ลองย้อนนึกถึงเมื่อสัก 20-30 ปีก่อนพอร์ต USB-A ถือว่าเป็นพอร์ตเปลี่ยนโลกเลยก็ว่าได้ ด้วยความสะดวกในการใช้งาน ขนาดที่กะทัดรัดกว่า serial และ parallel Port สามารถใช้งานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็นคีย์บอร์ดเมาส์ ปริ้นเตอร์ และอื่นๆอีกมากมาย พัฒนามาตั้งแต่เวอร์ชั่น 1 เวอร์ชั่น 2 ซึ่งถือว่าเป็นพอร์ตที่ได้รับความนิยมสูงที่สุด มาถึงปัจจุบันเวอร์ชั่น 3.1 ที่มีความสูงมาก และที่สำคัญคือกว่าเป็น universal คือความเป็นสากลที่แม้จะเป็น USB 3.1 ก็ยังสามารถใช้งานกับอุปกรณ์เก่าๆได้หมด
แต่ด้วยเทคโนโลยีของ USB เองก็มีขีดจำกัดทั้งด้านเทคโนโลยี และกายภาพ ที่พัฒนาไปไม่ได้มากกว่านี้เท่าไรนัก และโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆที่บางเบาลง การติดตั้งพอร์ต USB ก็ยังถือว่ามีขนาดที่ใหญ่เกินไป ไม่สะดวกต่อการใช้งานเท่าไรนัก จึงปรับมาเป็นพอร์ตแบบ USB-C ที่มีขนาดเล็กลงเพียง 1 ใน 3 ของพอร์ต USB-A ทำให้สามารถติดตั้งบนโน๊ตบุ๊คบางเบาหรือแม้กระทั่ง Tablet ก็ยังได้ อีกทั้งยังสามารถเสียบด้านไหนของพอร์ตก็ได้ ด้วยการออกแบบสมมาตร ไม่ว่าเสียบด้านไหน
บนโน๊ตบุ๊คหรือแท็บเล็ตบางรุ่นยังออกแบบให้สามารถชาร์ตผ่านพอร์ต USB-C ได้ด้วย โดยนอกจากชาร์ตแล้วยังสามารถสลับมาโอนถ่ายข้อมูลต่อแฟรชไดร์ฟหรืออุปกรณ์อื่นๆได้ด้วย หรือจะต่อกับ Docking เพื่อชาร์ตและส่งข้อมูลไปที่ Docking เพื่อต่อจอภาพเสริม หรืออุปกรณ์อื่นๆได้พร้อมๆกันในสายเส้นเดียวซึ่งถือว่าสะดวกมาก
โดยเทคโนโลยีของ USB-C จะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ตามชิปเซ็ตเสริมบนเมนบอร์ดคือแบบ USB 2.0-3.1 และแบบ thunderbolt 3
- แบบ USB หรือก็คือการเอาเทคโนโลยีพอร์ต USB ปรกติมาย่อส่วนนั่นเอง โดยจะมีทั้งแบบ USB 2.0 ซึ่งจะนิยมใช้ในสมาร์ทโฟนราคาประหยัด หรือ USB 3.0/3.1 ที่จะใช้ในโน๊ตบุ๊คส่วนใหญ่ของตลาด ที่สามารถทำความเร็วสูงสุดในทางทฤษฎีถึง 10Gbps (หรือ1.2GB/s) หรือเร็วกว่า USB 2.0 ราวๆ 10 เท่าได้
- แบบ Thunderbolt 3 เป็นเทคโนโลยีล่าสุดของพอร์ต thunderbolt ที่พัฒนามาถึงรุ่นที่ 3 แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากนัก ด้วยพอร์ตที่ไม่ค่อยมีอุปกรณ์รองรับ (ใช้รูปแบบพอร์ต Mini Display Port) จึงนิยมใช้ในอุปกรณ์ของ Apple เท่านั้น แต่ใน Thunderbolt 3 ได้เพิ่มรูปแบบการเชื่อมต่อมาเป็น USB-C ทำให้สามารถรองรับอุปกรณ์บนเทคโนโลยี USB ธรรมดา และยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่รองรับ Thunderbolt ได้อีกด้วย ความเร็วสูงสุดในทางทฤษฎีถึง 40Gbps หรือเร็วกว่า USB 3.1 ถึง 4 เท่า ทำให้สามารถใช้พอร์ตเดียวทำงานได้หลายอย่างและมากกว่า นอกจากจะต่อ Docking เพื่อชาร์ตและ Hub USB ไปพร้อมๆกันได้แล้ว ยังสามารถต่อกับ Docking พิเศษที่เป็นการ์ดจอภายนอกได้ด้วย
OMEN Accelerator ที่มาพร้อม USB-C แบบ Thunderbolt 3 ทำให้ต่อการ์ดจอภายนอกและยังเป็น HUB ได้ด้วย
ส่วนเครื่องไหนใช้ USB-C เทคโนโลยีไหนต้อง ต้องเช็คกับทางผู้ผลิตด้วย โดยเครื่องส่วนใหญ่การันตีได้เลยว่าเป็น USB 3.1 โดยเฉพาะในโน๊ตบุ๊คราคาประหยัด หรือโน๊ตบุ๊ค Gaming บางรุ่น แต่สำหรับ Thunderbolt 3 นั้นมักจะอยู่ใน Ultrabook ราคาสูงที่ใช้การชาร์ตผ่านพอร์ต USB-C โดยตรง หรือโน๊ตบุ๊ค Gaming ตัวท๊อปๆ เพราะต้องติดตั้งชิปเซ็ตเสริมทำให้ตัวเครื่องมีราคาสูงขึ้นไปอีก
ถ้าถามถึงอนาคตของพอร์ต USB-C ต้องบอกว่ามันคือพอร์ตให้อนาคตจริงๆละ เพราะว่าโน๊ตบุ๊คหรืออุปกรณ์อื่นๆและสมาร์ทโฟนเองก็จะเปลี่ยนมาใช้งานพอร์ตนี้กันมากขึ้น โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่รุ่นใหม่ๆเป็น USB-C กันหมดแล้ว ในส่วนของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คแท็บเล็ตรุ่นใหม่ๆเอง ก็ได้มีการเพิ่มพอร์ต USB-C เข้ามา แต่ก็ยังคงพอร์ต USB-A แบบเก่าไว้อยู่ด้วย เพราะอุปกรณ์ส่วนใหญ่โดยเฉพาะแฟลชไดร์ฟ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆยังเป็นแบบ USB-A กันอยู่มาก ซึ่งคงอีกนานอย่างน้อยๆ 4-5 ปีที่ USB-C จะมาแทนทั้งหมด อีกทั้งการรองรับทั้ง 2 เทคโนโลยีอย่างมาตรฐาน USB และ Thunderbolt 3 ในรูปแบบการเชื่อมต่อเดียวยังช่วยให้สามารถพัฒนาอุปกรณ์พวกได้หลากหลายอีกมาก
แต่แน่นอนว่าซื้อโน๊ตบุ๊คเครื่องใหม่ถ้ามีพอร์ต USB-C ย่อมดีกว่าแน่นอนอย่างน้อยๆก็เพิ่มพอร์ตการใช้งาน USB ได้อีกพอร์ต แต่ช่วงแรกอาจจะยังต้องจำเป็นหา HUB USB-C มาต่อพวกก่อนซึ่งยังมีราคาสูงอยู่ ซึ่งสุดท้ายอุปกรณ์ส่วนใหญ่ก็ยังต่อผ่านพอร์ต USB-A อยู่ดี เพราะฉะนั้นถ้าไม่มีพอร์ต USB-C ก็ไม่ต้องซีเรียดไปครับ ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็หาสายแปลงมาต่อก็ใช้ได้ ไม่มีก็ไม่ต้องเดือดร้อนอะไร ถ้ามีได้ก็ดี :3
…
สายแปลงพอร์ต USB-C แบบต่างๆ
- USB-C to USB-C สายเคเบิลนี้มาพร้อมกับปลั๊ก USB-C ที่ปลายทั้งสองด้าน จึงพร้อมรองรับการใช้งานในอนาคตตั้งแต่วันนี้ ด้วยความสามารถถ่ายโอนกระแสไฟฟ้า ข้อมูล และเนื้อหามัลติมีเดียระหว่างระบบใหม่กับอุปกรณ์ที่มีพอร์ต USB-C สายนี้รองรับความเร็วสูงสุด 10 Gbps และสามารถชาร์จอุปกรณ์ USB-C ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 20 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 3 แอมป์ (กำลังไฟสูงสุด 60 วัตต์)
- สายชาร์จ USB-A to USB-C เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าและข้อมูลระหว่างระบบที่มีอยู่ซึ่งมีพอร์ต USB-A (ชนิดที่ใช้บนคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและแล็ปท็อป คีย์บอร์ด และเมาส์ส่วนใหญ่) กับอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่มีพอร์ต USB-C สายนี้สามารถชาร์จระบบและอุปกรณ์ USB-C ที่มีแรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 3 แอมป์ (กำลังไฟส่งออกสูงสุด 15 วัตต์) และยังรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ USB 2.0 สูงถึง 480 Mbps
- สาย USB-A to USB-C ใคร ๆ ก็รู้จัก USB Type A ซึ่งเป็นสาย USB รุ่นดั้งเดิมที่มีปลั๊กทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งยังคงใช้งานกับคอมพิวเตอร์และแล็ปท็อปแทบทุกรุ่นในขณะนี้ สายเคเบิลนี้ถ่ายโอนกระแสไฟฟ้าและข้อมูลระหว่างระบบที่มีอยู่ทั้งหมดที่มีพอร์ต USB-A กับอุปกรณ์รุ่นใหม่ที่มีพอร์ต USB-C สายนี้รองรับความเร็วสูงสุด 10 Gbps และสามารถชาร์จระบบและอุปกรณ์ USB-C ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 5 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 3แอมป์ (กำลังไฟส่งออกสูงสุด 15 วัตต์)
- สายชาร์จ USB-C to Micro USB-B ชาร์จและซิงค์ระหว่างระบบใหม่ที่มีพอร์ต USB-C กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ซึ่งมีพอร์ต Micro USB-B 2.0 สายนี้สามารถชาร์จอุปกรณ์ Micro USB-B 2.0 ที่มีแรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 3 แอมป์ (กำลังไฟส่งออกสูงสุด 15 วัตต์) และรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ USB 2.0
- สาย USB-C to Micro USB-B ชาร์จและซิงค์ระหว่างระบบใหม่ที่มีพอร์ต USB-C กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ซึ่งมีพอร์ต Micro USB-B 3.1 สายนี้รองรับความเร็วสูงสุด 10 Gbps และสามารถชาร์จอุปกรณ์ Micro USB-B 3.1 ที่มีแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 5 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 3 แอมป์ (กำลังไฟส่งออกสูงสุด 15 วัตต์)
- สายชาร์จ USB-C to Mini USB-B ชาร์จและซิงค์ระหว่างระบบใหม่ที่มีพอร์ตUSB-C กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ซึ่งมีพอร์ต Mini USB-B ชาร์จอุปกรณ์ Mini USB-B ที่มีแรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 500 มิลลิแอมป์ (กำลังไฟส่งออก 250 วัตต์) และยังรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ USB 2.0
- สายเครื่องพิมพ์ USB-C to USB-B เชื่อมต่อระบบใหม่ที่มีพอร์ต USB-C เข้ากับอุปกรณ์ที่มีอยู่ซึ่งมีพอร์ต USB-B 2.0 รวมทั้งเครื่องพิมพ์และอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก ชาร์จอุปกรณ์ USB-B 2.0 ที่มีแรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์และกระแสไฟสูงสุด 3 แอมป์ (กำลังไฟส่งออก 15 วัตต์) และยังรองรับความเร็วในการรับส่งข้อมูลของ USB 2.0
- อะแดปเตอร์ USB-C to USB-A เชื่อมต่อระบบใหม่ที่มีพอร์ต USB-C เข้ากับสายเคเบิลหรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่มีอยู่ด้วยหัวต่อ USB-A มาตรฐาน
- อะแดปเตอร์ USB-C to Gigabit Ethernet เชื่อมต่อระบบใหม่ที่มีพอร์ต USB-C เข้ากับเครือข่าย Gigabit Ethernet