ในปี 2018 ที่ผ่านมานั้นเราได้เห็นทาง Apple เล่นใหญ่กับ MacBook Pro รุ่นขนาดหน้าจอ 15 นิ้วที่ทาง Apple นั้นได้เพิ่มตัวเลือกหน่วยประมวลผลเป็นรุ่น Core i9-8950HK ของทาง Intel ซึ่งหลังจากที่มีผู้นำไปใช้งานในการทดสอบต่างๆ นั้นกลับพบว่ามันไม่สามารถที่จะทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่เท่าไรนักด้วยปัญหาความร้อนของตัวเครื่อง
เนื่องจากว่า MacBook Pro นั้นเน้นความบางและเบาทำให้ไม่สามารถที่จะเพิ่มในส่วนของระบบระบายความร้อนที่ดีเข้าไปสู่ตัวเครื่องได้ ยิ่งหลังจากที่ทาง Dell ปล่อย Core i9 XPS 15 ออกมาแล้วด้วยนั้นทำให้ MacBook Pro มีเครื่องที่เข้ามาเปรียบเทียบได้เป็นอย่างดีและ Core i9 XPS 15 นั้นก็สามารถขับประสิทธิภาพของหน่วยประมวผลได้ดีกว่า
อย่างไรก็ตามแต่ดูเหมือนกับว่าทาง Apple จะไม่หยุดแค่เพียงเท่านั้นดังที่ได้เห็นกันแล้วว่าในปี 2019 นั้น MacBook Pro ขนาดหน้าจอ 16 นิ้วยังคงมาพร้อมกับตัวเลือกหน่วยประมวลผล Core i9-9880H ให้ผู้ใช้ได้ใช้งานกัน ทว่าด้วยความที่ Core i9-9880H นั้นมาพร้อมกับแกนการประมวลผลที่มากกว่า Core i9-8950HK อยู่แต่มีการลดความเร็วสัญญาณนาฬิกาลงมาอยู่ที่ 2.3 GHz จาก 2.9 GHz ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานในแบบ multi-core นั้นเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม
ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพจะดีขึ้นกว่าเดิม ทว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง MSI GE75 9SG ที่มาพร้อมกับหน่วยประมวลผลรุ่นเดียวกันแล้วนั้น MacBook Pro รุ่นขนาดจอ 16 นิ้วก็ยังคงแพ้คู่แข่งอยู่ดีซึ่งปัญหานั้นก็ยังคงเป็นปัญหาเดิมนั่นก็คือเรื่องของการจัดการกับความร้อนที่ MacBook Pro 16 นิ้วยังคงไม่สามารถที่จะระบายความร้อนออกมาได้ดีเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ต้องแลกมาเพื่อที่จะทำให้ตัวเครื่องสามารถที่จะขับประสิทธิภาพของ Core i9-9880H ได้เต็มที่นั้นก็คือการที่ตัวเครื่องของ MSI GE75 9SG มีขนาดที่ใหญ่กว่า เสียงรบกวนจากพัดลมมากกว่า
ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเกิดขึ้นมาจากขนาดของตัวเครื่องที่บางและเบาจนทำให้ไม่สามารถที่จะใส่ระบบระบายความร้อนดีๆ ลงไปได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดนั้นก็คือ HP Omen 17 ที่ถึงแม้ว่าจะใช้หน่วยประมวผลรุ่นเดียวกันแต่ทว่าผลการทดสอบนั้นกลับได้ต่ำกว่า MacBook Pro 16 ซึ่งจุดนี้นั้นก็คงต้องเป็นปัญหาที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ นั้นต้องแก้กันต่อไปเพราะปัญหาเรื่องของการระบายความร้อนนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในการที่จะทำให้ Core i9-9880H สามารถที่จะแสดงประสิทธิภาพออกมาได้อย่างเต็มที่นั่นเอง
ที่มา : notebookcheck