เชื่อได้ว่าหลายคงทราบกันเป็นอย่างดี สำหรับขั้นตอนการอัพเกรดแรมโน๊ตบุ๊คให้ใช้งานได้มีความลื่นไหลและมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนแรกๆ ที่เราจะเลือกกันก็คือ การเพิ่มแรม ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะ ตัวแรมเองสามารถอัพเกรดได้โดยง่าย เพียงเปิดฝาหลังของเครื่องโน๊ตบุ๊ค จากนั้นก็ใส่แรมใหม่เข้าไปตรงช่องแรม แรมปิดฝาเปิดเครื่องก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย เราก็จะได้แรมเพิ่มเข้ามาแล้ว
ซึ่งโดยส่วนมากแรมโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นจะให้แรมมาขนาดที่ 4GB แบบแถวเดียว โดยแถวที่สองจะเว้นว่างเอาไว้ เพื่อรองรับการอัพเกรดแรมในอนาคตหลังจากที่ซื้อเครื่อง ที่ส่วนมากแล้วเราก็จะเลือกซื้อแรมขนาด 4GB อีกหนึ่งแถวมาติดตั้งใช้งานเพิ่มเติม หรือถ้ากรณีโน๊ตบุ๊คเครื่องๆ นั้น ใส่แรมมาให้แบบ 2GB x 2 แถว เราก็จำเป็นต้องถอดแรมออกทั้ง 2 แถว แล้วใส่แบบ 4GB x 2 แถวเข้าไปแทน ?หรือถ้าจะอัพเกรดเป็น 8GB x 2 แถวก็ทำได้นะครับ แต่ก็ต้องดูดีๆ ว่าโน๊ตบุ๊คของเรานั้นรองรับแรมสูงสุดที่ 16GB หรือเปล่า
อย่างไรก็ตามใช่ว่าการซื้อแรมมาอัพเกรดเพิ่มเติมนั้นจะมีแต่ข้อดีเสมอไป ในบทความนี้เราก็เลยจะมานำเสนอ 5 เหตุผลที่ไม่ควรอัพเกรดแรมในโน๊ตบุ๊ค กันนะครับ มีอะไรกันบ้างตามไปดูกันเลย
1. แรมราคาแพงขึ้น (มาก)
ในปัจจุปันวันที่เขียนบทความนี้ เรียกได้ว่าราคาแรมโน๊ตบุ๊คและพีซีขึ้นมาแรงกระฉูดมากๆ เมื่อเทียบกับตอนที่แรมถูกที่สุด อย่างแรมยี่ห้อ Kingston ขนาดที่ 8GB มีราคาสูงถึง 2,470 บาท ส่วนขนาด 4GB จะมีราคาอยู่ที่ 1,290 บาท ซึ่งถ้าดูแล้วก็มีราคาสูงขึ้นกว่าตอนที่ราคาถูกสุดมากๆ เพราะจำได้ว่าเคยเห็นแรมขนาด 8GB ราคาประมาณ 800-900 บาท ส่วนแรมขนาด 4GB อยู่ที่ประมาณ 500 บาทเท่านั้น ทำให้ในตอนนี้จัดได้ว่าแรมมีราคาสูงกว่าเมื่อก่อนที่ 2-3 เท่าทีเดียว (รู้งี้ซื้อเก็บไว้ดีกว่า ฮาาา) ฉะนั้นในการอัพเกรดแรมคงต้องมาคำนวณดีๆ ว่าได้คุ้มกับเสียหรือเปล่า สำหรับเรื่องราคาแรมเมื่อไหร่จะลงนั้น ส่วนตัวก็ตอบไม่ได้เหมือนกันครับ
2. เครื่องมีแรมแถวเดียว?
โน๊ตบุ๊คทุกๆ รุ่นในตอนนี้ใช้ว่าจะรองรับแรมแบบ 2 แถวเสมอไปนะครับ เพราะยังมีโน๊ตบุ๊คบางรุ่นที่ออกแบบมาให้ตัวเครื่องบางเบา จึงทำให้การออกแบบภายในตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คนั้นๆ รองรับการใส่แรมเพียงแถวเดียวเท่านั้น ฉะนั้นในการอัพเกรดแรมคงต้องดูให้ดีว่าเครื่องของเรารองรับแรมขนาดสูงสุดที่เท่าไหร่ อาทิเช่น โน๊ตบุ๊คเครื่องที่เราตั้งใจจะอัพเกรด ติดตั้งแรมมาให้ขนาด 4GB แล้วและรองรับได้สูงสุดที่ 16GB ทำให้ในการอัพเกรดแรมครั้งนี้เราจำเป็นต้องเลือกที่ 8GB เท่านั้น เพราะ 16GB ราคายังสูงอยู่มากและไม่มีขายทั่วไป รวมถึงต้องคิดว่าแรมเครื่องเก่าจะเอาไปทำอะไรดี อย่างให้คนอื่นหรือขายไปถูกๆ ดี?
3. ใช้ Windows 32-bit
สำหรับใครคนไหนที่ใช้งานโน๊ตบุ๊คที่เป็น Windows แบบ 32-bit อยู่ ก็ต้องบอกว่าแรมขนาด 4GB ที่เครื่องมาให้นั้นก็เพียงพอต่อการใช้งานแล้ว เพราะสมมุติว่าเราอัพเกรดเป็นแรม 8GB ไป ตัวระบบก็มองไม่เห็น 8GB เต็มๆ อยู่ดี ฉะนั้นถ้าใครคิดจะอัพเกรดล่ะก็ คงจำเป็นต้องเปลี่ยน Windows เป็นแบบ 64-bit ด้วย เพื่อให้การใช้งานนั้นเต็มประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถ้าใครใช้งานเป็น Windows 32-bit ก็คงต้องซื้อแบบ 64-bit มาทดแทนกันเลยทีเดียว ไม่งั้นไปจัดแรมมาเป็น 8GB ก็เสียดายตังค์เปล่าๆ ครับ
4. อัพไปใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ในส่วนของคนที่ใช้งานโน๊ตบุ๊คประเภทใช้งานทั่วไป อย่างเล่นอินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน ฟังเพลง ดูหนังแล้วล่ะก็ การอัพเกรดแรมจาก 4GB เป็น 8GB ก็ดูไม่ค่อยจะมีประโยชน์เท่าไหร่นัก เพราะความที่ว่าเราที่มีอยู่ก็พอเพียงกับการใช้งานเหล่านั้นแล้ว แม้จะอัพเกรดเป็นแรม 8GB แล้วก็อาจจะไม่ช่วยให้รวดเร็วอะไรมากขึ้น ซึ่งอาจจะไม่คุ้มกับเงินที่เสียไปก็ได้ ฉะนั้นก็ควรตัดสินใจว่าในอนาคตเราอาจจะต้องใช้งานที่ใช้แรมเพิ่มมากยิ่งขึ้น อย่างเล่นเกมหรือทำงานโปรเซสหนักๆ ซึ่งถ้ายังไม่ใช่เร็วๆ นี้ก็อาจจะไม่ต้องรีบอัพเกรดนักก็ได้ (ซื้อไปตอนนี้แพงเปล่าๆ)
5. เครื่องรุ่นเก่า อัพไปก็เท่านั้น
เทียบขนาดแรมต่อราคาแล้วก็ต้องบอกว่าไม่ค่อยคุ้มค่ามากนักกับการอัพเกรดแรมที่เป็นรุ่นเก่า อย่าง DDR2 / DDR3 เพราะประสิทธิภาพหรือความเร็วที่กลับมาเติมเต็มโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่านั้น ไม่มีผลอะไรมากมายแล้ว ด้วยความที่ว่าตัวซอฟต์แวร์และโปรแกรมในปัจจุบันมีความต้องการแรมมากกว่านั้น ฉะนั้นถ้าใครคิดจะอัพเกรดแรมเครื่องโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าๆ แล้ว อันนี้ไม่แนะนำครับ เก็บเงินไว้เปลี่ยนเป็นเครื่องใหม่ทีเดียวจะดีกว่า?
เรียกได้ว่าหลายๆ ท่านที่ซื้อโน๊ตบุ๊คพีซี หรือประกอบเครื่องใช้เองก็มักอยากจะอัพเกรดเครื่องของท่านไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะหลายๆท่านที่ใช้เครื่องมาสักพักแล้วพอมีงบประมาณในการซื้ออุปกรณ์อัพเกรด หรือจากความจำใจที่ต้องอัพเกรทเครื่องให้ใช้งานได้ดีขึ้น โดยอุปกรณ์ที่หลายๆท่านมักจะมองเพื่ออัพเกรทเป็นหลักเลยนั่นก็คือ RAM หรือชื่อเต็มๆ คือ Random Access Memory
เพราะเป็นอุปกรณ์ที่สามารถติดตั้งเองได้ไม่ยาก แต่เครื่องส่วนใหญ่ก็มักจะมีสล๊อตแรมเหลือให้ใส่เพิ่มได้อยู่แล้ว จึงมักจะมีคำถามสอบถามตามกรุ๊ป หรือกระทั่ง inbox ของ NBS เองก็มี บางอันก็แปลกๆ บางอันก็เป็นความเข้าใจผิดๆ วันนี้ผมเลยมาแนะนำความเข้าใจผิดหลายๆ ท่านให้เข้าใจอย่างถูกต้องกันหน่อย
- ใส่แรมแถวใกล้ซีพียูสุดเพื่อความเร็วสูงสุด
เป็นคำพูดที่ผมได้ยินมานานตั้งแต่สมัยเริ่มเล่นคอมใหม่ๆ ละครับ จนปัจจุบันหลายๆ ท่านก็ยังเข้าใจแบบนี้อยู่ จึงมักจะใส่แรมบนสล๊อตที่ใกล้ซีพียูมากที่สุดเป็นหลักเพื่อความเร็วที่ดีที่สุด ซึ่งความเป็นจริงจะสล๊อตใกล้หรือไกลก็ให้ความเร็วไม่ต่างกันครับ เพราะสุดท้ายก็วิ่งไปที่ซีพียูหรือชิปเซ็ตพร้อมกันทุกสล๊อตอยู่ดีละครับ และความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมันเร็วมากจนเราไม่รู้ถึงความต่างกันเลย ยกเว้นการติดตั้งแบบ Dual Channel ที่จะต้องติดตั้งให้ถูกสล๊อตจึงจะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่งั้นมันก็จะเป็น Single Channel แบบที่นักจัดสเปคชื่อดังเคยพลาดมาแล้ว
อีกส่วนที่ผมมองว่าไม่จำเป็นต้องติดตั้งแรมบนสล๊อตติดกับซีพียูเลยก็คือการจัดวางของพัดลมระบายความร้อนซีพียุ ที่บางตัวพัดลมหรือชุดระบายความร้อนใหญ่มากจนลามมาสล๊อตแรม ถ้าเราติดตั้งใกล้เกินไปแรมอาจจะบิดงอ หรือทำให้ระบบระบายความร้อนไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้นติดตั้งตามความเหมาะสมดีกว่า
- บัสต่างกันใช้ด้วยกันได้ไหม
อีกหนึ่งคำถามโลกแตกของผู้ใช้แรมโน๊ตบุ๊ค โดยเฉพาะผู้ใช้มือใหม่หรือผู้ใช้โน๊ตบุ๊คที่มักไม่รู้สเปคของแรมซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่อง อีกทั้งในตลาดก็มีหลายรุ่นหลายความเร็วบัสให้เลือก แล้วก็มักจะถามว่ารุ่นนี้แรมสเปคเป็นอย่างไร ความเร็วเท่าไร ซึ่งไม่ว่าแรมบัสเท่าไรขอให้เป็นชนิดเดียวกันสามารถใส่ด้วยกันได้ เช่นแรมเดิม 2133 MHz แต่ซื้อบัส 2400 MHz มาใสด้วยกันก็สามารถใช้งานได้ แต่แรมที่ความเร็วสูงกว่าจะถูกกดให้วิ่งเท่าความเร็วของตัวต่ำกว่าในที่นี้คือ 2400 จะลดสเปคเหลือ 2133 MHz เท่านั้นเอง
แต่ถ้าเอาให้ชัวร์เพื่อความเร็วที่สมบูรณ์แบบแนะนำให้โหลดโปรแกรมเช่น CPU-Z มาเช็คสเปคแรมที่มีอยู่ก่อน และซื้อแรมที่มีความเร็วเท่ากันจะดีและคุ้มค่ากว่า ยกเว้นแรมบางตัวที่ผลิตน้อยหรือเลิกผลิตไปแล้วซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรมสเปคต่ำ ก็จะแนะนำว่าซื้อแรมตลาดที่ความเรวบัสสูงกว่ามาใช้งานเผลอๆมีราคาถูกกว่าอีกนะ
- ความจุต่างกันใช้ด้วยกันไม่ได้
ถ้าถามว่าแรมต่างความจุกันใช้ด้วยกันได้ไหม ตอบได้เลยว่าได้ไม่ต้องห่วง เพราะแรมออกแบบมาให้สามารถใช้งานต่างสเปคกันได้อยู่แล้ว แต่ถ้าความจุเหมือนกัน สเปคเหมือนกันอาจจะสามารถทำ Dual Channel ได้ก็เท่านั้นเอง แต่ถึงไม่ใช่ Dual Channel ก็ไม่ได้ให้ประสิทธิภาพที่ต่างกันมากนัก เอาตามความจุที่เราต้องการดีกว่า สมมุติว่าเดิมมีแรมโน๊ตบุ๊ค 4GB แต่เหลือสล๊อตว่างอีก 1 สล๊อต ถ้าซื้อใหม่มาอีก 4GB ก็อาจจะไม่พอใช้งานโดยเฉพาะสายเกม แต่ถ้าใส่ 8GB ไปเลยความจุไม่เท่ากัน แต่ก็ช่วยให้ใช้งานได้ดีกว่า และใช้งานด้วยกันได้ไม่ต้องเป็นห่วง