อ้างอิงจาก Derek Belch ผู้ร่วมก่อนตั้งและ CEO ของบริษัท STRIVR ที่เป็นทั้งแฟนตัวยงของทีมอเมริกันฟุตบอลของวิทยาลัย Stanford และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสร้างภาพเสมือนจริง(virtual reality) ที่ถือได้ว่าเป็นเทพคนหนึ่งในวงการนี้ได้ร่วมงานกับศาสตรจารย์ Jeremy Bailenson ของวิทยาลัย Stanford(เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริงเช่นเดียวกัน) ในการสร้างระบบที่ใช้พื้นที่รอบตัวในการฝึกฝนเพื่อพัฒนาประสบการณ์แบบโต้ตอบครับ
ระบบดังกล่าวที่ว่านี้ทาง Belch และ Bailenson ได้ใช้เวลากว่า 2 ปีในการออกแบบ,พัฒนาและปรับแต่งแบบวิธีการปฎิบัติในการฝึกฝนรอบตัว 360 องศาพร้อมด้วยการใช้วีดีโอที่ดึงดูดเพื่อที่จะทำให้นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลของทาง Stanford ได้ใช้ในการฝึกฝนแล้วมีความรู้สึกเหมือนจริงผ่านทางอุปกรณ์ virtual reality headset ซึ่งนักกีฬาไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาการเล่นจากมุมมองแบบ birds-eye-view แล้วแปลเป็น first-person view อีกต่อไป พวกเขาสามารถที่จะฝึกฝน,ศึกษาในมุมมองที่ถูกต้องเช่นเดียวกับการเล่นจริงในสนามได้ครับ
สาเหตุที่ทาง Belch และ Bailenson ทำการพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อให้นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลของทาง Stanford ได้ทำการฝึกฝนนั้นก็เนื่องมาจากว่าทาง NCAA(สมาคมอเมริกันฟุตบอลของสหรัฐอเมริกา) ได้มีการออกข้อกำหนดในเรื่องของการลดเวลาที่นักกีฬาอเมริกันฟุตบอลจะสามารถทำการฝึกฝนได้ในสนามจริงครับ ดังนั้นแล้วเพื่อไม่ให้นักกีฬาของทาง Stanford ต้องเสียเวลาไปโดยใช่เหตุทาง Belch และ Bailenson จึงได้ทำการพัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นเพื่อใช้ในการฝึกฝน(จะว่าไปแล้วก็เหมือนการเลี่ยงกฎด้วยเทคโนโลยีหล่ะครับ)
ผลของการใช้งานเทคโนโลยีจากทาง STRIVR ในการฝึกฝนนั้นทำให้ในฤดูการนี้ทีมอเมริกันฟุตบอลของทาง Stanford ชนะมาหลายครั้งติดต่อกันแล้วครับ(แถมบางครั้งก็คะแนนนำห่างทั้งๆ ที่เป็นทีมเยือนด้วย) อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้นั้นได้มีทีมใน NFL 5 ทีมและทีมฟุตบอลระบบวิทยาลัยอีก 12 ทีมใช้เทคโนโลยีจากทาง STRIVR ในการฝึกฝนด้วย งานนี้ถือว่าเป็นการประยุคนำเอาเทคโนโลยีไปใช้ในชีวิตจริง(ทางด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา)ได้อย่างลงตัว ที่สำคัญแล้วนั้นทาง STRIVR ยังได้บอกเอาไว้อีกด้วยครับว่าเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ทำให้อัตราการบาดเจ็บจากการฝึกฝนนั้นหายไปเยอะมากเลยทีเดียว ในอนาคตนั้นเราอาจจะได้เห็นกีฬาชนิดอื่นๆ ใช้เทคโนโลยีการสร้างภาพเสมือนจริงในการฝึกฝนเพิ่มเติมก็เป็นได้ครับ
ที่มา : vr-zone