หลังจากหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาอันดับของผู้ผลิตแทบไม่เคยเปลี่ยนไปเลย
จะเรียกว่าแบเบอร์เฉพาะค่ายใหญ่ก็คงจะไม่ผิดนักไม่ว่าจะเป็น Dell, Acer, HP? แต่ในปีนี้นั้นแค่ครึ่งปีแรกก็มีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว อันดับของผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ค 3 อันดับซึ่งไม่ได้เปลี่ยนมาหลายปี แต่เริ่มมีค่ายใหม่ ๆ ที่เข้ามาสอดแทรกขึ้นมา ขณะที่ผู้ผลิตค่ายเก่า ๆ เองก็ตกต่ำลงไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ไม่ทะลุเป้าหรือขาดทุน
ก่อนอื่นเราไปดูตัวเลขสรุปปีที่แล้วก่อนนะครับ ซึ่ง 3 อันดับแรกนั้นยังเป็นของค่ายยักษ์ใหญ่ทั้ง HP เจ้าตลาดด้วยอัตราส่วน 18.8% ตามมาด้วย Acer ซึ่งปีที่แล้วแรงมาก ๆ ขึ้นจากอันดับ 4, 5 มาปิดท้ายสิ้นปีด้วยอันดับที่ 2 แชร์อยู่ที่ 12.7% และเบอร์ 3 Dell ที่ตาม Acer มาติด ๆ กับ 10.1%? เบอร์ 4 นั่นก็คือ Lenovo และ Toshiba ตามมาเป็นที่ 5 ว่าแล้วเราก็ไปสรุปภาพรวมของผู้ผลิตโน๊ตบุ๊คทั่วโลกใน 2011 ครึ่งปีแรกกันครับ
และเมื่อมาดูในครึ่งปีแรกของ 2011 เบอร์ 1 ยังเป็นของ HP อยู่ แต่ว่าอัตราส่วนของการแชร์ลดลง 1.3% เบอร์ 2 คือ Dell ที่แซง Acer ขึ้นมา (หรือจะเรียกว่า Acer นะละที่ตกเอง) เพิ่มขึ้นมาแชร์อีก 0.9 % ส่วนม้ามืดนั่นคือ Lenovo ที่แซงขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ด้วยอัตตราการเติบโตถึง 22.5% ส่วนเบอร์ 4 นั่นก็คือรองแชมป์ปีที่แล้วอย่าง Acer ซึ่งในครึ่งปีแรกนี้เป็นการติดลบอย่างต่อเนื่องด้วยอัตราที่ติดลบถึง 20.4% ส่วน 5 กับ 6 นั่นก็คือ ASUS ที่ถือว่าโตมากพอสมควร แชร์ที่ 5.2% เท่ากับ Toshiba แต่ได้จำนวนเครื่องที่ขายมากกว่าอยู่เล็กน้อยเลยได้อยู่ที่ 5 ว่าแล้วมาวิเคราะห์กันหน่อยดีกว่า
- HP อัตราเริ่มดรอปลงบ้างแล้ว จากหลาย ๆ สาเหตุ เช่น โปรดักต์ที่ไม่ได้มากเหมือนแต่ก่อน และการที่มีคู่แข่งมากขึ้น (และ Q3 น่าจะตกลงอีกมาก เพราะข่าวที่ว่าจะแยกกิจการนี่ละ)
- Dell ถึงแม้จะโตอยู่ แต่ก็ไม่เข้าเป้าตามที่วางไว้ และไม่ได้ขึ้นมาเป็นเบอร์ 2 ด้วยตัวเอง แต่ได้เพราะว่า Acer ดรอปลงมากกว่า แต่เนื่องจากสินค้ากลุ่มคอนซูเมอร์ขายได้ดีทำให้ต้องเพิ่มสินค้ามากขึ้น จึงทำให้ยังรักษาสถานภาพไว้ได้ Lenovo หลังจบครึ่งปีแรก Lenovo นับได้ว่าเติบโตแบบที่ไม่คาดคิด ด้วยการเพิ่มไลน์อัปสินค้ามากขึ้น การเจาะตลาดในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ รวมถึงการมีจีนเป็น Backup ทำให้สินค้าของ Lenovo เกิดได้ไม่ยากและดูรูปการณ์แล้วถ้า Lenovo ยังเติบโตขนาดนี้ละก็ สิ้นปีนี้น่าจะจบที่ 2 ได้ไม่ยาก
- Acer เป็นค่ายที่ทำรายได้ครึ่งปีแรกได้ผิดหวังที่สุด เพราะนอกจากขาดทุนเป็นไตรมาศแรกแล้วยังส่งผลให้อันดับตกมาเป็นที่ 4 เลยทีเดียว ด้วยโปรดักต์ที่ต้องบอกว่าไม่ได้หลากหลายมากทั้งการตั้งราคาก็ไม่ได้คุ้มค่าเหมือนปีก่อน อีกทั้งแบรนด์ใหม่ ๆ ที่เข้ามาแข่งขั้น ในสเปกและราคาที่คุ้มค่าไม่แพ้กันทำให้ Acer เป้าตกไปไม่น้อย
- ASUS จะว่าไปก็เติบโตไม่น้อยเลย เพราะปีก่อนที่ไม่ติด Top5 แต่ปีนี้เข้ามาแทรกที่ 5 ได้ ต้องบอกว่าปีนี้ ASUS แรงจริง ๆ ทั้งในบ้านเราและกลุ่มเอเชียด้วยโปรดักต์ที่มากมาย รวมถึงการตั้งราคาที่คุ้มค่ามาก ๆ Acer ก็ Acer เถอะ เจอ ASUS เข้าไป ได้ประกัน 2 ปีสเปกกับราคาเท่ากันเป็นผมก็เลือก ASUS ละครับ
- Toshiba ต้องเรียกว่ารักษาคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องทั้งยอดขายและคุณภาพเครื่อง แม้จะตกมาเป็นที่ 6 ด้วยจำนวนเครื่องที่น้อยกว่า ASUS อยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนหนึ่งก็มาจากการที่ Toshiba รุกตลาดกลุ่มราคาประหยัดมากขึ้น ซึ่งเป็นตลาดที่ Toshiba ไม่ค่อยได้ทำนัก จึงยังเกาะกลุ่มได้อยู่
หลังจากดูตัวเลขของตลาดรวมทั่วโลกแล้ว เรามาดูในตลาดบ้านเรารวมถึงเอเชียเพื่อนบ้านเรากัน
ตัวเลขของเอเชียจาก ASUS
ในอาเซียนรอบ ๆ บ้านเรา (รวมถึงในไทย) นี่เรียกว่า Acer กินเรียบ แต่ที่แรงขึ้นมาจริง ๆ เห็นทีจะเป็น ASUS ที่ยึดอันดับได้ที่ 3 ถึง 3 ประเทศแ ละที่ 2 ในบ้านเราซึ่งเป็นแบรนด์ที่ถือว่าโตเร็วมากในอาเซียนด้วยสเปกกับราคาที่คุ้มค่า บวกกับคุณภาพเครื่องทีดี ระบบบริการซึ่งไม่ว่าจะซื้อที่ประเทศไหนก็เคลมได้ทุกประเทศ ส่วนแบรนด์อื่น ๆ นั้นก็สลับกันไม่ว่าจะเป็น Toshiba, Dell, HP ต้องรอดูกันอีกทีว่าสิ้นปีนี้ ASUS จะทำได้ดีเหมือนครึ่งปีที่ผ่านมาไหม
ก่อนสิ้นปีนี้จากข้อมูลที่ผมทราบมาดูแล้ว อันดับทั้งในไทยและต่างประเทศอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอันดับไปไม่น้อย แน่นอนหนึ่งในนั้นก็คือ HP ที่ออกข่าวว่าอาจจะขายกิจการ ซึ่งทำให้ผู้ซื้อเปลี่ยนใจไปซื้อแบรนด์อื่นก็มาก หรือปัญหาเศรฐกิจในหลาย ๆ ประเทศในครึ่งปีหลังนี้ จนทำให้เกิดการชลอการซื้อโน๊ตบุ๊ค หรือการทำตลาดของบางแบรนด์ที่ทุ่มหนัก ซึ่งส่งผลให้อันดับเปลี่ยนไปแน่นอนครับว่าแล้วต้องรอติดตามกันว่าสิ้นปีนี้แบรนด์ของในใจท่านจะไปถึงฝั่งฝันหรือเปล่า
ตัวเลข IDC นั้นก็เป็นตัวเลขหนึ่งที่นิยมนำมาเปรียบเทียบกันและกัน เป็นตัวเลขที่หลาย ๆ แบรนด์ใช้วัดจำนวนของค่ายอื่น ๆ แต่แม้จะวิจัยสำรวจมาอย่างดีแล้ว ก็อาจจะมีการคลาดเคลื่อนบ้างเล็กน้อย