นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงิน และ เทคโนโลยีทางการเงิน เปิดเผยว่า ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนา นวัตกรรมทางการเงินด้าน FinTech โดยเปิดให้สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน รวมทั้ง ผู้ให้บริการ FinTech สามารถเสนอโครงการเข้าทดสอบนวัตกรรมทางการเงินที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ใน Regulatory Sandbox ได้นั้น
เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ธปท. ได้อนุญาตผู้เสนอโครงการอีก 3 ราย เพิ่มเติมจากโครงการที่มีการนำ private blockchain มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการหนังสือค้ำประกัน ของธนาคาร (Letter of Guarantee) รวมขณะนี้มีผู้เสนอโครงการ 4 รายที่เข้าร่วมการทดสอบใน Regulatory Sandbox โครงการใหม่ที่ได้รับความเห็นชอบให้เข้าทดสอบ ประกอบด้วย
1) โครงการการโอนเงินระหว่างประเทศ (Cross-border transfer)
2) โครงการยืนยันตัวตนด้วยการตรวจสอบรูปแบบม่านตา (Iris recognition)
หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร พูดง่ายๆ ก็คือ Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยนำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม (centralized trusted party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ
แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง แล้วBitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไรละ บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัยของข้อมูล บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล
จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์ มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้ ให้มีความปลอดภัย เพราะว่า บล็อกเชนจะว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์ หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้ เกิดจากความพยายามในการทำบิทคอยน์ให้บูมขึ้นมานั่นเอง
อนาคตไม่แน่ว่าโลกของเราอาจจะใช้เงินสกุลดิจิตอลกันมากขึ้น จากที่หลายๆ ประเทศให้การยอมรับ เพราะ เงินพวกนี้สามารถทใช้กันทั่วโลก โดยไม่อิงค่าเงินใดๆ มีค่าในตัวมันเองเสมือนเป็นทอง และสามารถโอนข้ามประเทศกันได้แบบไม่เสียภาษีหรือโดนหักอัตราแลกเปลี่ยนใดๆ ด้วยเพราะเหตุนี้เองคนจึงนิยมและใฝ่หากันมาครอบครอง ไม่ว่าจะมาขุดเองหรือซื้อต่อมาด้วยเงินจริง แต่อนาคตเงินพวกนี้อาจจะไร้ค่าไปเลยก็ได้เมื่อคนไม่ให้ค่ามัน แต่ก็ไม่มีใครรู้เช่นกันว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้รึเปล่า
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย