ช่วงนี้เป็นช่วงที่ทางรัฐบาลพยายามผลักดัน นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ออกมากันอย่างมากมายยกตัวอย่างเช่นการผลักดันจากภาครัฐที่สนับสนุนกีฬา eSports ให้เป็นกีฬาการแข่งขั้นนอกจากนั้นภายในงาน Bigbang ที่ผ่านมายังทำให้รู้สึกว่าภาครัฐเริ่มตื่นตัวในเรื่องเทคโนโลยีมากขึ้นในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับ ไทยแลนด์ 4.0 พร้อมพาไปรู้จักกับธุรกิจแบบดิจิทัลกันครับผม
กว่าจะมาเป็นไทยแลนด์ 4.0
หลายๆคนอาจจะสงสัยกันว่าก่อนที่จะมาเป็นไทยแลนด์ 4.0 นั้นก่อนหน้านั้นเป็นอะไรมาก่อนและ 1.0/2.0/3.0 นั้นคืออะไรวันนี้เราจะมาอธิบายให้ฟังกันครับผม
ยุคไทยแลนด์ 1.0
- ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของเศรษฐกิจไทยครับผม โดยยุค 1.0 นั้นจะมุ่งเน้นไปในเรื่องการพัฒนาในด้านการเกษตร รวมไปถึงการแปรรูปวัถุดิบต่างๆ เพื่อใช้บริโภคกันภายในครัวเรือน
- รวมไปถึงการสนับสนุนให้เกิดการสร้างเหมืองแร่ขึ้นมาอีกด้วย
ยุคไทยแลนด์ 2.0
- เป็นยุคที่รัฐบาลเริ่มที่จะสนใจในอุสาหกรรมขนาดเล็ก อย่างเช่น ธุรกิจสิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องประดับ
- นอกจากนั้นทางรัฐบาลยังสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มมากขึ้น (สาวโรงงานทอผ้าเกิดขึ้นจากยุคนี้แหละครับผม)
ยุคไทยแลนด์ 3.0
- รัฐบาลมุ่งเน้นพัฒนาอุตสาหกรรมหนักโดยเน้นให้ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น อย่างเช่น สินค้า อิเล็คโทรนิกส์ รวมไปถึงโรงงานผลิตรถยนต์
- สนับสนุนให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศ และ สนับสนุนในเรื่องธุรกิจส่งออก
ความหมายของไทยแลนด์ 4.0
โดยความหมายของไทยแลนด์ 4.0 นั้นจะสามารถจำกัดความด้วยคำสั้นๆเพียงแค่ว่า ” เน้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ” ให้เปลี่ยนจากแนวคิดเก่าๆว่าต้องทำงานที่ละมากๆ แต่ได้ค่าตอบแทนที่น้อย มาเป็นการลงมือทำที่น้อยแต่ได้ค่าตอบแทนที่มาก โดยการเน้นที่การขายความคิดสร้างสรรค์มากกว่าแรงงาน (สอดคล้องกับแนวทางธุรกิจแบบ Startup) และนำนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้เปลี่ยนจากที่ตอนแรกเราเน้นการพัฒนาธุรกิจให้เป็นสินค้า แต่ให้เปลี่ยนไปในด้านบริการที่มากขึ้น
พยายามให้ชาวเกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้นจึงกลายเป็น Smart Farming โดยเน้นให้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาในการคำนวนในเรื่องต่างๆเช่่น ความสมดุลในการผลิต ฟ้าฝน รวมไปถึงการซื้อขายกันผ่านอินเตอร์เน็ต ส่วนตรงนี้ก็เพื่อทำให้ความต้องการซื้อและขายเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังต้องคิดไปถึงว่าสิ่งที่เรามีอยู่นั้นสามารถทำไปแปรรูปเป็นอะไรได้บ้างที่คนต้องการ
เปลี่ยนจากธุรกิจ SME ที่จะต้องรอคอยการช่วยเหลือจากภาครัฐให้กลายเป็นSmart Enterprises และ Startup หรือมุ่งเน้นให้เกิดบริษัทใหม่ที่มีคุณภาพสูงเพื่อที่จะพัฒนาธุรกิจได้อย่างก้าวกระโดดโดยนำนวัตกรรมมาช่วยเพิ่มจุดแข็งให้กับธุรกิจ เน้นให้มีการสร้างพื้นฐานให้กับแรงงาน และทำเรื่องมาตรฐานเข้ามาเพื่อให้กลายเป็น High Value Services ที่มีการรับรองและสามารถตรวจสอบได้
ธุรกิจดิจิตอล คืออะไร ?
