Connect with us

Hi, what are you looking for?

PC Review

AMD A10-6800K Review (ฉบับแปลจากสื่อต่างประเทศ)

ถ้าพูดถึงซีพียูพร้อมกราฟิกการ์ดออนบอร์ดรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูงจาก AMD ในตอนนี้ต้องพูดถึง AMD APU A10-6800K ที่เป็น APU

ถ้าพูดถึงซีพียูพร้อมกราฟิกการ์ดออนบอร์ดรุ่นใหม่ประสิทธิภาพสูงจาก AMD ในตอนนี้ต้องพูดถึง AMD APU A10-6800K ที่เป็น APU (Accelerated Processing Unit) รุ่นใหม่ที่ทาง AMD เปิดตัวมาทำตลาดเพื่อผู้ใช้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์พีซีที่มีประสิทธิภาพที่สูงพอควรแต่มีราคาไม่แพงจนเกินไปซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีกลุ่มผู้ใช้กลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย แต่ประสิทธิภาพของ AMD APU A10-6800K นั้นจะดีกว่า A10-5800K แค่ไหนนั้น ครั้งนี้ทางทีมงานมีบทความรีวิวจากเว็บไซต์ต่างประเทศอย่าง TECHPOWERUP มาให้ทุกคนได้อ่านกัน

apu_front pins

ตัวซีพียูนั้นจะไม่ต่างจากเดิมมากนักนอกจากรหัสรุ่นที่เปลี่ยนจาก AMD A10-5800K ในรุ่นก่อนเป็น AMD A10-6800 ซ็อคเก็ตจะเป็น FM2 เช่นเดียวกับรุ่น AMD A10-5800K?

Advertisement

Specification

technology

ก่อนที่เราจะไปชมรีวิวของ AMD APU A10-6800K นั้นจะเป็นซีพียูรุ่นที่ดีสุดในกลุ่ม APU ในปัจจุบันและเป็นรุ่นที่พัฒนาต่อจาก AMD APU A10-5800K ที่เป็นรุ่นก่อนหน้านี้ โดยซีพียูจะเป็นซ็อคเก็ต FM2 และเป็นแบบ Quad-Core เหมือนกัน สำหรับ AMD A10-6800K จะมีความเร็วต่อคอร์เพิ่มขึ้นโดยความเร็วตั้งต้นจะเพิ่มจาก 3.8 GHz เป็น 4.1 GHz และเร่งความเร็วไปได้สูงสุด 4.4 GHz ด้วยกันจากรุ่นที่แล้วที่ทำได้ 4.2 GHz พร้อม L2 cache จำนวน 4 MB (1 MB ต่อคอร์) เพราะพื้นที่ของ L3 cache นั้นเปลี่ยนเป็นพื้นที่ติดตั้งการ์ดจอออนบอร์ด AMD Radeon แทน และได้รับการปลดล็อคตัวคูณให้ทำการโอเวอร์คล็อคได้โดยสังเกตจากรหัส ?K? ที่เขียนเอาไว้ท้ายรหัสรุ่นซีพียูนั่นเอง

Spec

คอร์ซีพียูของ A10-6800K เครื่องนี้จะเป็น ?Pliedriver? สถาปัตยกรรม X86 เหมือนกับที่ใช้ในซีพียู AMD FX Series ที่เป็นซีพียูประสิทธิภาพสูงของ AMD และมีค่า Max TDP อยู่ที่ 100 วัตต์และรองรับแรมที่มีบัส 2133 MHz แล้ว

GPU

ด้านของกราฟิกการ์ดออนบอร์ดรุ่น AMD Radeon HD 8670D ที่ติดตั้งมาให้จะเป็นสถาปัตยกรรม VLIW 4 มีจำนวน AMD Radeon Cores สำหรับประมวลผลกราฟิกอยู่ที่ 384 คอร์ พร้อมกับค่าความเร็ว Clock อยู่ที่ 844 MHz เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิก โดย AMD Radeon HD 8670D นี้จะรองรับ DirectX 11, ISA, FMA 4/3, AVX, AES, XOP แล้ว และสามารถปรับแต่งการทำงานได้ด้วยโปรแกรม AMD OverDrive เพื่อประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงยิ่งขึ้น รองรับการปรับแต่งกราฟิกสูงสุดได้ถึง 8xAA กับ 16AF อีกด้วย

 

