Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

IDrive บริการเซฟไฟล์ไปแบ็คอัพขึ้นบัญชี Cloud ของตัวเอง แถมรับส่งฮาร์ดดิสก์ฟรี

การเก็บข้อมูลแบบ Cloud ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ใช้ทั่วไปแต่เวลาจะแบ็คอัพข้อมูลจำนวนมากๆ เป็นหลักเทระไบต์ (Terabyte)

การเก็บข้อมูลแบบ Cloud ยิ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จากผู้ใช้ทั่วไปแต่เวลาจะแบ็คอัพข้อมูลจำนวนมากๆ เป็นหลักเทระไบต์ (Terabyte) แล้วหลายๆ คนอาจจะส่ายหน้าเพราะกินเวลานานมาก แต่วันนี้ IDrive หนึ่งในผู้ให้บริการ Cloud Storage เปิดบริการใหม่ให้กับผู้ใช้ในกลุ่ม IDrive Pro ให้แบ็คอัพข้อมูลระดับเทระไบต์เข้าสู่ Cloud Storage ของตนเองได้ง่ายๆ โดยทางบริษัทจะส่งฮาร์ดดิสก์มาให้เราเซฟข้อมูลถึงที่ และเมื่อเราแบ็คอัพเสร็จแล้วก็ส่งฮาร์ดดิสก์กลับไปให้ทางบริษัทอัพโหลดข้อมูลเข้าสู่บัญชีผู้ใช้ของเราต่อไป

https___mail-attachment-googleusercontent-com_attachment_u_1_ui2ike477f93bffviewattth1401812zwsaduieag9b_p-vxozcaydogvdm89bisslisadet1375139245022sadse8tfglwfniq3wb1xcyms_g

Advertisement

บริการนี้เปิดให้กับผู้ใช้ที่เปิดบัญชีใช้งานเป็น IDrive Pro ที่ชำระค่าบริการ 99.50 ดอลล่าร์ (ราว 3,xxx บาท)ต่อปีเพื่อพื้นที่บน Cloud ขนาด 100 GB โดยฟรีค่าธรรมเนียมขนส่งโดย FedEx มูลค่า 59.99 ดอลล่าร์ (ราว 1,xxx บาท) หนึ่งครั้งต่อปี และมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่มีการรั่วไหลโดยทางบริษัทเตรียมระบบการเข้ารหัสเฉพาะติดตั้งเอาไว้ในฮาร์ดดิสก์ลูกที่ส่งมาให้ผู้ใช้แบ็คอัพแล้วดังนั้นมั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่รั่วไหลแน่นอนซึ่งหลังจากเราแบ็คอัพแล้วทาง IDrive ก็จะนำข้อมูลอัพโหลดขึ้นบัญชีของเราใน Data Center ของทาง IDrive ต่อไป

บริการจาก IDrive จะแบ่งออกเป็น 2 ระดับด้วยกันคือระดับผู้ใช้ทั่วไปที่ชำระค่าบริการเพียง 49.50 ดอลล่าร์ (ราว 1,xxx บาท) และเรท 99.50 ดอลล่าร์ (ราว 3,xxx บาท) เพื่อกลุ่มนักธุรกิจโดยจะมีฟีเจอร์สนับสนุนเพิ่มขึ้นหลายรายการและรองรับบัญชีผู้ใช้หลายบัญชีด้วยกัน ซึ่งถ้าใครต้องการความสะดวกในการแบ็คอัพข้อมูลเข้าสู่ Cloud Storage ส่วนตัวโดยไม่ต้องนั่งเสียเวลาอัพโหลดล่ะก็ วิธีการนี้จาก iDrive ก็น่าใช้บริการเหมือนกัน ส่วนใครอยากใช้บริการ IDrive ก็กดได้ที่ลิ้งค์นี้เลย

