Connect with us

Hi, what are you looking for?

Mac Corner

MacBook เปิดเครื่องไม่ติดปิดเครื่องไม่ได้

น่าจะเป็นปัญหากวนใจอันดับต้นๆ ของคนใช้งาน Mac ก็ว่าได้กับกรณีที่ Mac เปิดเครื่องไม่ติด, Mac เปิดเครื่องไม่ได้, Mac เปิดเครื่องไม่ขึ้น ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ควรทำหาก Mac ของคุณเปิดไม่ได้

น่าจะเป็นปัญหากวนใจอันดับต้นๆ ของคนใช้งาน Mac ก็ว่าได้กับกรณีที่ Mac เปิดเครื่องไม่ติด, Mac เปิดเครื่องไม่ได้, Mac เปิดเครื่องไม่ขึ้น ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่ควรทำหาก Mac ของคุณเปิดไม่ได้ เพื่อเป็นการแยกปัญหานี้จากปัญหาจอแสดงผล ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเมื่อคุณกดปุ่มเปิดปิด:

  • คุณไม่ได้ยินเสียงเครื่องทำงาน
  • คุณไม่ได้ยินเสียงพัดลมหรือไดรฟ์
  • ไม่มีวิดีโอบนจอแสดงผลในตัวหรือภายนอก

หากคอมพิวเตอร์ของคุณมีไฟเข้าแต่ไม่แสดงวิดีโอใดๆ อาจมีอาการที่คล้ายอาการเหล่านี้ตั้งแต่หนึ่งข้อขึ้นไปเมื่อคุณกดปุ่มเปิดปิด:

Advertisement
  • คุณอาจได้ยินเสียงเครื่องทำงาน
  • คุณอาจได้ยินเสียงพัดลมหรือไดรฟ์
  • คุณอาจเห็นไฟจาก LED ในโหมดพักเครื่อง (ถ้า Mac ของคุณมีไฟนี้)
  • การกดแป้น Caps Lock บนแป้นพิมพ์ทำให้ไฟติด

FVBusQXXkqlAD2iF

วิธีแก้ไข Mac เปิดเครื่องไม่ติด

ถ้าคอมพิวเตอร์ Mac หรือ MacBook ของคุณเปิดไม่ติด ให้ลองแต่ละขั้นตอนต่อไปนี้:

  1. ตรวจสอบว่าคุณมีการเชื่อมต่อที่ดีจาก Mac ของคุณไปยังเต้าเสียบปลั๊กไฟที่ผนังโดยการยืนยันว่าสายไฟและอะแดปเตอร์ต่อเข้ากับปลั๊กไฟสนิทแล้ว ถ้ามี ในการตรวจสอบว่าเต้าเสียบปลั๊กไฟที่ผนังใช้งานได้หรือไม่ ลองเสียบปลั๊กโคมไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นดู
  2. ถ้าเต้าเสียบปลั๊กใช้งานได้แต่คอมพิวเตอร์ยังไม่มีไฟเข้า ลองใช้สายไฟ?หรืออะแดปเตอร์อื่น ถ้ามี ถ้าใช้งานได้ คุณอาจต้องเปลี่ยนสายไฟ?หรืออะแดปเตอร์ใหม่
    หมายเหตุ:?โปรดดู?อุปกรณ์แบบพกพาของ Apple: การแก้ไขปัญหาอะแดปเตอร์ MagSafe?สำหรับ?การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับอะแดปเตอร์?MagSafe
  3. ถอดอุปกรณ์เสริมทั้งหมดที่เสียบกับคอมพิวเตอร์ อย่างเช่น เครื่องพิมพ์ ฮับ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่อื่นๆ
  4. ถ้า Mac ของคุณรองรับหน่วยความจำที่ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้ Solid State Drive หรือฮาร์ดไดรฟ์?และคุณเพิ่งติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณติดตั้งถูกต้องและเข้ากันได้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้าเป็นไปได้ ให้ติดตั้งหน่วยความจำหรือไดรฟ์ดั้งเดิมเข้าไปในคอมพิวเตอร์ใหม่ เพื่อดูว่ายังมีอาการดังกล่าวหลังจากนั้นหรือไม่
  5. รีเซ็ต?SMC
  6. หากคุณยังไม่สามารถเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ของคุณหลังจากลองทำแต่ละขั้นตอนเหล่านี้ โปรดไปที่?Apple Store?หรือ?ผู้ให้บริการที่ได้รับอนุมัติจาก Apple (AASP)?เพื่อรับการวินิจฉัยเพิ่มเติม ถ้าคุณวางแผนจะไปเยี่ยมร้านค้าปลีกของ Apple สามารถทำการสำรองได้ที่ Genius Bar โดยใช้?http://www.apple.com/retail/geniusbar/?(สามารถใช้ได้ในบางประเทศเท่านั้น)หมายเหตุ:?อาจมีค่าวินิจฉัยสำหรับปัญหาที่ไม่ครอบคลุมโดยการรับประกันหรือแผนการคุ้มครอง AppleCare (APP)

วิธีการ Shut Down, Sleep และ Restart บน Mac

หลักๆ แล้วการปิดเครื่องในระบบปฏิบัติการ OS X บนเครื่อง Mac ก็มีรูปแบบขั้นตอนที่คล้ายคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows ทั่วไปเหมือนกัน คือ ทางผู้ใช้งานจำเป็นต้องใช้คำสั่ง Shut Down เพื่อที่จะให้ระบบการทำงานของเครื่องนั้นทำการจัดเก็บข้อมูลที่ใช้งานล่าสุดเสียก่อน โดยไม่แนะนำว่าให้บังคับปิดเครื่องด้วยวิธีการกดค้างที่ปุ่ม Power หรือถอดปลั๊กไฟกรณีเครื่อง Mac ที่เป็นเดสก์ท๊อป เพราะนั่นจะเป็นการบังคับให้เครื่องปิด ซึ่งส่งผลให้เครื่อง Mac ของเรานั้นปิดไม่สมบูรณ์ และอาจจะก่อเกิดความเสียหายได้ในที่สุด

Screen Shot 2557-08-17 at 15.29.27

สำหรับวิธีการ Shut Down เครื่อง Mac ที่ถูกต้อง มีดังต่อไปนี้

  • คลิกไปที่ปุ่มโลโก้ Apple ที่อยู่มุมซ้ายของหน้าจอ
  • จากนั้นเลือกไปที่เมนูคำสั่ง Shut Down
  • จะมีหน้าต่างเด้งขึ้นมา พร้อมมีข้อความแจ้งว่า Mac ของเราจะ Shut Down ใน 60 วินาที โดยนับถอยหลังไปเรื่อยๆ
  • ถ้าหากเราต้องการให้ Shut Down ทันที ให้คลิกไปที่ปุ่ม Shut Down ได้เลย

กรณีเครื่อง Mac แฮงค์หรือค้างไป เราก็สามารถใช้วิธีกดปุ่ม Power ค้างได้นะครับ แต่แนะนำว่าใช้กรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ส่วนเครื่อง Mac ไหนเป็นระบบปฏิบัติการ OS X 10.9 Mavericks แล้ว ถ้าเรากดปุ่ม Power ค้างไว้เพียง 2 วินาที ก็จะเป็นการเรียกหน้าต่าง Shut Down Dialogue ขึ้นมาแทนนะครับ จากนั้นค่อยเลือกคำสั่งที่เราต้องการใช้งานอีกทีหนึ่ง หรือถ้าทรายว่ามีโปรแกรมไหนค้างอยู่จนทำให้ปิดเครื่องไม่ได้ ก็ให้ทำตามขั้นตอนนี้

  • คลิกไปที่ปุ่มโลโก้ Apple ที่อยู่มุมซ้ายของหน้าจอ
  • เลือกไปที่?Force Quit
  • เลือกโปรแกรมที่ทำให้เครื่องค้างจนปิดไม่ได้
  • กด?Force Quit
  • จากนั้นเราก็ทำการปิดเครื่อง Mac แบบปกติ

Screen Shot 2557-08-17 at 15.30.25

ซึ่งเมื่อเราเลิกใช้งานเครื่อง Mac นอกเหนือจากการที่เราเลือกคำสั่ง Shut Down แล้ว ระบบปฏิบัติการ OS X ยังมีคำสั่ง Sleep ไว้ใช้กรณีที่เราหยุดใช้งานชั่วคราว เพื่อที่เวลากลับมาใช้โปรแกรมหรือไฟล์ต่างๆ ที่เปิดค้างเอาไว้จะได้พร้อมใช้งานทันที เรียกได้ว่ามีหน้าที่คล้ายกับ Sleep ในฝั่งของระบบปฏิบัติการ Windows เหมือนกัน โดยขั้นตอนการใช้คำสั่ง Sleep ของเครื่อง Mac มีดังต่อไปนี้

  • คลิกไปที่ปุ่มโลโก้ Apple ที่อยู่มุมซ้ายของหน้าจอ
  • จากนั้นเลือกไปที่เมนูคำสั่ง Sleep
  • ตัวเครื่องจะทำการปิดหน้าจอและบันทึกสถานะปัจจุบันลงฮาร์ดดิสก์ พร้อมกับเข้าสู่โหมด Stand By ทันที
  • หรืออีกวิธีก็คือกดไปที่ปุ่ม Power หนึ่งครั้ง ก็จะเป็นใช้คำสั่ง Sleep ได้เหมือนกันครับ

คราวนี้ในการสั่งให้ตื่นจากโหมด Sleep ก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงกดเมาส์หรือคีย์บอร์ดที่เชื่อมต่อเอาไว้อยู่ เครื่อง Mac ก็จะพร้อมใช้งานอีกครั้งทันที โดยที่โปรแกรมหรือไฟล์ต่างๆ ยังคงเดิมเหมือนกับที่เราจะสั่ง Sleep เลย

screen-shot-2013-06-05-at-1-08-25-pm

ส่วนถ้าคนไหนใช้เครื่อง Mac ที่เป็นโน๊ตบุ๊คอย่าง MacBook Air หรือ MacBook Pro เราก็สามารถใช้งานคำสั่ง Sleep ด้วยการพับฝาหน้าจอลงมาแทนการกกเมนูก็ได้นะครับ ซึ่งเมื่อเราพับหน้าจอ เครื่อง MacBook ของเราก็จะเข้าสู่โหมด Sleep ในอัตโนมัติ เมื่อไรที่เราต้องการใช้งานอีกครั้ง ก็พับเปิดฝาหน้าจอของเครื่องขึ้นมาได้เลย ซึ่งถ้าใครตั้งรหัสเข้าใช้งานเอาไว้ ก็จำเป็นต้องกรอกรหัสก่อนทุกครั้งนะครับ หรือถ้าบางคนไม่ได้ตั้งรหัสเอาไว้ เปิดมาก็จะเป็นหน้าโปรแกรมล่าสุดที่เราทำงานค้างไว้เลย

หากใครต้องการที่จะเปิดเครื่อง Mac ขึ้นมาใหม่อีกรอบ ก็สามารถใช้คำสั่ง Sleep ได้ โดยระบบจะทำการปิดเครื่องเอง พร้อมกับเปิดเครื่องอัตโนมัติให้อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในส่วนของขั้นตอนก็คล้ายๆ กับ Shut Down และ Sleep ด้วยการกดเข้าไปที่โลโก้ Apple จากนั้นก็เลือกคำสั่ง Restart ครับ

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Accessories review

ถ้าคุณเป็นครีเอเตอร์ Lexar Portable SSD SL400 คือไอเท็มสำคัญควรมีติดกระเป๋า! ในวงการหน่วยความจำแล้ว Lexar ก็เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำระดับโลกซึ่งมีสินค้าหลากหลายแบบให้เลือกใช้ เช่น Lexar Portable SSD SL400 สำหรับครีเอเตอร์ยุคใหม่เจ้าของ iPhone 15 Pro และ 16 Pro Series ได้ถ่ายคลิปเก็บไอเดียสร้างสรรค์ไว้ทำงานต่อได้หรือพกคู่มือถือ Android...

Mac Corner

ขึ้นชื่อว่าเป็นไอโฟนเป็นใครอยากได้ ว่าด้วยราคาเครื่องจะจ่ายเงินสดรอบเดียวก็ยังได้แต่ก็ไม่รู้ว่าในอนาคตจะต้องใช้เงินก้อนเมื่อไหร่ หลายคนจึงเลือกวิธีผ่อนไอโฟนทีละงวดไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ 10 ถึง 30 เดือนก็มี ตามที่ร้านค้ากับธนาคารเจ้าของบัตรจะทำข้อตกลงกันไว้ ทำให้ลูกค้าได้เปลี่ยนมือถือเครื่องใหม่ได้ง่ายขึ้น และยังไม่รวมแคมเปญอื่นๆ จาก Apple กับตัวแทนจำหน่ายแต่ละเจ้าเอามาเป็นจุดจูงใจเพิ่มเติมอีกด้วย ข้อดีของการจ่ายเงินผ่อน นอกจากไม่ต้องลงเงินก้อนครั้งเดียวแต่เฉลี่ยจ่ายไปเรื่อยๆ จนครบได้แล้ว ยังมีเครื่องมือทางการเงินอีกหลายอย่างเข้ามาช่วยแบ่งเบาผู้ใช้ได้อีกมาก ไม่ว่าจะใช้แต้มในบัตรเครดิตหักลดราคาเครื่องก่อนผ่อนชำระได้, กดส่งโค้ดเอาแต้มกับเงินคืนไว้ใช้ในโอกาสอื่นได้ไม่พอ ในยุคนี้บางร้านค้ายังให้ผ่อนด้วยบัตรประชาชนใบเดียวได้อีก เป็นทางเลือกเพื่อคนไม่มีบัตรเครดิตแต่มีเงินในกระเป๋าแบ่งจ่ายค่าเครื่องได้สะดวกไม่แพ้กันAdvertisement ผ่อนไอโฟนวิธีไหนได้บ้าง? ปัจจุบันสามารถผ่อนมือถือได้หลายวิธี...

Mac Corner

ถ้าใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ไม่ว่าจะ Windows หรือ MacBook ทุกคนย่อมกดคีย์ลัดสั่งการให้คอมของตัวเองทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้นแน่นอน ถ้าใช้คอมมานานแล้ว คีย์ลัด Mac ก็ยังใช้วิธีกดปุ่มคำสั่ง 2-3 ปุ่มรวมกัน แค่เปลี่ยนชื่อกับภาพไอคอนปุ่มคำสั่ง (Modifier) บางปุ่มให้เป็นตามแบบฉบับของ Apple เอง คนที่ย้ายจาก Windows มาใช้ macOS ก็ใช้เวลาปรับตัวเรียนรู้คีย์ลัดสักระยะก็ใช้งานได้ถนัดอย่างแน่นอน ก่อนจะเริ่มใช้งานคีย์ลัด Mac...

How to

ในยุคนี้ใครๆ ก็ต้องมีโน๊ตบุ๊คเอาไว้ทำงานสักเครื่อง แต่จะซื้อมือหนึ่งแล้วต้องรอให้ถึงช่วงโปรโมชั่นก็ไม่ไหวหรือถึงจะลดราคาแล้วก็ยังจ่ายไม่ไหวก็มี โน๊ตบุ๊คมือสองจึงกลายเป็นทางเลือกของผู้ใช้หลายๆ คนที่ต้องการคอมสเปคดีราคาไม่แรงเอาไว้ทำงานสักเครื่อง ซึ่งช่องทางหาซื้อในปัจจุบันก็มีตั้งแต่วิธีคลาสสิคอย่างไปซื้อจากหน้าร้านคอมมือสองตามห้างไอที, ค้นหาทางเว็บไซต์เว็บบอร์ดไปจนตามหาซื้อในกลุ่ม Facebook และ Marketplace แล้วนัดเจอรับสินค้าก็ทำกันเป็นเรื่องปกติไปแล้ว ถ้าคิดว่าจะซื้อโน๊ตบุ๊คจากร้านมือสองหรือต่อจากคนอื่น นอกจากโฟกัสให้ได้ราคาที่ตั้งใจเอาไว้ก็ต้องดูสเปคให้พอดีกับงานของเราด้วย ซึ่งวิธีง่ายสุดก็ให้ดูก่อนว่าในเครื่องเป็น Windows 11 แล้วหรือยัง จะได้อัปเดตแพทช์รักษาความปลอดภัยได้เรื่อยๆ หรือถ้าสเปคน่าสนใจแต่ยังเป็น Windows 10 ก็เช็คจากตารางซีพียู AMD, Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก