เดี๋ยวนี้อะไรมันก็ต้องเร็วๆแรงๆไปหมดไม่เว้นแม้กระทั้งฮาร์ดดิสก์เมื่อก่อนสมัยสัก 4-5 ปีผมว่าไอ้ฮาร์ดดิสค์ 7200RPM มันก็เร็วแล้วนะ ราคาก็โอเคอยู่ แต่ใครจะคิดละครับว่าเดี๋ยวนี้ 7200RPM ก็ยังช้าเกินไปเพราะโลกของ SSD กำลังเข้ามาใกล้ตัวเรามากขึ้น ด้วยราคาและความจุที่สามารถจับต้องง่ายมากขึ้น ไม่ได้แค่ของขึ้นหิ้งสำหรับคนรวยอีกต่อไปแล้ว
SSD หรือชื่อเต็มๆ Solid State Disk คือฮาร์ดดิสค์ที่ใช้ชิปไอซีมาแทนฮาร์ดดิสค์แบบจานหมุน จึงให้เวลาในการเข้าถึงข้อมูลที่เร็วมาก สามารถโอนถ่ายข้อมูลความจุสูงด้วยความรวดเร็ว และที่สำคัญคือไม่ต้องกลัวการตกกระแทก ข้อดีมากมายที่แตกต่างจากข้อเสียอยู่ 2 ประการหลักๆคือ ถ้าฮาร์ดดิสค์พังไม่สามารถกู้ข้อมูลใดๆได้เลย และเรื่องของราคาต่อความจุที่แพงมากๆ
แต่ช่องว่างเรื่องของราคาต่อความจุในปัจจุบันนั้นจัดได้ว่าเริ่มแคบลงมากขึ้น จากเดิมที่ฮาร์ดดิสค์ SSD ราคาเริ่มต้นไม่ต่ำกว่า 5-600 แต่ปัจจุบัน 3000 ก็หา SSD ความจุต่ำๆหน่อยมาเล่นได้แล้ว (30-40GB) แต่ถ้าอยากได้ระดับที่ใช้งานต่างๆเต็มที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลพอสมควรก็มีรุ่น 120GB ที่ราคาราวๆ 5500 บาท หรืออยากได้ความจุสูงจริงๆก็มีระดับ 240GB ที่ราคาหลักหมื่นให้เลือกกัน แต่ก่อนอื่นที่เราจะเล่น SSD ละก็ต้องทำความเข้าใจถึงการใช้งานของตัวเองก่อนนะครับ
SSD VS Harddisk ไกด์เบื้องต้นสำหรับคนอยากได้ SSD
การพยายามเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องโน๊ตบุ๊คด้วยการเปลี่ยนไปใช้ฮาร์ดดิสก์ โน๊ตบุ๊คแบบ SSD กำลังเป็นที่นิยมแล้ว วันนี้เราจะมาลองฮาร์ดดิสก์ระดับสูงๆ กันว่า ระหว่างฮาร์ดดิสก์ตัวเร็วๆ แบบธรรมดากับ SSD ใครจะอยู่ใครจะไป แบบไหนดีที่สุดสำหรับเครื่องของคุณ
ทางด้าน Western Digital เอาเวลาไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ 500 GB 7200 rpm จนได้ Scorpio Black ลองดูว่าคุ้มเวลาที่รอไหม ตัวต่อไป Momentus XT ของ Seagate ทำงานแบบ Hybrid เพราะมี SSD 4 GB มาทำเป็นแคช ด้าน SSD ชื่อเสียงจะตกอยู่กับ Intel แน่นอน เพราะมีตัวควบคุม Sandforce ซึ่งบริษัทดังๆ เอาไปทำ SSD กันหมด ดังนั้น เราจะทดสอบ Agility 2 และ Vertex Limited Edition ของ OCZ ส่วน Crucial C300 เป็น SATAIII (6.0 GB/s) ตัวแรก แต่สามารถใช้กับ SATAII (3.0 GB/s) ได้
การทำงานพร้อมกันหลายๆ โปรแกรมเป็นเรื่องสามัญของโลกทุกวันนี้ไปแล้ว เรามีแอนตี้ไวรัสทำงานอยู่ ขณะที่เราต้องการให้เครื่องไม่เสียความเร็วในการประมวลผลไปมากนัก ซึ่งฮาร์ดดิสก์เป็นตัวแปรที่สำคัญในเรื่องนี้ ซึ่งจากผลทดสอบจะเห็นได้ว่า SSD ยังทำผลการทดสอบเหนือกว่าฮาร์ดดิสก์แบบจานหมุนไปมากทีเดียว
เลือก HDD Notebook ในปัจจุบัน HDD, SSD หรือ SSHD แบบไหนดี
ขึ้นชื่อว่าเป็นโน๊ตบุ๊คแล้ว สิ่งที่หลายๆ คนคาดหวังก็คือ ต้องทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ดี ใช้งานได้ยาวนาน มีระบบประหยัดพลังงานชั้นยอดและเทคโนโลยีที่ตอบสนองได้รวดเร็ว รวมถึงมีฮาร์ดดิสก์ โน๊ตบุ๊คที่รองรับการทำงานและเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เวลาที่เราเลือกฮาร์ดดิสก์ ไม่ว่าจะเป็นน๊ตบุ๊คหรือพีซีก็ตาม ส่วนใหญ่จะมีรูปแบบการคัดกรองอยู่ไม่กี่ขั้นตอน เพราะผุ้ใช้หลายคนที่ไม่ได้สนใจสเปคมากนักและไม่รู้ว่าดูไปทำไม คิดว่าทุกรุ่นก็เหมือนกันหมด รู้แค่ว่าความจุได้ตามต้องการก็พอแล้ว แต่ความจริงมีมากกว่านั้น เพราะยังมีอีกหลายเรื่องที่ต้องใส่ใจหากต้องการได้ฮาร์ดดิสก์ที่ถูกใจและเหมาะกับการใช้งาน
