Connect with us

Hi, what are you looking for?

Special Story

ได้เวลาอัพเกรดคอมพิวเตอร์เครื่องเก่าให้ใช้ USB 3.0 ได้

ดูจะเป็นปัญหาคาราคาซังอย่างมาก สำหรับคนที่ใช้คอมเครื่องเก่า แล้วอยากเพิ่มความเร็วของพอร์ต USB ให้รองรับมาตรฐานใหม่อย่าง USB 3.0 ได้ เพราะลำพัง USB 2.0 เดิม ดูจะไม่เพิ่มได้ตามต้องการแล้ว ยิ่งไฟล์ใหม่ๆ ว่ากันที่ GB เป็นหลัก

ดูจะเป็นปัญหาคาราคาซังอย่างมาก สำหรับคนที่ใช้คอมเครื่องเก่า แล้วอยากเพิ่มความเร็วของพอร์ต USB ให้รองรับมาตรฐานใหม่อย่าง USB 3.0 ได้ เพราะลำพัง USB 2.0 เดิม ดูจะไม่เพิ่มได้ตามต้องการแล้ว ยิ่งไฟล์ใหม่ๆ ว่ากันที่ GB เป็นหลัก รอการโหลดแค่ 10-20MB/s ดูจะไม่ไหว ต้องรอกันยาวๆ ดังนั้นการอัพเกรดหรือการเปลี่ยนก็คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงแต่ว่าจะเลือทางใดจึงจะเหมาะสม ซึ่งจะว่ากันที่พีซีเป็นหลัก เนื่องจากมีโอกาสที่จะแก้ไขได้มากกว่า มาดูกันว่าทำอย่างไรได้บ้าง กับการใช้งาน USB 3.0

Upgrade usb30-1

Advertisement
1
วิธีแรกเป็นการเพิ่ม Expansion Card ซึ่งหมายถึงการเลือกซื้อการ์ดที่มีพอร์ต USB 3.0 มาติดตั้งบนเมนบอร์ด โดยที่การ์ดเหล่านี้ จะเป็นการ์ดที่ต่อพ่วงกับสล็อต PCIe ที่อยู่บนเมนบอร์ด ไม่ว่าจะเป็น PCIe-x1 หรือ x2 ก็ตาม ก็จะให้ประสิทธิภาพในการถ่ายโอนข้อมูลทื่รวดเร็ว เพราะความเร็วแบนด์วิทธ์ในการเชื่อมต่อของสล็อตเหล่านี้ มากกว่าความเร็วบน USB 3.0 อยู่แล้ว จึงไม่เป็นปัญหาในการใช้งาน อีกทั้งสล็อต PCIe นี้ มักจะไม่ได้ใช้งานกันมากนัก ส่วนใหญ่จะเหลือให้เราได้ติดตั้ง โดยสามารถหาซื้อได้มากมาย ราคาเริ่มตั้งแต่ 300 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับว่าจะมีพอร์ตมากน้อยเพียงใด แต่บางรุ่นอาจจะมีราคาที่สูง เนื่องจากมีพอร์ตที่สามารถเชื่อมต่อ USB มายัง Panel ด้านหน้าเครื่องได้อีกด้วย

Upgrade usb30-2

2
วิธีที่สอง ใช้การเพิ่มจากการ์ด Expansion เช่นเดียวกัน เพียงแต่จะเน้นที่การเพิ่มพอร์ตจากด้านหน้าเป็นหลัก กรณีที่มีพาแนลด้านหน้าเคสอยู่แล้ว ต้องการจะใช้ด้านหน้าเครื่องเป็นหลัก ก็อาจจะมองหาการ์ด USB 3.0 Expansion ในราคาที่อาจจะไล่เลี่ยกับแบบปกติ เพียงแต่มีพอร์ต USB 3.0 ด้านหลังเครื่องน้อยและเน้นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อสัญญาณกับพอร์ต USB 3.0 บนพาแนลด้านหน้าได้ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้งานพอร์ต USB 3.0 ได้แล้ว ซึ่งให้ความคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

Upgrade usb30-3

3
วิธีที่สามเลือกใช้พาแนลในแบบ Bay Expansion ซึ่งอุปกรณ์เช่นนี้ จะใช้วิธีการติดตั้งบนเบย์ด้านหน้าเครื่อง แต่ก็ยังต้องอาศัยสาย USB 3.0 ในการเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตบนเมนบอร์ด เพื่อให้ใช้งานได้ตามปกติ ไม่เช่นนั้นก็จะไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด ฉะนั้นเวลาเลือกใช้งาน Bay Expansion นี้ จำเป็นจะต้องตรวจดูว่าเมนบอร์ดที่ใช้มีพอร์ตสำหรับUSB 3.0 อยู่ในแผงเมนบอร์ดด้วยหรือไม่ สังเกตได้จากพอร์ตสีฟ้าๆ ที่อยู่ด้านล่างของเมนบอร์ดใกล้กับชิปเซ็ต หากไม่มีก็ต้องเลือก Bay ที่มากับ Expansion Card ที่ค่อนข้างหาได้ยากพอสมควรในตลาด บางครั้งอาจจะต้องซื้อ Card มาเพิ่ม นั่นก็หมายถึงว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายไปเปล่าประโยชน์

