?
มหาลัยอริโซน่ากำลังพัฒนาแบตเตอรี่แบบใหม่ที่ คาดว่าจะสามารถเก็บพลังงานได้มากกว่า แบตเตอร์รี่ลิเทียมไอออนถึง11เท่า และคาดว่าต้นทุนการผลิตจะถูกกว่าถึง3เท่า ได้รับรางวัลจากกรมพลังงานสหรัฐเป็นเงิน5.13 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ โดยทางบริษัทหวังว่าจะสามารถพัฒนาจนสามารถนำมาผลิตเชิงการค้าได้ในเร็ววัน
(ถ้าไม่รู้จักแบตเตอร์รี่ ลิเทียม ก็ที่เสียบอยู่หลังNote Book ของทุกท่านน่ะแหละครับ)
(ภาพของไอโอนิกเหลวที่หยดลงในน้ำมัน)
แบตเตอร์รี่ Metal-Air Ionic Liquid แบบใหม่นี้ออกแบบโดยCody Friesen ศาสตราจารย์ทางด้านวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัยอริโซน่า จุดหลักของแบตเตอร์รี่แบบใหม่คือการใช้ไอโอนิกเหลวทำหน้าที่เหมือนเป็น ตัวอิเล็กโทรไลต์ โดยมันสามารถช่วยจัดการปัญหาของ Metal Air Battery แบบก่อนๆที่ใช้น้ำเป็นตัวอิเล็กโทไลท์ ซึ่งมีปัญหาในเรื่องของ การระเหยของน้ำซึ่งทำให้แบตเตอรี่ไม่มีอายุยืนนานเท่าที่ควร
ข้อดีของการใช้ ไอโอนิกเหลวแทนน้ำคือการที่มันจะไม่มีการระเหย และไอโอนิกเหลวจริงๆแล้ว มันคือรูปแบบหนึ่งของเกลือที่จะคงสถานะของเหลวที่อุณหภูมิห้องนั่นเอง(เกลือปรกติจะมีจุดหลอมเหลวที่สูงมาก ปรกติที่เราเห็นเกลือละลายที่อุณหภูมิต่ำเป็นเพราะมันโดนความชื้น) เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำจะพบว่าไอโอนิกเหลวจะมีความหนืดและข้นมากกว่า และยังสามารถสร้างกระแสไฟฟ้าได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ความท้าทายตอนนี้คือการหา ไอโอนิกเหลวราคาถูกแต่ประสิทธิภาพสูง กว่าที่เป็นอยู่ มาใช้ในแบตเตอรี่ แต่ Friesenยังไม่ยอมบอกว่ามีไอโอนิกเหลวตัวใดที่เค้าให้ความสนใจเป็นพิเศษ
ดังนั้นแบตเตอร์รี่แบบ metal-air ที่ใช้ไอโอนิกเหลวเป็นตัวอิเลกโทรไลต์จึงมีข้อได้เปรียบกว่าแบตเตอร์รี่แบบอื่นอยู่หลายข้อ เช่น มีอายุการใช้งานยาวนานขึ้นกว่าเดิมเนื่องจากว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นสารอิเลกโทรไลต์ไม่ระเหย มีคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าที่เสถียรกว่าเดิมซึ่งจะทำให้สามารถใช้วัสดุที่มีค่าพลังงานสูงกว่าสังกะสีได้ Friesen และทีมงานตั้งเป้าไว้ว่าจะพัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้ให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 900-1600 wattต่อชั่วโมง ต่อแบตเตอรี่หนัก1กิโล จากการคำนวนคร่าวๆรถไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอร์รี่แบบใหม่นี้จะสามารถวิ่งได้ประมาณ 400-500 ไมล์ต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง
แต่ก่อนที่จะทำการผลิตออกจัดจหน่ายก็ยังมีปัญหาอีกลายอย่างที่จะต้องได้รับการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแข็งแรงของโครงสร้างภายใน ระยะเวลาที่ใช้เพื่อชาร์จไฟเข้าแบตเตอร์รี่ และจำนวนครั้งในการประจุพลังงานใหม่ พร้อมทั้งราคาต้นทุนในการผลิตแบตเตอร์รี่ชนิดนี้
Friesen กล่าวว่า ?ถ้าเราทำได้สำเร็จมันจะเป็นการปฏิวัติวงการในการเก็บกักพลังงาน?
ที่มา