Connect with us

Hi, what are you looking for?

Other News

[Special] แบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับจากการประเมินของ LAPTOPMAG ปี 2016 นี้

การประเมินผลของบริษัทวิเคราะห์ตลาดและสื่อต่างๆ เกี่ยวกับลำดับที่ดีหรือแย่ของแบรนด์โน๊ตบุ๊คนั้นเรามักจะเห็นได้จากหลากหลายสื่อมากเลยทีเดียวครับ แต่ละสื่อที่ทำการประเมินนั้นก็มีวิธีการประเมินแตกต่างกันไป

การประเมินผลของบริษัทวิเคราะห์ตลาดและสื่อต่างๆ เกี่ยวกับลำดับที่ดีหรือแย่ของแบรนด์โน๊ตบุ๊คนั้นเรามักจะเห็นได้จากหลากหลายสื่อมากเลยทีเดียวครับ แต่ละสื่อที่ทำการประเมินนั้นก็มีวิธีการประเมินแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการให้คะแนนของสื่อนั้นๆ และด้วยโอกาสที่ในช่วงที่ผ่านมานั้นหลายๆ บริษัทเริ่มออกมาเปิดเผยผลการประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ 2016 กันบ้างแล้ว ทางเราจึงขอนำเสนอเอาบทความของการประเมินแบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับของทาง LAPTOPMAG ประจำปี 2016 ที่ผ่านมาให้ทุกท่านได้ดูกันครับว่าสิ่งที่ทาง LAPTOPMAG ประเมินเอาไว้ตรงกับความจริงทางด้านยอดขายและจะตรงกับใจคุณๆ หรือไม่ครับ ว่าแล้วก็ไปพบกับตาราง 10 อันดับแบรนด์โน๊ตบุ๊คประจำปี 2016 ของ LAPTOPMAG กันเลยครับ

Advertisement

Best & Worst Laptop Brands 600 01

ทาง LAPTOPMAG นั้นได้ทำการประเมินชื่อของแบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับมาได้หลายปีแล้วครับ เหตุผลนั้นก็เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคได้ใช้เป็นข้อมูลหนึ่งสำหรับการตัดสินใจที่จะเลือกซื้อโน๊ตบุ๊คเพราะจะว่าไปแล้วโน๊ตบุ๊คในปัจจุบันนั้นก็มีหลายรูปแบบหลายราคาซึ่งการซื้อโน๊ตบุ๊คเพื่อเอาไว้ใช้งานทีนึงนั้นคงจะไม่มีใครเปลี่ยนบ่อยๆ แบบรายไตรมาสหรือรายปีหล่ะครับ(เชื่อว่าส่วนใหญ่แล้วทุกท่านนั้นน่าจะใช้โน๊ตบุ๊คที่ทำการซื้อมาแต่ละครั้งก็น่าจะใช้งานอย่างน้อย 2 – 3 ปีขึ้นไปแน่ๆ) จากตารางนั้นจะเห็นได้ว่าอันดับที่ 1 – 3 ของโน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุด 10 อันดับของทาง LAPTOPMAG นั้นได้แก่ Apple, Dell และ ASUS ตามลำดับซึ่งสวนทางกับความจริงในส่วนของการประเมินด้วยยอดขายทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัดครับ

Best & Worst Laptop Brands 600 02

ทีนี้ลองมาดูสถิติของการจัดลำดับของ 10 แบรนด์โน๊ตบุ๊คที่ดีและแย่ที่สุดของทาง LAPTOPMAG ตั้งแต่ในปี 2011 มาจนถึงปี 2016 กันครับ จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าตามสถิติ 6 ปีนั้น Apple ครองตำแหน่งอันดับที่ 1 มาโดยตลอด ส่วนอันดับที่ 2 ในปี 2016 นี้อย่าง Dell พึ่งจะไต่ขึ้นมาอยู่ในลำดับที่ 2 ได้ในปี 2015 ส่วนอันดับที่ 3 อย่าง ASUS นั้นจะเห็นได้ครับว่าเคยอยู่สูงสุดในอันดับที่ 3 มาก่อนช่วงปี 2013 – 2014 หลังจากนั้นใน 2015 ก็ตกไปอยู่ที่ลำดับที่ 7 แต่ก็สามารถที่จะกลับมาอยู่ในลำดับที่ 3 ได้อีกครั้งในปีนี้

เกณฑ์การประเมิน

ก่อนอื่นนั้นมาดูเกณฑ์การให้คะแนนของ LAPTOPMAG กันดีกว่าครับว่าอะไรที่ทำให้ทาง LAPTOPMAG จัดลำดับแบรนด์โน๊ตบุ๊คเช่นนี้

  • Design (15 คะแนน) : เรื่องแรกสุดที่ทาง LAPTOPMAG ประเมินเลยก็คือเรื่องของการดีไซน์ครับ ดีไซน์ดังกล่าวนี้จะถูกให้คะแนนตั้งแต่ในส่วนของฝาครอบ, ด้านข้าง, ขอบและฐานว่ามีความสวยงาม,แข็งแรงคงทนและคุณภาพมากน้อยเพียงใด สิ่งหนึ่งที่ทาง LAPTOPMAG ให้ความสำคัญให้เรื่องคะแนนของการดีไซน์นั้นก็คือแบรนด์นั้นๆ ควรที่จะมีดีไซน์ของผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นที่เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนครับ
  • Reviews (30 คะแนน) : ต่อกันที่คะแนนในส่วนที่ 2 ซึ่งมีค่าน้ำหนักมากที่สุดคือ 30 คะแนนโดยในส่วนนี้นั้นจะได้รับการเฉลี่ยมาจากคะแนนการรีวิวของโน๊ตบุ๊ครุ่นเก่าๆ ที่ผ่านมาของแบรนด์นั้นๆ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015 จนถึง 31 มกราคม 2016 ครับ
  • Tech Support (20 คะแนน) : ส่วนที่ 3 นั้นถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยซึ่งนั่นก็คือการให้ความช่วยเหลือทางด้านการใช้งานไม่ว่าจะเป็นทั้งทางด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของแบรนด์นั้นๆ ครับ คะแนนในส่วนนี้นั้นทาง LAPTOPMAG จะประเมินตั้งแต่การให้รายละเอียดข้อมูลของโน๊ตบุ๊คตั้งแต่ก่อนซื้อไปจนถึงเรื่องของบริการหลังการขาย(ซึ่งในส่วนของบริการหลังการขายนั้นก็จะมีการแยกดูไปอีกด้วยครับว่าแต่ละแบรนด์นั้นให้การสนับสนุนลูกค้าผ่านช่องทางอะไรบ้างมากน้อยแค่ไหน)

Best & Worst Laptop Brands 600 06

  • Warranty (5 คะแนน) : ต่อมานั้นส่วนตัวผมแล้วดูว่า LAPTOPMAG ให้น้ำหนักคะแนนส่วนนี้น้อยไปหน่อยครับกับคะแนนในเรื่องของการรับประกัน(ใจจริงอยากให้แบ่งจาก Tech Support มาสัก 5 คะแนนเป็น 10 คะแนน) วิธีการให้คะแนนในส่วนนี้นั้นก็ดูในเรื่องของการรับประกันซึ่งทาง LAPTOPMAG ให้ข้อมูลเอาไว้ว่าส่วนใหญ่แล้วทุกแบรนด์จะมีการรับประกันในช่วงระยะเวลาเท่ากันคือ 1 ปี แต่ก็อาจจะมีการขายประกันเพิ่ม โดยคะแนนส่วนนี้จะเพิ่มหรือลดนั้นขึ้นอยู่กับว่าแบรนด์ไหนเมื่อนำเข้าศูนย์แล้วต้องซ่อมจะต้องทำการส่งซ่อมไปยังต่างประเทศและผู้ใช้จำเป็นต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายมากน้อยแค่ไหน(จากสหรัฐอเมริกา) ส่วนแบรนด์ที่ได้คะแนนในส่วนนี้ดีนั้นจะเป็นแบรนด์ที่เมื่อผู้ใช้ทำการอัพเกรดหน่วยความจำและแหล่งเก็บข้อมูลเองแต่ประกันก็ยังคงไม่หายครับ
  • Software (5 คะแนน) : ส่วนของซอฟต์แวร์นั้นเป็นอีกส่วนที่ให้คะแนนน้อยเนื่องจากว่าซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมกับเครื่องนั้นมักจะไม่ต่างกันมากนักเช่นระบบปฎิบัติการถ้าไม่ใช่แบรนด์ Apple ก็จะมาพร้อมกับ Windows และบางแบรนด์นั้นก็จะมีการแถมซอฟต์แวร์เล็กๆ น้อยๆ มาให้เช่น Anti virus ซึ่งส่วนใหญ่จะสามารถใช้งานได้ฟรี 1 ปีเป็นต้น มีน้อยมากที่จะมีซอฟต์แวร์ขยะติดมาด้วยซึ่งถ้าแบรนด์ไหนมีซอฟต์แวร์ขยะติดมาก็จะโดนหักคะแนนในส่วนนี้ครับ
  • Innovation (10 คะแนน) : นวัตกรรมถือเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทาง LAPTOPMAG ให้น้ำหนักคะแนนค่อนข้างมากโดยแบรนด์ที่ได้คะแนนในส่วนนี้ไปเยอะนั้นจะเป็นแบรนด์ที่มีผลิตภัณฑ์ที่กำหนดทิศทางของตลาดครับ
  • Value and Selection (15 คะแนน) : ท้ายสุดกับเรื่องของราคาและตำแหน่งของตลาดที่ทางแบรนด์ได้บางโน๊ตบุ๊คในแต่ละรุ่นของตัวเองเอาไว้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยหรือไม่เพียงใด(เช่นโน๊ตบุ๊คราคาถูก, โน๊ตบุ๊คสำหรับนักธุรกิจ, โน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกม ฯลฯ)

ได้เห็นเกณฑ์การให้คะแนนไปแล้วก็มาดูกันดีกว่าครับว่า ใน 10 อันดับแบรนด์ของทาง LAPTOPMAG ประจำปี 2016 นั้นมีเหตุผลและคะแนนในแต่ละส่วนเป็นอย่างไรถึงได้ลำดับที่ 1 – 3 และแบรนด์ที่ได้ลำดับน่าสนใจครับ

อันดับที่ 1 : Apple

Best & Worst Laptop Brands 600 001.1

Best & Worst Laptop Brands 600 001

เริ่มกันที่อันดับ 1 อย่าง Apple ที่ครองแชมป์มามากถึง 6 สมัยติดต่อกัน โดยทาง LAPTOPMAG ได้ให้ความเห็นเอาไว้ครับว่า Apple ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่สามารถจะคงความเป็นตัวของตัวเอง(ทางด้านโน๊ตบุ๊ค) เอาไว้มาได้โดยตลอดในทุกๆ ด้าน โดย 12″ MacBook นั้นก็มาเพิ่มคะแนนในส่วนของดีไซน์ให้กับ Apple ในเรื่องของความสามารถในการพกพา ทว่าจุดที่ Apple นั้นมาตกม้าตายก็คือราคาและการจัดลำดับของผลิตภัณฑ์ในตลาดของทาง Apple ที่ในตลาดโน๊ตบุ๊คนั้น Apple จะมีผลิตภัณฑ์แค่เพียง 5 สายเท่านั้นไม่มีการเปลี่ยนแปลงแถมในแต่ละสายนั้นราคาก็ค่อนข้างที่จะสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาดเดียวกันอีกด้วยครับ

อันดับที่ 2 : Dell

Best & Worst Laptop Brands 600 002.2

Best & Worst Laptop Brands 600 002

ต่อกันที่แบรนด์ลำดับที่ 2 อย่าง Dell ที่ในปี 2016 นี้นั้นได้คะแนนเพิ่มมาจากเดิมถึง 5 คะแนนจนเกือบจะเอาชนะอันดับที่ 1 อย่าง Apple ไปได้ โดยคะแนนที่ Dell ได้เพิ่มมานั้นก็คือส่วนของการดีไซน์ซึ่งในปีที่ผ่านมา XPS 15 และ XPS 13 ที่มาพร้อมกับหน้าจอแบบ edge-to-edge นั้นดูดีเป็นอย่างมาก ส่วนดีไซน์ของรุ่นอื่นก็ค่อนข้างดีพอควร แต่ที่ทาง Dell ได้คะแนนไม่สูงมากนักก็เป็นคะแนนเฉลี่ยของรีวิวที่เกิดจากการที่ Dell นั้นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่มีผลิตภัณฑ์มากมายหลายสายทำให้เมื่อรวมคะแนนรีวิวผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมาเฉลี่ยลงไปแล้วมันก็เลยทำให้คะแนนของ Dell ลดน้อยลงไปหล่ะครับ

อันดับที่ 3 : ASUS

Best & Worst Laptop Brands 600 003.3

Best & Worst Laptop Brands 600 003

ลำดับที่ 3 อย่าง ASUS ที่สามารถทำคะแนนรวมเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วได้ถึง 17 คะแนนจนไต่อันดับแบรนด์ในปีนี้ขึ้นมาได้นั้น ส่วนใหญ่แล้วได้คะแนนมาจากเรื่องของด้านดีไซน์ของโน๊ตบุ๊คในซีรีส์ ZenBook ที่ยังคงเหนือกว่าคู่แข่งและการที่มีโน๊ตบุ๊คสำหรับการเล่นเกมที่ทรงพลัง แต่ทว่าในปีที่ผ่านมานั้น LAPTOPMAG มองว่า ASUS ดูจะไม่ค่อยมีนวัตกรรมสักเท่าไรนักและที่ ASUS แย่หน่อยก็คือเรื่องของซอฟต์แวร์ขยะกับบริการหลังการขายที่ในบางกรณีนั้นทาง ASUS ต้องส่งเครื่องออกไปซ่อมต่างพื้นที่และมีการเรียกเก็บเงินจากทางผู้ใช้เพิ่มครับ

อันดับที่น่าสนใจ 

จาก 3 อันดับแรกแล้วลองมาดูแบรนด์อื่นๆ ที่มีอันดับเปลี่ยนไปที่น่าสนใจบ้างครับว่าทำไม LAPTOPMAG จึงได้ให้คะแนนของแบรนด์ดังกล่าวดูแล้วอาจจะขัดกับสายตาของผู้บริโภคหรือแฟนๆ ของแบรนด์นั้นไปสักหน่อย

อันดับที่ 4 : Lenovo

Best & Worst Laptop Brands 600 004

Best & Worst Laptop Brands 600 004.1

สำหรับ Lenovo นี่ไม่พูดถึงคงจะไม่ได้หล่ะครับเพราะเมื่อไม่นานมานี้นั้นพึ่งจะมีข่าวว่า Lenovo สามารถแย่งยอดส่วนแบ่งในตลาดโลกของโน๊ตบุ๊คจาก HP ขึ้นมาครองอันดับที่ 1 สำหรับแบรนด์ที่มียอดจำหน่ายโน๊ตบุ๊คที่มากที่สุดไปได้ ทว่าทาง LAPTOPMAG กลับให้ Lenovo อยู่ในอันดับที่ 4 เท่านั้นในปี 2016 นี้ด้วยเหตุผลที่ว่าคะแนนรีวิวโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่นของทาง Lenovo ส่วนใหญ่จะได้คะแนนรีวิวอยู่ที่ 2.5 จาก 5 เท่านั้น ซึ่งจุดนี้มาจากการที่ Lenovo ได้ร่วมเป็นคู่ค้าในการผลิตโน๊ตบุ๊คกับผู้ผลิตบางรายอย่างเช่น NEC ซึ่งคะแนนริวินั้นไม่ดีนั่นเองครับ(อารมณ์ประมาณว่าของตัวเองก็มีดีอยู่แล้วแต่ดันไปร่วมเป็นคู่ค้ากับผู้ผลิตหลายรายมากจนเกินไปแล้วโน๊ตบุ๊คที่ร่วมผลิตกับคู่ค้าดันทำออกมาได้ไม่ดีเลยคะแนนตกหล่ะครับเพราะพ่วงชื่อ Lenovo ไปด้วย)

อันดับที่ 5 : MSI

Best & Worst Laptop Brands 600 005

Best & Worst Laptop Brands 600 005.1

ต่อกันที่ลำดับที่ 5 อย่าง MSI ที่พึ่งจะเข้ามาในตารางสถิติ 10 อันดับแบรนด์เมื่อปี 2015 และมาในปีนี้ ก็ตกจากลำดับที่ 4 มาอยู่ที่ 5 โดยเหตุผลหลักเลยนั้นก็คือโน๊ตบุ๊คของ MSI(ในสหรัฐอเมริกาและน่าจะรวมไปถึงเมืองไทยด้วย) มีแต่โน๊ตบุ๊คที่เน้นเรื่องการเล่นเกมเป็นหลักทั้งนั้นแถมราคาเริ่มต้นของมันก็แพงอีด้วยทำให้คะแนนในส่วนของราคาและตำแหน่งของโน๊ตบุ๊คในตลาดของ MSI ค่อนข้างที่จะได้น้อยมากเลยครับ อีก 2 จุดที่แย่คือเรื่องการประกันที่ในสหรัฐนั้นผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าเครื่องในการส่งไปซ่อมที่ศูนย์ต่างประเทศเอง(ตรงนี้ในเมืองไทยเราถือว่าดีกว่าหน่อย) พร้อมกับคะแนนซอฟต์แวร์ของ MSI ก็ไม่ค่อยจะดีเท่าไรนักเพราะซอฟต์แวร์ดูแลตรวจสอบระบบเครื่องของ MSI นั้นทำอะไรไม่ค่อยจะได้เท่าไรครับ

อันดับที่ 7 : Microsoft

Best & Worst Laptop Brands 600 006

Best & Worst Laptop Brands 600 006.1

ท้ายสุดกับลำดับที่ 7 อย่าง Microsoft ที่ทุกท่านจะเห็นได้ว่าพึ่งจะมีการโผล่ขึ้นมาอยู่ในตาราง 10 อันดับครั้งแรกในปี 2016 โดยอยู่ที่ลำดับที่ 7 นั้นก็เนื่องมากจากว่า Microsoft พึ่งจะมีผลิตภัณฑ์ที่ทาง LAPTOPMAG เห็นว่ากำลังอยู่ในกระแสไม่ว่าจะเป็น Surface 3, Surface Pro 4 และ Surface Book ซึ่งจุดที่ทำให้ Microsoft สามารถทำคะแนนได้ดีจนเข้าตา LAPTOPMAG เข้าให้จนได้ขึ้นมาอยู่ในตารางแบรนด์ดังกล่าว ซึ่งจุดเด่นของ Microsoft ก็อยู่ที่คะแนนรีวิว, การให้การสนับสนุนทางด้านเทคนิค, ดีไซน์และนวัตกรรมที่ได้เต็ม 10 ไปแบบสบายๆ เพราะทำให้โน๊ตบุ๊คแบบ 2-in-1 ที่ใช้งานในรูปแบบแท็บเล็ตหรือโน๊ตบุ๊คก็ได้เป็นกระแสขึ้นมา

ที่ Microsoft มาตกม้าตายนั้นก็คือในส่วนของตำแหน่งในตลาดของโน๊ตบุ๊ตของ Microsoft และราคาที่ทั้งตำแหน่งไม่ชัดเจนและราคาก็แพงมหาโหดนี่แหละครับเรียกได้ว่า Microsoft ได้คะแนนในส่วนนี้น้อยที่สุดในบรรดา 10 แบรนด์บนตารางเลยก็ได้แต่ต้องไม่ลืมด้วยนะครับว่าผลิตภัณฑ์ของ Microsoft นั้นเอาเข้าจริงๆ แล้วก็มีแค่ 2 – 3 รุ่นเท่านั้นเองครับ

ที่มา : laptopmag

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Prestige 13 AI+ EVO A2VMG ในบอดี้สุดบาง น้ำหนักสุดเบา มี Intel Core Ultra 200V ให้ทำงานใหญ่เล็กได้อย่างยอดเยี่ยม! การลงทุนเปลี่ยนอุปกรณ์ทำงานให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าอย่างไรก็คุ้มค่า ยิ่งเป็นยุคของ AI แล้ว จะซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่อย่าง MSI Prestige 13 AI+...

PR-News

เตรียมตัวให้พร้อมไปกับอุปกรณ์เล่นเกมแบบพกพาที่ไม่มีใครเทียบได้ กับ MSI Claw 8 AI+ และ Claw 7 AI+ รุ่นใหม่ที่ได้รับการอัปเกรด โดยขับเคลื่อนด้วยโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ Ultra 7 Series 2 รุ่นใหม่ล่าสุด ตัวเครื่องมีขนาดกะทัดรัด อีกทั้งยังผสมผสานประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยมเข้ากับความคุ้มค่าขั้นสุดได้อย่างลงตัว เพลิดเพลินไปกับภาพที่สวยงามบนหน้าจอที่มีสีสันสดใสมากขึ้น มีให้เลือกสองขนาด: 7...

รีวิว MSI

MSI Prestige A16 AI+ A3HMG ในบอดี้เรียบหรูมีพลังของ AMD Ryzen AI ซ่อนอยู่ แรงทรงพลังลุยได้ทุกงาน! ถ้าได้ใช้ของดีมีคุณภาพสักครั้ง ก็จะไม่อยากลดระดับลงไปใช้ของรองลงไปง่ายๆ เพราะได้รับรู้แล้วว่าสิ่งที่ดีเป็นอย่างไร อย่าง MSI Prestige A16 AI+ A3HMG ก็เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีของคำพูดนี้และทางบริษัทก็ยังใส่ใจคุณภาพงานประกอบและรูปลักษณ์ภายนอกให้สวยงามไม่แพ้รุ่นก่อน ทั้งบอดี้อลูมิเนียมสีเงินและโลโก้อลูมิเนียมแสนเรียบง่ายแต่ดึงดูดสายตา แม้ไม่หวือหวาแต่ก็ดูได้ไม่เบื่อ ลงรายละเอียดในแต่ละส่วนเอาไว้ได้พอเหมาะพอดีและสอดลูกเล่นเก่าผสมใหม่มาได้พอเหมาะพอดี...

CONTENT

ปัจจุบัน โน้ตบุ๊กกลุ่มที่เน้นดีไซน์บางเบามักจะมาพร้อมจุดเด่นคือแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนาน ส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากการเลือกใช้ชิปประมวลผลรุ่นประหยัดพลังงาน และอาจมีหน้าจอขนาดเล็กลงมาหน่อย เพื่อให้มีอัตราการกินไฟที่ลดลงเล็กน้อย แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีมีการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างเช่นชิป AMD Ryzen AI 9 HX 370 ที่เป็นชิปสมรรถนะสูง แต่ก็มีค่า TDP ที่ทำได้ต่ำกว่าชิปรุ่นก่อน ทำให้ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ดีขึ้นกว่าเดิม ซึ่งในบทความนี้เราจะมาลองว่าใน 1 วัน ผมจะสามารถใช้งาน ASUS...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก