เป็นที่รู้กันอยู่ว่าปัจจุบัน สำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ย่อมรู้จักและได้ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดก็ว่าได้ และการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ใช้กันในปัจบันก็จะเป็นอินเตอร์เน็ตแบบ ADSL เสียส่วนใหญ่ปัญหาที่มีมาทุกยุคทุกสมัยในการต่ออินเตอร์เน็ตคือคุณภาพในการใช้งาน ทั้งความเร็วที่อาจไม่ได้เร็วตามที่สมัครไว้ หรือปัญหาหลุดบ่อย สัญญาณหาย เป็นต้น ?สำหรับวันนี้ผมจะเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ ADSL ที่มีผลต่อคุณภาพในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตมาอธิบายให้ทราบกันแบบง่ายๆ ไม่เจาะลึกด้านเทคนิคอะไรมากมาย
ปัจจัยแรกของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบ? ADSL นั้นก็คือ ADSL Modem หรือ ADSL Router ?ซึ่งเป็นตัวกลางรับสัญญาน ADSL ที่มากับสายทองแดงของโทรศัพท์นั่นเอง โดยระบบโทรศัพท์นั้นได้ใช้สายทองแดงมาเป็นระยะเวลานานแล้วตั้งแต่เมื่อเริ่ม ใช้ครั้งแรกโดยเทคโนโลยี ADSL คือการนำสายสัญญาณโทรศัพท์มาแบ่งเป็นช่วงสัญญาณที่มีช่วงเท่าๆ กันและใช้ช่องสัญญาณเหล่านั้นในการส่งหรือรับข้อมูล? แน่นอนว่าหากมีสัญญาณรบกวนเข้ามาในช่องสัญญาณเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นในช่วง ความถี่ใดก็ตามทำให้คุณภาพในการเชื่อมต่อลดลงเนื่องจากต้องมีการสลับช่อง สัญญาณเพื่อไปใช้ช่องอื่นๆ แทน สัญญาณรบกวนที่ว่านี้เรียกว่า
SNR (Signal-to-Noise Ratio)
SNR เราสามารถอ่านค่านี้ได้ใน? ADSL ?Router ซึ่งได้แก่ค่า Noise margin หรือ SNR Margin ค่าที่เหมาะสมสามารถเทียบได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ ?(ค่าที่อ่านหน่วยเป็น dB)
- 6dB. หรือ ต่ำกว่า = ปัญหาหลุดบ่อยหรือบางครั้งไม่มีสัญญาณ
- 7dB – 10dB. = ใช้ได้ แต่อาจมีปัญหาหลุดเมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง
- 11dB – 20dB. = ถือว่าดี ไม่ค่อยมีปัญหาหลุด
- 20dB – 28dB. = เยี่ยม
- 29dB. หรือสูงกว่า = สุดยอด
ค่าที่อ่านนั้นใช้ทั้งด้าน Upstream และ Downstream
?Line attenuation
อีกค่าที่แนะให้ดู ค่านี้เป็นค่าที่เกี่ยวกับความยาวของสายสัญญาณที่ลากมาจากตู้แยกสัญญาณมาถึงอุปกรณ์แยกสัญญาณที่บ้าน ซึ่งยิ่งน้อยก็คือยิ่งดี (กลับกันกับ SNR นะครับ) ซึ่งด้วยหลักการแล้วสายโทรศัพท์ซึ่งเป็นสายทองแดงก็มีความต้านทานภายในอยู่เช่นกัน ปกติแล้วความยาวสูงสุดที่ผู้ให้บริการจะอนุญาติให้ใช้บริการ ?ADSL ได้นั่นก็คือประมาณ 5 กิโลเมตร? นอกจากนี้ยังมีเรื่องของสภาพอากาศที่ทำให้ค่าตรงนี้ลดลงได้ เช่น ทองแดงมีการ ขยายตัวเมื่อโดนความร้อน ค่านี้เป็นค่านึงที่สำคัญในการเลือกความเร็วที่เราจะสามารถใช้ได้ และเป็นเหตุผลนึงที่ว่าทำไมคุณภาพของ ?ADSL จึงขึ้นอยู่กับระยะทางจากตู้แยกสัญญาณ ?เอาแบบง่ายๆ ใครอยู่ใกล้ๆ ตู้แยกสัญญาณ ?ค่านี้ก็จะน้อยและสามารถเลือกใช้ความเร็วได้สูงกว่านั่นเอง สำหรับตารางความสัมพันธ์ของค่านี้กับระยะทางและความเร็วสูงสุด (ในทางทฤษฏี) ก็มีดังนี้
?ดูเป็นค่าตัวเลขที่เหมาะสมก็ตามนี้
- ต่ำกว่า 20dB = สุดยอด
- 20-30dB = ยอดเยี่ยม
- 30-40dB = ดีมาก
- 40-60dB = พอใช้
- 60-65dB = แย่
- 65dB หรือมากกว่า = สัญญานมีน้อยมากถึงไม่มีเลย
นอกจากนี้ยังมีค่าอื่นๆ อีกมากมายที่อยู่ในระบบการเชื่อมต่อ ADSL แต่สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปก็ไม่ได้สำคัญมากมายนัก เอาแค่ 2 ตัวนี้เป็นหลักก็เพียงพอแล้ว สำหรับการที่จะทำให้ค่าทั้งสองไม่อยู่ในค่าที่เหมาะสม ให้พิจารณาดังต่อไปนี้
1. เดินสายโทรศัพท์ตามทางสายไฟบ้านหรือไม่ สายไฟแรงสูงที่อยู่ใกล้ๆ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวน ?( Noise) มากขึ้น
2. สายโทรศัพท์มาตรฐานหรือไม่ สายโทรศัพท์ที่ไม่ได้มาตรฐาน (เส้นลวดอาจมีขนาดเล็ก) จะทำให้การค่าความต้านทานสูงขึ้นและ Line Attenuation จะมีมากขึ้น
3. อุปกรณ์ต่อพ่วงของโทรศัพท์ เช่น POTS Splitter Micro filter โทรศัพท์ต่อพ่วง มีผลกระทบต่อทั้ง 2 ปัจจัย ยิ่งมีอุปกรณ์ต่อพ่วงมาก ก็จะเกิดสัญญาณรบกวนและ Line Attenuation จะมีค่ามากขึ้น
4. เช็คจุดที่มีการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ ว่ามีการขันสายยึดแน่นเรียบร้อยหรือไม่
จบแล้วครับเล็กๆ น้อยๆ ของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แถมท้ายนิดนึง
——————————————————-
ตารางระยะความยาวคู่สายโทรศัพท์กับความเร็ว hi-speed Internet ที่คุณสามารถใช้บริการได้ของ True Internet
ระยะความยาวคู่สายโทรศัพท์จากชุมสาย ถึงบ้าน Hi-Speed Internet (กิโลเมตร) |
ความเร็วเฉลี่ยที่ให้บริการได้ |
ระยะทาง 0 ?กม. ถึง 1.5 ?กม. |
5120/512 Kbps |
ระยะทาง 1.5 ?กม. ถึง 2.5 ?กม. |
4096/512 Kbps |
ระยะทาง 2.5 ?กม. ถึง 2.8 ?กม. |
3072/512 Kbps |
ระยะทาง 2.8 ?กม. ถึง 3.0 ?กม. |
2560/512 Kbps |
ระยะทาง 3.0 ?กม. ถึง 3.3 ?กม. |
1024/512 Kbps |
ระยะทาง 3.3 ?กม. ถึง 4.0 ?กม. |
512/256 Kbps |
ระยะทาง 4.0 ?กม. ถึง 4.2 ?กม. |
256/128 Kbps |