ถ้าคุณคิดว่าอุปกรณ์สวมใส่ที่มาพร้อมกับความสามารถในการติดตามค่าทางด้านการออกกำลังกายต่างๆ แล้วนำมาคำนวณเป็นปริมาณการเผาพลาญแคลอรี่ที่คุณใช้ในแต่ละวันนั้นมีคตวามถูกต้องแม่นยำแล้วหล่ะก็คุณกำลังคิดผิดอย่างใหญ่หลวงเลยทีเดียวครับ เพราะถ้าอ้างอิงจากผลการศึกษาที่เผยแพร่ใน?Medicine & Science in Sports & Exercise นั้นจะพบครับว่าการตรวจวัดค่าต่างๆ เพื่อเอามาคำนวนในแต่ละอุปกรณ์นั้นจะมีความแตกต่างกันไปอย่างมากมายเลยทีเดียวซึ่งทำให้ผลที่ได้นั้นก็มีความถูกต้องแม่นยำเปลี่ยนไปตามแต่ละในอุปกรณ์ด้วยครับ
นักวิจัยจาก?Iowa State University ได้เผยให้เห็นถึงความถูกต้องแม่นยำของอุปกรณ์สวมใส่ที่มีความสามารถในการติดตามค่าทางด้านการออกกำลังกายถึง 8 รุ่นเทียบกับการวัดค่ีาโดยตรงในห้องปฏิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน(ซึ่งห้องปฏิบัติการนั้นดีถึงขั้นมีการทดแทนพลังงานที่เสียไปด้วย) โดยกลุ่มผู้ทดสอบนั้นมีทั้งหมด 60 คน แบ่งออกเป็นเพศชาย 30 คนและเพศหญิง 30 คน ใส่อุปกรณ์สวมใส่ที่มีความสามารถในการติดตามค่าทางด้านการออกกำลังกายได้ทั้ง 8 รุ่น และรวมกับอุปกรณ์ที่ได้รับรองมาตรฐานจากทางห้องปฏิบัติการเข้าไปอีก เป็น 9 อุปกรณ์ ใช้เวลาทดลองทั้งหมด 13 วัน โดยทดสอบการใช้กิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่มียกเว้นเช่นการพิมพ์อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เฉยๆ ยันกระทั่งการวิ่งเพื่อออกกำลังกาย เป็นเวลาวันละ 69 นาทีครับ
ผลจากการศึกษาพบว่าอุปกรณ์ที่ให้ผลใกล้เคียงกับอุปกรณ์ตรวจวัดที่ได้รับมาตรฐานจากห้องปฏิบัติการมากที่สุดคือ?BodyMedia FIT ซึ่งมีอัตราการผิดพลาดอยู่ที่ 9.3% ตามมาด้วย?Fitbit Zip (10.1%), Fitbit One (10.4%), Jawbone Up (12.2%), Actigraph (12.6%), Directlife (12.8%), Nike Fuel Band (13%)?และ?Basis Band (23.5%) จากผลการทดสอบนี้ทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจนเลยครับว่าไม่มีอุปกรณ์สวมใส่ที่มาพร้อมกับความสามารถในการติดตามค่าสำหรับการออกกำลังกายใดๆ เลยในท้องตลาดที่สามารถบอกค่าได้เท่ากับอุปกรณ์ที่มาจริงห้องปฏิบัติการ ซึ่งนั่นหมายความว่าจากอุปกรณ์ทั้งหมดที่คุณใช้นั้น ตัวคุณจะไม่ได้รับประโยชน์สูงสุดในการที่จะตั้งเป้าสำหรับใช้อุปกรณ์สวมใส่นั้นเพื่อการพิจารณาสำหรับทำตารางสำหรับการออกกำลังกายที่เหมาะสมของคุณครับ
แต่อย่างไรก็ดีครับ เราคงไม่สามารถที่จะเอาอุปกรณ์สวมใส่ที่มาพร้อมกับความสามารถในการติดตามค่าสำหรับการออกกำลังกายมาเทียบกับอุปกรณ์ที่มาจากห้องปฏิบัติการได้ในตอนนี้ เนื่องจากมีเหตุผลและปัจจัยหลายๆ อย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างน้อยงานวิจัยนี้ก็ช่วยบอกคุณได้ครับว่าคุณไม่ควรจะเชื่อถืออุปกรณ์ที่ยังไม่มีการพิสูจน์ออกมาจริงๆ ว่ามีความเที่ยงตรงเต็มที่ 100% แต่อย่างน้อยอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นก็ทำให้การใช้ชีวิตของเรานั้นง่ายขึ้น เพราะคงมีคนเพียงจำนวนแค่ไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสามารถหาอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานเดียวกันกับอุปกรณ์จากห้องปฏิบัติการออกมาใช้งานได้จริง สำหรับผู้ใช้ธรรมดาอย่างเราๆ ท่านๆ ก็คงต้องส่งเสียงไปยังผู้ผลิตให้ทำการพัฒนาอุปกรณ์ของพวกเขาให้ดีขึ้น และมาพร้อมกับความถูกต้องแม่นยำกันต่อไปครับ
ที่มา :?prevention