มาอุ่นเครื่องก่อนงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้
นับได้ว่านานพอสมควรแล้วนะครับที่สถาปัตยกรรมของซีพียู Core 2 Duo (Intel Core Microarchitecture) ได้โลดแล่นเป็นซีพียูยอดนิยมของเครื่องโน๊ตบุ๊ค จอเป็นซีพียูที่เรียกได้ว่าแพร่หลายมากที่สุดในขณะนี้เลยก็ว่าได้ จนไปต่อยอดเป็นซีพียู Core 2 Quad หรือแม้กระทั้ง CULV ก็ยังอยู่บนฐานของสถาปัตยกรรมนี้ ซึ่งหลายๆท่านที่ใช้งานอยู่ก็คิดว่า C2D นี้เป็นเทคโนโลยี่ที่เหมาะสมแล้ว แต่ Intel เองก็ยังไม่หยุดพัฒนาด้วยการเข็นสถาปัตยกรรม Nehalem (แต่ยังคงเทคโนโลยีแบบ Intel? Core? Microarchitecture แบบใน C2D อยู่) หรือที่เรียกกันว่า Core i7 ลงสู่ตลาดของเครื่อง PC เป็นครั้งแรกเมื่อต้นปี ที่จัดได้ว่าเป็นซีพียูแรงที่สุดในโลกก็ว่าได้ (Intel เขาว่างั้น) แล้วต่อมาเป็นรุ่น i5 ที่เปิดตัวในสัปดาห์ก่อน ผมคงไม่พูดถึงรายละเอียดมากนักเดียวจะ งง กันเปล่า แต่จะแนะนำจุดเด่นให้พอเป็นความรู้พอเข้าใจกันได้ง่ายๆแล้วกันครับ
จุดเด่นของสถาปัตยกรรม Core i7 ที่แตกต่างจาก Core 2 Duo เดิม (วิเคราห์จากซีพียูของ PC)
- ตัวความคุมหน่วยความจำ(RAM) ชนิด Tri-channels DDR3 ซึ่งเป็นแบบอินทิเกรตเข้าไปไว้ในซีพียู(Integrate Memory Controller)
- QuickPath Interconnect(QPI) เป็นเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบบัส
- หน่วยความจำ แคช(Cache)?ระดับ 3
- Simultaneous Multi-Threading?(SMT)
- Loop Stream Detector ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นให้ดีกว่าของเดิม ที่เคยใช้อยู่ในซีพียูตระกูล Core 2
- ชุดคำสั่ง SSE 4.2
- ปรับปรุงคุณภาพของ Branch Target Buffer ให้ดีขึ้น
- ปรับปรุงคุณภาพของ?Translation Look-aside Buffer?(TLB)
- ใช้ตัวควบคุมการใช้พลังงานซีพียู(Power Control unit)แบบใหม่
อ่ะเมื่อเห็นของจุดเด่น Core i7 บน PC แล้ว เรามาดู Core i7 ในส่วนของโน๊ตบุ๊คกันบ้าง โดยข้อมูลทั้งหมดนี้มาจากเวป pcpro.co.uk ซึ่งได้ตัว Core i7 ของโน๊ตบุ๊คมาทดสอบเป็นเจ้าแรกของโลก แต่ก่อนนั้นขออธิบายนิดนึงว่า ผ่านมาตั้งนานถึงเพิ่งมีตัว i7 ของโน๊ตบุ๊คออกมา หลายๆท่านอาจจะเคยได้ยินข่าวโน๊ตบุ๊คเทพต่างๆ ที่ใช้ซีพียู i7 มาก่อนหน้านี้ ซึ่งในเครื่องเหล่านั้นยังเป็นซีพียู i7 สำหรับเครื่อง PC อยู่ โดยยังไม่ได้มีการดัดแปลงให้สามารถใช้งานได้บนโน๊ตบุ๊ค 100% ขนาดของเครื่องเหล่้านั้นจึงใหญ่และกินพลังงานมาก แต่ Core i7 ที่เปิดตัวในโน๊ตบุ๊ควันนี้จะเป็นรุ่นที่ได้มีการปรับแต่งให้สามารถใช้งานบนโน๊ตบุ๊คอย่างมีเสถียรภาพ ทั้งในเรื่องของการระบายความร้อน และการใช้พลังงานของแบตเตอรี่ แต่สิ่งที่ต้องแลกมาก็คือความเร็วของซีพียูและประสิทธิภาพที่ลดลมมาจาก i7 ของเครื่อง PC แต่ก็ยังคงฟังค์ชั่นการใช้งานเด่นๆของ i7 ไว้อย่างครบครัน โดย i7 ของโน๊ตบุ๊คตัวแรกของโลกที่ได้มีการเปิดตัวออกมานั้นก็คือ Core i7 1.73GHz i7-820QM
โดย Core i7-820 QM ตัวแรกของโน๊ตบุ๊คนี้ จะมาพร้อมความเร็ว 1.73GHz? ซึ่งอาจจะดูไม่สูงมากนัก แต่อย่าลืมนะครับว่ามีถึง 4 Core และยังสามารถเปิดฟังค์ชั่น HT ให้สามารถทำงานพร้อมกันได้ถึง 8 Threads และยังสามารถโอเวอร์คล๊อกได้ไปสูงสุดที่ 2.06 GHz โดยยังใช้เทคโนโลยี 45nm เช่นเดียวกับใน Core 2 Duo แต่จุดเด่นที่เห็นหลักๆได้แก่
- เพิ่มหน่วยความจำแคช L3 มาอีกถึง 8 MB (จากเดิมมีแค่ L2)
- ยกเลิกระบบ FSB (ในCPU-Z เลยไม่โชว์) เปลี่ยนเป็นระบบ QPI แทน
- มีชุดคำสั่ง SSE 4.2
- มาพร้อมฟังค์ชั่น Hypert Threading (HT) ทำให้สามารถเพิ่ม Thread หรือ Core เสมือนได้อีกเป็น 2 เท่า (4 Core 8 Thread )
- Turbo Boost ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้เมื่อโปรแกรมจำเป็นต้องใช้ เช่น ในเวลาใช้งานทั่วไปจะปิด HT หรือ Core บาง Core ไว้ เพื่อประหยัดพลังงาน แต่เมื่อต้องประมวลผลหนักๆ ก็จะเปิด Core หรือ HT ที่ปิดไว้เพื่อนำมาใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ
ส่วนข้อมูลรายละเอียดอื่นๆนั้นคงต้องรอหลังงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ จะนำมาบอกอีกครั้งนึงครับ
ประสิทธิภาพของ Core i7-820 QM จากการทดสอบ
*เที่ยบกันเห็นๆไปเลยทั้ง 4 รุ่นตั้งแต่รุ่นเทพความเร็วสูงอย่าง 1. QX9300 2.? น้องรองความแรง Q9000 3.? รุ่น C2D ต้นตำหรับ T6600 และ 4. น้องเทพตัวใหม่ i7-820QM
ประสิทธิภาพโดยรวมนั้นออกมาได้สูสีกับ QX9300 เลยทีเดียว ผลัดกันแพ้ชนะในหลายๆส่วน ทั้งๆที่ i7-820QM มีความเร็วน้อยกว่ามาก แต่สามารถแสดงประสิทธิภาพได้สูสีกับ Q9300 เลยทีเดียว ส่วนที่เหลืออีก 2 รุ่น ไม่ต้องพูดถึงครับ เหมือนเอามาเทียบเฉยๆเท่านั้นเอง
อัตตราการบริโภคพลังงาน
*ออกตัวก่อนนะครับว่า system ที่ใช้ทดสอบนั้นไม่เหมือนกัน 100% จึงอ้างอิงผลทดสอบได้แค่ระดับหนึ่งเท่านั้นครับ
จากข่าวที่ปล่อยมาวันก่อนกับผลทดสอบในวันนี้ต่างกันพอสมควร โดย i7-820QM ตัวนี้แม้จะใช้พลังงานมากกว่า Core 2 Duo อยู่พอสมควร (ในโหมด idel แทบไม่ต่างกันเลย) แต่ก็ยังใช้พลังงานน้อยกว่า Core 2 Quad อยู่มากเลยทีเดียว
โดยสาเหตุหลักที่ทำให้ i7-820QM ใช้พลังงานไม่สูงมากโดยเฉพาะในโหมด Idle ก็เพราะฟังค์ชั่น Turbo Boost ซึ่งจะปิดการทำงานของ Core ที่ไม่จำเป็นเพื่อประหยัดพลังงาน ซึ่งจะต่างจาก Core 2 Quad ที่ทุก Core จะทำงานตลอดเวลา
สรุปการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แน่นอนว่า T6600 ใช้งานได้นานที่สุด เพราะซีพียูมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่า แต่ที่น่าสนใจก็คือ i7-820QM ที่มีฟังค์ชั่น Turbo Boost ทำให้สามารถใช้งานในโหมด Light ได้นานมากเลยทีเดียว แต่พอมาใช้งานหนักๆในโหมด Heavy แล้วก็คงเป็นไปตามประสิทธิภาพครับใช้งานได้นานน้อยที่สุด ไม่ถึง 1 ชั่วโมงด้วยซ้ำ แต่ก็อย่างว่าครับ ถ้าใช้งานหนักๆแบบเต็ม 4 Core 8 Thread ก็คงไม่ใช้งานแค่แบตเตอรี่อย่างเดียวแล้ว
สรุปส่งท้าย i7-820QM Core i7 ตัวเป็นๆบนโน๊ตบุ๊ค
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า i7-820QM ตัวนี้นั้นเป็นซีพียูที่ทรงประสิทธิภาพสูงมากตัวหนึ่งในปัจจุบัน แม้จะมีความเร็วที่ไม่สูงมาก แต่ก็มาพร้อมเทคโนโลยีที่มีความสดใหม่ แต่ถึงแม้จะแรงแต่ในส่วนของการจัดการพลังงานต้องยอมรับเลยครับว่าทำออกมาได้ดีมาก ด้วยฟังค์ชั่น Turbo Boost ซึ่งจะปิดการทำงานของ Core ซีพียูที่ไม่จำเป็น และเปิดขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อต้องการใช้งานทำให้สามารถประหยัดพลังงานได้อย่างมากเมื่อใช้งานเบาๆ เช่น เล่นเน็ต พิมพ์งาน แต่เมื่อทำงานเต็มประสิทธิภาพแล้วก็ถือว่าเป็นโน๊ตบุ๊คที่บริโภคพลังงานสูงมากตั้งหนึ่งเลยทีเดียว
ซึ่งคงต้องรองานเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้คงจะได้ข้อมูลทางเทคนิคที่มากขึ้น และแน่นอนว่าเมื่อเครื่องทดสอบมาถึงในอีกไม่กี่วัน ก็จะได้เจอกัีบผลทดสอบแบบเต็มที่ในสไตล์? NBS แน่นอนครับ ไม่นานเกินรอ
ขอบคุณ pcpro.co.uk ด้วยครับสำหรับผลทดสอบนี้