ที่มา : techcrunch

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

CONTENT

หากคุณต้องการอัปเกรดคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นไดรฟ์ SSD แต่ไม่ต้องการเริ่มการสำรองข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ต้น(หรือลง Windows ใหม่) ต่อไปนี้เป็นวิธีถ่ายโอนข้อมูลจากฮาร์ดไดรฟ์เก่าของคุณ ปัจจุบันนี้ พีซีรุ่นใหม่ส่วนใหญ่มาพร้อมกับการติดตั้งไดรฟ์ SSD หรือ M2.NVME ภายในที่มาพร้อมกับความเร็วมากขึ้นกว่า HDD เป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามหากคุณยังคงใช้ฮาร์ดดิสก์แบบหมุนได้แบบเดิมๆ ถือว่าคุณพลาดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปแล้ว การสลับแหล่งเก็บข้อมูลหลักที่เป็นที่ตั้งของระบบปฏิบัติการ Windows จาก HDD เป็น SSD(หรือ M2.NVME) เป็นหนึ่งในการอัปเกรดที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้เพื่อเพิ่มความเร็วให้กับคอมพิวเตอร์ของคุณ...

How to

ไดร์ d หาย 8 วิธีแก้หาไดร์ไม่เจอ Windows 11 ตรวจเช็ค กู้คืนไดร์ให้กลับมาฉบับปี 2023 ไดร์ d หาย หาไดร์ไม่เจอ เกิดจากอะไร แก้ได้ป้องกันได้อย่างไรในปี 2023 ปัญหานี้สร้างความเสียหายได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นไดรฟ์ที่ใช้เก็บหรือสำรองข้อมูล เมื่อเกิดความเสียหาย ก็อาจทำให้ข้อมูลสำคัญต่างๆ หายไปได้ โดยเฉพาะกับ SSD...

CONTENT

HDD หรือแหล่งเก็บข้อมูลแบบจานหมุนยังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน แต่พอใช้ไปนานๆ แล้วกลับช้าลงอย่างเห็นได้ชัด มาดูกันว่าจะมีโปรแกรมอะไรบ้างช่วยเพิ่มประสิทธิภาพกับ HDD ได้บ้าง แม้ว่าในปัจจุบันเราๆ ท่านๆ จะเปลี่ยนมาใช้แหล่งเก็บข้อมูลแบบ Solid state drive(SSD) หรือแหล่งเก็บข้อมูลแบบที่ใช้ชิปหน่วยความจำ(NAND) กันมากขึ้นเพราะความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลสูงมากกว่าแหล่งเก็บข้อมูลแบบจานหมุนหรือ Hard disk drive(HDD) แต่ก็ไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้เลยว่ายังคงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ใช้งานแหล่งเก็บข้อมูลแบบ HDD อยู่ในปัจจุบัน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เนื่องมาจากราคาต่อพื้นที่ความจุเฉลี่ยของ HDD นั้นคุ้มค่ากว่า...

CONTENT

ระบบปฎิบัติการ Windows นั้นมีฟีเจอร์การบีบอัดพื้นที่บน Harddisk มานานหลายยุคหลายสมัย ทว่าหลายๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าฟีเจอร์นี้มีอยู่ ลองมาดูกันว่าฟีเจอร์นี้คืออะไรและควรทำหรือไม่ การบีบอัดไดรฟ์ระบบปฏิบัติการเป็นวิธีประหยัดพื้นที่ในฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ การลดขนาดไฟล์ทำให้มีพื้นที่จัดเก็บมากขึ้น เนื่องจากไดรฟ์ OS มักจะมีซอฟต์แวร์ที่อัดแน่นไปด้วยทรัพยากร, ไฟล์ปรับแต่งและโค้ดที่ซ้ำกัน ผู้คนจึงตั้งทฤษฎีว่าการบีบอัดไดรฟ์ OS อาจทำให้พื้นที่ว่างจำนวนมากขึ้นและด้วยระบบไฟล์บีบอัดแบบโปร่งใส(Transparent Compression) ผู้ใช้จึงสามารถใช้ไฟล์ของตนได้อย่างราบรื่นโดยไม่ต้องบีบอัดและขยายขนาดด้วยตนเอง ดังนั้นคุณควรบีบอัดไดรฟ์ OS ของคุณหรือไม่ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องคืออะไร และการบีบอัดแบบโปร่งใสหมายถึงอะไร...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก