Connect with us

Hi, what are you looking for?

Notebook Review

SONY VAIO SA26GG [บาง เบา แรง]

?

2 Under Heat

Advertisement

Review Sony Vaio S Core i7 011

ฐานล่างเป็นแมกนีเซียมอัลลอยแบบชิ้นเดียว มีส่วนที่ถอดออกได้ 1 ชิ้น? นอกจากนี้ ก็ยังมีพอร์ตเอาไว้เชื่อมต่อกับ Docking มาให้ด้วย ซึ่งในภาพที่ไม่เห็นเพราะมีฝาปิดเอาไว้

Review Sony Vaio S Core i7 012?

ช่องระบายอากาสใต้ตัวเครื่องมีเพียงส่วนนี้เท่านั้น

Review Sony Vaio S Core i7 013

ช่องระบายอากาศหลักของตัวเครื่องอยู่ตรงกลางด้านหลังของตัวเครื่องพอดี ต่างจากโน๊ตบุ๊คทั่วไปที่จะอยู่ด้านข้างเสียมากกว่า ซึ่งเหตุที่มันมาอยู่ตรงนี้ ก็น่าจะเป็นเพราะการมีออปติคอลไดรฟ์เข้ามานั่นเอง ดูผิวเผินก็เหมือนว่ามันจะระบายความร้อนได้ดี แต่ที่จริงมันระบายอากาศได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเมื่อเรากางจอภาพออกมา บานพับจะบดบังทางลมออกตรงนี้พอดี ทำให้อากาศระบายออกมาจากเครื่องได้ไม่ดีเท่าที่ควร

?inside

Review Sony Vaio S Core i7 014

 

ฝาเครื่องที่เปิดออกได้เพียงส่วนเดียว เมื่อเปิดออกมาก็จะพบกับหน่วยความจำ, การ์ด Wi-Fi? และฮาร์ดดิสก์แบบ SSD?

Review Sony Vaio S Core i7 015

หน่วยความจำมีออนบอร์ดมาให้้แล้ว 4GB และมีสล็อตว่างให้ใส่เพิ่มได้อีก 1 สล็อต ซึ่งทาง SONY ก็จัดเต็มมาให้เรียบร้อยแล้วอีก 4GB รวมเป็น 8GB

Review Sony Vaio S Core i7 016

?หน้าตาของ SSD ใช้ของ SAMSUMG ขนาด 128GB x 2? (แต่สเปกของทางเว็บ SONY แจ้งเป็น 64GB X 4 )

?3 KEYBOARD

Review Sony Vaio S Core i7 017

Review Sony Vaio S Core i7 018

คีย์บอร์ดแบบปุ่มยกตัวที่เรียกว่า Chiclet มาพร้อมกับไฟ Backlit เปิด-ปิดอัตโนมัติ ให้สัมผัสในการพิมพ์ที่ดีมากไม่แพ้? VAIO Z เลยทีเดียว

Review Sony Vaio S Core i7 019

ปุ่มกดฝั่งซ้ายมือที่อยู่เหนือคีย์บอร์ดมีปุ่มเปิดออปติคอลไดรฟ์, ช่องลำโพง, สวิตช์ปรับเปลี่ยนโหมดการใช้พลังงานหรือจะเรียกว่าปุ่มสลับการทำงานของการ์ดจอก็ได้ครับ เพราะเมื่อเราเลือกไปยังโหมด STAMINA คือโหมดประหยัดพลังงาน ก็จะเป็นการเลือกใช้การ์ดจอ Intel HD 3000 อัตโนมัติ และเมื่อเราปรับมาทางโหมด SPEED จึงจะเป็นการใช้การ์ดจอแยก งานนี้ไม่สลับการใช้การ์ดจออัตโนมัติจากโปรแกรมเหมือน nvidia? optimus นะครับ? ถัดมาก็จะเป็น sensor วัดแสงสำหรับเปิด-ปิดไฟ Backlite ของคีย์บอร์ด (สามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ไฟทำงานหรือไม่จากในโปรแกรมของ VAIO เอง)

Review Sony Vaio S Core i7 020

เหนือคีย์บอร์ดทางด้านขวา ปุ่่มแรก ?ASSIST? ไว้สำหรับ Recovery เครื่อง, ถัดมาปุ่่ม ? WEB ? สำหรับเปิดเครื่องใช้งานผ่านระบบปฏิบัติการจำลอง โดยไม่บูตเข้าระบบปฏิบัติการ Windows รองรับการใช้งานขั้นพื้นฐานไว้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น อินเทอร์เน็ต, งานเอกสาร, ภาพถ่าย หรือเพื่อความบันเทิง ถัดมาปุ่มสุดท้าย ?VAIO? ไว้เพื่อเข้าสู่ระบบ Support ของทางเว็บไซต์ VAIO ที่จะตรวจสอบการทำงานของตัวเครื่อง ตรวจเช็กการอัปเดตของซอฟต์แวร์ต่าง ๆ

Review Sony Vaio S Core i7 021

ทัชแพดเป็นคนละพื้นผิวกับที่วางมือ ขนาดกำลังพอเหมาะ ตอบสนองได้รวดเร็ว ลื่นดีทีเดียวครับ ตรงกลางระหว่างปุ่มกดมี Finger Print มาให้ใช้ด้วย ส่วนของปุ่มกดนั้นให้การตอบสนองยังไม่ดีเท่าไรนัก และการกดจะต้องกดบริเวณใกล้กับ Finger Print ถึงจะกดติดได้ง่าย ๆ แต่ถ้ากดตรงกลางหรือริม ๆ บางทีจะกดไม่ค่อยติด

?5 PANEL?

Review Sony Vaio S Core i7 022

ด้านหน้าเครื่องมีสวิตช์เปิด-ปิด WLAN, ไฟแสดงสถานะของแบตฯ, ฮาร์ดดิสก์ และช่องรับเสียงของไมค์

Review Sony Vaio S Core i7 023

?ด้านหลังตรงกลางมีช่องระบายอากาศ เมื่อกางจอออกมา บานพับจะลงมาบดบังทางลมพอดี

Review Sony Vaio S Core i7 024

ด้านซ้ายมีช่องเสียบหูฟังและออปติคอลไดรฟ์

Review Sony Vaio S Core i7 025

พอร์ตเชื่อมต่ออยู่ด้านขวานี้ทั้งหมดประกอบไปด้วย Memory Stick Reader, SD Card Reader, Kensington Lock, VGA, HDMI, USB 3.0, 2x USB 2.0, LAN และช่องเสียบสาย Adapter

?6 CAM_SOUND

Review Sony Vaio S Core i7 026

กล้องเว็บแคมความละเอียด 1.3 ล้านพิกเซล ให้คุณภาพอยู่ในระดับที่ดีพอสมควร

Review Sony Vaio S Core i7 027

ช่องลำโพงอาจจะดูเล็กไปหน่อย แต่เปล่งพลังงานเสียงออกมาได้เกินตัว

?7 BATT

Review Sony Vaio S Core i7 028

?แบตเตอรี่ให้มาเป็นแบบ Lithium-Ion สเปก คือ 11.1V/4,400mAh/49Wh ถูกซ่อนไว้ใต้ฝาปิดอีกที การแกะออกมาจะต้องเปิดฝาใต้เครื่องก่อน

?

Pages: 1 2 3 4 5 6 7

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

INTEL

สวัสดีครับ วันนี้ NotebookSPEC เราได้ Ultrabook ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความบางขั้นเทพมาทดสอบ นั่นคือ Acer Aspire S5 ที่เป็น Ultrabook

How to

USB 3.0 กับ eSATA คุณคิดว่าใครเร็วกว่ากัน

Notebook Review

 Advertisement   ใต้ท้องเครื่องใช้วัสดุเป็นคาร์บอนชิ้นเดียว ไร้รอยต่อ มีเพียงส่วนของแบตเตอรี่เท่านั้นที่ถอดได้ บานพับดูจากใต้ท้องเครื่องจะเห็นได้ชัดเจนกว่า มีความแข็งแรงอยู่ในระดับที่น่าพอใจ พัดลมระบายความร้อนจะดูดอากาศเข้าไปภายในเครื่องผ่านทางช่องหกเหลี่ยมทั้ง 2 ช่องนี้ และระบายออกทางด้านข้างของตัวเครื่อง พอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่เสริมของโน๊ตบุ๊ครุ่นนี้ ซึ่งถูกออกแบมาให้มีลักษณะเป็นฐานให้กับตัวเครื่อง ประกอบเข้ากับตัวเครื่องก็จะเพิ่มความหนาขึ้นมาอีกไม่มากเท่าไรนัก แบตเตอรี่ดูกลมกลืนไปกับใต้ท้องเครื่องเหมือนแบบ Build-in แต่ไม่ใช้เ พราะมันสามารถถอดออกได้ง่าย ใช้เพียงเหรียญก็ถอดออกได้แล้ว   คีย์บอร์ดเป็นแบบปุ่่มยกตัวหรือที่เรียกกันว่า Chiclet? ผู้ที่พิมพ์สัมผัสได้จะหลงรักคีย์บอร์ดนี้ได้ง่าย ๆ...

Notebook Review

Advertisement คีย์บอร์ดของ Lenovo IdeaPad G770 มากับคีย์บอร์ดแบบปุ่มยกตัว พร้อมปุ่่มที่มีมุมโค้งสอดรับกับนิ้วสัมผัสช่วยให้ใช้งานได้ถนัด และปุ่มคีย์บอร์ดเองก็สามารถรองรับแรงกดได้พอดี ไม่นิ่มจนยวบหรือแข็งจนเกินไป โดยคีย์บอร์ดของ Lenovo IdeaPad G770 นี้เหมือนยกคีย์บอร์ดของ Y570 มาใส่เลยเพราะขนาดเท่ากัน ซึ่งใจผมอยากให้มันใหญ่กว่านี้หน่อย เพราะไหน ๆ เครื่องก็ขนาดใหญ่แล้ว? แต่ก็ดีตรงที่หาอะไหล่ง่ายนี่ละ ปุ่ม FN พื้นฐานก็ยังครบครัน...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก