Connect with us

Hi, what are you looking for?

INTEL

Intel – Xeon รุ่นใหม่ Cascade Lake + Optane DC Persistent Memory เน้นความปลอดภัย พร้อมฟีเจอร์อื่นอีกเพียบ

นอกจากเปิดตัว CPU รุ่นใหม่สำหรับ PC Desktop และ Mobile แล้วนั้น ในงาน Datacenter Insider Summit ที่ผ่านมานั้นทาง Intel ก็ไม่ลืมที่จะเปิดตัว Intel Xeon

นอกจากจะทำการเปิดตัว CPU รุ่นใหม่สำหรับ PC Desktop และ Mobile แล้วนั้น ในงาน Datacenter Insider Summit ที่ผ่านมานั้นทาง Intel ก็ไม่ลืมที่จะเปิดตัว Intel Xeon รุ่นใหม่สำหรับเครื่อง Server ออกมาด้วยครับ โดยหน่วยประมวลผลตามแผนการของทาง Intel นั้นจะมีอยู่ 3 รุ่นด้วยกันตามสถาปัตยกรรม

โดยในปี 2018 นี้นั้นเราจะได้เห็นหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Cascade Lake ก่อนตามมาด้วยปี 2019 นั้นก็จะถึงคิวของ Cooper Lake และในปี 2020 นั้นก็จะเป็นคิวของ Ice Lake ครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วที่น่าสนใจมากที่สุดคงหนีไม่พ้น Cascade Lake ที่จะออกวางจำหน่ายในปีนี้ ลองไปดูกันครับว่า Cascade Lake นั้นจะมีอะไรน่าสนใจบ้างครับ

Advertisement

หมายเหตุ – หน่วยประมวลผลสำหรับเครื่อง Server นั้นใช้ชื่อในการตลาดเป็น Xeon นั่นเองครับ

จุดแรกเลยนั้น Cascade Lake จะมาพร้อมกับชุดคำสั่งใหม่สำหรับการใช้งานทางด้าน machine learning ซึ่งเป็นการเพิ่มในส่วนของ AVX-512 unit เข้าไป ทำให้การใช้งานทางด้าน machine learning นั้นจะสามารถประมวลผลได้เร็วมากขึ้นกว่าเดิม ทว่าจุดที่น่าสนใจมากที่สุดไม่ใช่ชุดคำสั่งที่เพิ่มขึ้นมาแต่เป็นเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในส่วนที่ป้องกันการโจมตีแบบ Spectre และ Meltdown(รวมไปถึงการโจมตีในลักษณะเดียวกัน) ซึ่งในครั้งนี้นั้นทาง Intel ได้เพิ่มในส่วนของการป้องกันเข้ามาอยู่บนตัวฮาร์ดแวร์หรือหน่วยประมวลผลเลยครับ

HC30.Intel .Akhilesh.CLX CPU.R0p98 page

ก่อนอื่นคงต้องขออธิบายก่อนครับว่าการป้องกันความปลอดภัยโดยผ่านทางระบบปฎิบัติการหรือ OS นั้นจะมีข้อเสียอยู่อย่างหนึ่งซึ่งนั่นก็คือมันอาจจะทำให้การประมวลผลในการป้องกันรวมไปถึงการใช้งานทั่วไปนั้นช้าลงกว่าเดิมในระบบปฎิบัติการรุ่นเก่าๆ แต่หากเป็นระบบปฎิบัติการที่รองรับกับ Cascade Lake แล้วนั้นก็อาจจะมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงขึ้นอยู่ที่ราวๆ 3 % – 10 %

อย่างไรก็ตามแต่แล้วการป้องกันความปลอดภัยผ่านทางฮาร์ดแวร์โดยตรงเลยนั้นถึงประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าแบบป้องกันผ่าน OS ทว่ามันก็จะไปแย่งทรัพยากรของระบบด้วยทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานโดยรวมลดลง แต่ก็ต้องไม่ลืมครับว่า Cascade Lake นั้นแรงมากขึ้นกว่าหน่วยประมวลผลรุ่นเดิมดังนั้นแล้วในจุดนี้ผู้ใช้ก็อาจจะไม่ได้เห็นความแตกต่างในการทำงานจริงเท่าไรครับ

