โปรแกรม Super PI คือการคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง ซึ่งจะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
ซีพียู Intel Core i7-2620M ของ SONY VAIO SB สามารถทำเวลาไปได้ 11.685 วินาทีในการคำนวณค่า PI 1M
เนื่องจากซีพียูมีความเร็วสูงมาก ยิ่งรัน Turbo Boost ด้วยแล้วทำให้ใช้เวลาคำนวณเร็วมาก
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เนื่องจากจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
ถึงแม้จะสั่งให้ทำงานทุกหัว แต่ก็ยังสามารถทำเวลาออกมาได้ดีเลยครับ เร็วแรงจริง ๆ
เป็นโปรแกรมที่เน้นทดสอบความแรงด้านกราฟิก 3D ของซีพียู นิยมนำมาทดสอบเพื่อวัดประสิทธิภาพของซีพียูเป็นหลักครับ
ภาพรวมออกมาดีขึ้นกว่ารุ่นเก่า แต่ก็ยังแรงต่างจาก i7 รหัส QM อยู่พอสมควร
ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูลของ HDD
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นขนาด 500 GB
ด้วยฮาร์ดดิสก์ที่มีความเร็วรอบต่ำ ทำให้ทำเวลาได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรม โดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, HDD
แม้การ์ดจอจะไม่ใช่รุ่นใหญ่ แต่ด้วยซีพียูตัวแรงทำให้มีคะแนนสูงมาก โดยเฉพาะซีพียูที่มีคะแนนเกือบ ๆ หมื่นเลยทีเดียว
…
PCMark Vantage
คะแนนสูงเป็นที่น่าพอใจตามสเปกใหม่