ตัวคีย์บอร์ดนั้นใช้พื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของตัวฐาน ซึ่งเป็นแบบปุ่มยกตัวตามสมัยนิยม แต่ถ้าเทียบแล้วยังเล็กว่าคีย์บอร์ดแยกของตัว Transformer อยู่พอสมควร ส่วน Touchpad ที่ไม่มีนั้นก็ใช้งานบนจอภาพแทนตามแบบของ Tablet
คีย์บอร์ดแบบปุ่มยกตัวขนาดไม่ใหญ่มากนัก แต่ก็ให้ช่องว่างระหว่างปุ่มมากพอสมควร พิมพ์ได้สะดวก ปุ่มไม่แข็งเกินไปนัก ปุ่มมาตรฐาน Fn ครบครัน แต่ดูแล้วในเครื่องขายจริงไม่น่าจะเป็นคีย์ไทยเช่นเดียวกับของ Transformer
ด้านขวาเริ่มด้วย Micro SD Reader เพิ่ม/ลดเสียง เปิดเครื่อง
ด้านซ้าย USB 2.0 และ Audio Headphone
ด้านบนจะเป็น Data & Charge และ Mini HDMI
ส่วนด้านล่างนั้นจะเป็นลำโพง ซึ่งคุณภาพเสียงอยู่ในระดับดีทีเดียว คมชัด เสียงดังพอสมควร
สเปกเต็ม ๆ ซีพียู ARMv7 แรม 1 GB (ที่เหลือใช้งานได้อีก 728 MB) ความละเอียดจอภาพ 1280 x 800 ชิปการ์ดจอจาก Nvidia
สเปกซอฟต์แวร์ภายในของ ASUS Eee Pad Slider ในเครื่องทดสอบนี้มากับ Android 3.1 เครื่องขายจริงน่าจะได้เป็น 3.2 แล้ว
หน้า Home Screen ตามมาตรฐานไม่ได้มี UI อะไรพิเศษ
รูปแบบของคีย์บอร์ด
การใช้งาน
จากการใช้งานนั้นยอมรับว่างานแบบผมนั้นต้องพิมพ์งานส่ง ขึ้นเว็บบ่อย ๆ การที่มีคีย์บอร์ดในตัวก็สะดวกดีทีเดียวเลยนะครับ และน้ำหนักนั้นหากเทียบกับตัวอื่นที่มีคีย์บอร์ดแล้ว ผมว่าเจ้า ASUS Eee Pad Slider นี่เบากว่ามาก แม้จะหนากว่า Tablet ทั่วไปอยู่ แต่ก็แลกมากับคีย์บอร์ดในตัว แต่เสียอย่างเดียวตรงที่ไม่มีคีย์บอร์ดภาษาไทยนี่ละครับ
การสไลด์ก็ทำออกมาได้ดี แม้จะต้องใช้แรงมากหน่อย แต่ก็มีความแข็งแรงดี ยกขึ้นขยับไปมาก็ไม่มีอาการสั่นแต่อย่างใด หรือจะจิ้มที่จอภาพแทน Mousepad ไปด้วยก็ยังมีความแข็งแรง จิ้มได้เต็มที่ แต่จุดติก็ตรงที่จอภาพไม่สามารถปรับองศาได้ เวลาไปใช้งานนอกสถานที่ซึ่งไม่มีโต๊ะที่พอดีกับองศาจอ ทำให้ใช้งานไม่ค่อยถนัดเท่าไรนัก
แบตเตอรี่
จากการใช้งานประมาณ 1 วันเต็ม ๆ ด้วยการเล่นเน็ตประมาณ 2 ชั่วโมง เกม 30 นาที? ใช้งานอื่น ๆ ประมาณ 1 ชั่วโมง ตั้งแต่ 08.00 ? 19.00 น. แบตเตอรี่ก็ยังเหลืออยู่ประมาณ 20% นับว่าโอ.เค. เลยทีเดียว