แบตเตอรี่ที่ให้มาก็มีความจุสูงเลยทีเดียว นั่นคือ 11.1V / 5.6Ah / 63Wh มั่นใจได้เลยว่าสามารถใช้งานได้อย่างยาวนานแน่นอน
ใต้ช่องแบตเตอรี่จะมีช่องสำหรับใส่ซิมการ์ดได้ด้วย แต่น่าเสียดายที่เครื่องนี้ไม่มีตัวการ์ด WWAN ช่องนี้จึงถูกปิดไว้
Windows ที่ติดตั้งมาในเครื่องทดสอบนั้นเป็น Windows 7 Professional 64-bit
คะแนนจาก Windows Experience Index ก็ได้ไป 3.9 คะแนน ซึ่งก็ไม่แปลกนัก เพราะ CPU ที่ใช้ไม่ได้มีพลังประมวลผลแรงมากมายนัก
APU ที่ใช้ก็คือ E-450 ที่เป็นตัวแรงสุดในตระกูล Bobcat แล้วในขณะนี้ ด้วยความเร็ว 1.65 GHz 2 คอร์ 2 เธรด แรงพอสำหรับใช้ทำงานทั่วๆไป ดูหนัง เล่นเน็ต ฟังเพลง
แรมที่ติดตั้งมาด้วยเป็นแบบ DDR3-1333 ความจุ 2 GB แต่ทำงานได้ที่ความเร็ว 538.1 MHz เท่านั้น แทนที่จะเป็นราวๆ 667 MHz
เป็นที่แน่นอนว่า GPU ที่ติดตั้งมาก็ต้องเป็น AMD Radeon HD 6320 แต่ใน GPU-Z จะแสดงชื่อเป็น HD 6300 Series ก็คงจะไม่ผิดนัก เพราะมันนิยมแสดงเป็นรุ่นๆมากกว่า
ถึงจะเป็นจอ 13.3 นิ้ว แต่ก็อัดความละเอียดมาให้ที่ 1366 x 768 ซึ่งขนาดของตัวอักษรก็กำลังดีเลย
โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ใช้เวลาในการคำนวณราวๆ 49 วินาที ถือว่าเกาะกลุ่มของเครื่องอื่นที่ใช้ E-450 ได้ดีเลย
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
พอใช้ทั้ง 2 คอร์ ก็พบว่าเวลาเหลื่อมกันนิดหน่อย
AIDA 64
โปรแกรมวัดประสิทธิภาพในการทำงานของ Cache ภายในตัวซีพียูและหน่วยความจำที่ติดตั้งภายในเครื่อง
WPrime
โปรแกรมคำนวณทางคณิตศาสตร์ โดยให้ซีพียูทุกคอร์ถอด Square Roots เลขจำนวนเต็มด้วยกฎของนิวตัน เพื่อใช้กับฟังก์ชันในการคำนวณค่าประมาณการ
ก็ยังคงเกาะกลุ่ม E-450 ได้ดี
โปรแกรม CINEBENCH R 11.5 ใช้ทดสอบการประมวลผลงานสามมิติแบบมืออาชีพที่ต้องใช้งานผ่าน OpenGL โปรแกรมทดสอบทั้งการเรนเดอร์ด้วย CPU และ GPU โดยมีพื้นฐานมาจากโปรแกรม Maxon CINEMA 4D
คะแนนในส่วนของพวกการเรนเดอร์ทั้งหลายทำได้ไม่ดีนัก ก็คงเพราะมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อการนี้จริงๆ