หลังจากที่ Intel ได้เผยให้เห็นแผนของซีพียู Atom SoC ตั้งแต่ในช่วงเดือน พฤษภาคมปี 2011 ก็ได้มีการพัฒนาในด้านสถาปัตยกรรมมาจนถึง 22nm ในช่วงปี 2013 และก้าวเข้าสู่ 14nm ในช่วงปี 2014 จนมาอยู่ที่โค๊ดเนม Broadwell ในปัจจุบันที่ให้ประสิทธิภาพในการทำงานที่โดดเด่นมากขึ้น และในช่วงปี 2014 นั้นเอง ก็ยังได้มีการนำซีพียูเดสก์ทอปภายใต้ชื่อ Bay Trail-D มาผลิตเป็นซีพียูออนบอร์ดกันอย่างมากมาย ทดแทนการทำงานของ Atom ที่ขยับไปเป็นซีพียูระดับโมบายมากขึ้น โดยที่ซีพียูรุ่นใหม่นี้ประกอบไปด้วยซีพียู Celeron และ Pentium อาทิเช่น J1900 และ J2900 เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นซีพียูในรุ่นแรกๆ ที่มีการพัฒนาในด้านกราฟฟิกออนซีพียูที่มีประสิทธิภาพ HD Graphic
อย่างไรก็ดีกับการพัฒนาที่มากขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ทำให้ซีพียูในกลุ่มของ Low Power Consumption หรือกลุ่มที่ใช้พลังงานน้อยถือกำเนิดขึ้น ภายใต้รหัส Braswell SoC ที่ใช้ไฟน้อยลง แต่ให้ประสิทธิภาพในการประมวลผลที่ดีเปิดตัวขึ้น สำหรับการทำงานบนเครื่องเดสก์ทอป ซึ่ง Braswell นี้ให้การทำงานที่ดีขึ้น ด้วยการประมวลผลทั้งแบบ Dual-core และ Quad-core สำหรับในรุ่นที่เป็น Celeron และ Pentium เช่นกัน ซึ่งหากสังเกตในตารางจะพบว่ามีการเปลี่ยนจาก 2 Core/ 2 Thread มาเป็น 4 Core/ 4 Thread อีกด้วย รวมถึงซีพียูในรุ่น Celeron N3150 ที่ทาง ASRock ได้นำมาใช้กับเมนบอร์ด N3150B-ITX นี้ สำหรับกลุ่มที่ต้องการพีซีประหยัดพลังงานและมีขนาดเล็ก รวมถึงไม่มีเสียบรบกวนในการทำงาน
ASRock N3150B-ITX ได้รับการออกแบบให้มีขนาดที่เล็กระดับ ITX และมาพร้อมหน่วยประมวลผล Braswell ที่เป็น Celeron 3150 ในแบบ Quad core (4 core/ 4 Thread) สนับสนุนแรม DDR3L SODIMM ได้มากถึง 16GB และกราฟฟิก Intel HD Graphic Gen8 พร้อมพอร์ต USB 3.0 และพอร์ตการแสดงผล GDMI, D-Sub รวมถึงการเชื่อมต่ออื่นๆ อีกมากมาย และฟีเจอร์สำคัญอย่าง Power Gear และ Full Spike ที่ทาง ASRock จัดมาไว้บนเมนบอร์ด เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Specification
-Intel® Quad-Core Processor N3150
-Solid Capacitor for CPU power
-Supports DDR3/DDR3L 1600 memory, 2 SO-DIMM slots
-1 PCIe 2.0 x1
-Graphics Output Options : D-Sub, HDMI
-Built-in Intel® 8th generation (Gen 8) graphics, DirectX 11.1, Pixel Shader 5.0
-7.1 CH HD Audio (Realtek ALC887 Audio Codec), ELNA Audio Caps
-2 SATA3, 4 USB 3.0 (2 Front, 2 Rear), 6 USB 2.0 (4 Front, 2 Rear)
-1 x Parallel Port, 1 x COM Port
-1 x TPM Header, 1 x COM Port Header
-Supports ASRock APP Shop, Full Spike Protection
ฟีเจอร์
ASRock-Power Gear
ASRock-Full Spike
ASRock feature support
แกะกล่อง
ด้านหน้ากล่องยังคงสไตล์ของ ASRock ไว้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดีไซน์การจัดวางรายละเอียดของฟีเจอร์ มาในโทนสีดำ เหมือนกับในหลายๆ รุ่นของ ASRock
ด้านหลังกล่องมาพร้อมรายละเอียดฟังก์ชั่นที่อยู่บนเมนบอร์ด N3150B-ITX รุ่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ ซีพียู แรม กราฟฟิก รวมไปถึงบรรดาตัวเก็บประจุและพอร์ตต่อพ่วงที่มีอยู่อย่างครบครัน
เมื่อเปิดกล่องออกมา สิ่งที่ได้เห็นจากเมนบอร์ดรุ่นนี้ ที่เราได้เป็นตัวทดสอบมา จะประกอบด้วย คู่มือการใช้งาน แผ่นไดรเวอร์ สาย SATA และแผ่นปิดด้านหลัง (Back panel) ก็เรียกว่ามาในแบบพื้นฐานสำหรับเมนบอร์ดที่เราเห็นกันอบู่ทั่วไป