Features

mem_gains

ฟีเจอร์ที่เสริมเข้ามาใน AMD APU A10-6800K นั้นคือจะรองรับแรมบัส 2133 MHz แล้ว โดยเพิ่มจากรุ่นก่อนที่รองรับแค่ 1866 MHz เท่านั้น ซึ่งการติดตั้งแรมที่มีบัสขนาดใหญ่ขึ้นนั้นจะยิ่งส่งเสริมให้ประมวลผลกราฟิกทำได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย โดยจะสังเกตเห็นว่าค่าเฟรมเรทของ A10-6800K ที่ติดตั้งแรมพร้อมบัส 2133 MHz นั้นจะมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่าแรมที่มีบัสเพียง 1866 MHz ราว 10% ขึ้นไป และจะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับแรมบัส 1600 MHz ซึ่งทางทีมงาน TECHPOWERUP เองก็เสนอว่าเวลาใช้งานนั้นเราก็สามารถโอเวอร์คล็อกแรมให้มีค่าบัสเพิ่มขึ้นเป็น 2133 MHz ได้เช่นกัน แต่ไม่แนะนำให้ทำบ่อยๆ นักเพราะตัวเครื่องอาจทำงานได้ไม่เสถียรนัก

 

dual_graphics

ส่วนถ้าใครเห็นว่าเพียงแค่กราฟิกการ์ดออนบอร์ดยังตอบสนองการทำงานได้ไม่สูงเท่าที่ต้องการล่ะก็ การติดตั้งการ์ดจอแยกเพื่อเสริมการทำงานกราฟิกได้เช่นกัน โดยจะเป็นการทำงานแบบ Dual Graphic ซึ่งมีเงื่อนไขว่าจะต้องใช้เมนบอร์ดที่ติดตั้งชิปเซ็ตเป็น A75 ขึ้นไปจึงจะสามารถใช้งานได้ โดยกราฟิกการ์ดที่แสดงให้ชมในภาพด้านบนนั้นจะเป็นกราฟิกการ์ดรุ่นกลางตัวอย่างเช่น AMD Radeon HD 6670 ที่สามารถทำ Dual Graphic กับ AMD A10, A8 ได้ ยกเว้น A6 ที่ต้องติดตั้งการ์ดจอแยกรุ่นกลางเช่น AMD Radeon HD 6570 ลงไปเท่านั้น และถ้าเป็นรุ่นล่างอย่าง AMD Radeon HD 6450 นั้น AMD A10, A8 จะไม่รองรับ

และจากกราฟที่นำมาประกอบจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการประมวลผลกราฟิกจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยเกมต่างๆ ที่นำมาทดสอบจะปรับตั้งค่ากราฟิกในระดับสูงและความคมชัดระดับ Full HD ที่ทำให้กราฟิกการ์ดและซีพียูรับภาระในการประมวลผลสูงสุดอีกด้วย โดยจะเห็นได้ว่าค่าเฟรมเรทจะเพิ่มขึ้นจากเดิมมากทีเดียว แต่ในเวลาเล่นเกมจริงแล้วเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะปรับตั้งค่ากราฟิกลงมาบ้างบางส่วนซึ่งจะทำให้ค่าเฟรมเรทเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

 

Benchmarking

Test Spec

สเปกของตัวเครื่องที่ทาง TECHPOWERUP นำมาทดสอบนั้นนอกจากซีพียู AMD A10-6800K แล้ว เมนบอร์ดจะเป็น ASRock FM2A85X ที่ชิปเซ็ตจะเป็นรุ่น A85X ที่ดึงประสิทธิภาพในการทำงานของ APU ออกมาได้เต็มที่และแรมเป็น Kingston HyperX Beast ความจุ 8 GB แบบ DDR3 (เป็นแรม 4 GB จำนวน 2 แถวด้วยกัน) บัส 2400 MHz ส่วนของระบบระบายความร้อนจะเป็น Corsair H100 ที่เป็นระบบระบายความร้อนด้วยน้ำกับฮาร์ดดิสก์ SSD รุ่น Corsair ForceGT ความจุ 60 GB เชื่อมต่อแบบ SATA (6 Gb/s) ส่วนระบบปฏิบัติการเป็น Windows 7 (64-bit) และไดร์เวอร์เป็น AMD Catalyst 13.6 BETA

CPUZ Stock CPUZ Ram Stock

พื้นฐานของซีพียู AMD APU A10-6800K นั้นจะเป็นซีพียูแบบ 4 คอร์ 4 เธรด สถาปัตยกรรม Richland มีความเร็วต่อคอร์ที่ 4.1 GHz เร่งความเร็วได้สูงสุดที่ 4.4 GHz พร้อม L2 cache จำนวน 4 MB ด้วยกัน ส่วนของค่า Max TDP อยู่ที่ 100 วัตต์ ส่วนของแรมจะมีความจุ 8 GB แบบ DDR3 ติดตั้งแบบ Dual Channel พร้อม CL 11 อีกด้วย

CPUZ OC CPUZ Ram OC

พอทำการโอเวอร์คล็อคโดยเพิ่มแรงดันไฟไปที่ 1.525V จะทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นไปที่ 5 GHz ส่วนของค่า Clock ของกราฟิกชิปจะเพิ่มจากเดิมอีก 160 MHz เป็น 1014 MHz ด้วยกัน ซึ่งทาง TECHPOWERUP ได้แสดงความคิดเห็นว่าการโอเวอร์คล็อคซีพียูรุ่นนี้นั้นสามารถทำได้ง่ายหากว่าอุปกรณ์พร้อม เพราะตัวซีพียูมีประสิทธิภาพในการทำงานสูงอยู่แล้ว

Voltage

อัตราการใช้พลังงานจากในตารางจะเห็นได้ว่าพื้นฐานของซีพียูที่ตั้งค่า CPU Voltage อยู่ที่ 1.4 โวลต์ และ GPU Voltage อยู่ที่ 1.25 โวลต์ นั้นจะมีค่า Idle Power อยู่ที่ 7 วัตต์ จะทำให้ Load Power อยู่ที่ 80 วัตต์ด้วยกัน ส่วนถ้าทำการโอเวอร์คล็อคเพิ่มค่า CPU Voltage ไปที่ 1.525 โวลต์ และ GPU Voltage ไปที่ 1.35 โวลต์ จะทำให้ CPU Clock กับ GPU Clock เพิ่มขึ้นจากเดิมและทำให้ค่า Load Power เพิ่มขึ้นเป็น 106 วัตต์ ซึ่งใช้พลังงานเพิ่มจากเดิมอยู่ 26 วัตต์ด้วยกัน

cinebench_cpu
cinebench_gpu

คะแนนของ CINEBENCH 11.5 ในส่วนของคะแนนซีพียูเมื่อเทียบกันแล้วจะเห็นว่าคะแนนของ CPU ระหว่าง A10-5800K กับ A10-6800K จะไม่ต่างกันมากนัก แต่พอโอเวอร์คล็อคแล้วคะแนนจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดทีเดียวจากเดิมที่ทำได้เพียง 3.58 คะแนนจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.19 คะแนน ส่วนของคะแนน GPU ที่ในค่าพื้นฐานโดยไม่โอเวอร์คล็อคจะอยู่ที่ 42.54 FPS และโอเวอร์คล็อคแล้วจะเพิ่มขึ้นเป็น 49.65 FPS ซึ่งเพิ่มจากเดิมราว 7 FPS ด้วยกัน ซึ่งถือว่าคะแนนในระดับนี้เองก็อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีทีเดียว

3dm06
3dm11

ส่วนของคะแนน 3DMark 06 ที่ทดสอบออกมานั้นจะเห็นว่าคะแนนของ A10-6800K ในช่วงธรรมดาจะได้ 10,238 คะแนน และถ้าโอเวอร์คล็อคแล้วจะมีคะแนนเพิ่มเป็น 11,749 คะแนนด้วยกัน จะเห็นได้ว่าคะแนนที่เพิ่มมานั้นมากราว 1,500 คะแนนซึ่งถือว่ามีผลค่อนข้างมากทีเดียวเวลาประมวลผลกราฟิก และ 3DMark 11 ทดสอบแบบธรรมดาจะได้คะแนน 1,709 คะแนน และเพิ่มเป็น 2,006 คะแนนเมื่อโอเวอร์คล็อค นับแล้วจะเพิ่มจากเดิมราว 300 คะแนนด้วยกัน ซึ่งถ้าใครเป็นคนที่เล่นเกมสามมิติอยู่บ่อยๆ จะเห็นผลค่อนข้างชัด ยกเว้นถ้าเป็นผู้ใช้ทั่วไปก็ถือว่าคะแนนของ A10 จะรุ่นก่อนหรือรุ่นปัจจุบันก็ทำงานได้ประสิทธิภาพไล่เลี่ยกัน ไม่ค่อยมีความแตกต่างกันมากนัก

3dm_fire
3dm_cloud
3dm_ice

ด้านของโปรแกรม Benchmark เวอร์ชั่นใหม่อย่าง 3DMark 2013 เองก็ทำคะแนนการทดสอบออกมาได้ค่อนข้างน่าพอใจทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น DirectX 11 ของ Fire Strike ที่ได้ไป 1,045 คะแนน และ 1,248 คะแนนเมื่อโอเวอร์คล็อค A10-6800K เพิ่มเติม ส่วนของ DirectX 10 อย่าง Cloud Gae จะได้ 6,424 คะแนนกับ 7,410 คะแนนเมื่อโอเวอร์คล็อค และ DirectX 9 อย่าง Ice Strom จะอยู่ที่ 60,098 คะแนนกับ 62,547 คะแนนเมื่อโอเวอร์คล็อคแล้ว จากคะแนนที่ได้ทดสอบมานี้บอกได้ว่าถ้าใครที่ใช้ AMD A10-6800K ในรูปแบบธรรมดาก็สามารถแสดงผลได้ดีในระดับหนึ่งแล้วและถ้าใครต้องการดึงประสิทธิภาพของซีพียูรุ่นนี้ออกมาได้เต็มที่ก็แนะนำให้ทำการโอเวอร์คล็อคเพิ่มอีกสักหน่อย

metro_lastlight

ถ้าทดสอบกับโปรแกรมทดสอบแล้วก็คงจะไม่เห็นภาพชัดนักทาง TECHPOWERUP จึงทดสอบกับเกม Metro: Last Light โดยคาดว่าการปรับตั้งค่ากราฟิกอยู่ในระดับกลางถึงสูง โดยจะเห็นได้ว่า AMD A10-6800K โดยไม่โอเวอร์คล็อคก็ยังสามารถแสดงผลได้กว่า 78 FPS และเมื่อโอเวอร์คล็อคแล้วก็จะทำให้ค่าเฟรมเรทเพิ่มขึ้นไปกว่า 91 FPS ทีเดียว เรียกได้ว่าแม้จะเป็นกราฟิกการ์ดออนบอร์ดแต่ก็สามารถแสดงผลได้ดี เหมาะกับเกมเมอร์ที่มีงบประมาณจำกัดเป็นอย่างมาก

 

Conclusion

51a62f4a1d6a371434 thumb

จุดเด่นของ AMD A10-6800K นั้นเป็นเรื่องของซีพียูที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงน่าพอใจ เหมาะกับการนำไปประกอบเป็นคอมพิวเตอร์พีซีสำหรับใช้เพื่อความบันเทิงเช่นดูหนังฟังเพลงหรือแม้แต่เล่นเกมก็สามารถทำได้ในระดับหนึ่งทีเดียว ซึ่งถ้านำไปใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวันก็ถือว่าเป็นคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานในชีวิตประจำวันที่มีประสิทธิภาพที่สูงมากเครื่องหนึ่งและการ์ดจอออนบอร์ดก็สามารถเล่นเกมที่ต้องการการประมวลผลกราฟิกที่กินทรัพยากรเครื่องมากในระดับหนึ่งได้อย่างทรงประสิทธิภาพทีเดียว และถ้าใครกำลังต้องการซีพียูสำหรับฝึกโอเวอร์คล็อคโดยมีงบประมาณไม่สูงมากนักก็เป็นอีกตัวเลือกที่น่าเลือกใช้เช่นกัน

แต่สิ่งหนึ่งที่ทาง TECHPOWERUP แสดงความคิดเห็นเอาไว้อย่างน่าสนใจนั้น คือเมื่อเทียบกับ AMD A10-5800K แล้ว ถือได้ว่า AMD A10-6800K จะเพิ่มขึ้นมาให้เพียงแค่ค่าความเร็วพื้นฐานในระดับหนึ่งเท่านั้น ส่วนกราฟิกการ์ดก็ถือว่าไม่ต่างจากเดิมมากจนหวือหวาแต่อย่างใด ดังนั้นถ้านำไปใช้งานทั่วไปนั้น AMD A10-5800K ก็ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีในระดับหนึ่งแล้ว แต่ถ้าต้องการซีพียูประสิทธิภาพสูงรุ่นใหม่จะเลือกใช้ AMD A10-6800K ก็นับว่าเป็นตัวเลือกที่ไม่เลวเหมือนกัน

 

ข้อดี

  • โอเวอร์คล็อคได้ง่ายและได้ค่าความเร็วที่สูงถึง 5 GHz
  • เป็นซีพียูพร้อมการ์ดจอออนบอร์ดประสิทธิภาพสูง สามารถเรนเดอร์งานกราฟิกสามมิติได้เป็นอย่างดี
  • กราฟิกการ์ดสามารถโอเวอร์คล็อคเพื่อแสดงประสิทธิภาพให้สูงขึ้นกว่าเดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • เสริมประสิทธิภาพการแสดงผลด้วยการทำ CrossFireX กับการ์ดจอรุ่นใกล้เคียงกันได้
  • รองรับการทำ Eyefinity เชื่อมต่อหน้าจอแสดงผลพร้อมกัน 3+1 หน้าจอได้ด้วยซีพียูอย่างเดียว
  • มีราคาไม่แพงและคุ้มค่ากับประสิทธิภาพที่ได้
  • โปรแกรม Turbo Core 3.0 เสริมประสิทธิภาพการประมวลผลของซีพียูและกราฟิกการ์ดให้ประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม

ข้อสังเกต

  • วางจำหน่ายช้า
  • มีค่า Max TDP เท่ากับ APU ซ็อคเก็ต FM2 รุ่นก่อนหน้านี้
  • เป็นการเพิ่มค่า Clock ของซีพียูขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
  • ประสิทธิภาพของซีพียูถือว่าอยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น

ที่มา : techpowerup

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

Special Story

สำหรับการเล่นเกม แน่นอนว่าพลังประมวลผลกราฟิกจาก GPU คือหนึ่งในปัจจัยสำคัญ เพราะจะเป็นสิ่งที่ชี้วัดถึงระดับประสิทธิภาพว่าจะสามารถเรนเดอร์ภาพออกมาได้สวย เฟรมเรตสูง ความหน่วงต่ำขนาดไหน ทำงานร่วมกับ CPU และฮาร์ดแวร์อื่น ๆ ในเครื่อง ซึ่งถ้าทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ก็จะช่วยยกระดับประสบการณ์การเล่นเกมให้ดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้เหล่าผู้ผลิตเองก็มีเทคโนโลยีที่จะมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับพลังกราฟิก โดยที่ยังลดภาระของฮาร์ดแวร์ลงด้วย หนึ่งในนั้นก็คือ AFMF 2 เทคโนโลยีล่าสุดจาก AMD นั่นเอง

Special Story

หากจะพูดถึงซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดปี 2024 สำหรับโน้ตบุ๊กของ AMD ก็จะต้องเป็น AMD Ryzen AI 300 series ที่เน้นเพิ่มประสิทธิภาพทั้งในด้านพลังประมวลผล พลังกราฟิก และที่เด่นชัดสุดคือความสามารถในการทำงานด้าน AI โดยที่ผ่านมาก็จะมีรุ่นที่ออกมาทำตลาดคือ AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปรุ่นกลาง แต่ล่าสุดเราเริ่มเห็นโน้ตบุ๊กที่ใช้ AMD...

CONTENT

ในปัจจุบัน นอกเหนือจากโน้ตบุ๊กที่เป็นดีไซน์แบบฝาพับอย่างที่คุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานแล้ว ตัวเครื่องยังมีการพัฒนารูปทรงเพื่อเพิ่มความคล่องตัวให้กับการพกพา และอรรถประโยชน์ในการใช้งานให้สูงขึ้นไปอีก ซึ่งหนึ่งในรูปแบบที่ได้รับความนิยมก็คือการทำออกมาเป็นโน้ตบุ๊ก 2-in-1 โดยใช้หน้าจอสัมผัสที่สามารถพลิกจอได้ 360 องศา ทำให้สามารถใช้เป็นได้ทั้งโน้ตบุ๊กและแท็บเล็ตในเครื่องเดียว ในบทความนี้ก็เลยจะมาแนะนำโน้ตบุ๊กจอพับ AMD ในรูปแบบ 2-in-1 ที่น่าใช้กันครับ ตอบโจทย์ทั้งใช้ทำงาน ไปจนถึงการเล่นเกมได้เลยในบางรุ่น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก