Lenovo IdeaPad Y470 รุ่นนี้ Y570 ที่คลอดตามกันมาติด ๆ ด้วยขนาดที่เล็กลงเหลือ 14 นิ้ว สำหรับผู้ที่เน้นเรื่องของการพกพา แต่สเปกนี่แรงไม่แพ้กันเลยทั้ง i7 ในรุ่น 2630QM ที่ความเร็ว 2.0 GHz แคช L3 ขนาด 6 MB พร้อมฟังก์ชัน Turbo Boost 2.0 เพิ่มความเร็วไปได้ถึง 2.90 GHz การ์ดจอจากค่าย nVidia ที่เป็นรุ่นรองลงมาหน่อย แต่แรงไม่แพ้กันอย่าง GeForce GT 550M vram ที่ 2 GB ระดับ DDR3 ระดับนี้เล่นเกมต่าง ๆ ได้สบาย ๆ อีกทั้งยังรองรับระบบ Nvidia optimus ทำให้สามารถสลับการ์ดจอไปมากับ Intel HD 3000 ได้ พร้อมสวิตช์สลับการ์ดจอให้มาด้วย สามารถสลับได้ตามที่เราต้องการ แรมมีมาให้พร้อมไม่ต้องอัปอยู่ที่ 4 GB DDR3 ส่วนฮาร์ดดิสก์ความจุสูงสุดถึง 750 GB พอร์ตต่าง ๆ ฟังก์ชันการใช้งานก็มาอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็น USB 3.0, e-Sata ในราคาแค่ 34,900 บาทเท่านั้น สำหรับผู้ที่ต้องการสเปกแรงในขนาดพกพาละก็น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งครับ
ส่วนแรกจะเป็นภาพภายนอก เวลาที่เราเห็นเครื่องจะเป็นส่วนที่สะดุดตาที่สุด
Body ของ Lenovo IdeaPad Y470 จะเหมือน Y570 ทุกประการ แค่ย่อขนาดลงและตัด Numpad ออก โดยด้านหลังจะเป็นผิววัสดุคล้ายอะลูมิเนียมแข็งแรง ภาพรวมการออกแบบเน้นสวยงาม ขนาดมาตรฐานจอภาพ 14 นิ้ว ไม่หนักหรือหนาเกินไปนัก โดยโทนสีด้านหลังจะเป็นสีน้ำตาลออกไหม้ ๆ ตัดกับขอบสีส้ม พร้อมแผงคีย์บอร์ดสีน้ำเงิน (ออกม่วงนิด ๆ)
ด้านหลังจอภาพที่ต่างจากรุ่นเดิม จะเป็นวัสดุคล้ายอะลูมิเนียมสีน้ำตาลไหม้ พร้อมสกัดลายเป็นจุด ๆ ถ้าส่องกับแสงดี ๆ จะเห็นเป็นลายสวยงามแปลกตาเลยทีเดียว
ที่พักมือเป็นวัสดุคล้าย ๆ อะลูมิเนียมทำให้เป็นรอยยาก โดยจะรู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับดูนะครับ
บานพับยังคงเป็นรูปตัว L แต่ด้านนอกจะมีการติดวัสดุเข้าไปเพิ่มให้พานพับแข็งแรง ขอบจอภาพแข็งแรงรับน้ำหนักจอภาพขนาดได้ดี
จอภาพขนาดมาตรฐานโลก 14.1 นิ้ว ระดับ HD 720p ที่ความละเอียด 1366 x 768 แบบจอกระจก
กางจนสุดได้ประมาณ 135 องศา
น้ำหนักเครื่องรวมแบตอยู่ที่ 2.291 กิโลกรัม
น้ำหนักเมื่อรวม Adapter ก็จะเพิ่มมาเป็น 2.82 กิโลกรัม
เป็นด้านใต้ท้องเครื่องรวมถึงช่องระบายความร้อนใต้ท้องเครื่อง
Lenovo IdeaPad Y470 มีช่องระบายความร้อนตามตำแหน่งต่าง ๆ พอสมควร โดยมี 2 ส่วน ที่สามารถเปิดเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ครบครัน
ช่องระบายความร้อนซีพียูมีขนาดใหญ่ ลมแรง พัดลมก็มีเสียงไม่ดังมาก ลมที่ออกมาอุ่น ๆ เมื่อทำงานหนัก โดยมีการเจาะช่องให้ลมเข้า และยกผิวบริเวณนี้ให้สูงขึ้นซึ่งน่าจะช่วยระบายความร้อนได้ดีขึ้น