Upgrade usb30-4

4
วิธีที่สี่ เลือกใช้ Hub USB 3.0 น่าจะเป็นทางเลือกท้ายๆ เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไรหากยังต่อกับพอร์ต USB 2.0 ซึ่งนั่นก็หมายถึงว่า สามารถใช้งานได้ที่ USB 3.0 เฉพาะร่วมกับ Hub แต่เมื่อลิงก์เข้ากับระบบ ก็จะยังคงทำงานเป็น USB 2.0 เช่นเดิม ซึ่งไม่ได้ประโยชน์อื่นใด นอกเสียจากต้องเพิ่มการ์ด แต่นั่นก็คือความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายที่ดูจะไม่ได้เหมาะสมกันนัก แต่ก็เป็นทางเลือกสำหรับคนที่อยากได้จำนวนพอร์ตมากกว่าความเร็ว

Upgrade usb30-5

สุดท้ายหากไม่ได้จริงๆ หรือมีแผนที่จะเปลี่ยนระบบอยู่แล้ว การเปลี่ยนเมนบอร์ดก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะได้ระบบใหม่ทั้งหมด แบบที่สดใหม่ คราวนี้ตอบสนองได้ดีแน่ๆ เพราะมีUSB 3.0 มาให้เลย แต่ในแง่การลงทุนอาจจะไม่คุ้มค่านัก หากจะใช้แค่พอร์ต USB 3.0 โดยที่ประสิทธิภาพอย่างอื่นไม่ได้ถูกนำมาใช้งานอย่างเต็มที่ แต่ถ้ามองว่าการซื้อ Expansion Card ในราคาประมาณพันกว่าบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเมนบอร์ดในราคาเริ่มต้นที่ 2-3 พันบาท แบบไหนจะคุ้มกว่ากัน

ที่มา : howtogeek

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Buyer's Guide

ในยุคนี้ที่อุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบออฟไลน์หาซื้อได้ง่ายหลายช่องทางจะหาซื้อแฟลชไดร์ฟราคาดีก็ง่าย กำเงินไปร้อยสองร้อยบาทตรงเข้าร้านคอมใกล้บ้านก็ซื้อมาเซฟงานได้แล้ว ยิ่งยุคนี้เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลก็ล้ำสมัยขึ้นเรื่อยๆ จึงมีแฟลชไดร์ฟความจุตั้งแต่ 8GB ไปจนหลัก TB วางขายกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งปัจจุบันก็จะมีแบรนด์ชั้นนำอย่าง Lexar, Kingston, SanDisk ให้เลือกซื้อกัน แต่หลายคนคงสงสัยว่าจะซื้อของชิ้นนี้ไว้ทำไมในเมื่อมีวิธีเซฟข้อมูลให้เลือกตั้งมากมาย? ถ้าเอาเรื่องใกล้ตัวอย่างการฟอร์แมตคอมลง Windows ใหม่ ก็ต้องเขียนไฟล์ระบบปฏิบัติการลงแฟลชไดร์ฟเอาไว้ล้างเครื่องอย่างแน่นอน หรือถ้าเป็นสายท่องเที่ยวถ่ายภาพอัดคลิปไว้มากมายแล้วหน่วยความจำในมือถือเต็ม แทนที่จะอัปโหลดขึ้น Cloud ให้เปลืองแพ็คเกจโรมมิ่งหรือรอไปต่อ Wi-Fi ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่...

Buyer's Guide

ปลั๊กไฟ USB เพื่อสายไอที มีเอาไว้ชาร์จเหมาหมดทั้งโน้ตบุ๊ค, แท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน สะดวกงี้ต้องมีเอาไว้จริงๆ นะ! ปลั๊กไฟ USB นอกจากติดมาเป็นช่องเสริมของปลั๊กรางที่หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ถ้าใช้อุปกรณ์ไอทีหลายชิ้น ไม่ว่าจะแท็บเล็ต, สมาร์ทโฟน, หูฟัง TWS, โน๊ตบุ๊คแล้ว ถ้ามีปลั๊กไฟ USB ดีๆ สักตัวเอาไว้ก็ประหยัดช่องเสียบปลั๊กไปได้หลายช่อง แค่หาสาย USB-C, USB-A...

Tips & Tricks

แนะนำ USB Hub ยี่ห้อไหนดี น่าใช้งาน ราคาไม่แรง เชื่อมต่อได้เยอะ อัปเดต 2022 เดี๋ยวนี้การทำงานกับคอมพิวเตอร์นั้นมีอุปกรณ์ให้ต่อเพิ่มขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเมาส์ คีย์บอร์ด หน้าจอ ปริ๊นเตอร์ ฯลฯ ซึ่งค่อนข้างสวนทางเป็นอย่างมากกับโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ที่ดีไซน์ออกมาเน้นความเพรียวบาง พกพาไปไหนมาไหนสะดวก จึงทำให้พอร์ตการเชื่อมต่อนั้นลดลงตามไปด้วย USB Hub จึงถือเป็นทางออกหนึ่งที่ช่วยให้เราสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ กับคอมพิวเตอร์ได้มากยิ่งขึ้น เรามาดูไปพร้อมๆ...

Buyer's Guide

USB WiFi สักตัว ช่วยชุบชีวิตโน๊ตบุ๊คเครื่องเก่าเน็ตเต่าหรือพีซีที่ต้องต่อ LAN อย่างเดียวให้ต่อ WiFi ได้สบายๆ ด้วยงบประหยัดน่าคบ USB WiFi เป็นตัวรับสัญญาณ WiFi อีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กับตัวการ์ดแบบต่อเข้าพอร์ต PCIe อย่างที่หลายๆ คนคุ้นหน้าคุ้นตากันดี และเชื่อว่าเป็นตัวรับสัญญาณ WiFi ที่หลายคนเลือกใช้งานเพราะสะดวกไม่ต้องทำอะไรมาก แค่เสียบมันเข้าพอร์ต USB-A ของพีซีเครื่องนั้นๆ แล้วปล่อยตัว...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก