หลังจากที่มีคดีความจากเด็กหญิงสาวชาวแคนาดา ได้ทำการฆ่าตัวตาย หลังจากที่โดนกลั่นแกล้ง แต่หน้า Facebook ของเธอนั้น ก็ยังสามารถเข้าถึงได้อยู่ต่อไป และเหล่าคนที่กลั่นแกล้งเธอ ก็ยังคงไม่ได้หยุดการกระทำเหล่านั้น ยังคงเข้าไปกระทำอยู่แม้ว่าเธอจะได้เสียชีวิตไปแล้วก็ตาม เรื่องนี้ก็ได้กลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในด้านกฎหมาย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างของคำถามด้านกฎหมายที่ว่า ?สื่อ Social Media ของฉันจะเป็นยังไง หลังจากที่ฉันตายไปแล้ว?
แม้ว่าหน้า Facebook ของผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วนี้ จะสามารถกลายเป็นสิ่งที่สามารถใช้รำลึกถึงความรัก ความทรงจำดีๆ ถึงตัวบุคคลคนนั้น แต่มันก็ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งด้วย ให้คนที่เกลียดบุคคลคนนั้น เข้ามาทำการซ้ำเติม ไม่ให้เหยื่อได้พักอย่างสงบแม้ว่าจะเสียชีวิตไปแล้ว และครอบครัวก็ยังไม่สามารถที่หลุดการกระทำเหล่านั้นได้ เพราะไม่มีรหัสผ่านในการเข้าถึงบัญชีผู้ใช้ของผู้ตาย
ในขณะเดียวกันก็เป็นคำถามกับ Facebook เองด้วย ว่าเพราะเหตุใด ถึงไม่ทำตัวให้มีเหตุผล อนุญาตให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตส่งหลักฐานการเสียชีวิตไปให้ แล้วทำการปิดหน้าเพจนั้น หรืออนุญาตให้เหล่าเพื่อนของผู้ตาย สามารถที่จะเข้ามาโพสท์ข้อความรำลึกถึงผู้ตายได้ ด้วยการเปลี่ยนสถานะเพจนั้นให้เป็นหน้าแบบที่เรียกว่า Facebook A.D. (After Death) โดยจะได้รับการควบคุมโพสท์ต่างๆจากครอบครัวของผู้ตายหรือทายาท ในอีกแง่นึง มันคล้ายกันกับที่เมื่อเราเสียชีวิตไป ทรัพย์สินของเราก็ต้องตกทอดต่อไปเป็นของคนอื่นนั่นเอง
แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังคงมีเสียงคัดค้านถึงในเรื่องของความเป็นส่วน เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์ บางครั้งมันก็เกี่ยวข้อกับอารมณ์ และความสัมพันธ์ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราก็ไม่ได้อยากจะให้ครอบครัวเรา หรือใครคนอื่นเห็น แม้ว่าเราจะตายไปแล้วก็ตาม
ถือว่าเป็นข้อโต้แย้งกรณีศึกษาใหม่อีกหนึ่งตัวอย่าง สำหรับบ้านเรา แน่นอนว่าเรื่องนี้ยังไม่มีตัวบทกฎหมายมารองรับอย่างชัดเจน และยังไม่เป็นที่พูดมากมายนักซะด้วยซ้ำ ในความเห็นชาว NBS คิดเห็นยังไงกับเรื่องนี้กันบ้าง
ที่มา:?The Christian Science Monitor