Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

[Special] แบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับจากการประเมินของ LAPTOPMAG ปี 2016 นี้

การประเมินผลของบริษัทวิเคราะห์ตลาดและสื่อต่างๆ เกี่ยวกับลำดับที่ดีหรือแย่ของแบรนด์โน๊ตบุ๊คนั้นเรามักจะเห็นได้จากหลากหลายสื่อมากเลยทีเดียวครับ แต่ละสื่อที่ทำการประเมินนั้นก็มีวิธีการประเมินแตกต่างกันไป

การประเมินผลของบริษัทวิเคราะห์ตลาดและสื่อต่างๆ เกี่ยวกับลำดับที่ดีหรือแย่ของแบรนด์โน๊ตบุ๊คนั้นเรามักจะเห็นได้จากหลากหลายสื่อมากเลยทีเดียวครับ แต่ละสื่อที่ทำการประเมินนั้นก็มีวิธีการประเมินแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการให้คะแนนของสื่อนั้นๆ และด้วยโอกาสที่ในช่วงที่ผ่านมานั้นหลายๆ บริษัทเริ่มออกมาเปิดเผยผลการประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2016 กันบ้างแล้ว ทางเราจึงขอนำเสนอเอาบทความของการประเมินแบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับของทาง LAPTOPMAG ประจำปี 2016 ที่ผ่านมาให้ทุกท่านได้ดูกันครับว่าสิ่งที่ทาง LAPTOPMAG ประเมินเอาไว้ตรงกับความจริงทางด้านยอดขายและจะตรงกับใจคุณๆ หรือไม่ครับ ว่าแล้วก็ไปพบกับตาราง 10 อันดับแบรนด์โน๊ตบุ๊คประจำปี 2016 ของ LAPTOPMAG กันเลยครับ

Advertisement

Best & Worst Laptop Brands 600 01

ทาง LAPTOPMAG นั้นได้ทำการประเมินชื่อของแบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับมาได้หลายปีแล้วครับ เหตุผลนั้นก็เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นข้อมูลหนึ่งสำหรับการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คเพราะจะว่าไปแล้วโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันนั้นก็มีหลายรูปแบบหลายราคาซึ่งการซื้อโน๊ตบุ๊คเพื่อเอาไว้ใช้งานทีนึงนั้นคงจะไม่มีใครเปลี่ยนบ่อยๆ แบบรายไตรมาสหรือรายปีหล่ะครับ(เชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วทุกท่านนั้นน่าจะใช้โน๊ตบุ๊คที่ทำการซื้อมาแต่ละครั้งก็น่าจะใช้งานอย่างน้อย 2 – 3 ปีขึ้นไปแน่ๆ) จากตารางนั้นจะเห็นได้ว่าอันดับที่ 1 – 3 ของโน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับของทาง LAPTOPMAG นั้นได้แก่ Apple, Dell และ ASUS ตามลำดับซึ่งสวนทางกับความจริงในส่วนของการประเมินด้วยยอดขายทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัดครับ

Best & Worst Laptop Brands 600 02

ทีนี้ลองมาดูสถิติของการจัดลำดับของ 10 แบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุดของทาง LAPTOPMAG ตั้งแต่ในปี 2011 มาจนถึงปี 2016 กันครับ จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าตามสถิติ 6 ปีนั้น Apple ครองตำแหน่งอันดับที่ 1 มาโดยตลอด ส่วนอันดับที่ 2 ในปี 2016 นี้อย่าง Dell พึ่งจะไต่ขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 2 ได้ในปี 2015 ส่วนอันดับที่ 3 อย่าง ASUS นั้นจะเห็นได้ครับว่าเคยอยู่สูงสุดในอันดับที่ 3 มาก่อนช่วงปี 2013 – 2014 หลังจากนั้นใน 2015 ก็ตกไปอยู่ที่ลำดับที่ 7 แต่ก็สามารถที่จะกลับมาอยู่ในลำดับที่ 3 ได้อีกครั้งในปีนี้

เกณฑ์การประเมิน

ก่อนอื่นนั้นมาดูเกณฑ์การให้คะแนนของ LAPTOPMAG กันดีกว่าครับว่าอะไรที่ทำให้ทาง LAPTOPMAG จัดลำดับแบรนด์โน๊ตบุ๊คเช่นนี้

  • Design (15 คะแนน) : เรื่องแรกสุดที่ทาง LAPTOPMAG ประเมินเลยก็คือเรื่องของการดีไซน์ครับ ดีไซน์ดังกล่าวนี้จะถูกให้คะแนนตั้งแต่ในส่วนของฝาครอบ, ด้านข้าง, ขอบและฐานว่ามีความสวยงาม,แข็งแรงคงทนและคุณภาพมากน้อยเพียงใด สิ่งหนึ่งที่ทาง LAPTOPMAG ให้ความสำคัญให้เรื่องคะแนนของการดีไซน์นั้นก็คือแบรนด์นั้นๆ ควรที่จะมีดีไซน์ของผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นที่เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนครับ
  • Reviews (30 คะแนน) : ต่อกันที่คะแนนในส่วนที่ 2 ซึ่งมีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ 30 คะแนนโดยในส่วนนี้นั้นจะได้รับการเฉลี่ยมาจากคะแนนการรีวิวของโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าๆ ที่ผ่านมาของแบรนด์นั้นๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015 จนถึง 31 มกราคม 2016 ครับ
  • Tech Support (20 คะแนน) : ส่วนที่ 3 นั้นถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยซึ่งนั่นก็คือการให้ความช่วยเหลือทางด้านการใช้งานไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของแบรนด์นั้นๆ ครับ คะแนนในส่วนนี้นั้นทาง LAPTOPMAG จะประเมินตั้งแต่การให้รายละเอียดข้อมูลของโน๊ตบุ๊คตั้งแต่ก่อนซื้อไปจนถึงเรื่องของบริการหลังการขาย(ซึ่งในส่วนของบริการหลังการขายนั้นก็จะมีการแยกดูไปอีกด้วยครับว่าแต่ละแบรนด์นั้นให้การสนับสนุนลูกค้าผ่านช่องทางอะไรบ้างมากน้อยแค่ไหน)

Best & Worst Laptop Brands 600 06

  • Warranty (5 คะแนน) : ต่อมานั้นส่วนตัวผมแล้วดูว่า LAPTOPMAG ให้น้ำหนักคะแนนส่วนนี้น้อยไปหน่อยครับกับคะแนนในเรื่องของการรับประกัน(ใจจริงอยากให้แบ่งจาก Tech Support มาสัก 5 คะแนนเป็น 10 คะแนน) วิธีการให้คะแนนในส่วนนี้นั้นก็ดูในเรื่องของการรับประกันซึ่งทาง LAPTOPMAG ให้ข้อมูลเอาไว้ว่าส่วนใหญ่แล้วทุกแบรนด์จะมีการรับประกันในช่วงระยะเวลาเท่ากันคือ 1 ปี แต่ก็อาจจะมีการขายประกันเพิ่ม โดยคะแนนส่วนนี้จะเพิ่มหรือลดนั้นขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์ไหนเมื่อนำเข้าศูนย์แล้วต้องซ่อมจะต้องทำการส่งซ่อมไปยังต่างประเทศและผู้ใช้จำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน(จากสหรัฐอเมริกา) ส่วนแบรนด์ที่ได้คะแนนในส่วนนี้ดีนั้นจะเป็นแบรนด์ที่เมื่อผู้ใช้ทำการอัพเกรดหน่วยความจำและแหล่งเก็บข้อมูลเองแต่ประกันก็ยังคงไม่หายครับ
  • Software (5 คะแนน) : ส่วนของซอฟต์แวร์นั้นเป็นอีกส่วนที่ให้คะแนนน้อยเนื่องจากว่าซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับเครื่องนั้นมักจะไม่ต่างกันมากนักเช่นระบบปฎิบัติการถ้าไม่ใช่แบรนด์ Apple ก็จะมาพร้อมกับ Windows และบางแบรนด์นั้นก็จะมีการแถมซอฟต์แวร์เล็กๆ น้อยๆ มาให้เช่น Anti virus ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถใช้งานได้ฟรี 1 ปีเป็นต้น มีน้อยมากที่จะมีซอฟต์แวร์ขยะติดมาด้วยซึ่งถ้าแบรนด์ไหนมีซอฟต์แวร์ขยะติดมาก็จะโดนหักคะแนนในส่วนนี้ครับ
  • Innovation (10 คะแนน) : นวัตกรรมถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทาง LAPTOPMAG ให้น้ำหนักคะแนนค่อนข้างมากโดยแบรนด์ที่ได้คะแนนในส่วนนี้ไปเยอะนั้นจะเป็นแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์ที่กำหนดทิศทางของตลาดครับ
  • Value and Selection (15 คะแนน) : ท้ายสุดกับเรื่องของราคาและตำแหน่งของตลาดที่ทางแบรนด์ได้บางโน๊ตบุ๊คในแต่ละรุ่นของตัวเองเอาไว้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยหรือไม่เพียงใด(เช่นโน๊ตบุ๊คราคาถูก, โน๊ตบุ๊คสำหรับนักธุรกิจ, โน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกม ฯลฯ)

ได้เห็นเกณฑ์การให้คะแนนไปแล้วก็มาดูกันดีกว่าครับว่า ใน 10 อันดับแบรนด์ของทาง LAPTOPMAG ประจำปี 2016 นั้นมีเหตุผลและคะแนนในแต่ละส่วนเป็นอย่างไรถึงได้ลำดับที่ 1 – 3 และแบรนด์ที่ได้ลำดับน่าสนใจครับ

อันดับที่ 1 : Apple

Best & Worst Laptop Brands 600 001.1

Best & Worst Laptop Brands 600 001

เริ่มกันที่อันดับ 1 อย่าง Apple ที่ครองแชมป์มามากถึง 6 สมัยติดต่อกัน โดยทาง LAPTOPMAG ได้ให้ความเห็นเอาไว้ครับว่า Apple ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่สามารถจะคงความเป็นตัวของตัวเอง(ทางด้านโน๊ตบุ๊ค) เอาไว้มาได้โดยตลอดในทุกๆ ด้าน โดย 12″ MacBook นั้นก็มาเพิ่มคะแนนในส่วนของดีไซน์ให้กับ Apple ในเรื่องของความสามารถในการพกพา ทว่าจุดที่ Apple นั้นมาตกม้าตายก็คือราคาและการจัดลำดับของผลิตภัณฑ์ในตลาดของทาง Apple ที่ในตลาดโน๊ตบุ๊คนั้น Apple จะมีผลิตภัณฑ์แค่เพียง 5 สายเท่านั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงแถมในแต่ละสายนั้นราคาก็ค่อนข้างที่จะสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดเดียวกันอีกด้วยครับ

อันดับที่ 2 : Dell

Best & Worst Laptop Brands 600 002.2

Best & Worst Laptop Brands 600 002

ต่อกันที่แบรนด์ลำดับที่ 2 อย่าง Dell ที่ในปี 2016 นี้นั้นได้คะแนนเพิ่มมาจากเดิมถึง 5 คะแนนจนเกือบจะเอาชนะอันดับที่ 1 อย่าง Apple ไปได้ โดยคะแนนที่ Dell ได้เพิ่มมานั้นก็คือส่วนของการดีไซน์ซึ่งในปีที่ผ่านมา XPS 15 และ XPS 13 ที่มาพร้อมกับหน้าจอแบบ edge-to-edge นั้นดูดีเป็นอย่างมาก ส่วนดีไซน์ของรุ่นอื่นก็ค่อนข้างดีพอควร แต่ที่ทาง Dell ได้คะแนนไม่สูงมากนักก็เป็นคะแนนเฉลี่ยของรีวิวที่เกิดจากการที่ Dell นั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่มีผลิตภัณฑ์มากมายหลายสายทำให้เมื่อรวมคะแนนรีวิวผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมาเฉลี่ยลงไปแล้วมันก็เลยทำให้คะแนนของ Dell ลดน้อยลงไปหล่ะครับ

อันดับที่ 3 : ASUS

Best & Worst Laptop Brands 600 003.3

Best & Worst Laptop Brands 600 003

ลำดับที่ 3 อย่าง ASUS ที่สามารถทำคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วได้ถึง 17 คะแนนจนไต่อันดับแบรนด์ในปีนี้ขึ้นมาได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วได้คะแนนมาจากเรื่องของด้านดีไซน์ของโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ ZenBook ที่ยังคงเหนือกว่าคู่แข่งและการที่มีโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่ทรงพลัง แต่ทว่าในปีที่ผ่านมานั้น LAPTOPMAG มองว่า ASUS ดูจะไม่ค่อยมีนวัตกรรมสักเท่าไรนักและที่ ASUS แย่หน่อยก็คือเรื่องของซอฟต์แวร์ขยะกับบริการหลังการขายที่ในบางกรณีนั้นทาง ASUS ต้องส่งเครื่องออกไปซ่อมต่างพื้นที่และมีการเรียกเก็บเงินจากทางผู้ใช้เพิ่มครับ

อันดับที่น่าสนใจ 

จาก 3 อันดับแรกแล้วลองมาดูแบรนด์อื่นๆ ที่มีอันดับเปลี่ยนไปที่น่าสนใจบ้างครับว่าทำไม LAPTOPMAG จึงได้ให้คะแนนของแบรนด์ดังกล่าวดูแล้วอาจจะขัดกับสายตาของผู้บริโภคหรือแฟนๆ ของแบรนด์นั้นไปสักหน่อย

อันดับที่ 4 : Lenovo

Best & Worst Laptop Brands 600 004

Best & Worst Laptop Brands 600 004.1

สำหรับ Lenovo นี่ไม่พูดถึงคงจะไม่ได้หล่ะครับเพราะเมื่อไม่นานมานี้นั้นพึ่งจะมีข่าวว่า Lenovo สามารถแย่งยอดส่วนแบ่งในตลาดโลกของโน๊ตบุ๊คจาก HP ขึ้นมาครองอันดับที่ 1 สำหรับแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายโน๊ตบุ๊คที่มากที่สุดไปได้ ทว่าทาง LAPTOPMAG กลับให้ Lenovo อยู่ในอันดับที่ 4 เท่านั้นในปี 2016 นี้ด้วยเหตุผลที่ว่าคะแนนรีวิวโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นของทาง Lenovo ส่วนใหญ่จะได้คะแนนรีวิวอยู่ที่ 2.5 จาก 5 เท่านั้น ซึ่งจุดนี้มาจากการที่ Lenovo ได้ร่วมเป็นคู่ค้าในการผลิตโน๊ตบุ๊คกับผู้ผลิตบางรายอย่างเช่น NEC ซึ่งคะแนนริวินั้นไม่ดีนั่นเองครับ(อารมณ์ประมาณว่าของตัวเองก็มีดีอยู่แล้วแต่ดันไปร่วมเป็นคู่ค้ากับผู้ผลิตหลายรายมากจนเกินไปแล้วโน๊ตบุ๊คที่ร่วมผลิตกับคู่ค้าดันทำออกมาได้ไม่ดีเลยคะแนนตกหล่ะครับเพราะพ่วงชื่อ Lenovo ไปด้วย)

อันดับที่ 5 : MSI

Best & Worst Laptop Brands 600 005

Best & Worst Laptop Brands 600 005.1

ต่อกันที่ลำดับที่ 5 อย่าง MSI ที่พึ่งจะเข้ามาในตารางสถิติ 10 อันดับแบรนด์เมื่อปี 2015 และมาในปีนี้ ก็ตกจากลำดับที่ 4 มาอยู่ที่ 5 โดยเหตุผลหลักเลยนั้นก็คือโน๊ตบุ๊คของ MSI(ในสหรัฐอเมริกาและน่าจะรวมไปถึงเมืองไทยด้วย) มีแต่โน๊ตบุ๊คที่เน้นเรื่องการเล่นเกมเป็นหลักทั้งนั้นแถมราคาเริ่มต้นของมันก็แพงอีด้วยทำให้คะแนนในส่วนของราคาและตำแหน่งของโน๊ตบุ๊คในตลาดของ MSI ค่อนข้างที่จะได้น้อยมากเลยครับ อีก 2 จุดที่แย่คือเรื่องการประกันที่ในสหรัฐนั้นผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าเครื่องในการส่งไปซ่อมที่ศูนย์ต่างประเทศเอง(ตรงนี้ในเมืองไทยเราถือว่าดีกว่าหน่อย) พร้อมกับคะแนนซอฟต์แวร์ของ MSI ก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไรนักเพราะซอฟต์แวร์ดูแลตรวจสอบระบบเครื่องของ MSI นั้นทำอะไรไม่ค่อยจะได้เท่าไรครับ

อันดับที่ 7 : Microsoft

Best & Worst Laptop Brands 600 006

Best & Worst Laptop Brands 600 006.1

ท้ายสุดกับลำดับที่ 7 อย่าง Microsoft ที่ทุกท่านจะเห็นได้ว่าพึ่งจะมีการโผล่ขึ้นมาอยู่ในตาราง 10 อันดับครั้งแรกในปี 2016 โดยอยู่ที่ลำดับที่ 7 นั้นก็เนื่องมากจากว่า Microsoft พึ่งจะมีผลิตภัณฑ์ที่ทาง LAPTOPMAG เห็นว่ากำลังอยู่ในกระแสไม่ว่าจะเป็น Surface 3, Surface Pro 4 และ Surface Book ซึ่งจุดที่ทำให้ Microsoft สามารถทำคะแนนได้ดีจนเข้าตา LAPTOPMAG เข้าให้จนได้ขึ้นมาอยู่ในตารางแบรนด์ดังกล่าว ซึ่งจุดเด่นของ Microsoft ก็อยู่ที่คะแนนรีวิว, การให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค, ดีไซน์และนวัตกรรมที่ได้เต็ม 10 ไปแบบสบายๆ เพราะทำให้โน๊ตบุ๊คแบบ 2-in-1 ที่ใช้งานในรูปแบบแท็บเล็ตหรือโน๊ตบุ๊คก็ได้เป็นกระแสขึ้นมา

ที่ Microsoft มาตกม้าตายนั้นก็คือในส่วนของตำแหน่งในตลาดของโน๊ตบุ๊ตของ Microsoft และราคาที่ทั้งตำแหน่งไม่ชัดเจนและราคาก็แพงมหาโหดนี่แหละครับเรียกได้ว่า Microsoft ได้คะแนนในส่วนนี้น้อยที่สุดในบรรดา 10 แบรนด์บนตารางเลยก็ได้แต่ต้องไม่ลืมด้วยนะครับว่าผลิตภัณฑ์ของ Microsoft นั้นเอาเข้าจริงๆ แล้วก็มีแค่ 2 – 3 รุ่นเท่านั้นเองครับ

ที่มา : laptopmag

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ไม่ว่าจะคอมทำงานหรือเกมมิ่ง จอคอม 24 นิ้ว เป็นขนาดที่หลายคนเลือกซื้อมาใช้ เพราะได้ภาพคมชัดดีและมีความละเอียด 1080p ยืนพื้นมาให้ จึงได้ภาพคมชัดพอใช้ทำงานได้ดีไม่มัวหรือแตกแถมใช้สเปคคอมไม่เยอะมาก ถ้าอิงกับการสำรวจสเปคคอมของ Steam แล้ว เกมเมอร์ก็ยังนิยมหน้าจอ Full HD อยู่ไม่เสื่อมคลายเพราะกินสเปคเครื่องไม่มาก ขอแค่การ์ดจออยู่ในระดับกลางราคาหลักหมื่นบาทไม่เกี่ยงจะค่ายแดงหรือเขียวก็ตั้งค่ากราฟิคเอาไว้ระดับสูงสุดแล้วเล่นเกมได้สบายๆ ไม่ต้องเปลืองเงินเกินจำเป็นนัก หากจำกันได้เมื่อ 3~4 ปีก่อน จอคอม 24 นิ้วจะมีราคายืนพื้นอยู่ช่วง...

รีวิว Asus

ASUS ROG Ally X เพื่อนแก้เหงาชั้นเยี่ยมเวลาเดินทางไกล เปิดเกมเล่นลื่นทุกเวลา แบตทนกว่าเดิมเป็นเท่าตัว! ในปีก่อน ASUS ROG Ally ก็ได้รับการตอบรับจากเกมเมอร์เป็นอย่างดีแล้วในฐานะเครื่องเกมพกพาตัวเล็กแต่เล่นเกมพีซีได้ดี ก็มีรุ่นอัปเกรดอย่าง ASUS ROG Ally X ไมเนอร์เชนจ์ซึ่งเอาจุดสังเกตจากรุ่นก่อนมาปรับแก้ให้ดีและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จนเป็นเครื่อง Gaming Handheld ที่น่าใช้มาก ไม่ว่าจะซื้อเอาไว้ใช้เองก็ดีหรือแนะนำให้เพื่อนก็ไม่ผิดหวังสักนิด จุดเปลี่ยนเล็กน้อยแต่ทำให้น่าใช้ยิ่งขึ้นอย่างการเพิ่ม...

รีวิว MSI

ถ้าคิดว่าเกมมิ่งโน๊ตบุ๊คจะต้องใหญ่และหนัก เชิญพบกับไลท์เวทหมัดหนักอย่าง MSI Cyborg 14 A13V ข้อดีของเกมมิ่งโน๊ตบุ๊ค ก็ต้องยกให้เรื่องสเปคแรงพอจะทำงานได้ดีเล่นเกมได้ลื่นแต่ก็แลกกับน้ำหนักตัวระดับ 2 กก. ขึ้นไป แต่ก็มี MSI Cyborg 14 A13V รุ่นย่อขนาดจาก Cyborg 15 เดิมให้เครื่องเล็กลงนิดน้ำหนักเบาลงหน่อย ฉีกกฏเดิมว่าถ้าอยากแรงก็ต้องหนักกลายเป็นว่าไม่ต้องหนักสเปคก็แรงได้ ภายในตัวเครื่องขนาด 14 นิ้ว...

PR-News

ASUS แต่งตั้ง เอสเซนตี้ รีซอร์สเซส เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย การ์ดจอ เมนบอร์ด เกมมิ่งเกียร์ อย่างเป็นทางการในประเทศไทย บริษัท เอสเซนตี้ รีซอร์สเซส จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย ASUS บริษัทผลิตฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ระดับโลก แต่งตั้ง Ascenti Resources เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย การ์ดจอ เมนบอร์ด เกมมิ่งเกียร์ อย่างเป็นทางการในประเทศไทย...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก