โดยปกติถ้าเป็นคนที่ใช้โน๊ตบุ๊คเป็นประจำ ทัชแพดมักเป็นของที่ติดมากับโน๊ตบุ๊คและถูกใช้คู่กันมาโดยตลอด ยกเว้นบางท่านที่อาจจะเลือกใช้เมาส์แทน แต่ถ้าพื้นที่จำกัดหรือไม่อยากยุ่งยาก ส่วนใหญ่จะใช้ Touchpad นี้ เพราะแทนการใช้เมาส์ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งถ้าใช้ดีๆ ก็จะช่วยลดการใช้พลังงานลงได้ด้วย เพราะการต่อเมาส์ก็ทำให้กินไฟมากขึ้น อย่างไรก็ดี แม้ว่า Touchpad จะเป็นอุปกรณ์ที่เสียได้ยาก หากไม่เจอกับปัญหารุนแรง ส่วนใหญ่จะไม่พัง แต่ก็มีโอกาสได้เช่นกัน การแก้ปัญหาก็ดูจะหลากหลายไปตามอาการ
อาการแรก ที่พบกันได้บ่อยก็คือ ไดรเวอร์ไม่ทำงาน สิ่งที่เกิดนี้เป็นไปได้ว่า มีการลงไดรเวอร์หรือโปรแกรมบางอย่างทับซ้อนหรือถูกลบออกไปโดยไม่ตั้งใจ ก็มีส่วนทำให้การใช้งานทัชแพดได้ไม่สมบูรณ์ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้จาก Device Manager ว่ามีไดรเวอร์ติดตั้งตามปกติหรือไม่ รวมถึงถ้ามีเครื่องหมาย แจ้งอยู่หน้า Device บอกถึงความผิดปกติ ก็ให้แก้ไขหรือจะ Remove driver หรือติดตั้งใหม่ แนะนำว่า ควรเข้าไปเช็ครุ่นของโน๊ตบุ๊คจากผู้ผลิตให้ถูกต้องก่อนนำมาใช้
อาการต่อมา อาจเกิดจากแค่ปิดการทำงานของทัชแพดไป เช่นอาจไปโดนปุ่มฟังก์ชั่นที่อยู่ด้านบนของคีย์บอร์ด ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ทัชแพดไม่ทำงาน ดังนั้นควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าฟังก์ชั่น Touchpad ที่อยู่ด้านบน เช่นปุ่ม F6 ถูกเปิดการใช้งานอยู่ ให้ลองกดปุ่ม เพิ่มเริ่มทำงาน
อาการที่สาม เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากความเสียหายบริเวณหน้าสัมผัส ซึ่งเกิดจากสารเคมีหรือการกระแทกอย่างรุนแรง จนทำให้เกิดความเสียหายและใช้งานไม่ได้ ตรงจุดนี้ให้ลองเช็ดทำความสะอาดด้วยผ้า แต่โอกาสที่จะกลับมาใช้งานพอมีอยู่บ้าง แต่ถ้าเป็นสารรุนแรง ก็อาจเป็นผลเสียได้รวดเร็ว จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อให้ใช้งานได้ใหม่
อาการสุดท้าย เกิดจากวงจรภายในเสียหาย ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งจากความชื้นหรืออุบัติเหตุ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งทำให้ทัชแพดใช้การไม่ได้ อาการนี้ถือว่าหนัก จำเป็นต้องส่งซ่อมเพียงทางเดียว แต่ถ้ายังไม่อยากเสียเวลา ก็คงต้องใช้เมาส์ไปก่อน
สิ่งที่สำคัญในการรักษาทัชแพด (Touchpad) ให้ใช้งานไปนานๆ ก็ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา และทำความสะอาด ไม่ใช้สารเคมีหรือสิ่งที่ทำปฏิกิริยาต่อทัชแพด ส่วนใหญ่จะเป็นน้ำหรือสารเคมี รวมถึงระวังแรงกระแทก ที่มีโอกาสทำให้เกิดความเสียหายได้เช่นกัน