จิตแพทย์สหรัฐ ได้ทำการรักษาทหารผ่านศึกที่ป่วยเป็นอาการ PTSD ซึ่งจะมีอารมณ์เฉยชา ระแวดระวังภัยมากเกินไป แม้อาการพวกนี้จะส่งผลดีในขณะอยู่ในสงคราม แต่ไม่ดีเลยกับการใช้ชีวิตอย่างคนปกติ ด้วยวิธีการให้ผู้ป่วยหวนระลึกถึงเหตุการณ์ในตอนนั้นอีกครั้ง เพื่อทำการรักษา แต่ผู้ป่วยมักจะหลีกเลี่ยงที่จะคิดถึงเหตุการพวกนั้น จึงได้พัฒนาวิธีการรักษาโดยใช้เกมมาช่วยจำลองเหตุการณ์การรบในอิรักและอัฟกานิสถาน
?PTSD อาการผิดปรกติ หรือบาดแผลทางจิต ที่เกิดจากการพบเรื่องสะเทือนใจหรือสะเทือนขวัญอย่างรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูให้ทุเลาลง จะทำให้เกิดการหวนคิดหรือภาพหลอน ย้อนกลับไปยังภาพเหตุการณ์ ประสบการณ์เดิมอย่างควบคุมตนเองไม่ได้ ทำให้เกิดความกดดัน ความเครียด และอาจนำไปสู่พฤติกรรมทำร้ายตนเองหรือคนรอบข้างได้ในที่สุด?
เกมสำหรับการบำบัดนี้มีชื่อว่า Virtual Iraq และ Virtual Afghanistan ได้ถูกพัฒนามาจากเกม X-Box ชื่อ Full Spectrum Warrior เกม Virtual Iraq และ Virtual Afghanistan นี้จะใช้ร่วมกับจอภาพแบบสวมหัวซึ่งจะช่วยผลักดันผู้ป่วยให้กลับไปยังประสบการณ์กลางสนามรบของอิรักและอัฟกานิสถาน และกระตุ้นประสบการณ์สะเทือนใจของทหารออกมาอีกครั้ง หัวหน้าโครงการ Albert Rizzo แห่งมหาวิทยาลัย Southern California ได้กล่าวว่า
?มันอาจจะฟังดูขัดกับความรู้สึก ว่าคุณจะไปกระตุ้นความทรงจำของประสบการณ์สะเทือนใจเหล่านั้นขึ้นมาอีกทำไม ในเมื่อคุณอยากให้พวกเค้ารู้สึกดีขึ้นจากประสบการณ์เหล่านั้น?
แต่นักวิจัยพบว่าการกระตุ้นความรู้สึกกดดันของผู้ป่วยให้เพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่เหมาะสมจะช่วยให้แพทย์สามารถกระตุ้นให้ผู้ป่วยระบายและถ่ายทอดประสบการณ์สะเทือนใจของพวกเค้าออกมาได้ง่ายกว่ามากซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยลดอาการวิตกกังวลและอาการ PTSD ได้อีกด้วย
เกมนี้จะจำลองเสียงหรือแม้แต่กลิ่น ที่ทหารควรจะได้ประสบที่อิรักหรืออัฟกานิสถานออกมาให้สมจริงที่สุดเท่าที่สามารถทำได้เซนเซอร์ที่อยู่กับกล้องที่สวมหัวไว้จะสร้างภาพกราฟฟิกที่จะตอบสนองไปกับทิศทางการหันหัวของทหาร เพื่อให้รู้สึกราวกับว่าเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์จริงๆ
ระบบเสียงรอบทิศทางและระบบสร้างแรงสั่นสะเทือนที่จะจำลองทั้งเสียงของ รถฮัมวี่ รถหุ้มเกราะ หรือแม้กระทั่งระเบิดได้ตามทิศทางและระห่างในเกม ระบบจำลองกลิ่นก็จะมีทั้งกลิ่นน้ำมันเครื่องดินปืน กลิ่นยางไหม้ หรือแม้แต่กลิ่นของเครื่องเทศที่พบได้ที่อิรักและอัฟกานิสถานก็ยังมี
?ก่อนหน้านี้การรักษาต้องกระตุ้นในคนไข้พยายามจินตนาการถึงสิ่งที่พวกเค้ากลัว หรือเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจ?
แต่วิธีนี้ก็จะขึ้นกับความสามารถของผู้ป่วยที่จะจินตนาการเหตุการณ์ตอนนั้นขึ้นมาและรวมถึงแพทย์ที่จะกระตุ้นความทรงจำของผู้ป่วยถึงเหตุการณ์นั้นด้วยว่าจะช่วยให้สร้างภาพได้สมจริงแค่ไหน
?แต่ว่าคนไข้บางคนขาดความสามารถในการจินตนาการภาพเหตุการณ์ ทำให้การรักษาอาการPTSDไม่ได้ผลเท่าที่ควร?
การรักษาด้วยโลกเสมือนนี้สามารถเข้าถึงผู้ป่วยได้ดีกว่า เพราะทหารรุ่นที่ไปรบที่อิรักและอัฟกานิสถานส่วนใหญ่เติบโตมากับ Video Game ทำให้ระบบป้องกันตัวทางจิตจะเปิดรับได้ง่ายกว่าด้วยความรู้สึกว่ากำลังเล่นVideo Game
จากบันทึกทางทหาร 20-30%ของทหารที่กลับมาจากอิรักหรืออัฟกานิสถานจะมีอาการป่วยเป็น PTSD และอาการPTSD ยังส่งผลถึงจำนวนการฆ่าตัวตายของทหารผ่านศึกจากการสุ่มวัดผลพบว่าทหาร ที่มีอาการ PTSD 20 คนที่ได้รับการบำบัดโดยเกม 16คนมีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและไม่พบอาการPTSDอีกเลยภายหลังการบำบัด
http://www.physorg.com/news/2011-01-doctors-x-box-game-ptsd-therapy.html