Connect with us

Hi, what are you looking for?

Accessories review

Lexar JumpDrive P20 SuperSpeed Flash drive USB 3.0 ความเร็วเกินพิกัด

สำหรับ Lexar ไม่ได้ถือว่าเป็นผู้ผลิตที่แปลกหน้าสำหรับตลาดแฟลชไดรฟ์ เพราะในงาน CES 2015 มีการนำเอา SuperSpeed USB 3.0 แฟลชไดรฟ์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมประสิทธิภาพที่สูง

สำหรับ Lexar ไม่ได้ถือว่าเป็นผู้ผลิตที่แปลกหน้าสำหรับตลาดแฟลชไดรฟ์ เพราะในงาน CES 2015 มีการนำเอา SuperSpeed USB 3.0 แฟลชไดรฟ์รุ่นใหม่ที่มาพร้อมประสิทธิภาพที่สูงและฟีเจอร์ใหม่มาเป็นหนึ่งในไลน์สินค้าของปีนี้ โดยที่ Lexar JumpDrive 2015 รุ่นใหม่นี้ มีมาทั้งในรุ่น JumpDrive P20, JumpDrive S75, JumpDrive S25, JumpDrive S35 และ JumpDrive S55 ซึ่งในวันนี้เป็นโอกาสดีที่จะมาทำความรู้จักกับ Lexar JumpDrive P20 ที่มีความเร็วสูงที่สุดในตลาดเวลานี้ ด้วยประสิทธิภาพในการอ่านข้อมูลระดับ 400MB/s และเขียนอยู่ที่ 270MB/s โดยทาง Lexar ได้อ้างถึงว่า P20 JumpDrive นี้ จะช่วยให้สามารถถ่ายโอนข้อมูลวีดีโอแบบ Full-HD เต็มรูปแบบได้ใน 40 วินาทีเท่านั้น

Lexar JumpDrive P20 (2)

Advertisement

โดยที่ Lexar JumpDrive P20 มาในรูปแบบความจุตั้งแต่ 32GB, 64GB และ 128GB ซึ่งได้รับประกันแบบ Lifetime Warranty แต่ที่น่าสนใจก็คือ ความเร็วในการอ่านข้อมูลที่เท่ากันทุกความจุคือ 400MB/s แต่ความเร็วในการเขียนข้อมูลในรุ่น 32GB กลับอยู่ที่ 150MB/s แต่ความเร็วในการเขียนของรุ่น 64GB และ 128GB นั้นกลับสูงถึง 270MB/s เลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็ทำให้สัดส่วนของประสิทธิภาพต่อราคาของแฟลชไดรฟ์ในรุ่น 64GB ดูน่าสนใจกว่าในรุ่น 32GB เพราะด้วยความเร็วในการเขียนที่เพิ่มขึ้นมาทำให้ผู้ใช้ในระดับโปรหรือมืออาชีพที่เน้นประสิทธิภาพน่าจะได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น

Lexar JumpDrive P20 (1)

Lexar JumpDrive P20 เป็นแฟลชไดรฟ์ USB 3.0 ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้หัวแม่มือในการดันเพื่อเปิดใช้งานพอร์ต USB ที่สามารถดันพอร์ตเปิดและปิดการทำงานได้ ให้ความรู้สึกที่แข็งแรงกว่า ซึ่งพลาสติกที่ใช้เป็นสีดำ ด้วยขนาดที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์คือ 63.9mm x 22.5mm x 10.6mm (L x W x H)

Lexar JumpDrive P20 (7)

การออกแบบที่ไม่ได้เป็นฝาปิด แต่ใช้การเลื่อนสไลด์เอานั้น ได้มีการใส่ลูกเล่นตรงบริเวณหัวแม่มือเอาไว้ ด้วยปุ่มลูกศรที่มีพื้นผิวสัมผัสและมีไฟ LED ที่เป็นแสงสว่างปรากฏขึ้นบนไดรฟ์อีกด้วย เพื่อให้สามารถมองเห็นได้ชัดและดูโดดเด่นยิ่งขึ้น

Lexar JumpDrive P20 (4)

การออกแบบเป็นสไลด์ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เหมาะกับการใช้งาน แต่ก็ค่อนข้างแข็งพอสมควรเมื่อเริ่มใช้ไดรฟ์ โดยอาจจะมีแนวโน้มที่นุ่มมือมากขึ้น หากใช้บ่อยๆ เป็นเวลานาน

Lexar JumpDrive P20 (5)

ด้านหลังของ Lexar JumpDrive P20 มีช่องสำหรับใส่เป็นพวงกุญแจ โดยที่ทาง Lexar ได้จัดห่วงเล็กๆ สำหรับใส่พวงกุญแจมาให้ในแพ็คเกจด้วย

Lexar JumpDrive P20 (3)

พร้อมกันนี้ Lexar JumpDrive P20 ยังจัดเต็มมาด้วยซอฟต์แวร์เข้ารหัสข้อมูล EncryptStick Lite ซึ่งจะช่วยให้แฟลชไดรฟ์มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ด้วยการจัดเก็บไฟล์แบบเข้ารหัส ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร เพลงหรือวีดีโอ สามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วและการเข้ารหัสแบบ AES 256 บิต พร้อมระบบการลงทะเบียนที่ได้รับอนุญาตตามมาตรฐาน FIPS 140-2

Lexar JumpDrive P20 (6)

ระบบที่ใช้ในการทดสอบ
ก่อนที่จะไปดูตัวเลขในการทดสอบ ลองมาดูระบบในการทดสอบคร่าวๆ ในการทำงานที่ติดตั้ง Windows 8.1 Pro 63 บิตและมาตรฐานการทดสอบบนเครื่องเดสก์ทอป โดยไม่มีโปรแกรมอื่นใดทำงานอยู่ เพื่อให้วินโดวส์มีประสิทธิภาพในการจัดการเต็มรูปแบบ

Lexar JumpDrive P20 (22)

โดยแพลตฟอร์ทที่ใช้เป็น X99 ในการทดสอบกับ Lexar JumpDrive P20 64 GB พร้อมฐานทดสอบ ASUS X99 Sabertooth และไบออส 1702 ล่าสุด เพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ผลการทดสอบที่มีประสิทธิภาพสูงสุดบนความเร็วของไดรฟ์

Lexar JumpDrive P20 (23)

โดยที่ Lexar JumpDrive P20 มาพร้อมการฟอร์แมตในแบบ FAT32 และมีการกำหนดค่าในการทดสอบเอาไว้

CrystalDiskMark 3.0.4 x64
ผลที่ได้จาก CrystalDiskMark 3.0.4 x64 ที่รับว่าเป็นตัวทดสอบมาตรฐานสำหรับไดรฟ์ขนาดเล็กและช่วยให้ได้ทราบถึงผลการอ่านและเขียนข้อมูลแบบสุ่ม โดยที่ CDM นี้สนับสนุน NCQ ร่วมกับ Queue depth 32

Lexar JumpDrive P20 (33)

ซึ่งผลการทดสอบบนเครื่องพีซีที่มีเมนบอร์ด ASUS X99 Sabertooth กับ Windows 8.1 แสดงให้เห็นถึงความเร็วสูงสุดในการอ่านข้อมูลที่ 413MB/s และการเขียนที่ 260MB/s บนการทำงานกับ Lexar JumpDrive P20 กับพอร์ต USB 3.1 โดยที่การอ่านข้อมูลและเขียนข้อมูลในแบบ 4K อาจทำได้ไม่ค่อยเต็มที่นัก

ATTO v2.47
ถือว่าเป็นซอฟต์แวร์ทดสอบที่มีความเก่าแก่พอสมควร แต่ยังคงนำมาใช้ได้จนถึงทุกวันนี้ และยังคงมีความเกี่ยวข้องกับในโลกของ SSD อยู่ด้วย โดยที่ ATTO เป็นตัววัดที่มีการรับ ส่งข้อมูลในปริมาณที้่เฉพาะเจาะจง ด้วยอัตราการถ่ายโอนข้อมูลทั้งแบบอ่านและเขีน พร้อมให้ข้อมูลกราฟที่ตีความได้อย่างชัดเจน สำหรับการทดสอบในเบื้องต้นตั้งแต่ 0.5K ไปจนถึง 8192K มีความยาวถึง 256MB

Lexar JumpDrive P20 (32)

ซึ่งผลที่ได้จากการทดสอบบน ATTO ร่วมกับการติดตั้ง USAP สามารถทำประสิทธิภาพในการอ่านได้ถึง 371MB/s สำหรับการอ่านและ 124MB/s สำหรับการเขียน

Anvil Storage Utilities 1.1.0
ในการย้ายไปยังแพลตฟอร์ม เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ให้การทดสอบที่หลากหลายมากขึ้น แบะสามารถปรับแต่งได้ โดยการใช้ IOPS ในการทดสอบไฟล์ 4KB ที่ระดับ Depth 4, 16 และ 32 ซึ่งการทดสอบ IOPS เป็นสิ่งที่ผู้ผลิต SSD ให้ความสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ส่วนใหญ่จะไม่ได้ทดสอบ IOPS กันแบบตรงไปตรงมา ซึ่งความจริงแล้วมีผลอย่างยิ่งกับแนวโน้มการใช้งานในองค์กรหรือเซิร์ฟเวอร์ ในการทดสอบนี้จึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

Lexar JumpDrive P20 (31)

ผลที่ได้จากการทดสอบ ความเร็วในการอ่านข้อมูลระบบ 316.6MB/s และการเขียนที่ 251.1MB/s ตามลำดับ กับการเขียนไฟล์ 4MB ด้วยการทดสอบไฟล์บนยูทิลิตี้ในการจัดเก็บข้อมูลมาตรฐานด้วยการบีบอัดข้อมูล 100% เป็นผลในการทำงานที่ดีสำหรับ USB 3.0 แฟลชไดรฟ์

ประสิทธิภาพในการทำงานและความคุ้มค่า
Lexar JumpDrive P20 ถูกออกแบบมาให้เป็น USB Flash drive ที่มีความเร็วสูงบนมาตรฐาน USB 3.0 ราคาไม่แพง ทำให้มีความน่าสนใจและดึงดูดผู้ใช้ได้ดีทีเดียว ซึ่งอาจทำให้บางคนรู้สึกว่าเป็นแฟลชไดรฟ์ที่มีความสามารถตอบสนองการใช้งานที่เหมาะสมและรวดเร็วสำหรับงานและไฟล์ขนาดใหญ่ในเวลานี้ รวมถึงคาดหวังได้ว่าอย่างน้อยก็เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการทำงานได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพและความทนทานที่จะได้รับ

Lexar JumpDrive P20 (5)

นอกจากนี้ยังทำให้รู้สึกมั่นใจได้ในการพกพาและจัดเก็บ ด้วยวัสดุที่เป็นพลาสติกประกอบเข้ากับโลหะ และมีรางเลื่อนที่แน่นหนาที่เลื่อนใช้งานได้อิสระ นอกจากนี้ Lexar JumpDrive P20 ยังให้ผลทดสอบได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยผลที่สูงถึง 400MB/s สำหรับการอ่านและ 270MB/s สำหรับการเขียน ซึ่งแสดงให้เห็นในการทดสอบบน CrystalDiskMark ที่ขึ้นไปถึง 413MB/s และ 260MB/s สำหรับการอ่านและเขียนข้อมูลในการทดสอบ

Lexar JumpDrive P20-41
มาถึงในเรื่องของราคา Lexar JumpDrive P20 ที่มองเห็นในวันนี้ ด้วยราคา 46.95 ในรุ่น 64MB พร้อมการจัดางและการรับประกัน ต้องนับว่าน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับแฟลชไดรฟ์ความจุสูงและยังมาพร้อมกับความเร็วที่ดี มีซอฟต์แวร์ในด้านความปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสที่เรียกว่าคุ้มค่าไม่น้อยเลยทีเดียว
ที่มา : legitreviews

