หากจะว่าไปแล้ว MacBook รุ่น 2015 ที่พึ่งเปิดตัวไปนั้นก็มีข้อดีอยู่ข้อหนึ่งในตัวของมันเหมือนกันครับ ข้อดีนั้นก็คือ MacBook 2015 นี้ได้ทำให้ช่องเชื่อมต่อแบบ USB 3.1 Type-C กลายเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง ทั้งที่จริงๆ แล้ว MacBook 2015 นั้นไม่ได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่มาพร้อมกับช่องเชื่อมต่อแบบ USB 3.1 Type-C เสียด้วยซ้ำไป โดยข้อดีของ USB 3.1 Type-C จะเป็นอย่างไรนั้นอยากเชิญให้ทุกท่านย้อนกลับไปอ่านจากข่าว มาดูกันดีกว่าว่า USB Type-C บน MacBook เครื่องใหม่คืออะไรและมีดีอย่างไร กันก่อนครับ
ช่องเขื่อมต่อแบบ USB 3.1 Type-C บน Nokia N1 ที่มีมาก่อน MacBook 2015
หากท่านไม่ได้เข้าไปอ่านจากข่าวที่ผมแนะนำข้างต้นแล้ว ผมจะขอสรุปข้อดีของ USB 3.1 Type-C สั้นๆ ให้ได้อ่านกันอีกรอบดังนี้ครับ(เพื่อเป็นพื้นฐานนิดหน่อยสำหรับการเปรียบเทียบครับ)
- มีขนาดเล็กลงอยู่ที่ 8.4 mm x 2.6 mm
- สามารถนำไฟฟ้าได้มากโดยรองรับกำลังไฟฟ้าสูงสุด 100 W ที่แรงดัน 20 volts และ กระแสไฟฟ้า 5 amps ซึ่งสามารถใช้ในการชาร์จโน๊ตบุ๊คได้สบายๆ(มากกว่ากระแสไฟฟ้าในสาย MagSafe ที่รองรับกำลังไฟฟ้าได้สูงสุดที่ 85 W)
- สามารถส่งกระแสไฟได้ทั้ง 2 ทิศทาง ซึ่งนั่นหมายความว่าคุณสามารถที่จะใช้ MacBook ชาร์จ iPad ได้ และในทางกลับกันก็สามารถที่จะใช้ iPad ชาร์จ MacBook ได้เช่นกันเป็นต้น(แต่ต้องให้ Apple ออกแบบ iPad ให้รองรับการทำงานแบบนี้ด้วยนะครับ)
- สามารถเสียบกับอุปกรณ์ผ่านสายได้ไม่ว่าจะใช้ด้านในเสียบเข้ากับช่องเชื่อมต่อ(ถ้าเป็น USB รุ่นเก่าจะต้องหันหัวให้ตรงกันเท่านั้น)
- ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 10 Gb/s (เท่ากับ Thunderbolt 1, เร็วกว่า USB 3.0 และ 2.0)
- สามารถใช้ในการส่งสัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ 4K (4096 x 2160 pixels) ได้อย่างสบายๆ เพราะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่สูงกว่าความละเอียดระดับ 4K โดยได้รับการรองรับจากทาง VESA ว่า USB 3.1 Type-C สามารถส่งสัญญาณภาพผ่านหัวต่อ DisplayPort 1.2a ได้ (แถมยังรองรับ DisplayPort 1.3a ที่จะส่งสัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ 5K ซึ่งจะออกมาในอนาคตด้วย)
หมายเหตุ – สัญญาณภาพที่ความละเอียดระดับ 4K ต้องการความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลอยู่ที่ 5.4 Gb/s ส่วนความละเอียดระดับ 5K ต้องการความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลที่ 8.1 Gb/s
ถึงแม้ว่าจะมีข้อดีมากมายแต่ว่า USB 3.1 Type-C เองก็มีข้อเสียอยู่เช่นเดียวกันครับ ซึ่งข้อเสียนั้นอาจจะเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครหลายๆ คนพอสมควร โดยข้อเสียนั้นก็คือคุณไม่สามารถที่จะนำเอาอุปกรณ์ที่ใช้ช่องเชื่อมต่อแบบ USB 3.0 หรือ 2.0 มาเสียบเข้ากับ USB 3.1 Type-C โดยตรงได้ครับ คุณจะต้องใช้ dongles เฉพาะหรือ Adapter ทำหรับเปลี่ยนหัวเชื่อมต่อเท่านั้น(นั่นหมายความว่าคุณต้องเสียเงินเพื่อซื้อ dongles หรือ adapter เพิ่มนั่นเองครับ)
อย่างไรก็ตามข้อเสียดังกล่าวนั้นก็ถูกทำให้เหมือนกับว่าไม่มีด้วยการโฆษณาว่า USB 3.1 Type-C นั้นสามารถที่จะแปลงล่างเป็นช่องเชื่อมต่อแบบใดก็ได้ทั้งหมดครับ(ดังเช่นรูปทางข้างบน) ดังนั้นแล้วการซื้อ dongles หรือ adapter เพิ่มนั้น ก็อาจจะเป็นเรื่องที่ใครหลายๆ คนคิดว่าไม่เป็นไรไปแทนครับ ที่สำคัญในอนาคตนั้นช่องเชื่อมต่อแบบ USB 3.1 Type-C นั้นก็มาแทนมาตรฐานเก่าอย่างแน่นอนครับ เพียงอาจจะต้องใช้เวลารอสัก 2 – 3 ปีข้างหน้าเท่านั้น
Adapter สำหรับเสียบ USB 3.1 Type-C เป็นช่องเชื่อมต่อแบบอื่น
จากการเปิดตัว MacBook 2015 นั้นเชื่อได้เลยครับว่าอุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ ต่อไปจากนี้ของทาง Apple นั้นจะต้องมาพร้อมกับช่องเชื่อมต่อและสายแบบ USB 3.1 Type-C อย่างแน่นอน ซึ่งคงไม่จำเพาะอยู่ที่ MacBook หรือ Mac เท่านั้น แต่น่าจะพบในผลิตภัณฑ์อย่าง iPhone และ iPad ในรุ่นถัดไปด้วย สิ่งหนึ่งที่ทาง Apple กำลังจะทิ้งไปก็คือช่องเชื่อมต่อแบบ Lightning ครับ เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่าเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของหัวสำหรับเชื่อมต่อ USB 3.1 Type-C, Micro-USB และ Lightning แล้วจะต่างกันอย่างไร
End to end Lightning -USB-C
Lightning, Micro-USB, USB-C
Lighting, USB-C
Lighting, USB-C
Top View
Lightning, Micro, USB-C
จากภาพทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนครับว่าพอร์ทแต่ละชนิดนั้นไม่สามารถที่จะนำมาใช้แทนกันได้อย่างแน่นอน ซึ่งนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Apple ทำเช่นนี้เนื่องจากหากย้อนไปในอดีตแล้ว Apple ถือเป็นบริษัทแรกๆ เลยก็ว่าได้ครับที่กล้าจะนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากเดิม(โดยไม่สนใจใคร) ดังนั้นแล้วการมาของ USB 3.1 Type-C บน MacBook 2015 นั้นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องแปลกมากแต่ประการใดครับ
ที่มา : 9to5mac