หลังจากเป็นข่าวลือเรื่องการเปลี่ยนซ็อคเก็ตของ CPU เมื่อหลายวันก่อน ในตอนนี้ทาง Intel ก็ได้ออกมาแก้ข่าวลือที่จะเปลี่ยนจาก Platform LGA เป็น BGA แล้ว โดยโฆษกของ Intel มร. Daniel Snyder ได้กล่าวว่า Platform LGA จะยังทำต่อไปอีกในช่วงหลายปีต่อจากนี้ เพื่อสนับสนุนตลาดเดิมกับ Advance User ที่ยังใช้งาน Platform นี้อยู่ โดยทาง Intel ได้กล่าวไว้ว่าทาง Intel ไม่มีนิสัยการคอนเฟิร์มเรื่องสินค้าที่ยังไม่เปิดตัวออกมา ซึ่งทาง Intel เองก็ไม่อาจพูดถึงแผนการทำตลาดของสินค้าในระยะยาวได้เช่นกัน แต่สำหรับรายละเอียดในช่วงระยะที่พอกล่าวถึงได้นั้นจะมีการเปิดเผยตามช่องทางสื่อสารต่างๆ ต่อไป ซึ่งเรื่องนี้เป็นเพียงข่าวลือในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเท่านั้น
สาเหตุเกิดจากเว็บไซต์ PC Watch ของประเทศญี่ปุ่นได้ออกข่าวว่า Platform Hashwell นั้นจะเป็น LGA รุ่นสุดท้าย และหลังจากนั้นจะเปลี่ยนเป็น Platform 14 nm เข้ามาแทนที่และจะใช้ชื่อรุ่นว่า Broadwell และจะเปลี่ยนจากซ็อคเก็ตแบบ LGA เป็น BGA (Ball Grid Array) แทน โดยตัว BGA นั้น CPU จะถูกเชื่อมติดเป็นชิ้นเดียวกับ Mainboard จากโรงงาน โดยการแยก CPU ออกจาก Mainboard นั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย และจะเป็นการเปลี่ยนมุมมองของการเลือก CPU และ Mainboard ไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้เกิดการถกเถียงเป็นวงกว้างบนอินเตอร์เน็ต ร่างไปจนถึงทาง AMD เองก็ต้องออกมายืนยันด้านจุดยืนในการผลิตซ็อคเก็ตด้วย โดย มร. Chris Hook โฆษกจาก AMD ได้กล่าวว่า ทาง AMD เองก็ได้ทำ CPU และ APU ที่เข้ากับ Mainboard ได้หลากหลายรุ่นจากหลายบริษัทแล้ว รวมทั้งทางบริษัทก็มีประวัติในการผลิตสินค้าเพื่อรองรับผู้ใช้ที่นิยมประกอบคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเองอยู่แล้ว ซึ่งทาง AMD ได้กล่าวถึงแผนในปี 2013-2014 ของตนเองว่าจะเปิดตัว APU กับ CPU ในซีรี่ย์ FX ในชื่อรุ่นพัฒนาว่า “Kaveri” และยังไม่มีแผนการที่จะทำ BGA เพราะว่า BGA นั้นอยู่ใน Ultrathin กับ All in One รวมทั้งแท็บเล็ตบางรุ่นมาหลายปีแล้ว โดยในฝั่งของ Desktop นั้นจะยังคงทำตามความตั้งใจตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้ง AMD มา คือจะเป็นบริษัทที่ผลิต CPU ที่มอบประสบการณ์การใช้งานที่ดีและมีราคาเหมาะสมให้กับผู้ใช้ทุกคน
การกล่าวว่า “ช่วงระยะที่พอกล่าวถึงได้” ของ Intel นั้นเป็นคำพูดที่ดูไม่เต็มใจกล่าวถึงนัก ซึ่งมุมมองของสื่อต่างประเทศนั้น มองว่า Intel คงจะไม่ดั๊มป์ตลาดด้วยการนำผลิตภัณฑ์ BGA มาวางตลาดคราวเดียวหมด ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับกลุ่มของ Server และ Workstation นั้นจะไม่พอใจแน่นอน ส่วน Platform LGA 2011 นั้น ยังมีกลุ่มที่พอใจจะจ่ายอยู่แล้ว โดยมุมมองนั้นอยู่ในแนวคิดที่ว่า ถ้าเกิดใช้งานไปแล้ว Mainboard เกิดการเสียหายจนใช้งานไม่ได้นั้น ก็ต้องทิ้ง CPU ที่เชื่อมติดกันไว้ไปด้วย โดยการทำแบบนี้ เหมาะสมกับโน๊ตบุ๊คและ Ultrabook มากกว่า และถ้าเปลี่ยนเป็น BGA แล้วก็จะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างด้วย โดยเฉพาะตลาด OEM ของ DELL กับ HP นั้น ถ้าให้ยกตัวอย่างแล้ว การที่ผู้ใช้สามารถเลือก CPU ได้หลากหลายตั้งแต่ Celeron จนถึง i7 โดยใช้พื้นฐานโครงสร้างเดิม ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร แต่ในขณะที่เป็น BGA นั้น จะต้องกลับไปจัดการเรื่องไลน์การผลิตใหม่ทีเดียว หากว่าผู้ใช้ต้องการ CPU ที่ทำงานได้เร็วกว่าเดิม โดยผู้เชี่ยวชาญก็ได้ออกมากล่าวถึงว่าถ้าเป็นแบบนี้ ถ้าผู้ใช้ต้องการ CPU ที่แรงขึ้นอย่างเดียวก็ต้องเพิ่มเงินอีกมากถึง 1,500 เหรียญเพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ใหม่ในขณะที่ต้องการเพียงการเปลี่ยน CPU เพียงตัวเดียวเท่านั้น โดยมุมมองของผู้เชี่ยวชาญนั้นมองว่าถ้าต้องการอัพเกรดเครื่องก็ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินมากถึงระดับซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ เพราะมันไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เข้าท่าเลยสำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยกล่าวเพิ่มว่าถ้าหากมีการโอเวอร์คล็อคแล้วเกิดความเสียหายขึ้นมานั้น ไม่ใช่ว่าต้องสต็อก CPU หรือ Mainboard เพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อรองรับการเปลี่ยนชิ้นส่วนที่เสียหาย แต่กลับต้องสต็อกทั้งสองอย่างไว้ทั้งหมด แทนที่จะเสียเงินเพียง 200 เหรียญ แต่กลับต้องเพิ่มเป็น 500 เหรียญเพื่อเรื่องนี้ ทว่าความเห็นเพิ่มเติมนั้นกลับมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาอะไรกับ Supply Chain ของผู้ใช้ระดับทั่วไปมากนัก
ที่มา :?maximumpc