ธุรกิจดิจิตอลนั้นก็คือการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการเปลี่ยนแปลง,ทดแทน,เพิ่มศักยภาพ และ ผสมผสานกับสิ่งที่เรามีิอยู่่เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ก้าวกระโดดและมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้เกิด ธุรกิจดิจิตอล
- โทรศัพท์มือถือ -การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้โทรศํพท์ Smartphone นั้นหมายความว่าคนที่จะเข้าถึงตัวสินค้าของเราก็ทำได้ง่ายขึ้นก็ตลาดก็ใหญ่มากขึ้้นด้วย
- Social Media – เป็นหนึ่งเครื่องมือสำคัญที่จะนำบริการของเราเข้าสู่กลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
- Big Data – เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ที่จะมาช่วยในเรื่องการวิเคราะห์ ในการพัฒนาศักยภาพของธุรกิจ
- Cloud – การพัฒนาของอุปกรณ์ ที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ง่ายขึ้น และ ตลอดเวลา
รูปแบบของธุรกิจดิจิทัล
- Subscription Model – ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆในช่วงนี้ โดยจะเป็นลักษณธุรกิจที่เก็บเงินรายเดือนในการใช้บริการ หรือ จะจ่ายจริงตามที่เราใช้ไปก็ได้ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆนั้นก็คือ iFlix และ Apple Music
- Freemium Model – นี้ไม่ใช่ Premium แต่มันคือ Freemium ต่างหากเป็นสิ่งที่เราจะเจอกันบ่อยที่สุด โดยจะเป็นการให้บริการแบบฟรีแต่ก็มีข้อจำกัดบางอย่าง ข้อดีของรูปแบบธุรกิจชนิดนี้นั้นก็คือ ลูกค้าสามารถเรียนรู้ประสิทธิภาพ ก่อนที่จะใช้งานจริง แต่ถ้าอยากจะใช้มากกว่านี้ละก็จ่ายเงินมาชะดีๆ ยกตัวอย่างธุรกิจ Model นี้ละก็ Joox , Spotify
- Free Model – รูปแบบธุรกิจสไตล์ลักหลับที่เราต้องจ่ายไปโดยไม่รู้ตัว อย่าง Google หรือ facebook ที่ให้ใช้บริการแบบฟรีๆไม่มีการเก็บเงิน แต่เอาเข้าจริงๆเราได้เสียค่าใช้งานโดยที่เราไม่รู้ตัว ด้วยข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงโฆษณาแบรนด์ต่างๆ นั้นเอง(ใช้เราเป็นเครื่องมือหากินนั้นแหละ)
- The Access-over-Ownership – โดยรูปแบบธุรกิจนี้จะเป็น ธุรกิจที่เป็นตัวกลางหรือคนกลางพาผู้บริโภคเข้าถึง สินค้าและบริการจากเจ้าของ ตัวอย่างบริการที่เห็นได้อย่างชัดเจนนั้นก็คือ Agoda,ฺbooking.com ที่จะจัดหาที่พักจากเจ้าของส่งตรงถึงผู้บริการโดยตรง และเก็บรายได้จากค่าบริการ
- Hypermarket Model – เห็นคำว่า Market แล้วอย่าเพิ่งนึกถึงห้างหรือตลาดนะแต่ในรูปแบบนี้มีขนาดที่ใหญ่กว่ามาก โดยจะใช้อำนาจทางการตลาด และมีสินค้าที่น่าสนใจทำให้สามารถขายต่ำกว่าทุนได้ ยกตัวอย่างก็เช่น Amazon , Lazada
- Ecosystem Model – เป็นรูปแบบที่เราเจอกันอยู่ทุกวันหรือได้ใช้กันอยู่ทุกครั้ง โดยรูปแบบนี้จะเน้นขายสินค้าที่สามารถเชื่อมโยงถึงกันทั้งระบบ และต้องใช้งานต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ เช่น สมาร์ทโฟน > ระบบปฏิบัติการ>แอพพลิเคชั่น เป็นระบบการพึ่งพาที่ปฏิเสธ ไม่ได้ ยกตัวอย่างก็ Google และ Apple นั้นเอง