ด้วยความที่สามารถให้พลังงานกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปได้อย่างต่อเนื่องนานหลายปี
ทำให้นิวเคลียร์แบตเตอรี่สามารถรับมือกับการขยายตัวของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตได้ แค่ชิ้นส่วนกัมมันตรังสีชิ้นเล็กๆก็สามารถให้พลังงานกับเครื่องใช้ไฟฟ้าไปได้นานหลายเดือนหรือหลายปี ตามงานวิจัยชิ้นใหม่ของมหาลัยมิสซูรี่
?นี่ไม่ใช่กระบวนการนิวเคลียร์แบบในโรงไฟฟ้าหรือระเบิดนิวเคลียร์ ฉะนั้นจะไม่อะไรระเบิดและจะไม่เกิดเมฆทรงดอกเห็ดขึ้นที่บ้านของคุณหรอกไม่ต้องห่วง?กล่าวโดย Jae Kwon นักวิชาการของมหาวิทยาลัย Missouri สมาชิกทีมงานพัฒนาแบตเตอรี่นิวเคลียร์ ?เราแค่ดักจับรังสีที่แผ่ออกมาจากวัสดุแล้วเปลี่ยนมันเป็นไฟฟ้า?
วัสดุที่ใช้ในการทดลองคือซัลเฟอร์ 35 เป็นก้อนพลังงานไอโซโทปจากวัตถุดิบที่หลายๆคน จะคุ้นเคยจากกลิ่นและสี เช่น ไข่เน่า แต่ซัลเฟอร์ 35 เกิดขึ้นเมื่อรังสีคอสมิกกระทบกับ argon ในบรรยากาศชั้นสูง
ในแบตเตอรี่ซัลเฟอร์35จะค่อยๆปล่อยรังสีอิเล็กตรอนพลังงานต่ำออกมาในระหว่างการเสื่อมสภาพเพื่อที่จะเก็บอิเล็กตรอนเหล่านั้นแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า Kwon ห่อซัลเฟอร์ด้วย Selenium (ซีลีเนี่ยม) ซึ่งมันจะช่วยดักจับอิเล็กตรอนที่ถูกปล่อยออกมา และเปลี่ยนมันเป็นกระแสไฟฟ้า
ในแบตเตอรี่ตัวอย่างด้วยซัลเฟอร์35น้อยกว่า1มิลลิกรัมถูกนำมาใช้สร้างแบตเตอรี่ขนาดเล็กกว่าเหรียญเพนนี เพื่อให้แน่ใจว่ากัมมันตรังสีที่ปล่อยออกมาจะมีปริมาณต่ำมากเพื่อง่ายในการควบคุมแต่ในขณะเดียวกันที่เท่ากับว่าจะได้พลังงานน้อยมากไปด้วย
?ระดับของพลังงานสามารถเพิ่มขึ้นได้ถ้าเปลี่ยนชนิดของวัสดุไปเป็นสารกัมมันตรังสีที่มีพลังงานสูงกว่านี้?
ยูเรเนี่ยมหรือสารอื่นๆที่ปล่อยรังสีได้รุนแรงกว่านี้จะสามารถเพิ่มพลังของแบตเตอรี่ได้อีกมาก Kwon กล่าวว่ากำลังอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อหาวัสดุที่เหมาะสมแต่ยังไม่ได้เจาะจงอย่างชัดเจนว่าจะใช้สารตัวไหน
แต่การที่ใช้สารกัมมันตรังสีมาใช้ทำแบตเตอรี่ก็ยังมีประเด็นที่น่ากังวลใจอยู่อีกหลายอย่าง
?จุดต้องที่สำคัญของแบตเตอรี่แบบนี้นั้นง่ายดายและชัดเจน นี่เป็นสารกัมมันตรังสี นั่นหมายความว่าแบตเตอรี่ทุกตัวนั้นต้องปิดผนึกอย่างดีจนไม่มีรังสีรั่วไหลแม้แต่นิดเดียว? กล่าวโดย Mehran Mehregany นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัย Western Researve
อัตราการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่นิวเคลียร์ก็เป็นอีกสิ่งที่ต้องแก้ไข อย่างเช่น ซัลเฟอร์35 จะมีครึ่งชีวิตอยู่ที่ราวๆ 87วัน ในขณะที่ไอโซโทปของยูเรเนี่ยมจะมีครึ่งชีวิตอยู่ที่ 700ล้านปี แม้มันจะมีอายุยาวนานแต่มันก็จะทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องมาคำนึงถึงผลจากการรั่วไหลของกัมมันตรังสีความเข้มข้นสูง ออกสู่ธรรมชาติแทน
อุปสรรคสำคัญสำหรับ แบตเตอร์รี่นิวเคลียร์ไม่ใช่เรื่องเทคโนโลยี เราสามารถใช้สายการผลิตแบตเตอร์รี่ธรรมดามาดัดแปลงนิดหน่อยแล้วใช้ผลิตแบตเตอรี่นิวเคลียร์ได้เลย
Mehergany กล่าวว่า ?เทคโนโลยีที่จำเป็นในการสร้างนั้นมีพร้อมแล้ว? ?เหลือแค่ต้องหาวัสดุสำหรับเป็นแหล่งพลังงานและตัวภาชนะที่เหมาะสมเท่านั้น?
อ้างอิงจาก
http://news.discovery.com/tech/radioactive-batteries-power-energy.html