ในปัจจุบันต้องยอมรับว่าอะไรต่างๆ รอบตัวกูดูจะเล็กลง เช่นเดียวกับอุปกรณ์โมบายที่นับวันจะยิ่งเน้นความเล็กและบาง ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ถูกจำกัดความสามารถในหลายๆ ด้านลงไป ซึ่งรวมถึงพื้นที่ในการจัดเก็บ ยิ่งบางคนต้องเลือกใช้อุปกรณ์ที่ต้องการความบางเบาและใช้งานได้นาน สิ่งที่สำคัญคือ การใช้ไฟที่ลดลง ทำให้เกิดข้อจำกัดบางด้านด้วย เช่น เรื่องของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ซึ่งหลายๆ ครั้งกลับกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก สำหรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์พกพา แม้ว่าจะมีช่องเสียบ SD Card เข้าไปได้ในบางรุ่น แต่ความจุก็จะจำกัดที่ 128GB อีกทั้งมีราคาที่สูงไม่น้อยทีเดียว ดังนั้นการจะใช้เก็บไฟล์ โดยเฉพาะไฟล์มัลติมีเดียขนาดใหญ่ ก็ดูจะไม่เหมาะนัก
แต่ทางออกที่น่าสนใจในวันนี้ คุณอาจจะต้องจ่ายเพิ่มอีกนิด แต่สิ่งที่ได้มาต้องเรียกว่าคุ้มค่าแน่นอน เพราะเป็นทางออกสำหรับทั้งโซลูชั่นที่คุณใช้ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ตหรือพีซีก็ตาม ด้วยระบบจัดเก็บข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์ WiFi ที่ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ที่ว่ามานั้นได้อย่างรวดเร็ว
ซึ่งทาง WD ก็ได้นำเสนออุปกรณ์ WD My Passport Wireless สำหรับโซลูชั่นดังกล่าวนี้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถมองหาอุปกรณ์ที่เป็นทางออกในการจัดเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีหลายค่ายได้นำเสนออุปกรณ์ในลักษณะดังกล่าวนี้ไปบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Seagate Wireless Plus หรือ Kingston MobileLite เป็นต้น
มาดูรูปแบบและดีไซน์ของ WD My Passport Wireless นี้กันก่อน ต้องบอกว่าเป็นการออกแบบบอดี้ที่ค่อนข้างใหญ่และหนา รวมถึงหนักกว่าฮาร์ดไดรฟ์ในแบบปกติ แต่สิ่งที่พอช่วยได้ก็คือ แบตฯ และอุปกรณ์ WiFi ไม่ยุ่งยากต่อการพกเข้ากระเป๋า โดยแลกมากับความจุที่มากถึง 1TB บอดี้หลักเป็นพลาสติกในโทนสีเทา พื้นผิวด้านบนเป็นสีดำธรรมดา ช่องด้านข้างมีสล็อตสำหรับ SD Card รวมถึงไฟ LED ที่แสดงสถานะ ไม่ว่าจะเป็น แบตหรือการเชื่อมต่อ WiFi อยู่ โดยมี Micro-USB 3.0 อยู่ระหว่างปุ่มเพาเวอร์และปุ่ม WPS (WiFi Protected Setup) พร้อมสาย USB 3.0 มาในกล่องและ Wall Charge AC
กาารติดตั้งและการใช้งาน
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับ WD My Passport Wireless นั่นคือ การมีความสามารถในการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบต่างกัน เริ่มแรกกับการใช้งานเป็นฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลในแบบ USB ด้วยการต่อเข้ากับพอร์ตบนพีซีหรือโน๊ตบุ๊คนตามปกติ นอกจากนั้นยังกลายมาเป็นช่องทางสำหรับการเป็น WiFI Hotspot ที่เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ใดๆ ก็ได้ หรือการจัดเก็บข้อมูลเจ้ากับเครือข่าย NAS และ Media Server รวมถึง SD Card ที่สามารถแสดงเป็น Subfolder เช่นเดียวกับการใช้ USB Drive มาเชื่อมเข้ากับเราเตอร์หรือ NAS ที่นำมาใช้ในการจัดเก็บและค้นหา รวมถึงการเล่นมเดียต่างๆ ผ่านช่องทางดังกล่าวได้ ผ่านทาง Web Interface, File Manager และการเข้าถึงในรูปแบบอื่นๆ บนเครือข่ายผ่านทางพีซีหรือโน๊ตบุ๊คและสมาร์ทโฟน
ฟังก์ชั่น DLNA server ยังช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลได้จากเครื่องเกมคอนโซล มีเดียสตรีมเมอร์หรือช่องสัญญาณทีวี สุดท้ายหากไม่ได้ต้องการเชื่อมต่อ ก็เลือกต่อเข้าโดยตรงกับ My Passport Wireless จากนั้นก็นั่งอยู่ที่บ้านหรือสำนักงาน เปลี่ยนเครือข่ายของคุณให้เป็น NAS ที่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ทั้งหมด รวมไปถึงเคล็ดลับในการทำหน้าที่เป็น FTP Server ที่ถูกปิดเอาไว้ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย แต่ก็เลือกเปิดใช้งานได้ตามต้องการ
ทั้งหมดที่ว่ามานี้หมายถึงว่า คุณสามารถเลือกใช้งาน My Passport ในแบบไร้สาย สำหรับทำงานในโหมดต่อพ่วงปกติได้ ซึ่งดูจะเป็นวิธีการที่ให้ความเร็วในการโหลดที่ดีที่สุด แต่ก็สามารถทำหน้าที่เป็น Wireless Media Server เวลาที่ออกไปใช้งานนอกสถานที่ได้อีกด้วยหรือถ้าใช้อยู่บ้านก็เลือกเขื่อมต่อผ่านเครือข่ายไร้สายภายในบ้านได้เช่นเดียวกัน
การติดตั้งก็ไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยาก เพียงแค่เปิดการทำงานของ My Passport Wireless จากนั้นเชื่อมต่อเข้ากับ WiFi ร่วมกับอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น iPad หรืออื่นๆ โดยที่มีแอพ WD My Cloud ที่ทำงานร่วมกับ Cloud NAS จากนั้นเมื่อเสร็จเรียบร้อย ก็ให้ตั้งค่ารหัสผ่านสำหรับระบบความปลอดภัย จากนั้นก็เชื่อมต่อไปยัง WD My Cloud ด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อเข้าถึงอุปกรณ์ได้ทันที สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้อาจสับสนกับการใช้งาน เมื่อเชื่อมต่อเข้าโดยตรงกับ My Passport Wireless จะต้องตัดการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย WiFi ปกติ โดยจะไม่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ จนกว่าจะมีการยกเลิกใช้งานและเชื่อมต่ออีกครั้งหนึ่ง
ประสิทธิภาพในการทำงาน
ความจุของไดรฟ์ที่ระบุคือ 1TB ส่วนเมื่อฟอร์แมตเรียบร้อยแล้วอยู่ที่ 927.48GB ภายในมีวีดีโอแนะนำการใช้งานและ Sample ต่างๆ ไว้ให้ดูด้วย แต่สามารถลบได้ถ้าไม่ต้องการ เมื่อต่อเข้ากับพอร์ต USB ระบบจะตัดการทำงาน WiFi แต่จะสามารถ Braodcast ได้เมื่อต่อปลั๊กเข้ากับที่ชาร์จ
Web Interface เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ทั้งเราเตอร์และ NAS เป็นสิ่งที่ทำความเข้าใจได้ง่าย อันที่จริงคุณอาจจะไม่ได้สนใจใน My Cloud มากนัก แต่ในความเป็นจริงหากต้องการใช้งาน ก็เลือกติดตั้งระบบ ด้วยการพิมพ์ mypassport ในช่อง URL เมื่อเชื่อมต่อเข้ากันโดยตรง ก็จะมองเห็นและตรวจสอบพื้นที่การทำงาน รวมถึงการตั้งค่าความปลอดภัย รวมถึงปิดการทำงานของ USB รวมถึงการอัพเดตเฟิร์มแวร์และการตั้งค่าต่างๆ ได้ทันที
นอกจากนี้ยังเลือกได้ว่าให้ระบบ นำ Content ที่อยู่ใน SD Card โหลดเข้ามาโดยอัตโนมัติได้อีกด้วย ซึ่งฟังก์ชั่นนี้เหมาะกับบรรดาช่างภาพ ที่ต้องการแลกเปลี่ยนภาพระหว่างการ์ด โดยไม่ต้องกังวลว่าจะมีพื้นที่บนโน๊ตบุ๊คหรือพีซีเหลืออยู่หรือไม่ การเรียกดูไฟล์ผ่านทางไดรฟ์บน Windows Explorer, VLC บน iOS รวมถึงบน My Cloud ซึ่งแอพเปิดให้ดูได้ตามโฟลเดอร์และรูปแบบของมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น ไฟล์เสียงหรือวีดีโอก็ตาม แม้จะต้องการบัฟเฟอร์นิดๆ แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหา
ไฟล์ที่เพิ่ง Copy มาใหม่ๆ จะยังไม่เห็นใน DLNA ในทันที ในบางกรณีที่ไฟล์ลบไปแล้ว ในบางครั้งจะยังปรากฏให้เห็น ส่วน Web Interface ก็มาพร้อมเครื่องมือสำหรับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็น Refresh และ Rebuilding Database ก็ตาม นอกจากนี้การเสียบไดรฟ์เข้ากับเครื่องพีซีเพื่อทำการทดสอบและบันทึกคะแนนบน SiSoft ปรากฏว่าความเร็วอยู่ในเกณฑ์ที่พอใช้ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 103.49Mbps/ 104.32 สำหรับการอ่านและเขียนข้อมูล รวมถึงความเร็วในการ Random Read/ Write อยู่ที่ 33.74Mbps และ 27.47Mbps
ภาพรวมในการทำงาน
ต้องเรียกได้ว่าเป็นไดรฟ์แบบไร้สาย ที่กำลังได้รับการพัฒนามาให้ใช้ร่วมกับชีวิตประจำวันของใครหลายคนได้มากขึ้น รวมไปถึงการทำงานที่คล้ายกันกับคู่แข่งอย่าง Seagate ที่มาพร้อมการทำงานร่วมกับ SD Card ที่เชื่อว่าน่าจะได้ประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้มากที่สุด จะต่างกันก็เพียงฟีเจอร์และยูทิลิตี้เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยไดรฟ์ WD My Passport Wireless เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับคนที่ต้องการใช้งานเก็บและแชร์ เพิ่มความสะดวกในการทำงานของแต่ละวันได้เป็นอย่างดี
ที่มา – ndtv