สวัสดีครับ วันนี้ NotebookSPEC เราได้ Ultrabook ที่ขึ้นชื่อในเรื่องความบางขั้นเทพมาทดสอบ นั่นคือ Acer Aspire S5 ที่เป็น Ultrabook ซึ่งใช้ซีพียู Intel Core Generation 3rd ในรหัสการผลิต Ivybridge มารีวิวให้ดูกัน ซึ่งตัวที่ทีมงานได้รับมานั้นเป็นตัวทอปของสายการผลิตเลยครับ ใช้ซีพียู i7-3517U Low-Voltage ประหยัดไฟกว่าตัวปกติ แต่ทำงานที่ความเร็วถึง 1.9 GHz และ TurboBoost ได้ถึง 3.0 GHz ขอมาร์กไว้ตรงนี้่ก่อนเลยว่า เจ้านี่เป็นซีพียู Low Voltage ที่ประสิทธิภาพแซง i3-i5 Generation 2nd โค้ด Sandybridge ได้สบายๆ เลย ไม่ธรรมดาแล้วใช่มั้ยล่ะครับ
Acer Aspire S5 Ultrabook: World Thinnest Ultrabook
สำหรับ Acer Aspire S5 แค่ตอนเผยสเป็กคร่าวๆ สื่อมวลชนต่างประเทศก็ถึงกับซูฮกดีไซน์การออกแบบ Body รุ่นนี้ว่า “บางจริง” ไม่ใช่บางเฉพาะจุด ซึ่งในจุดที่บางที่สุดของเครื่องนั้นบางเฉียบแค่ 0.44 นิ้ว (ประมาณ 1.1 ซม.) และจุดที่หนาที่สุดก็เพียง 0.59 นิ้ว (ประมาณ 1.4 ซม.) ทำให้ S5 ของเรา ได้แชมป์ Ultrabook ที่บางที่สุดในโลกไปครอง (ข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2555) และยังมีความพิเศษตรงดีไซน์ Magic Flip Port ที่ทำตัวเป็นฐานระบายอากาศและอุดมไปด้วยพอร์ตเชื่อมต่อทุกอย่าง ทั้ง USB 3.0 และ Thunderbolt ที่ไม่ใช่ตัว Half แต่เป็น 10 Gbps จัดเต็มกันเลยทีเดียว
Acer Aspire S5 Ultrabook: Magic Flip Port
สเป็กตัวที่ขายในไทยคร่าวๆ ณ ราคา 49,990 บาท ก็ตามรายละเอียดดังนี้เลยครับ
ลิ้งค์?https://notebookspec.com/notebook/4595-notebook.html
จุดเด่นที่เห็นชัดเจนของสเป็ก Acer Aspire S5-391 ตัวนี้คือ SSD RAID และ CPU Generation ใหม่ ที่ทาง NotebookSPEC คาดหวังว่าจะให้ผลการทดสอบที่น่าประทับใจ โดยเฉพาะ SSD RAID ที่มีแนวโน้มจะทำให้เป็นเครื่อง Ultrabook ที่มีประสิทธิภาพด้านการอ่านเขียนข้อมูลสูงที่สุดในปัจจุบัน ส่วนจุดด้อยที่ชัดเจนที่สุดไม่ใช่เรื่องการระบายอากาศหรืออื่นใด แต่เป็นเรื่อง Battery บางเฉียบ+ฝังในที่เราก็กังวลตั้งแต่รับเจ้านี่มาเลยทีเดียว แต่เราก็มาแกะกล่องกันดีกว่าครับ
Unboxing: แกะกล่อง
Acer Aspire S5 Ultrabook: Unboxing
แพ็คเกจขนาดเล็กของ Ultrabook ของเราที่ประสิทธิภาพไม่เล็กตามตัวนี้ นอกจากจะมีตัว Aspire S5 แพ็คมาแบบ ECO มากๆ ประหยัดทรัพยากรบรรจุภัณฑ์สุดๆ ก็ยังมีเมาส์ Logitech ไร้สายแบบบลูทูธตัวย่อมแพ็คมาให้ด้วย ที่น่าประทับใจก็คือ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาใช้ซีพียูของ Intel ประสิทธิภาพสูง ที่มีอแดปเตอร์ขนาดหนูน้อยหนักไม่น่าเกินสามขีดให้มา ทำให้การพกพานั้นสะดวกสบายจริงๆ ไม่ใช่เครื่องเล็กนิดเดียว อแดปเตอร์เบ้อเริ่มอย่างที่ทีมงานเคยเจอมาก่อนหน้านี้
Unboxing: Ultrabook เล็กๆ อแดปเตอร์ก็เล็กตาม :D
แกะกล่องออกมาเราก็พบกับ Aspire S5 พระเอกของเราในวันนี้ ที่ “บางเฉียบ” จนน่าตกใจ ให้ความรู้สึกคนละแบบกับ MacBook Air ที่ออกแนวสวย+เก๋+เรียบ เพราะเจ้า S5 ออกแบบมาใช้โทนสีดุดัน เป็นวัสดุผสมแมกนีเซียม-อลูมิเนียมที่ดำทะมึน คล้ายๆ กับ Duralumin ของ Samsung Series 9 คู่แข่งร่วมสังเวียนของตัวมันเองเลยทีเดียว
Unboxing: หลบหน่อยพระเอก(มาดเข้ม)มา
ในเมื่อความเป็น Ultrabook ค้ำคอ พร้อมคำอ้างสรรพคุณ “บางที่สุดในโลก” ค้ำคอซ้ำซ้อน ดังนั้น เราก็มาดู “ความบาง” ของมันจริงๆ เลยดีกว่าครับ เทียบกับมือตากล้องมือหนึ่งของเราคงพอเห็นภาพได้ มันบางพอๆ กับความสูงเล็บนิ้วเท่านั้นเอง
Unboxing: บางสมคำร่ำลือจริงๆ Aspire S5
ขนาดของ Aspire S5 ไม่ได้เล็กจนแทบจะเท่า Tablet เพราะมีจอภาพขนาด 13.3″ เป็นตัวจำกัดให้มีขนาดค่อนข้างใหญ่ มิติกว้างxยาว น่าจะใกล้เคียงกับ Dell XPS 13 แต่ความบางน่ะน้องๆ new iPad เลยล่ะครับ โดยประมาณก็จะใกล้เคียงกับขนาดกระดาษ A4 และความบาง ทีมงานของเราก็ตอกย้ำโดยถ่ายภาพมาให้ดูเทียบกับกล่อง DVD หนังเรื่องที่เราแอบดูกันในออฟฟิศ ;D
Unboxing: บางมั้ยครับ?
เมื่อชื่นชมความบางกันไปแล้ว เราก็มีดูโครงสร้างและงานประกอบรวมถึงพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ของ Aspire S5 กันบ้าง ตามเราไปที่หน้าถัดไปเลยครับ
Build Quality : งานประกอบและโครงสร้าง
เรามาเจาะลึกงานประกอบและจุดเด่นของโครงสร้างเจ้า Aspire S5 กันครับ ว่าจะรอดคำวิจารณ์ของผมไปได้หรือไม่ =_=’ ในนามของผู้ไม่เคยครอบครอง Ultrabook แม้แต่เครื่องเดียว และเคยใช้แต่ Notebook & Netbook เพราะฉะนั้น ความคาดหวังในการทดสอบ “อะไรที่มันคล้ายๆ Notebook” ของผมก็อาจจะแตกต่างจากของคนอื่น เพราะผมต้องการให้มันใช้งานได้เต็มรูปแบบที่ผมเคยใช้กับเครื่องอื่นหรือความเคยชินที่ผมมี อันนี้บางท่านอาจจะมีความถนัดในการใช้งานที่ไม่ตรงกันครับ… พร้อมแล้ว มาอ่านบท “ทั้งชมทั้งสับ” ของผมกันได้เลย
อย่างแรกเลย ความประทับใจในเครื่อง Aspire S5 คือบอดี้+โครงสร้างที่เบาแต่ดูแข็งแรงทนทานในระดับที่มากกว่า Ultrathin ราคาสองหมื่นต้นๆ ของ Acer เอง คือซีรี่ส์ V3 ที่วางจำหน่ายในขณะนี้ อยู่พอสมควร ลักษณะการสกรีนคีย์บอร์ดและโลโก้ต่างๆ คงสไตล์ของ Acer อย่างครบถ้วน ทั้งฟอนต์ทั้งสีมันใช่เลย ที่น่าประทับใจคือ ขนาดแป้นคีย์บอร์ดที่เกือบเท่าโน๊ตบุ๊ค 14-15″ ปกติ และแบ่งแต่ละปุ่มชัดเจน ผมไม่พบความยากลำบากจากสไตล์การพิมพ์ “จิ้มสัมผัส” ของผมแต่อย่างใด ปัญหาเดียวที่ไม่ชอบในส่วนดังกล่าวคือ “ความเด้ง” ที่รู้สึกหนืดๆ และส่งผลให้ “เหมือนจะ” ไม่ทันใจอยู่บ้างเวลาพิมพ์เร็วๆ เป็นสัมผัสที่แปลกประหลาดที่เรารู้สึกได้ (มันคงต้องมีพลังงานหรือวิญญาณอยู่เป็นแน่!?)
Build Quality: บอดี้เรียบและแอบหรู แต่คีย์บอร์ดคุณท่าน ทำไมมัน… หนืดๆ
บานพับดูดีมีชาติตระกูล ผิดจากอคติเก่าๆ ที่ Acer รุ่นราวๆ ปี 2550 ทำแสบไว้ เป็นความรู้สึกในการเปิดปิดที่ดี แข็งแรง ละเอียด แล้วก็ไม่คลอนง่อนแง่นแม้ลมพัดแรงๆ ฝาหลังสกรีนโลโก้ Acer ชัดเจน แต่ขอคอมเมนต์ไว้ ณ ที่นี้แบบไม่เกรงใจสปอนเซอร์เลยว่า สวย ลายและวัสดุดูดี แต่เป็นรอยง่ายเกินไปครับ
Build Quality: บานพับน่าประทับใจกว่าที่คิด ฝาหลังสวยแต่เป็นรอยง่ายเกินไป
รอบเครื่องปุ่มต่างๆ มองด้วยตาเปล่า ดูมั่นคงและเหมือนจะแข็งแรงดี มุมขวามีปุ่มสำหรับเปิด Magic Flip Port ที่ทำหน้าที่เป็นฐานระบายความร้อนเพิ่มเติมด้วย คีย์บอร์ดจัดเลย์เอาท์ได้ดี และหาแป้นง่าย รวมทั้งที่เราประทับใจคือปุม Ctrl ที่อยู่ตรงนั้นล่ะ ถูกกาลเทศะที่สุดแล้ว เว็บแคม CrystalEye ของ Acer ดูตัวเล็กๆ แต่ประสิทธิภาพในที่มืดดีเหลือเชื่อ แม้จะแตกเกรนและนอยซ์เยอะระดับหนึ่ง แต่สีสันและแสงถือว่าทำได้ดีเกินคาดมากๆ เหมาะสำหรับนักวีดิโอแชทมากๆ
Design: ดูใช้งานง่ายและคุ้นเคย
Advance Image Sens Trackpad หรือทัชแพดขนาด 3.75 x 2.6 นิ้ว ทำให้การทำงานค่อนข้างสะดวกสบาย เสียก็แต่ว่ามันไม่ได้แยกปุ่มกดซ้าย-ขวา ออกมาอย่างชัดเจน ทำให้บางอารมณ์ของคนที่ถนัดโน๊ตบุ๊คปกติแบบผม หาปุ่มและจุดจิ้มไม่ค่อยจะเจอ แม้จะตอบสนองได้ไว แต่การทำงานบางอย่างก็อาจชะงักจากความไม่เคยชินในการใช้งานครับ
Trackpad: ฮั่นแน่ เราแอบเห็นขอบยางปุ่มคลิกซ้าย-ขวานะ :D
มุมมองรอบเครื่อง หน้าต่อไปเลยครับ
360-Degree View
มุมต่างๆ รอบเครื่อง มาดูกันแบบละเอียดเลยครับ
ฝั่งซ้าย: ปุ่ม Power และ SD/MMC Card Reader
ฝั่งขวา: ช่องสำหรับเสียบหูฟังขนาด 3.5mm และช่องสำหรับรีเซ็ตแบตเตอรี่ สุดท้ายกับตัวล๊อค Kensington
ด้านหน้า: มีร่องสำหรับใช้มือจับฝาบนกางเปิดจอภาพเท่านั้น นอกจากนั้น “เรียบ”
ด้านหลัง (ปิด Magic Flip Port): ดูเหมือนจะเรียบๆ แล้วพอร์ตมันไปไหนหมด???
ด้านหลัง (เปิด Magic Flip Port): มันเป็นแบบนี้นี่เองจอร์จ!
พอร์ตด้านหลังเมื่อเปิด Magic Flip Port มี USB 3.0, Thunderbolt, HDMI ส่วนช่องเสียบอแดปเตอร์ไม่ได้รับผลกระทบในการเปิด/ปิด แต่อย่างใด
ที่เป็นจุดสังเกตคือ ช่องระบายความร้อนที่เพิ่มเข้ามาเมื่อเปิด Magic Flip Port ที่เมื่อเวลาใช้งานจริงบางครั้งที่เครื่องมีอุณหภูมิสูง ก็จะเปิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติเพื่อช่วยระบายความร้อน ดังจะเห็นว่ามีช่องระบายความร้อนเพิ่มด้านล่างครับ
ช่องระบายความร้อนเพิ่มเติมเมื่อเปิด Magic Flip Port
ส่วนด้านล่างนั้น โล่งโจ้ง.. เพราะแบตเตอรี่ 3 เซลล์ของเจ้า Aspire S5 ถูกจับแปะไปกับเครื่องแล้ว เหมือนกับ Timeline Series นั่นเอง
ตัวเครื่องมีน้ำหนักเครื่องเปล่าเพียง 1.194 กิโลกรัม และเมื่อรวมอแดปเตอร์ (ที่ชาร์จ) เข้าไป ก็ยังหนักเพียง 1.514 กิโลกรัมเท่านั้น งานนี้ชนะขาดจริงๆ ที่ลดน้ำหนักลงมาได้ขนาดนี้ ทีมงานของเราคิดว่าเพราะแบตเตอรี่ก็มีส่วน ทั้ง SSD แบบลดขนาด ที่คาดว่าภายในจะไม่มีกล่อง (เป็นลักษณะการ์ด mSATA หรืออาจจะฝังบอร์ด) นั่นเอง ทำให้พกพาสะดวกทั้งที่จอไม่ได้เล็ก ทำงานสบายๆ เลยทีเดียวกับ Resolution 1366×768
น้ำหนัก: ก่อน/หลัง รวมที่ชาร์จ รวมแล้วก็ยังเบาอยู่นะ :3
และสุดท้ายสำหรับภายนอกเครื่อง ดูอุณหภูมิรอบๆ เครื่องกันด้วย Temperature Sensor ครับ
แม้จะมีความร้อนภายในระดับหนึ่ง (เท่าที่ Ultrabook ซีพียูแรงๆ ตัวหนึ่งจะเป็นได้) แต่ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนไม่ให้รบกวนการทำงานเกินไปครับ พอไหวอยู่สำหรับการใช้งานหนักๆ อย่าเอามือไปอังช่องระบายความร้อนเล่นละกันนะ ?_?
ดูภายนอกแล้วก็ดูภายใน ดูกันว่า Acer ให้อะไรมากับเจ้า Aspire S5-391 บ้าง
Bundled Application
โปรแกรมที่มากับเครื่อง Acer Aspire S5-391 ที่เด่นๆ นอกจาก Antivirus ที่ทีมงานเราไม่ค่อยได้ใส่ใจมากนัก และวินโดวส์แท้ (ฮา) ก็จะมีตามนี้ครับ
Acer Clear-Fi Media โปรแกรมที่คล้ายๆ Media Library ไว้ใช้ UI สวยๆ แทน Windows Media Player นั่นเอง
MediaEspresso ในเมื่อ CPU Intel ขึ้นชื่อเรื่องการ Encode โดยเฉพาะเมื่อทำงานร่วมกับ HD4000 แล้ว โปรแกรมนี้จะทำให้คุณแปลงไฟล์หนังได้เร็วจนเหลือเชื่อครับ เป็นสิ่งที่ AMD ตามไม่ทันจริงๆ แม้จะมี Stream แล้วก็ยังต้องหาวิธีไล่ตามอินเทลตรงจุดนี้ให้ได้
Acer Games รวบรวมเกม Casual ต่างๆ มาให้ลองเล่นกัน?ส่วนมากก็เป็นเกมประเภทเด็กเล่นได้ ผู้ใหญ่เล่นเพลินๆ มากกว่าจะภาพสวยจริงจัง
Dolby Home Theatre V4 โปรแกรมปรับ Equalizer และ Enhancement อื่นๆ เพื่อให้เสียงของเจ้า S5-391 ประทับใจทุกอรรถรสและอิริยาบถของการฟัง
นอกจากนี้ก็ยังมีของเด็ดๆ แถม อย่างแรกเลยคือ โปรแกรมที่แสดงสถานะการเปิด Magic Flip Port และยังมีการแสดงว่าต้องเปิดเพราะความร้อนสูงเกินไป ต้องการการระบายอากาศเพิ่มเติม เครื่องก็จะดีด Magic Flip Port ขึ้นมาอีกอัตโนมัติ
และสุดท้าย ลืมไม่ได้กับการทดสอบ Webcam ของ Acer ซึ่งเราสามารถลงพวกตัวเสริม อย่าง Youcam หรือ Webcammax เพิ่มลูกเล่นให้เว็บแคมของเราได้อีก และประสิทธิภาพลองถ่ายย้อนแสงก็ถือว่าดีทีเดียวครับสำหรับเว็บแคมตัวนี้ เมี้ยว…
เมื่อดูโปรแกรมที่มากับเครื่อง Aspire S5 เป็นการเรียกน้ำย่อยเรียบร้อยแล้ว ก็ตามมาด้วยการทดสอบจากทีมงานของเราเลยครับ งานนี้ใครจะอยู่ใครจะไป Core i Generation 3rd จะทำงานได้สมคำร่ำลือหรือไม่ ฯลฯ อย่าช้า คลิกหน้าถัดไปได้เลย
Performance Test & Compare : การทดสอบและเปรียบเทียบประสิทธิภาพ
ปกติ Ultrabook เราจะคาดหวังประสิทธิภาพปานกลาง กับความสามารถในการพกพาระดับดีกว่าโน๊ตบุ๊คปกติ แต่ทีมงานเราเห็นพ้องต้องกันว่า เจ้า S5-391 มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะซีพียูไม่ธรรมดาจริงๆ ไม่ต้องพูดพล่ามทำเพลงกันมาก เรามาทดสอบเครื่องกันดีกว่าครับว่า i7 เมื่อเป็นตัว Low Voltage จะทำงานให้รุ่นพี่ของมันเสียหน้าหรือไม่?
การทดสอบของเราก็จะใช้โปรแกรมทั้งหมดเท่าที่ควรจะใช้สำหรับ Ultrabook ทั่วไปครับ แบ่งเป็น
1. การทดสอบและแสดงประสิทธิภาพโดยรวมของระบบ
Information Display
– CPU-Z
ดูจะยังงงๆ คาดว่าเพราะซีพียูใหม่เกิน แต่อย่างน้อยก็แสดงรุ่นซีพียูถูกต้อง เจ้า i7-3517U ที่ประจำการบน Aspire S5-391 มีความเร็ว 1.9 GHz เป็นซีพียูแบบ Dual-Core มี HyperThreading และพกพา Cache L3 ขนาดมหึมาถึง 4 MB
– GPU-Z
Intel HD4000 ที่พกพาประสิทธิภาพระดับใหม่ของ Integrated Graphic ด้วย Shader เพียง 16 แต่พร้อมที่จะขึ้นไปทาบรัศมีกราฟิกแยกรุ่นล่างได้เลยทีเดียว
———————————————————————————————————–
Overall Benchmark
– Aero Performance Index
ทดสอบประสิทธิภาพของวินโดวส์ พบว่าคะแนนนั้น เท่าที่เห็นล่ะครับ ตกใจกับคะแนน CPU หรือเปล่า ถ้านึกไม่ออกว่าตัวไหนจะได้ระดับนี้ ก็คือ i5-2450M ที่เราเคยทดสอบกันในโน๊ตบุ๊ครุ่นประมาณต้นปีนี้นั่นเอง แต่นี่ S3-951 มัน Low Voltage CPU กินไฟจิ๊บๆ นะ O_o” ไม่ธรรมดาเสียแล้วครับ Ultrabook อะไรนี่ ประสิทธิภาพแซงตัว Mainstream Generation ก่อนไปซะฉิบ ส่วนผลการทดสอบอื่นๆ ก็เกือบจะเป็นไปตามที่เราคาดเดา เว้นเสียแต่ Memory หรือ RAM ที่น่าผิดหวังเล็กน้อยเพราะรองรับเพียง Slot เดียว ทำให้ประสิทธิภาพ Dual-Channel ที่ควรจะได้… หงายเงิบ
– PerformanceTest (Passmark) 7.0
คะแนนระดับนี้ ใกล้เคียงกับ Desktop i5 Generation 2 เลยทีเดียว ซึ่งต้องยกคุณความดีให้กับ CPU ประสิทธิภาพสูงและที่ลืมไม่ได้ SSD RAID0 ที่ดึงคะแนน Disk Benchmark ให้สูงพรวดพราดนั่นเอง
– Cinebench R11.5 64bit
ประสิทธิภาพสูงจนน่ากลัวทีเดียวครับสำหรับ CPU ตัวนี้ แต่กราฟิกน่ะ อืม… รอการปรับปรุงไดรเวอร์ให้รองรับ OpenGL ดีกว่านี้เถอะ เอาเป็นว่าเรนเดอร์ได้ ประสิทธิภาพต่อคอร์สูง แต่ถ้าอยากแรงจริงจัง ทำงานจริงๆ ล่ะก็ ซื้อพวก Workstation มาทำจะเหมาะกว่า Ultrabook นะครับ ;)
– PCMark 7 1.0.4
เบนช์มาร์กแบบจับฉ่าย ที่รวมการทำงานหลายๆ อย่างไว้ด้วยกัน ตั้งแต่ Storage ไปจนถึงซีพียู ประสิทธิภาพการแสดงผลสามมิติ โดยรวมก็คือ Overall ของเครื่องนั่นเอง สำหรับ S5-391 ของเราวันนี้ ได้คะแนนสูงถึง 5770 คะแนน ซึ่งสูงกว่า i7 Desktop Generation แรกเสียอีกครับ แต่อย่าลืมว่า Ultrabook ในมือเราวันนี้ มาพร้อม SSD RAID0 นะ เพราะฉะนั้นคะแนนในส่วน Storage ย่อมจะสูงกว่าฮาร์ดดิสก์ธรรมดาหลายเท่าตัวเลย
Gaming Benchmark
– StreetFighter IV Benchmark
ใช้คำว่า “พอเล่นได้ลื่นๆ” ก็ดูจะน้อยเกินไป สำหรับ S5-391 เกมนี้ผมให้สามผ่านครับ -0- เป็น Ultrabook การ์ดจอออนบอร์ดตัวแรกๆ ที่เล่นเกมนี้ไม่ปรับอะไรเลยได้ลื่นๆ
– Resident Evil V Benchmark Edition
แต่พอเจอของโหดขึ้นมาหน่อยก็หงายกันไปเลย เฟรมสูงสุดทำได้แค่ 21 FPS ถือว่าดีสำหรับออนบอร์ด แต่ถ้าเล่นเกมสไตล์ FPS แบบนี้อย่างจริงจัง เฟรมจะหน่วงและกระตุกจนปวดตาครับ สมกับที่ Intel วาง HD4000 ให้กับพวก Casual/Online Game ถ้าอยากได้อะไรมาเล่นเกมจริงจังก็ซื้อโน๊ตบุ๊คปกติดีกว่านะครับ :D
ตามเราไปหน้าต่อไปกันเลยครับ
2. การทดสอบแยกชิ้นส่วนองค์ประกอบสำคัญ
Processor Benchmark
– HyperPI 0.99b (SuperPi Mod 1M)
19 วินาทีปลายๆ เร็วหรือไม่ ง่ายๆ ว่า ถ้ามันเร็วกว่า CPU Desktop แล้วอินเทลจะขายอะไร? ตรงนี้ก็สมตัวครับ
– LinX 0.6.4 (Linpack)
? |
กับ 20 GFlops กว่าๆ หรือเฉลี่ย 19 (มันเป็นอะไรกับเลข 19 หรือเปล่า เจ้าตัวนี้?) ก็ถือว่าทำงานทั่วไปได้ดีครับ แรงแล้ว แรงเท่า i5 Gen2 อย่างที่ทดสอบ Aero นี่ล่ะ
– x264 HD Benchmark 5.0
Pass 1? ——? encoded 11812 frames, 27.80 fps, 7752.21 kb/s encoded 11812 frames, 27.66 fps, 7752.38 kb/s encoded 11812 frames, 26.50 fps, 7752.28 kb/s encoded 11812 frames, 26.44 fps, 7752.23 kb/s |
? | ? | Pass 2? ——? encoded 11812 frames, 5.03 fps, 8002.76 kb/s encoded 11812 frames, 5.06 fps, 8002.61 kb/s encoded 11812 frames, 5.03 fps, 8002.82 kb/s encoded 11812 frames, 5.02 fps, 8002.76 kb/s |
เป็นเบนช์มาร์กใหม่ที่ผมหลับแล้วหลับอีกกว่าจะทดสอบเสร็จ เพราะมันอัพเกรดการเข้ารหัสเป็นวีดิโอ 1080p แล้ว เลยใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆ ได้ผลตามนี้เลยครับ
Graphic Benchmark
– 3DMark06 1.02
คะแนนซีพียูสูงมาก ทำให้คะแนนรวมออกมาค่อนข้างดี ใกล้เคียงกับ i5 Gen2 (อีกแล้ว) กับการ์ดจอแยกตัวล่างๆ เลยครับ ผลดีทีเดียวกับ Default Test
– 3DMark11 v1.0.3
แต่อันนี้ ทำให้เห็นเลยว่า HD4000 ยังทำงานกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ไม่ดีพอ เพราะเครื่องรุ่นกลางๆ มันก็ได้ราวๆ พันคะแนนแล้ว แต่อย่าลืมว่านี่คือ “ออนบอร์ด” นะครับ
Disk Benchmark
เนื่องจาก Acer S5-391 ของเรา ใช้ SSD RAID0 ดังนั้นจะใช้โปรแกรมทดสอบ SSD เพิ่มเติม จากที่ปกติเราใช้แต่ HDTune ครับ
– HDTunePro 5.00
SSD RAID0 ทำอัตราการส่งข้อมูลได้น่าตื่นตะลึงมากๆ นอกจากจะบูตไม่ถึงยี่สิบวินาทีแล้ว ยังสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึงเฉียดๆ หลัก GB ต่อวินาทีเลยทีเดียว และยังมีความสามารถด้าน Access Time ดีมากๆ ต้องปรบมือให้ S5-391 ด้านนี้จริงๆ
– AS-SSD 1.6.4237.30508
คะแนนยังคงสูงมากๆ สูงกว่าไดรฟ์ SSD ที่เป็น SATA-3 แบบเดี่ยวในท้องตลาดตอนนี้ทุกตัว แม้ Access Time จะดูช้ากว่าที่ควรจะเป็นก็ตาม ตรงนี้ในความเห็นของเรา คิดว่าเนื่องจากประสิทธิภาพของ NAND หรือหน่วยความจำใน SSD ยังใส่มาไม่เต็มที่ ถ้าได้ต๊อก (Toggle) มาล่ะก็ มีทะลุ 1,500 คะแนนแน่นอน
– CrystalDiskMark 3.0.1 x64
ผลสอดคล้องกับ AS-SSD ครับ ประสิทธิภาพเรื่องดิสก์ของ S5-391 นี่สูงจริงๆ ชนิดว่า Aero ให้ 9 คะแนนได้คงจะให้
Temperature Test
– LinX 0.6.4 All-Mem (ใช้ HWMonitor ในการตรวจสอบอุณหภูมิเมื่อ Burn CPU)
อุณหภูมิสูงสุดหลังจากเทสต์ LinX ไปประมาณ 10 นาที เท่าที่เห็นครับ ไม่ถือว่าร้อนจนน่าเกลียดแต่ประการใด อย่าได้เอาไปเทียบกับเดสก์ทอปที่มีที่ระบายความร้อนมากกว่า
Battery Test
– ทดสอบการใช้งาน แบ่งเป็น (ตาราง: ระยะเวลาที่ทำงานได้จริง)
– เปิดเครื่องทิ้งไว้ (Wi-Fi สัญญาณเต็ม, ปิดบลูทูธ) ปล่อยที่โหมด Balanced แต่ปิด Sleep/Hibernate/ไม่ให้จอภาพดับ ความสว่าง 50% : 3:22 ชั่วโมง
– เปิดเครื่องใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป Facebook/Youtube/เกมแคชชวลบน IE อย่างต่อเนื่อง ความสว่าง 50% : 2:35 ชั่วโมง
– เปิดไฟล์ HD1080p ความสว่าง 50% : 1:42 ชั่วโมง
แน่นอนว่าจากผลการทดสอบใช้งานเรื่องของแบตเตอรี่ในการใช้งานต่างๆ จะเห็นได้ว่าระยะเวลาการใช้แบตเตอรี่ค่อนข้างน้อยกว่า Ultrabook ทั่วไป ซึ่งนั่นก็คงมาจากแบตเตอรี่ที่บรรจุมาให้นั้นมีขนาดเพียง 3 เซลล์เท่านั้น แต่โดยรวมก็ยังถือว่าได้ตามมาตรฐานของโน๊ตบุ๊คทั่วไป โดยถ้าหากเราจำเป็นต้องใช้งานแบตเตอรี่ของตัว Acer Aspire S5 จริงๆ แนะนำว่าให้ลดความสว่างหน้าจอลงอีกซักหน่อย รวมไปถึงถอดอุปกรณ์ที่ได้ใช้งานอย่าง USB ?เชื่อได้ว่าจะทำให้เพิ่มระยะเวลาการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่เป็น 4-5 ชั่วโมงแน่นอนครับ
คราวนี้เรามาสรุป Review กันครับ
สรุป – Summary
Acer Aspire S5-391 จัดเป็น Ultrabook ที่โดดเด่นในด้านดีไซน์ โดยเฉพาะ Magic Flip Port มีความเบาและบางเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นไม่แพ้ Samsung Series 9 และ Macbook Air พกพาการประมวลผลระดับสูงด้วย Intel i7-3517U ที่มากับหน่วยประมวลผลกราฟิก HD4000 และยังมีจุดเด่นสำคัญที่สุดคือ SSD แบบ RAID0 ที่ทำให้อะไรทุกอย่างทันใจไปหมด จะไม่ไหวก็เพียงการเล่นเกมสามมิติที่ต้องอาศัยการ์ดจอระดับสูง ซึ่ง Ultrabook เองก็ไม่ได้ถูกวางเป้าหมายให้สนองตลาดลักษณะดังกล่าวแต่ต้น
Aspire S5-391 มีคีย์บอร์ดที่สัมผัสค่อนข้างดี ทัชแพดที่ใช้งานค่อนข้างไม่ถนัดมือ จอภาพที่สีสันพอใช้แต่ความเข้มแสงยังค่อนข้างต่ำ น่าจะเกิดจากข้อจำกัดการดีไซน์แบบบาง แพ็คเกจงานประกอบโดยรวมถือว่าทำได้ดีกว่ามาตรฐานแบรนด์ Acer ที่เราเคยสัมผัสมาก่อนหน้านี้ แต่ก็ยังมีจุดให้ติติงเรื่องวัสดุพื้นผิวที่เป็นรอยได้ง่ายทั่วตัว
ข้อดี
- Intel Ivy Bridge i7-3517U ประสิทธิภาพการประมวลผลสูงเกินหน้าเกินตาแม้แต่ Notebook ใน Generation ก่อน
- SSD RAID0 ที่มีประสิทธิภาพสูง และความจุที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้ Ultrabook เครื่องนี้ดู “ไว” กว่าปกติ
- ดีไซน์ที่บางเบา โฉบเฉี่ยว เหนือกว่า Ultrabook ทั่วไป
- มี Magic Flip ที่น่าสนใจในงานออกแบบ?
- พอร์ตเชื่อมต่อ Thunderbolt 10 Gbps ที่เหนือความคาดหมาย
- อุณหภูมิในการทำงานที่ไม่สูงเกินไป?
ข้อสังเกต
- บอดี้เป็นรอยนิ้วมือได้ง่าย
- Magic Flip อาจจะทำให้ใช้งานพอร์ต ไม่สะดวกมากนัก
- แบตเตอรี่มีความจุต่ำ
- ราคาสูงกว่า Ultrabook ทั่วไป?
Award
ในเรื่องของการให้รางวัลในแต่ละรุ่นนั้น ทาง NoteBookSpec เราได้เปลี่ยนมาเป็นการให้รางวัลเครื่องในแต่ละด้านที่เครื่องนั้นทำออกมาได้ดีแทนครับ ซึ่งเครื่องไหนที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพด้านใดที่อยู่ในระดับที่ควรได้รับรางวัล ทางเราก็จะมอบรางวัลแยกเป็นด้านๆ ไป
โดยในครั้งนี้จะเป็นการเปรียบเทียบการให้รางวัลกับเครื่องในกลุ่มของ Ultrabook ด้วยกัน ซึ่ง Acer Aspire S5 ก็ได้รางวัลต่างๆ ดังนี้
Best Design
ถือได้ว่าเป็น Ultrabook อีกหนึ่งรุ่นที่มีความพิเศษจริงๆ ด้วยการที่มีน้ำหนักที่เบามากที่หนักเพียง 1.2 กิโลกรัมเท่านั้น อีกทั้งดีไซน์การอกแบบโดยรวมของตัวบอดี้เครื่อง ยังมีความโดดเด่นกว่า Ultrabook ในท้องตลาดทั่วไปตอนนี้ มาพร้อมกับสีสันที่เป็นสีดำที่แสดงถึงความหรูหราแต่เรียบง่าย และที่สำคัญที่สุดด้วยการออกแบบติดตั้ง?Magic Flip ยิ่งบ่งบอกได้ถึงความล้ำหน้าของการออกแบบจาก Acer Aspire S5 อีกด้วย
Best Mobility
ด้วยน้ำหนักที่จัดได้ว่ามีความเบามากๆ และบางมากๆ ทำให้ในการพกพาตัวเครื่องไปใช้งานนอกสถานที่ทำได้อย่างง่ายดาย กับ Ultrabook ขนาดหน้าจอ 13 นิ้ว?แถมไม่ต้องกลัวว่าเครื่องจะมีปัญหาอีกด้วย เพราะระบบไม่ได้ใช้ HDD แบบจานหมุน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องการจับถือมากนัก สามารถพับฝาจอลงแล้วเก็บเครื่องได้ทันที อแดปเตอร์ก็ทำออกมาให้มีขนาดที่ไม่ใหญ่มากนัก ทำให้น้ำหนักไม่มากเวลาเราติดอแดปเตอร์ไปไหนมาไหนด้วย
Best Technology
ในข้อนี้เราก็จะเห็นได้ชัดจากไม่ว่าจะทั้งชิปประมวลผลภายในที่เป็น Intel Ivy Bridge ซึ่งในขณะนี้ยังมี Ultrabook วางจำหน่ายแล้วเพียงไม่กี่รุ่นที่มาพร้อมชิปตระกูลใหม่ หรือจะเป็นในเรื่องของพอร์ต Thunderbolt ที่มีมาใน Mac ทุกเครื่องแล้ว แน่นอนว่าในส่วนของตัว Acer Apire S5 อีกทั้งอย่างที่บอกไปว่าได้มีการติดตั้ง?Magic Flip ซึ่งสามารถยกตัวให้สูงขึ้น เพื่อใช้งานด้วยความสะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมเปิดพอร์ตการใช้ให้มากยิ่งขึ้น