็สะดวกดีเหมือนกัน
Screen / Speaker
Toshiba เลือกใช้จอภาพขนาด 12.5″ ให้ความละเอียดในระดับ Full-HD (1920 x 1080) มาในแบบ Anti-glare กับมุมมองที่ค่อนข้างกว้าง เรื่องความละเอียดสมตัว เพราะขนาดตัวอักษรในการใช้กำลังพอดี อาจจะดูเล็กไปบ้างนิดหน่อย แต่ก็สามารถปรับได้ในภายหลัง พร้อมให้ความสว่างของภาพอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ทั้งเรื่องของความคมชัดและสีสันที่สดใส ในแบบที่ตาเห็น ไม่ดูสว่างเกินไป ในสไตล์ของหน้าจอเช่นนี้ ทำให้การท่องเว็บหรือดูภาพยนตร์ก็ยังสบายตา ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากความสว่างระดับ 288 nits ที่ช่วยให้ภาพดูสดใสขึ้น แม้จะเป็นตัวเลขที่ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับรุ่นเดียวกันในบางค่าย แต่ก็ยังใช้งานได้น่าประทับใจ
ส่วนเรื่องของลำโพง ก็คงเป็นความสุขใจแบบเล็กๆ สำหรับคนที่ชอบความบันเทิงแบบไม่หวือหวา เพราะชุดขับที่ให้มาตอบโจทย์ได้เหมาะกับพื้นที่ไม่กว้างมากนัก เน้นเสียงกลางเป็นหลักและเสียงเบสที่พอขับออกมาได้ เรียกว่าวางบนโต๊ะในตำแหน่งที่พอเหมาะ ก็จะให้เสียงที่น่าฟังมากขึ้น แต่ใครอยากจะได้เสียงที่ดังไปกว่านี้ การต่อลำโพงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีมากกว่า พร้อมกันนี้ยังมีซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า DTS Studio Sound มาให้ปรับแต่งทั้งเรื่องเสียงแบบรอบทิศทาง เพิ่มเบสและตั้งค่า Equalizer
Connector / Thin And Weight
แม้ว่าจะเป็นโน๊ตบุ๊คไฮบริดที่มีขนาดเล็กและบาง แต่ Toshiba ก็ไม่ได้ถึงกับลดบทบาทของพอร์ตต่อพ่วงลง โดยจัดให้มีสิ่งจำเป็นและใช้งานกันบ่อยๆ ใส่เข้ามาให้ เริ่มตั้งแต่พอร์ต micro-USB, mimi-HDMI และ micro-SD Reader Card มาในตัวสำหรับในส่วนของแท็ปเล็ต ส่วนบนคีย์บอร์ดจะมี USB 3.0 มาให้ 2 พอร์ตและ RJ-45 โดยที่อีกข้างหนึ่งจัดวาง HDMI และ D-sub มาให้ ซึ่งจะเห็นว่าสิ่งสำคัญยังคงมีอยู่ครบ คงไม่ได้เป็นข้อจำกัดในเรื่องของขนาดเสียทีเดียว แต่ด้วยกลุ่มผู้ใช้ที่มีการใช้งานต่อพ่วงเป็นบางอย่าง จึงทำให้การออกแบบพอร์ตต่อพ่วง มาในรูปแบบที่จำเป็นและจะได้ใช้ง่ายอยู่บ่อยครั้ง และอย่างที่เราได้เห็นคือ หากมองที่ตัวเครื่องหลัก ในส่วนที่เป็นแท็ปเล็ต ด้วยการใช้ซีพียูที่มีความร้อนน้อย จึงแทบจะไม่เห็นเป็นช่องระบายอากาศอย่างชัดเจน แต่จากการใช้งาน ก็ไม่ได้พอเรื่องขอความร้อนที่เกิดขึ้นจนผิดปกติแต่อย่างใด
ด้วยความบางที่สุดไม่ถึง 2cm ก็ทำให้บางเทียบเท่ากับนิตยสารขนาดย่อมๆ ในบ้านเรา เรียกว่าบางตั้งแต่ในมุมมองด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนข้างหลังเป็นบานพับที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อความแข็งแรง ก็ทำให้การพกพาหรือเคลื่อนย้ายทำได้ง่าย กับน้ำหนักที่ประมาณ 1.5 กิโลกรัม บอกกับอแดปเตอร์ขนาดเล็ก จึงทำให้น้ำหนักโดยรวมไม่เยอะเกินไป จับใส่กระเป๋าสะพายหรือเก็บใส่เป้สะพายหลัง ก็ยังรู้สึกสบายๆ
Performance / Software
Toshiba Portege Z20t ที่ได้รับมารีวิวในครั้งนี้ มาพร้อมชิปประมวลผล Intel Core M 5Y71 ที่เป็นซีพียูใช้พลังงานต่ำมาก ซึ่งเหมาะอย่างมากสำหรับโน๊ตบุ๊คในแบบไฮบริดเช่นนี้ โดยมีความเร็วพื้นฐานที่ 1.20GHz และลดลงต่ำสุดในช่วง idle อยู่ที่ประมาณ 600MHz เท่านั้น และไปได้ถึง 2.90GHz ในโหมดเทอร์โบ ใช้พลังงานต่ำสุดที่ 4.5W จากการรายงานบน CPUz ทำงานในแบบ 2 คอร์ 4 เธรด ที่แม้ว่าจะดูเป็นซีพียูที่เราทราบกันดีว่าเน้นในเรื่องประหยัดพลังงานและการพกพา แต่สิ่งที่ได้มาก็คือ สามารถรองรับกับซอฟต์แวร์หลายๆ ด้านได้อย่างสบาย โดยเฉพาะกับซอฟต์แวร์สำนักงานทั่วไปและเกมพื้นฐาน ที่ไม่ได้ใช้ทรัพยากรมากมายนัก จุดที่ช่วยยกระดับการทำงานขึ้นมาก็คือ แรมแบบ DDR3 ขนาด 8GB ทำงานในโหมด Dual-channel ช่วยเพิ่มอัตรการทำงานได้ดีขึ้น
รวมถึงกราฟฟิก Intel HD Graphic 5300 ที่ตอบสนองกับเกมทั่วไปได้ดี ในด้านของกราฟฟิก 3D ก็ทำงานได้พอเหมาะในระดับหนึ่ง ซึ่งก็ผ่านการทดสอบจากหลายๆ โปรแกรมได้ไม่ยาก เพียงแต่ในเรื่องของความละเอียดสูงๆ ก็คงจะไม่ใช่แนวนัก โดยสิ่งสำคัญคือ การปรับแต่งเรื่องของความละเอียดและคุณภาพของภาพให้สอดคล้องกัน ก็จะช่วยให้เล่นเกมบางอย่างที่มีความต้องการในทรัพยากรที่สูงขึ้น สามารถใช้งานได้ ซึ่งแน่นอนว่าการไม่ได้ใส่ Discrete graphic แม้จะทำให้การทำงานในด้านกราฟฟิกที่คล่องตัวนัก แต่ก็ช่วยให้ลดการใช้พลังงานไปได้ไม่น้อยทีเดียว สิ่งนี้น่าจะเป็นเหตุผลหลักและช่วยให้การใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น
การทดสอบด้วย CINEBENCH อาจไม่ค่อยสู้ดีนัก สำหรับการทำงานของ Core M นี้ ด้วยผลคะแนนที่อาจจะดูดรอปลงไปพอสมควร แต่ก็เป็นไปตามธรรมชาติของซีพียูที่เน้นเรื่องของประหยัดพลังงานเป็นหลัก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาจไม่ได้ส่งผลมากนัก เพราะการทดสอบเรนเดอร์ด้วยซีพียูและ OpenGL นี้ อาจจะอยู่ไกลจากการใช้งานพื้นฐาน น่าจะพอตอบโจทย์ร่วมกับซอฟต์แวร์ที่ใกล้เคียงกันได้ดี
แต่สิ่งที่แสดงให้เห็นได้ชัดก็คือ การทดสอบด้วยเกม RE5 บนความละเอียด 1280×720 ที่ไม่ได้ใช้ FSAA ให้เฟรมเรตที่ประมาณ 22.7fps บนความละเอียด Detail High ก็พอจะช่วยยืนยันในการเล่นเกมได้ดีในระดับหนึ่ง
Battery / Heat / Noise
ในเรื่องของแบตฯ ทาง Toshiba ได้ให้ระยะเวลาการทำงานมาให้ถึง 17 ชั่วโมง กับแบตจำนวน 2 ชุด บนคีย์บอร์ด 1 ชุด และอีกชุดหนึ่ง 9 ชั่วโมงที่มาบน Tablet mode แต่ความจริงแล้วเวลาที่ใช้งานจริงมีใครจะใช้ต่อเนื่องได้ยาวนานแบบนั้นบ้างหรือเปล่า เพราะจากการทดสอบพื้นฐานที่เชื่อมต่อกับ Keyboard dock แล้วใช้งานดู Youtube แบบต่อเนื่องและท่องเว็บไซต์ไปด้วย บนความสว่างหน้าจอ 50% และเปิดเสียงที่ 50% ก็ยังรายงานที่ประมาณ 8 ชั่วโมง
ส่วนถ้าแยกคีย์บอร์ดออกไป ก็ยังให้ระยะเวลาที่ไม่ต่างจากกันมากนัก ตรงนี้คงต้องยกความดีให้กับทาง Toshiba ที่มองถึงการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้ในชีวิตประจำวันและซีพียูอินเทลที่มีการใช้พลังงานน้อยลงอย่างมาก
เรื่องความร้อนจากการทดสอบในโหมด idle ขณะที่เปิดระบบปฏิบัติการไว้อย่างเดียว อุณหภูมิอยู่ที่ประมาณ 44-45 องศาเซลเซียส ซึ่งก็นับว่าเย็นพอสมควร เมื่อทำการรันโปรแกรมในแบบ Full load กับการทำงานของซีพียู 60% + อุณหภูมิไปแตะอยู่ที่ 86-87 องศาเซลเซียส อาจจะดูค่อนข้างสูง แต่อย่าลืมว่าด้วยบอดี้ที่บางเฉียบเช่นนี้ กลับไม่ได้รู้สึกร้อนจนน่าตกใจแต่อย่างใด เรียกว่ามีการออกแบบได้ดีในระดับหนึ่ง
Multi-mode
อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นในแง่ของการเป็นไฮบริดของ Toshiba Portege Z20t นี้ ซึ่งไฮไลต์อยู่ที่การทำงานใน Tablet mode ได้อย่างสมบูรณ์เลยทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแยกหน้าจอออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งการใช้งานในลักษณะนี้ ส่วนใหญ่จะพบปัญหาเรื่องของการถอดและประกอบเข้าไป นอกจากจะต้องใส่ง่าย ประกอบไวแล้ว ยังต้องมีการยึดเกาะที่แข็งแรงด้วย ในส่วนนี้ Portege Z20t ออกแบบได้ค่อนข้างดีทีเดียว
โดยที่ Toshiba ออกแบบให้มีทั้งตัวล็อคและแม่เหล็ก เพื่อให้การประกอบเข้าด้วยกันระหว่างหน้าจอและแท่นพิมพ์แน่นหนาขึ้น ในการถอดหน้าจอทำได้ง่ายๆ คือ ขั้นแรกต้องปลดล็อคจากสวิทช์ที่อยู่ด้านล่างของหน้าจอ ซึ่งเป็นตัวเชื่อมระหว่างอุปกรณ์ทั้งสอง จากนั้นก็สามารถดึงหน้าจอออกมาเป็นแท็ปเล็ตได้ทันที ส่วนเมื่อต้องการจะประกอบเข้าที่ ก็เพียงแค่วางลงไปตรงๆ ตามสลักของตัวล็อคบนเครื่องและกดลงไปเบาๆ เท่านั้น
แม้ว่าจะดูว่ามีการใช้งานค่อนข้างง่ายก็ตาม แต่ด้วยการออกแบบที่แข็งแรง แน่นหนาเช่นนี้ ก็ทำให้การประกอบหน้าจอกลับเข้าไปค่อนข้างจะต้องสังเกตเล็กน้อย เพราะต้องวางให้ตรงกับสลักที่เป็นตัวล็อค ซึ่งมีด้วยกันหลายตัว ดังนั้นการวางด้วยมือเดียวอาจไม่ใช้เรื่องง่ายนัก แต่ถ้ามองว่าเป็นการใช้งานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องที่ทำให้ยุ่งยาก เพราะสิ่งที่ได้มาคือ การล็อคที่แน่นหนามากขึ้น ลองใช้งานสักระยะหนึ่งก็น่าจะชินไปเอง
Conclusion / Award
สรุปในภาพรวมของ Toshiba Portege Z20t กับการออกแบบที่ดูมีเสน่ห์ภายใต้ขนาดที่เล็กและบางนี้ ยังมีลูกเล่นบางอย่างซ่อนอยู่ เพื่อให้ผู้ใช้ได้รู้สึกเป็นกันเอง ด้วยพื้นฐานของผู้ผลิตอย่าง Toshiba ที่มีการดีไซน์ให้ผู้ใช้ในกลุ่มนักธุรกิจหรือผู้ใช้ที่เน้นความเบาบางและเคลื่อนย้ายได้คล่องตัวอย่างชำนาญ จึงไม่น่าแปลกใจที่ Portege ยังเป็นอีกซีรีส์หนึ่งที่หลายๆ คนยังนึกถึงและชื่นชอบในการใช้ ยิ่งเวลานี้การออกแบบ Portege รุ่นล่าสุด ได้ปรับให้เข้ากับยุคสมัยใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระบบประมวลผลที่ใช้ไฟต่ำ Intel Core M ซึ่งรองรับการทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ใหม่ๆ รวมถึงลดการใช้พลังงานได้อย่างลงตัว
รวมถึงอีก 2 สิ่งที่ทำออกมาให้ผู้ใช้ได้รู้สึกประทับใจก็คือ ความสามารถในการแยกหรือถอดออกเป็น Table mode ได้ ในกรณีเร่งด่วนหรือไม่จำเป็นต้องใช้คีย์บอร์ด ตรงจุดนี้เชื่อว่าน่าจะอยู่ในอารมณ์การทำงานของหลายๆ คน เช่น อยากจะเดินไปนั่งดูเว็บในห้องนั่งเล่นหรือจะไปพรีเซนท์ในห้องประชุม แค่แทปเล็ตอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญยังมาพร้อมกับสไตลัส ที่ดูจะตอบสนองกันได้ดีในการวาดรูป เขียน หรือมาร์กสิ่งที่สำคัญเอาไว้ อาจจะสไตลัสที่เล็กไปบ้าง แต่การใช้งานสะดวกทีเดียว
ที่สำคัญก็คือ การออกแบบแบตฯ ให้มีด้วยกันสองชุด ทั้งบนตัวแทปเล็ตและแท่นคีย์บอร์ด ทำให้ระยะเวลาในการใช้งานนั้นยืดออกไปอีก แม้ว่าโอกาสที่จะใช้งานแบบยาวๆ หลายชั่วโมง อาจมีไม่มากนัก แต่สำหรับนักเดินทางหรือนักธุรกิจที่ต้องมีการเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ การเพิ่มระยะการทำงานไปได้กว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน ก็ช่วยให้มั่นใจมากขึ้นโดยไม่ต้องพกที่ชาร์จไปให้เป็นภาระอีกต่อไป ส่วนนี้ถือว่า Toshiba เตรียมความพร้อมให้กับผู้ใช้ Portege ได้อย่างน่าดีใจจริงๆ
จุดเด่น
- มีขนาดที่เล็กและน้ำหนักเบา สามารถพกพาได้ง่าย
- หน่วยประมวลผล Intel Core M รองรับการทำงานได้ดีและประหยัดพลังงาน
- แยกส่วนของหน้าและคีย์บอร์ดออกจากกัน ในแบบ Tablet mode ใช้งานง่ายขึ้น
- มีปากกาแบบ Wacom Stylus มาให้สำหรับการวาดเขียนหรือออกแบบได้บนหน้าจอ
- ให้ความละเอียดหน้าจอได้ในระดับ Full-HD
- Tracking Point ควบคุมเคอร์เซอร์ได้อีกทางหนึ่ง
- ทัชแพดค่อนข้างกว้าง มีพื้นที่สำหรับการใช้งานมากขึ้น
ข้อสังเกต
- ขาล็อคระหว่างคีย์บอร์ดและหน้าจอที่เป็นแทปเล็ตมีหลายจุด ค่อนข้างแข็งแรง แต่ก็ต้องดูจุดที่จะใส่ลงไปให้ตรงด้วย
- สไตลัสอยู่ด้านในฝาพับ ต้องถอดจอออกมาก่อน ถึงจะดึงออกมาใช้ได้