จากตารางนั้นจะเห็นได้ครับว่า Cascade Lake มีการรักษาความปลอดภัยในตัวแปรต่างๆ ที่แตกต่างกันไปโดยตัวแปรแรกนั้นจะยังคงต้องใช้การป้องกันผ่านทาง OS อยู่ ส่วนตัวแปรที่ 2, 3 และ 5 จะสามารถป้องกันผ่านทางฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง(โดยที่การป้องกันตัวแปรความปลอดภัยในระดับที่ 2 นั้นจะต้องใช้ OS เข้ามาช่วยด้วย)

ส่วนตัวแปรในระดับ 3a และ 4 นั้นจะใช้การป้องกันผ่านทาง Firmware(ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฮาร์ดแวร์เช่นเดียวกันโดยตัวแปรในระดับที่ 4 จะมีการใช้ OS เข้ามาช่วยป้องกันด้วย) น่าเสียดายที่ทาง Intel นั้นไม่ได้เผยออกมาเลยครับว่าหลักการป้องกันความปลอดภัยในตัวแปรต่างๆ นั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร(เนื่องจากในงานประชุมนั้นทาง Intel มีเวลาแค่เพียง 30 นาทีสำหรับการพูดเรื่องหน่วยประมวลผลสำหรับเครื่อง Server นี้)

HC30.Intel .Akhilesh.CLX CPU.R0p98 page

มาถึงในส่วนที่ 2 ที่ทาง Intel ได้มีการเปิดเผยข้อมูลออกมาซึ่งนั่นก็คือสเปคของ Cascade Lake ว่าจะเป็นอย่างไรบ้างครับ โดยทาง Intel นั้นได้บอกเอาไว้ว่า Cascade Lake นั้นยังคงมีฐานการพัฒนาขึ้นมาจากหน่วยประมวลผลรุ่นก่อนหน้าอย่าง Skylake-SP มากเท่าไรนัก ซึ่งจากที่ทาง Intel เผยออกมานั้น Cascade Lake จะมาพร้อมกับแกนการประมวลผล 28 แกน 56 threads

ส่วนสเปคในส่วนอื่นๆ นั้นก็จะเหมือนกับ Skylake-SP จุดที่เพิ่มขึ้นมานั้นก็คือชุดคำสั่งภายใน(ตามที่ได้กล่าวเอาไว้ในตอนต้น) และจะรองรับการใช้งาน Intel Optane DC รวมไปถึงเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นครับ

ในจุดหนึ่งที่น่าสนใจนั้นก็คือฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาอย่าง Process tuning, frequency push, targeted performance improvements ซึ่งน่าจะเกิดมาจากการที่ทาง Intel น่าจะใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 14++ nm สำหรับ Cascade Lake ซึ่งก็น่าจะทำให้ Cascade Lake มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาเพิ่มมากขึ้น 10 % ในขณะที่อัตราการใช้พลังงานเท่าเดิมครับ

HC30.Intel .Akhilesh.CLX CPU.R0p98 page

อีกส่วนหนึ่งที่เพิ่มเข้ามานั้นก็คือในส่วนของชุดคำสั่ง AVX-512 VNNI Instructions สำหรับ Deep Learning ซึ่งทาง Intel ได้บอกเอาไว้ในงานว่าประสิทธิภาพในการประมวลผลทางด้าน AI ทั้งหลายที่ทำงานผ่านชุดคำสั่ง AVX-512 VNNI นั้นจะมีประสิทธิภาพเหนือกว่ารุ่นเก่าถึง 5.4 เท่าตัว

นอกไปจากนั้นแล้ว VNNI หรือ Vector Neural Network Instructions ที่เพิ่มเข้ามานั้นก็จะเข้ามาช่วยในส่วนของการทำงานในรูปแบบ neural network ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม โดยในการใช้งานนั้นจะมีลักษณะคำสั่งอยู่ 2 รูปแบบคือ VPDPWSSD ที่เป็นชุดคำสั่งแบบ INT16 และ VPDPBUSD ที่เป็นชุดคำสั่งแบบ INT8 ซึ่งหลักการทำงานนั้นจะเป็นไปตามแผนภาพดังต่อไปนี้ครับ