แต่องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้คงไม่ได้ตอบโจทย์ได้ทุกเรื่อง เพราะส่วนใหญ่สิ่งต่างๆ ที่มีให้จะไม่ครบถ้วนการใช้งาน บางรุ่นได้ความจุเยอะ แต่บัฟเฟอร์น้อยหรือบางรุ่น ความจุน้อย แต่ได้ความเร็วรอบสูง จะมีเพียงไม่กี่รุ่นที่มีให้ทั้งความจุมหาศาลและได้ความเร็วรอบสูง ซึ่งราคาก็จะสูงขึ้นไปอีกพอสมควร ก็ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่เรียกว่า SSD หรือ Solid State Drive
SSD เป็นฮาร์ดดิสก์แบบที่ทราบกันดีว่าไร้ซึ่งกลไกที่ใช้ในการเคลื่อนไหวอีกต่อไป แต่ใช้เมมโมรีในแบบ NAND Flash มาเป็นตัวจัดเก็บข้อมูล ทำให้โดดเด่นในเรื่องของ ความร้อนน้อย ประหยัดพลังงาน ที่สำคัญ ไม่ต้องหมุนจานเพลตเพื่อหาข้อมูล จึงทำให้การอ่านข้อมูลรวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์จานหมุนหลายเท่าตัว ส่วนใหญ่สังเกตประสิทธิภาพได้จากข้อมูลการ Read/Write ที่ระบุเอาไว้ ว่ามีความเร็วมากน้อยเพียงใด จึงเหมาะอย่างยิ่งกับการนำมาใช้บนโน๊ตบุ๊ค เพราะช่วยให้ประหยัดไฟได้บ้างและลดความร้อนที่เกิดขึ้นบนตัวเครื่องได้เยอะทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานซอฟต์แวร์เฉพาะทาง อย่างเช่น งานกราฟิกหรือตัดต่อก็จะเห็นผลได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดี แม้ SSD จะมีความเร็วในการทำงานที่สูงกว่า HDD อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีข้อจำกัดคือ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและความจุได้นั้นก็ทำให้หลายคนลังเลอยู่ไม่น้อย พูดง่ายๆ คือ HDD มีราคาต่อหน่วยที่ คิดเป็น x บาท/GB ส่วน SSD นั้นคิดเป็น xx บาท/GB จ่ายต่างกันหลายเท่าเลยทีเดียว
อยากได้ SSD ที่เร็วและใช้งานบนพีซีให้สะดวกกว่าเดิม เลือกแบบไหน
เชื่อว่าหลายต่อหลายคนก็คงจะอยากสัมผัสกับความแรงของฮาร์ดดิสก์ SSD ใจจะขาดหรือบางคนที่เคยใช้ในรุ่นแรกๆ ก็อาจจะรู้สึกว่า การทำงานอาจจะช้าไปบ้าง หากเทียบกับ SSD รุ่นใหม่ๆ ที่มีความเร็ว Read/ Write ระดับ 400-500MB/s ซึ่งเห็นแล้วก็น้ำลายไหล
แต่ด้วยข้อจำกัดของพอร์ต SATA บางทีที่ใช้รุ่นเก่าๆ อยู่หรือจะเป็นรุ่นใหม่ ก็อาจจะยังตอบสนองได้ไม่ทันใจมากนัก ซึ่งถ้าถามว่าเป็นข้อจำกัดหรือเปล่า ก็มีส่วน เพราะหากมอง SSD บางรุ่นที่ออกมาก่อนหน้านี้ ที่มีการเชื่อมต่อผ่านสล็อต PCI-Express โดยตรง ก็เรียกได้ว่ามีผลการทำงานที่น่าสนใจไม่น้อย ทีนี้ลองมาดูกันว่ามีทางเลือกใดบ้าง ที่จะสามารถใช้งาน SSD และได้ความเร็วที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเหมาะสม แต่ที่สำคัญน่าจะคุ้มค่าต่อการลงทุนลงแรง
เหล่านี้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ใช้ที่กำลังมองหา SSD ที่ให้ความเร็วและความยืดหยุ่นที่มากขึ้นในการใช้งาน รวมถึงมีความคุ้มค่าและเหมาะสม เพราะบางแบบมีค่าใช้จ่ายสูง แต่บางแบบก็ต้องเลือกใช้กับเมนบอร์ดเฉพาะรุ่น แต่บางแบบก็เหมาะกับการใช้งานแบบสลับสับเปลี่ยนได้สะดวกขึ้น สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับตัวผู้ใช้เองว่าต้องการในแบบใด