เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่น่าสนใจของ iPad Air ที่ล่าสุดทางเว็บไซต์ลูกอีช่างแกะอย่าง?iFixit ก็ได้ทำการการแยกชิ้นส่วนของ iPad Air ตามธรรมเนียม เพื่อเป็นแนวทางในการซ่อมถอดประกอบ พร้อมกับประเมิณว่าหากทำการซ่อมด้วยตนเองหรือช่างภายนอกแล้ว จะซ่อมขนาดไหน โดยจากข้อมูลที่ผ่านมานั้น จะพบว่าสินค้า Apple รุ่นใหม่ๆ นั้นจำเป็นต้องใช้ความพยายามแกะมายิ่งขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนวิธีการแกะชิ้นส่วนหน้าจอของ iPad Air ก็ยังคงใช้แบบเดิมๆ ด้วยการใช้ตัวดึงสูญญากาศเป็นตัวช่วยให้เผยอขึ้นมา จากนั้นก็ใช้อุปกรณ์บางๆ มาสอดเอาไว้
เมื่อเปิดชิ้นส่วนพาเนลหน้าจอขึ้นมา ก็จะพบกับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่อยู่ภายใน ซึ่งในตัว iPad Air มาพร้อมกับแบตเตอรี่ความจุ 8827 mAh ที่ถ้าหากเทียบความจุแบตเตอรี่ของ iPad 4 ก็จะพบว่ามีความจุลดลงไปเล็กน้อย?
?
ซึ่งจากการใช้และรีวิวจากทางประเทศพบว่ายังคงใช้งานได้ 10 ชั่วโมงเท่าเดิม นั่นก็หมายความว่า ฮาร์ดแวร์ภายในนั้นมีอัตราการใช้พลังงานที่ลดลง
ภาพด้านบนนี้คือส่วนของลอจิกบอร์ด (เมนบอร์ด) ของ iPad Air โดยชิปตัวที่น่าสนใจก็ได้แก่
- สีแดง = ชิป Apple A7 (APL5698) ซึ่งเลขโมเดลของชิปจะต่างจากใน?iPhone?5s เล็กน้อย (APL0698) โดยจุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนคือความเร็วการทำงานที่ iPad Air สามารถทำงานได้สูงสุด 1.4 GHz ส่วนใน iPhone 5s ทำงานได้สูงสุด 1.3 GHz
- สีส้ม = ชิปแรม LPDDR3 1 GB
- สีเหลือง = ชิปหน่วยความจำภายในเครื่อง โดยในเครื่องนี้เป็นความจุ 16 GB
- สีเขียว = ชิปประมวลผล M7
- สีดำ = ชิปเสียงจาก Cirrus Audio ซึ่งเป็นชิปรุ่นเดียวกับใน iPhone 5c
โดยสรุปแล้วทางเว็บไซต์ iFixit ได้ให้คะแนนความง่ายต่อการซ่อมของ iPad Air อยู่ที่ 2/10 เท่านั้น โดยข้อดีคือพาเนลจอสามารถแกะออกจากกรอบจอได้ง่าย รวมไปถึงแบตเตอรี่ที่สามารถแงะขึ้นมาได้ง่ายกว่า iPad รุ่นก่อนหน้า เรียกได้ว่าสร้างความประทับใจให้มากกว่าเดิมเล็กน้อย อีกทั้งการที่แกะ iPad Air ครั้งนี้ยังแสดงให้เห็นถึงชิ้นส่วนภายในทีทาง Apple ไม่ได้บอกในสเปกอีกด้วย เรียกได้ว่าน่าสนใจทีเดียว
แต่อย่างไรก็ตามในด้านของข้อด้อยที่ทำให้ทางเว็บไซต์ iFixit ได้หักคะแนนก็เช่นตัวพาเนลจอที่ถึงแม้จะแกะได้ง่ายก็จริง แต่มันก็ใช้การยึดด้วยกาว จึงทำให้การแกะจำเป็นต้องใช้ระมัดระวังซักและความชำนาญการเล็กน้อย รวมไปถึงการยึดชิ้นส่วนภายในทั้งหมดนั้น ทาง Apple ได้เลือกใช้กาวเป็นตัวเชื่อม ทำให้การแกะแงะออกมาต้องใช้ความระมัดระวังมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ที่มา:?iFixit