HC30.Intel .Akhilesh.CLX CPU.R0p98 page

HC30.Intel .Akhilesh.CLX CPU.R0p98 page

มาถึงจุดสุดท้ายที่ได้มีการเปิดเผยออกมากับความสามารถในการใช้งานหน่วยความจำแบบ Optane DC Persistent Memory ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีงานนี้นั้นทาง Intel ได้เผยข้อมูลเอาไว้ก่อนว่า Optane DC Persistent Memory จะถูกผลิตออกมาจำหน่ายด้วยกัน 3 ขนาดต่อโมดูลคือที่ความจุ 128 GB, 256 GB และ 512 GB ครับ

ทาง Intel ยังได้เพิ่มอีกว่าด้วยสถาปัตยกรรม Cascade Lake นั้นจะสามารถรองรับการใช้งานร่วมกับแผงหน่วยความจำถึง 6 แผงต่อหน่วยประมวลผล 1 ตัว ซึ่งนั่นทำให้คิดได้ว่าด้วยความจุสูงสุดของหน่วยความจำที่จะถูกใช้งานนั้นก็อาจจะสูงถึง 3840 GB เลยทีเดียวและยิ่งเป็น Optane DC Persistent Memory แล้วนั้นประสิทธิภาพในการโอนถ่ายข้อมูลต่างๆ ก็จะสูงมากขึ้นไปด้วยครับ

HC30.Intel .Akhilesh.CLX CPU.R0p98 page

ทั้งนี้นั้นด้วยความที่ทาง Intel มีเวลานำเสนอเพียงแค่ 30 นาทีเท่านั้นทำให้ข้อมูลต่างๆ อาจจะยังไม่ละเอียดมาก ทว่าที่เราสามารถที่จะคาดเดาได้ก็คือหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม Cascade Lake น่าจะแรงกว่ารุ่นพี่และมีความปลอดภัยสูงมากขึ้นในระดับหนึ่งแน่นอนครับ เรื่องดังกล่าวนี้นั้นอาจจะไกลตัวผู้ใช้อย่างเราๆ ท่านๆ ไปสักหน่อย

แต่ทว่าโดยปกติแล้วนั้นหน่วยประมวลผลในระดับ Server จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการใช้งานต่างๆ ที่เราได้ใช้มากมายไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ Data center เป็นต้นซึ่งแน่นอนว่าเราๆ ท่านๆ ได้ใช้บริการพวกนี้กันอยู่แล้วครับ

อย่างไรก็ตามทาง Intel ยังไม่ได้ระบุเอาไว้ว่า Cascade Lake นั้นจะเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการเมื่อไรและราคาของมันนั้นจะสูงมากขนาดไหน แต่ถึงกระนั้นแล้วผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราๆ ท่านๆ ก็คงไม่คิดที่จะซื้อหน่วยประมวลผลระดับ Server มาเล่นเกมกันแน่ๆ ครับ(แต่ท่านไหนสนใจก็ไม่ว่ากันนะครับ)

ที่มา : anandtech

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

Intel Core Ultra 5 245K ทดสอบ 7 เกมยอดนิยมกับการ์ดจอออนบอร์ด Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ AI...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

INTEL

โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 200S series ใหม่ล่าสุด ส่งมอบประสิทธิภาพการเล่นเกมและการประมวลผลอันเหนือชั้นสำหรับเดสก์ท็อปพีซี พร้อมประหยัดพลังงานมากกว่าที่เคย กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 11 ตุลาคม 2567 –  ประเด็นสำคัญ: อินเทล ประกาศเปิดตัวตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 200S series...

รีวิว Asus

ASUS ZenBook S 14 UX5406SA พร้อม Intel Core Ultra Series 2 สุดทรงพลัง แบตฯ ทนถึงใจ 18 ชม. ได้สบาย! ในงาน IFA Berlin เมื่อไม่นานนี้ Intel ก็เปิดตัวชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง Intel...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก