Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook News

ตลาด PC ยังไปได้ต่อในสายมืออาชีพ ยอดขายของ Workstation ประจำปี 2014 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 8.9 %

หากพูดถึง Workstation แล้วในสมัยก่อนใครหลายๆ คนคงไม่ค่อยอยากที่จะซื้อมาใช้งานกันมากสักเท่าไรครับ ด้วยขนาดตัวเครื่องที่หนัก พกพาไม่สะดวก รวมไปถึงราคาที่แพงแสนแพง

หากพูดถึง Workstation แล้วในสมัยก่อนใครหลายๆ คนคงไม่ค่อยอยากที่จะซื้อมาใช้งานกันมากสักเท่าไรครับ ด้วยขนาดตัวเครื่องที่หนัก พกพาไม่สะดวก รวมไปถึงราคาที่แพงแสนแพง ทำให้ยอดขายของ Workstation นั้นไม่ค่อยจะดีเท่าไรนัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปเทคโนโลยีต่างๆ ก็พัฒนาขึ้นมากทำให้เราได้เห็นเครื่อง Workstation ที่มีขนาดเล็กลง สามารถทำการพกพาได้สะดวก และที่สำคัญก็คือราคาอยู่ในระดับที่คนทั่วไปสามารถที่จะจับต้องได้ ด้วยเหตุนี้เองครับที่ทำให้ในช่วงเวลาไม่กี่ไตรมาสที่ผ่านมานั้นยอดขายของ Workstation นั้นเพิ่มสูงขึ้นมากทีเดียวครับ

laptop mkobile workstation 600

Advertisement

ข้อมูลจาก IDC เผยออกมาครับว่าในไตรมาสที่ 4 ของปี 2014 ที่ผ่านมานั้น Workstation สามารถที่จะทำยอดไปได้สูงถึง 946,089 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากในไตรมาสเดียวกันของปี 2013 ถึง 8.8 % ด้วยกัน และด้วยยอดขายของ Workstation ที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 7 ไตรมาสที่ผ่านมานั้นทำให้ยอดการวางจำหน่ายของ Workstation รวมไปแล้วกว่า 3.7 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม 8.9 % เลยทีเดียวครับ

ทาง IDC ได้เผยว่ายอดขายของ Workstation ที่เพิ่มขึ้นนั้นสวนทางกับ “all-in-ones, blade, rack และ traditional desktops” ที่มียอดลดลง 0.8 % ในปีที่ผ่านมาครับ โดยบริษัทที่สามารถทำการจำหน่าย Workstation ได้มากที่สุดในปี 2014 ที่ผ่านมานั้นก็คือ HP ซึ่งมีส่วนแบ่งในตลาด 44.6 %(ลดลงจากปีที่แล้ว 0.9 %) ในขณะที่ Dell ครองตำแหน่งที่ 2 ด้วยส่วนแบ่งในตลาด 35.8 % และ Lenovo เป็นอันดับที่ 3 ด้วยส่วนแบ่งในตลาด 13.5 % ครับ(ส่วนแบ่งในตลาดของ Lenovo นั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาถึง 21 ไตรมาสด้วยกันแล้วครับ)

ผู้ซื้อ Workstation ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในโซนอเมริกาและยุโรปครับ โดยมียอดการซื้อ Workstation สูงถึง 63.6 % โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่ประกอบอาชีพในสายวิศวกรรมซึ่งมียอดการซื้อ Workstation สูงถึง 57 % ตามมาด้วยสถาปนิก, นักบัญชีและดีไซน์เนอร์ครับ อัตราการเติบโตของ Workstation นี้ทำให้เราเห็นได้ครับว่าตลาด PC นั้นยังคงที่จะสามารถดำเนินต่อไปได้อีกนานเลยทีเดียวครับ(เพราะแน่นอนว่าสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตคงจะไม่สามารถที่จะมีพลังในการประมวลผลได้เท่า Workstation แน่นอนครับ)

ที่มา : theregister.co.uk

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

เรื่องของหน่วยความจำหลัก นอกจากแรมที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำงานร่วมกับอุปกรณ์อื่น เช่น CPU, SSD/HDD และการ์ดจอแล้ว ในฮาร์ดแวร์อื่นก็ย่อมมีหน่วยความจำแรมของตัวเองเช่นกัน อย่างฝั่งของการ์ดจอที่จำเป็นต้องมีไว้ใช้ทำงานร่วมกับ GPU โดยจะใช้แรมเป็นแบบ GDDR ที่ต่างจากแรม DDR ทั่วไปเล็กน้อย ซึ่งล่าสุดก็มีข่าวของแรมการ์ดจอมาตรฐานใหม่ออกมาอีกแล้ว นั่นคือแรม GDDR7 ที่เป็นไปได้ว่าอาจจะเริ่มลงมาอยู่ในการ์ดจออย่างเร็วสุดภายในปี 2024 นี้เลย เรามาเจาะรายละเอียดเท่าที่มีออกมาในขณะนี้กันครับ เพื่อดูว่าแรมแบบใหม่นี้จะดีกว่าเดิมอย่างไร ขนาดไหน...

CONTENT

Windows รุ่นต่อไป อาจต้องเริ่มต้นแรม 16GB เป็นมาตรฐาน จำเป็นมั้ย คอมเก่าไหวรึเปล่า? ระบบปฏิบัติการ (OS) มีการพัฒนาความสามารถอยู่ต่อเนื่อง ในการจะไปสู่ Windows ใหม่แต่ละรุ่นก็มักจะต้องการความสามารถของฮาร์ดแวร์ที่สูงขึ้นด้วย เพื่อให้รองรับรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ได้ดี เช่น แรม (RAM) ซึ่งจุดที่มักเห็นชัดและสังเกตง่ายสุดก็คือแรม ที่จะอยู่ในหนึ่งข้อจำกัดด้านความต้องการของแต่ละซอฟต์แวร์และ OS อยู่เสมอ ล่าสุดก็มีข่าวลือออกมาว่า Microsoft...

CONTENT

FlexRAM ยุคใหม่วงการแรม ยืดหยุ่น เร็ว ใส่ได้ทุกอุปกรณ์ เก็บข้อมูลได้นานกว่า หนึ่งในฮาร์ดแวร์ที่เป็นส่วนสำคัญมากของระบบคอมพิวเตอร์ก็คือ แรมหรือหน่วยความจำ ที่ระบบจะใช้เก็บข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลมาแล้ว หรือใช้พักข้อมูลก่อนที่จะส่งไปใช้งานในส่วนต่างๆ ล่าสุดมีข่าวเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมสำหรับแรมออกมาแล้ว นั่นก็คือ FlexRAM ที่ในบทความนี้เราจะมาลองทำความรู้จักกัน เพราะนี่อาจเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ออกสู่วงกว้างได้ในอนาคต และอาจจะมาแก้จุดด้อยของแรมที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบันได้หลายด้านอีกด้วย แรมของระบบคอมพิวเตอร์ รวมถึงในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องมีแรมในปัจจุบัน ปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบชิปที่ติดตั้งอยู่บนแผงวงจรอีกที ทำให้เรื่องขนาดของชิปแรมและฮาร์ดแวร์เอง ก็เป็นส่วนหนึ่งในข้อจำกัดการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกับพวกอุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก...

CONTENT

เมื่อหลายปีก่อน การเพิ่มแรมในโน้ตบุ๊กแทบจะเป็นการอัปเกรดเครื่องยอดฮิต เนื่องจากยังใช้แรมแบบเป็นแท่งที่มีชื่อเรียกมาตรฐานว่าเป็นแบบ SODIMM ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ง่าย แต่ต่อมาผู้ผลิตหลายรายก็หันไปใช้แรมแบบเป็นชิปติดกับเมนบอร์ดมาเลย ด้วยข้อดีเรื่องของความง่ายในการออกแบบบอร์ด ทั้งยังทำให้เครื่องบางเบาลง ความเร็วก็สูงกว่า แต่แลกมาด้วยการที่ผู้ใช้แทบจะอัปแรมเพิ่มไม่ได้เลย ถ้าไม่ใช่พวกเกมมิ่งโน้ตบุ๊ก หรือเครื่องที่มีความหนาขึ้นมาหน่อย แต่ล่าสุดเราก็อาจจะได้ใช้แรมแบบใหม่ นั่นคือ LPCAMM2 ที่ผสานข้อดีของทั้งแรมแบบ SODIMM และแรมแบบฝังบอร์ดไว้ด้วยกันนั่นเอง Advertisement แรม LPCAMM2 คืออะไร ต่างจากเดิมอย่างไร เริ่มจาก...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก