หากจะว่าจะไปวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีของโลกเรานั้นก็ด้วยกันหลายด้านเลยทีเดียวครับ และคอนแทคเลนส์เองก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่มีการวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีไม่แพ้กับอุปกรณ์อื่นๆ เช่นเดียวกัน หลายๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกับแค่คอนแทคเลนส์ที่สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของสายตาสั้นหรือยาวได้เท่านั้น แต่ถ้าหากย้อนกลับไปในปี 2013 ที่ผ่านมานั้นโลกเราได้มีคอนแทคเลนส์ที่มาพร้อมกับเลนส์ซูมได้ถึง 2.8 เท่า ทำให้เสมือนกับว่าคอนแทคเลนส์นั้นเป็นกล้องโทรทรรศน์ที่เพิ่มควยามสามารถในการมองไกลได้เพียงสวมใส่เลยทีเดียวครับ
อย่างไรก็ตามในปี 2013 ที่มีการเปิดตัวคอนแทคเลนส์ที่มาพร้อมกับเลนส์ซูมได้นั้นก็มีข้อเสียใหญ่อยู่ครับ ข้อเสียนั้นก็คือตัวคอนแทคเลนส์ไม่สามารถที่จะทำการสลับสับเปลี่ยนไปใช้เลนส์แบบปกติได้ ซึ่งนั่นหมายความว่าเมื่อท่านทำการสวมใส่คอนแทคเลนส์นี้เข้าไปแล้วนั้นท่านจะทำได้เพียงแค่การมองไกลที่ 2.8 เท่าเท่านั้นซึ่งคงไม่สามารถที่จะใช้ในชีวิตประจำวันได้จริงครับ ทว่าในปี 2015 ช่วงกลางเดือนที่ผ่านมานี้คอนแทคเลนส์นี้ได้รับการพัฒนาให้สามารถปรับเปลี่ยนไปใช้เลนส์ตามปกติและเลนส์ซูมได้แล้วครับ
ภายใต้การนำของนักวิจัยอย่าง Eric Tremblay จาก École Polytechnique Fédérale de Lausanne และ Joseph Ford จาก University of California, San Diego ได้ทำการเพิ่ม polarized filter เข้าไปบนตัวคอนแทคเลนส์ทำให้สามารถที่จะทำการสลับเปลี่ยนตัวเลนส์บนคอนแทคไปมาได้โดยใช้วิธีการกระพริบตาที่จำเพาะเจาะจงครับ แต่ด้วยความที่จำเป็นจะต้องทำการเพิ่มฟิลเตอร์เข้าไปนั้นทำให้ตัวคอนแทคเลนส์นั้นมีน้ำหนักมากกว่าปกติ แต่ทางนักวิจัยก็กล่าวว่านำหนักของคอนแทคเลนส์นี้ยังอยู่ในระดับที่สามารถใส่ได้สบายครับ
ไม่เพียงแต่การเพิ่มฟิลเตอร์เข้าไปเท่านั้นครับ เพราะทางนักวิจัยได้บอกว่าได้มีการปรับโครงสร้างของคอนแทคเลนส์นี้ใหม่โดยการเพิ่มชั้นของอ๊อกซิเจนเพิ่มเติมเข้าไปบริเวณพื้นผิวของตัวคอนแทคเลนส์ซึ่งจะทำให้เวลาใส่คอนแทคเลนส์นี้เข้าไปแล้วผู้ใช้จะไม่รู้สึกระคายเคืองตาไม่ว่าจะเป็นช่วงที่ใส่คอนแทคเลนส์ตามปกติหรือว่าในช่วงที่มีการกระพริวตาเพื่อสลับเปลี่ยนตัวเลนส์ครับ
ทั้งนี้คัวคอนแทคเลนส์นี้มีความหนาอยู่ที่เพียง 1.5 mm เท่านั้น ซึ่งหากเทียบกับความสามารถในการช่วยซูมภาพได้ไกลถึง 2.8 เท่าแล้วนั้นถือได้ว่าบางมากเลยทีเดียวครับ กระนั้นเองความบางนี้ก็อาจจะยังไม่สามารถเทียบได้กับคอนแทคเลนส์แบบปกติทั่วไปซึ่งทางนักวิจัยบอกว่าคงต้องใช้เวลาในการพัฒนาต่อไปอีกสักพัก โดยโครงการวิจัยนี้ได้รับความสนใจพอสมควรจนได้รับเงินทุนจากทาง Defense Advanced Research Projects Agency (DARPA) เพื่อที่จะใช้ในการพัฒนาเลยทีเดียวครับ
ที่มา : slashgear