องค์ประกอบต่างๆ ของเมนบอร์ด ASRock N3150B-ITX :
มาดูที่ด้านหน้าเต็มๆ ของเมนบอร์ดรุ่นนี้ จะเห็นว่าเป็นเมนบอร์ดในแบบ mini-ITX ที่มีขนาดเล็กจากโรงงาน ซึ่งเล็กกว่า ATX อยู่มากมายเลยทีเดียว
ซิงก์ขนาดใหญ่ระบายความร้อนให้กับซีพียู Celeron B3150 เป็นซิงก์อลูมิเนียมสีดำที่มีครีบระบายความร้อนขนาดใหญ่ เรียกว่ากินพื้นที่ประมาณ 1/4 ของบอร์ดเลยทีเดียว
ถัดมาทั้งด้านบนและข้างขวาของฮีตซิงก์จะมีสล็อตแรม DDR3L ในแบบ SODIMM ที่เป็นแรมขนาดเล็กแบบของโน๊ตบุ๊คมาด้วย รองรับแรม DDR3L ได้ถึง 16GB แบ่งออกเป็นสล็อตละ 8GB จำนวน 2 แถว
ส่วนของชุดระบบเสียงมาพร้อม ELNA Caps ที่มีคุณภาพและลดการรบกวนของสัญญาณ สำหรับการทำงานร่วมกับระบบเสียง
มุมล่างขวามีพอร์ต SATA3 มาให้จำนวน 2 พอร์ตสำหรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล HDD และ SSD
สำหรับใครที่คิดว่ายังอาจจะมีการ์ดต่อพ่วงสำหรับการใช้งานด้วยแล้ว บนเมนบอร์ดยังมาพร้อมกับสล็อต PCIe x1 ให้อีกหนึ่งสล็อต
อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญเลยก็คือ พอร์ตอุปกรณ์ต่อพ่วงด้านหลัง ที่มีทั้ง Parallel, COM port ที่รวมเอาพอร์ตสำคัญในยุคก่อนๆ เอาไว้ด้วย แต่ที่น่าสนใจก็คือ พอร์ตแสดงผลที่มีทั้ง D-sub และ HDMI เรียกว่ารองรับทั้งจอภาพแบบเดิมๆ และดิจิตอล
Conclusion
ต้องยอมรับเลยว่าเป็นเมนบอร์ดขนาดเล็กในอีกรูปแบบหนึ่งของ ASRock ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อตอกย้ำการใช้งานในพื้นที่เล็กๆ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการค่อนข้างสูง และเป็นหนึ่งตัวเลือกในการใช้งานของผู้ใช้ทั่วไปและในสำนักงาน ที่ไม่ได้เน้นพลังการประมวลผลที่หนักมาก แต่ยังสามารถ Edit และ Create ได้ เพราะถึงแม้จะเป็นเพียง Celeron แต่ก็เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมากทีเดียว โดยเฉพาะรูปแบบการประมวลผลแบบ 4 Core/ 4 Thread นี้ ย่อมตอบโจทย์การทำงานแบบมัลติทาส์กกิ้งได้ดีพอสมควร สำหรับซอฟต์แวร์แบบต่างๆ ในยุคปัจจุบัน นอกจากนี้ยังใช้พลังงานต่ำ จึงความร้อนน้อย แม้จะติดตั้งลงบนเคสขนาดเล็กที่ไม่ค่อยมีการระบายความร้อนมากมายเหมือนเคสใหญ่ แต่ก็ยังทำงานได้แบบไร้เสียงรบกวนจากพัดลมและไม่ร้อนมากจนเกินไป โดยเฉพาะการใช้ในเคสประเภท ITX ที่เป็น Set-top-box หรือจะเป็นเคสตั้งโต๊ะก็ดูจะค่อนข้างลงตัวและค่าใช้จ่ายค่อนข้างน้อยเลยทีเดียว
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าคิดก็คือ ซีพียูที่มาบนบอร์ดนั้น อาจจะไม่ได้แรงแบบที่เหลือกินเหลือใช้สำหรับงานหรือเกมบางอย่างก็ต้องทำความเข้าใจดังนี้ ซึ่งหากว่าต้องการจะเน้นพลังในการประมวลผลชั้นยอด อาจจะต้องมองสเตปบนขึ้นไป เช่นการเลือก Core i3 หรือมากกว่านั้น ดังนั้นแล้วสิ่งที่ควรต้องตัดสินใจก็คือ ความเหมาะสมในการใช้งานที่ต้องเข้ากับความต้องการในชีวิตประจำวัน ซึ่งหากใช้งานทั่วไป การศึกษาลูกหลานหรืองานซอฟต์แวร์พื้นฐาน ASRock N3150B-ITX ตอบโจทย์ได้ไม่ยากหรือแค่เพียงการแสดงผลขึ้นจอภาพ สำหรับการถอดรหัสหรือชมภาพยนตร์ก็สบายๆ แถมยังค่าใช้จ่ายไม่สูงด้วย แค่ใส่ลงไปในเคส เพิ่มแรม ฮาร์ดดิสก์ เพาเวอร์ เพียงเท่านี้ก็ใช้งานได้แล้ว
จุดเด่น
- เป็นเมนบอร์ดขนาดเล็ก mini-ITX กะทัดรัด ที่ใช้งานได้ทั้งความบันเทิงและงานทั่วไป
- รองรับแรมแบบ DDR3L ได้มากถึง 16GB
- ซีพียูที่ใช้เป็นแบบ Quad core (4 core/ 4 Thread)
ข้อสังเกต
- น่าจะมีคอนโทรลเลอร์สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi มาด้วย
- ไม่มีสล็อต PCIe สำหรับการ์ดจอมาให้