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ในยุคนี้ที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออฟไลน์หาซื้อได้ง่ายหลายช่องทางจะหาซื้อแฟลชไดร์ฟราคาดีก็ง่าย กำเงินไปร้อยสองร้อยบาทตรงเข้าร้านคอมใกล้บ้านก็ซื้อมาเซฟงานได้แล้ว ยิ่งยุคนี้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลก็ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแฟลชไดร์ฟความจุตั้งแต่ 8GB ไปจนหลัก TB วางขายกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันก็จะมีแบรนด์ชั้นนำอย่าง Lexar, Kingston, SanDisk ให้เลือกซื้อกัน แต่หลายคนคงสงสัยว่าจะซื้อของชิ้นนี้ไว้ทำไมในเมื่อมีวิธีเซฟข้อมูลให้เลือกตั้งมากมาย? ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวอย่างการฟอร์แมตคอมลง Windows ใหม่ ก็ต้องเขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการลงแฟลชไดร์ฟเอาไว้ล้างเครื่องอย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นสายท่องเที่ยวถ่ายภาพอัดคลิปไว้มากมายแล้วหน่วยความจำในมือถือเต็ม แทนที่จะอัปโหลดขึ้น Cloud ให้เปลืองแพ็คเกจโรมมิ่งหรือรอไปต่อ Wi-Fi ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่...

CONTENT

ในปัจจุบัน เวลาจะลง Windows ใหม่ รวมถึงระบบปฏิบัติการ (OS) ใด ๆ วิธีที่ทำได้ง่ายและแทบทุกเครื่องรองรับก็คือการใช้แฟลชไดรฟ์ USB ในการติดตั้ง ซึ่งก่อนที่จะใช้ได้นั้น ก็ต้องมีการนำไฟล์ ISO สำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการมาผ่านกระบวนการด้วยโปรแกรมบางตัวก่อน เพื่อทำให้สามารถบูทเครื่องจากไฟล์ที่อยู่ในแฟลชไดรฟ์ได้ และกลายเป็น USB ลง Windows ที่ใช้งานได้กับแทบทุกเครื่อง ตัวอย่างโปรแกรมยอดนิยมก็เช่น Media Creation...

CONTENT

Western Digital World Backup Day 2023 ล็อคทุกความทรงจำและข้อมูลสำคัญ ความทรงจำถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถประเมินคุณค่าได้ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ วิดีโอ เอกสาร หรือแม้กระทั่งกับการทำงาน ข้อมูลสำคัญต่างๆ, วิดีโอที่เราตัดต่อ ไปจนถึงเพลงนับพันเพลง ภาพยนตร์ หรือซีรีส์ ที่เราได้เคยดาวน์โหลดเก็บไว้ และถึงแม้ว่าในทุกวันนี้ การซื้อคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่จะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ แต่การโอนถ่าย ย้าย และจัดเก็บข้อมูลก็ยังเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ...

Tips & Tricks

แนะนำ USB Hub ยี่ห้อไหนดี น่าใช้งาน ราคาไม่แรง เชื่อมต่อได้เยอะ อัปเดต 2022 เดี๋ยวนี้การทำงานกับคอมพิวเตอร์นั้นมีอุปกรณ์ให้ต่อเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเมาส์ คีย์บอร์ด หน้าจอ ปริ๊นเตอร์ ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างสวนทางเป็นอย่างมากกับโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่ดีไซน์ออกมาเน้นความเพรียวบาง พกพาไปไหนมาไหนสะดวก จึงทำให้พอร์ตการเชื่อมต่อนั้นลดลงตามไปด้วย USB Hub จึงถือเป็นทางออกหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ กับคอมพิวเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น เรามาดูไปพร้อมๆ...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก