Connect with us

Hi, what are you looking for?

Special Story

ได้เวลาอัพเกรด WiFi 7 หรือยัง? พร้อมรวม 4 WiFi 7 Router เด็ดๆ ให้โดน!

เทคโนโลยีใหม่อย่าง WiFi 7 จ่ายวันนี้ใช้ได้ยาวไม่ต้องอัพเกรดบ่อย!

WiFi 7

เมื่อไม่นานมานี้ Wi-Fi Alliance ได้ทำการรับรอง WiFi 7 อย่างเป็นทางการแล้ว หากนับจากวันที่เริ่มต้นอนุมัติครั้งแรกเมื่อปี 2019 แล้วก็เป็นเวลา 5 ปี ก่อนจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการพร้อมใช้งานและมีสินค้าให้เลือกซื้อได้แล้วด้วย ซึ่งทาง Wi-Fi Alliance เองก็นิยามว่า WiFi 7 จะเน้นเรื่องความเร็ว, พลังการรับส่งข้อมูลที่ดีขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยี AR/VR/XR และ 3D ได้ดีขึ้น รวมถึงคนซื้ออุปกรณ์ IoT มาอัพเกรดให้บ้านเป็น Smart home ก็จัดการคลื่นสัญญาณได้ง่ายซึ่งทางทีมงาน NotebookSPEC ก็มีคอนเทนต์เกี่ยวกับ Router, Wi-Fi Router และวิธีเลือกซื้อ Router ออกมาให้อ่านเป็นระยะๆ เช่นกัน

แต่ถึง WiFi 7 จะน่าใช้แค่ไหน ก็ยังต้องรอผู้ประกอบการอินเตอร์เน็ตในประเทศว่าอัพเกรดอุปกรณ์และเปิดแชนแนลสัญญาณกับความเร็วมารองรับเทคโนโลยีนี้แล้วหรือยัง ซึ่งส่วนนี้จำเป็นต้องรอไปอีกสักพักถึงจะใช้งานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นถ้าใครยังใช้อุปกรณ์อย่าง WiFi 6, 6E อยู่แล้วประสิทธิภาพของมันยังดีอยู่ ก็ไม่ต้องรีบร้อนอัพเกรดก็ได้เพราะเทคโนโลยีปี 2020 นี้ก็ยังตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันได้ดีมากอยู่

Advertisement
WiFi 7

WiFi 7 ดียังไง? ได้เวลาอัพเกรดแล้วหรือยัง?

Wi Fi CERTIFIED 7 Features attributed

WiFi 7 มาตรฐาน 802.11be เองก็เริ่มรุกเข้าตลาดมาเรื่อยๆ แล้วตั้งแต่ปลายปี 2023 ทีผ่านมา โดยทางผู้ผลิต Router ชั้นนำของโลกหลายเจ้าไม่ว่าจะ ASUS, Acer, TP-Link เองก็มีสินค้ามาให้เลือกซื้อระหว่างที่กำลังขอป้ายรับรอง Wi-Fi CERTIFIED 7 อยู่ด้วย ซึ่งข้อดีโดยสรุปของ WiFi 7 จะมีดังนี้

  1. แชนแนลสัญญาณ 320MHz : เป็นข้อดีอย่างแรกซึ่งคลื่น 6GHz จะมีแบนด์วิธสัญญาณกว้างกว่าเดิม 2 เท่า ทำให้ความเร็ว throughput สูงขึ้น 2 เท่า รับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้ดีกว่าเดิม
  2. Multi-Link Operation (MLO) : เพิ่มปริมาณและความเร็วรับส่งข้อมูลจำนวนมากผ่านทางคลื่น 2.4 / 5 / 6GHz พร้อมกันได้ ช่วยลดความหน่วง (Latency) และปัญหายิบย่อยระหว่างรับส่งข้อมูลลง
  3. 4096-QAM (4K-QAM) : เทียบกับ WiFi 6, 6E ซึ่งมีความรเ็ว 1024-QAM แล้ว เวอร์ชั่นนี้มีความเร็วมากขึ้นเป็น 4096-QAM มากกว่าเดิม 4 เท่า ได้ความเร็วตามทฤษฎีแล้ว 6E จะมีความเร็ว 9,608 Mbps ส่วน 7 เพิ่มเป็น 46,120 Mbps
  4. 16×16 MU-MIMO : ใน Wi-Fi 7 เราเตอร์จะถูกปรับแต่งให้ใส่เสาสัญญาณได้มากสุด 16 เสา ช่วยเพิ่มกำลังการรับส่งข้อมูลให้ดีกว่าเดิม แต่อุปกรณ์ปลายทางก็ต้องมีจำนวนเสาสัญญาณและเวอร์ชั่นของ Wi-Fi เดียวกันกับตัวเราเตอร์ด้วย ถึงจะรับส่งข้อมูลได้เต็มประสิทธิภาพตามหน้าสเปค แต่การติดตั้งเสาสัญญาณมามากระดับนี้ก็ทำมาเพื่อให้เชื่อมต่ออุปกรณ์ชิ้นอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน ลดความสูญเปล่าทั้งเวลา, อุณหภูมิ ฯลฯ ในระบบเครือข่ายลงไปให้มากที่สุด

ส่วนฟีเจอร์น่าใช้ที่มีใน WiFi 6, 6E และ WiFi 7 ได้แก่

  1. มีแชนแนลสัญญาณ 2.4 / 5 / 6GHz เหมือนกัน แต่ 6, 6E ความเร็วน้อยกว่าตามเทคโนโลยี
  2. OFDMA (Orthogonal Frequency-Division Multiple Access) – ฟังก์ชั่นแบ่งแชนแนลของสัญญาณให้แต่ละอุปกรณ์ตามความเหมาะสมพร้อมกัน เช่น ถ้ามีสัญญาณอยู่ 20MHz แล้วต้องแบ่งให้อุปกรณ์ 3 ชิ้น เป็นสมาร์ทโฟน, โน๊ตบุ๊คและสมาร์ททีวี ฟังก์ชั่นนี้จะคำนวนแบ่งคลื่นให้โดยอัตโนมัติ อาจแบ่งให้สมาร์ทโฟนกับสมาร์ททีวีเครื่องละ 5MHz และอีก 10MHz ที่เหลืออยู่ก็เป็นของโน๊ตบุ๊คเป็นต้น
  3. OBSS (Orbiter Boom Sensor System) – ฟีเจอร์สำหรับแปะป้ายแยกกลุ่มสัญญาณของอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวนให้น้อยลง เช่นถ้าในพื้นที่มีเราเตอร์ A กับ B อยู่ ฟีเจอร์นี้ก็จะแยกกลุ่มสัญญาณให้โดยอัตโนมัติ กล่าวคือ เมื่อเราเตอร์ A สแกนหาอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับตัวเองแล้วขึ้นแท็กสัญญาณเป็น AA ก็จะรับส่งข้อมูลให้ตามปกติ แต่เมื่อสแกนแล้วเจอสัญญาณอุปกรณ์ BB จากเราเตอร์ B ก็จะมองข้ามอุปกรณ์กลุ่มนี้โดยอัตโนมัติเพื่อลดอกาารหน่วงและไม่ต้องรอแชนแนลสัญญาณด้วย
  4. TWT (Target Wake Time) – ฟีเจอร์เปิดปิดการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ปลายทางและเราเตอร์โดยอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อใช้งานก็จะรับส่งข้อมูลตามปกติและตัดกลับไปโหมด Sleep เมื่อไม่ได้ใช้งาน ช่วยประหยัดแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ต่างๆ ได้มาก โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนพอเชื่อมต่อกับเราเตอร์แล้วก็ใช้งานได้เลย ต่างจากตอนใช้อินเตอร์เน็ตจาก SIM เพราะต้องสแกนหาเสาสัญญาณ 4G, 5G ตลอดเวลา

หากใครมีแผนอยากอัพเกรด Router ตัวเก่าอยู่แล้วสงสัยว่า ณ ตอนนี้จะอัพเกรดได้แล้วหรือควรจะรอก่อนดีกว่า? หากเป็นผู้เขียนจะดูเวอร์ชั่นของอุปกรณ์ ว่าถ้าเป็น WiFi 5 ลงไปแล้วอยากอัพเกรดก็เปลี่ยนได้เลย แต่ถ้ายังใช้ WiFi 6, 6E อยู่ ก็ยังไม่จำเป็น อาจจะปล่อยผ่านไปก่อนแล้วรอ WiFi 8 มาตรฐาน 802.11bn ซึ่งคาดว่าจะนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปี 2028 แทนก็ได้


4 WiFi 7 Router และ Mesh น่าใช้ อัพเกรดแล้วเน็ตแรงทั้งบ้าน!

  1. TP-Link Archer BE550 BE9300 Tri-Band (9,990 บาท)
  2. TP-Link Archer BE800 BE19000 Tri-Band (19,990 บาท)
  3. TP-Link Deco BE65 BE11000 Whole Home Mesh (18,990 บาท)
  4. TP-Link Deco BE85 BE22000 Tri-Band Whole Home Mesh (38,990 บาท)

1. TP-Link Archer BE550 BE9300 Tri-Band (9,990 บาท)

WiFi 7
  • Wireless Standard : Wi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11be
  • Frequency : 2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 9,300 Mbps (574+2880+5760 Mbps)
  • Wireless Security : SPI Firewall, Access Control, Appliaction Layer Gateway, HomeShield Security
  • Ports : 2.5 Gbps WAN*1, 2.5 Gbps LAN*4, USB 3.0*1
  • Price : 9,990 บาท (TP-Link Shopee Mall)

ถ้ามีแผนอยากอัพเกรด Router ในบ้านให้รองรับ WiFi 7 เสียทีแต่ก็ไม่อยากจ่ายแพงก็มี TP-Link Archer BE550 BE9300 Tri-Band ให้เลือก ซึ่งเราเตอร์ตัวนี้ดีไซน์มาเพื่อใช้งานในบ้านหรือ Home Office แบบตึก 2 ชั้นเป็นหลักแถมมีฟีเจอร์ EasyMesh เอา TP-Link Router ตัวเก่ามาต่อเป็นตัวกระจายสัญญาณเพิ่มได้ง่ายๆ เวลาตั้งค่าหรือจะมอนิเตอร์การใช้งานก็โหลดแอพฯ TP-Link Tether มาติดตั้งในสมาร์ทโฟนใช้งานได้ทันที ช่วยให้ผู้ใช้ทั่วไปตั้งค่า Router ได้สะดวกขึ้น แถมยังมีพอร์ต USB 3.0 เอาไว้ต่อกับ External Harddisk ทำ Personal Cloud ได้อีกด้วย จัดเป็นเราเตอร์ที่ราคาไม่แรงเกินไปน่าลงทุนซื้อมาใช้มาก

ข้อดี

  1. มีพอร์ตเชื่อมต่อเยอะ รองรับ WAN, LAN สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์และทำ Server ได้ในตัว
  2. ติดตั้งพอร์ต USB 3.0 มาให้ 1 ช่อง ใช้ต่อกับ External Harddisk ทำ Personal Cloud
  3. มีฟีเจอร์ EasyMesh ใช้เราเตอร์ TP-Link ตัวอื่นทำเป็น Mesh ขยายระยะสัญญาณ Wi-Fi ได้
  4. โหลดแอพฯ TP-Link Tether ใช้ตั้งค่าเราเตอร์และมอนิเตอร์การใช้งานของสมาชิกในบ้านได้
  5. ฝังระบบ HomeShield ช่วยป้องกันการเจาะระบบจากภายนอกเข้ามาได้
  6. สั่งเชื่อมต่อ VPN ผ่านเราเตอร์นี้ได้โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟท์แวร์เพิ่ม ใช้งานได้สะดวกปลอดภัยขึ้น

ข้อสังเกต

  1. เป็นเราเตอร์แบบตัวเดียว เหมาะกับบ้าน 2 ชั้นทั่วไปเท่านั้น ถ้าเป็นออฟฟิศหรือโรงงานควรทำ Mesh

2. TP-Link Archer BE800 BE19000 Tri-Band (19,990 บาท)

WiFi 7
  • Wireless Standard : Wi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11be
  • Frequency : 2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 19,000 Mbps (1376+5760+11520 Mbps)
  • Wireless Security : SPI Firewall, Access Control, Appliaction Layer Gateway, HomeShield Security
  • Ports : 10 Gbps WAN/LAN*1, 10 Gbps SFP+/RJ45 Combo WAN/LAN*1, 2.5 Gbps LAN*4, USB 3.0*1
  • Price : 19,990 บาท (TP-Link Shopee Mall)

ถ้ามีงบประมาณมาลงกับเราเตอร์ WiFi 7 ดีๆ สักตัวแนะนำให้ซื้อ TP-Link Archer BE800 BE19000 Tri-Band มาใช้เลย แม้ราคาจะแพงเท่าโน๊ตบุ๊คก็จริง แต่ฟังก์ชั่นของมันก็คุ้มจ่ายเพราะได้ช่อง 10 Gbps WAN/LAN ถึง 2 ช่อง เอาไว้ต่อกับอุปกรณ์และใช้เซ็ตอัพทำ Server ภายในบ้านได้พร้อมติดระบบรักษาความปลอดภัย HomeShield มาในตัว ตั้งค่าและมอนิเตอร์ได้ผ่านแอพฯ Tether ติดหน้าจอ LED มาให้หน้าเราเตอร์เป็นลูกเล่นเล็กๆ ตั้งค่าได้ว่าจะให้แสดงผลเป็นสภาพอากาศ, นาฬิกาหรืออีโมจิก็ได้ กล่าวคือเอา Archer BE550 ในข้อก่อนมาเพิ่มลูกเล่นและเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น ถ้าบ้านไหนมีเกมมิ่งพีซี, ทีวี 4K และอุปกรณ์ IoT หลายชิ้นอยู่ ก็แนะนำให้ลงทุนซื้อ Router ตัวนี้ไปใช้เลยจะดีสุด

ข้อดี

  1. มีระบบป้องกันภัย HomeShield ป้องกันการเจาะระบบจากภายนอกเข้ามาขโมยข้อมูลได้
  2. มีเสาอากาศ 8 ต้นในตัว รองรับ 4×4 MU-MIMO รองรับอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับตัวได้มากขึ้น
  3. ติดตั้งพอร์ต 10 Gbps WAN/LAN มาให้ 2 ช่อง มีประสิทธิภาพสูงรับส่งข้อมูลได้เร็วมาก
  4. มี USB 3.0 ติดตั้งมา 1 พอร์ต ใช้ทำ Personal Cloud ได้สะดวกรวดเร็ว
  5. รองรับ EasyMesh นำเราเตอร์ของ TP-Link รุ่นอื่นมาทำเป็นจุดกระจายสัญญาณเพิ่มได้
  6. โหลดแอพฯ TP-Link Tether มาตั้งค่าเราเตอร์และมอนิเตอร์การใช้งานได้สะดวก
  7. มีฟีเจอร์ VPN Client server ช่วยให้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เร็วและปลอดภัยขึ้น
  8. มีหน้าจอ LED หน้าเครื่องไว้แสดงผลเป็นนาฬิกา, สภาพอากาศหรืออีโมจิได้

ข้อสังเกต

  1. ราคาค่อนข้างสูงเมื่อเป็นเราเตอร์เดี่ยว เหมาะกับบ้านหรือออฟฟิศแบบ 2 ชั้นมากกว่า

3. TP-Link Deco BE65 BE11000 Whole Home Mesh (18,990 บาท)

WiFi 7
  • Wireless Standard : Wi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11be
  • Frequency : 2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 19,000 Mbps (574+4320+5760 Mbps)
  • Wireless Security : SPI Firewall, Access Control, HomeShield Security
  • Ports : 2.5 Gbps LAN*4, USB 3.0*1
  • Price : แพ็คเกจ 2 ชิ้น 18,990 บาท (TP-Link Shopee Mall)

ส่วนบ้านหรือออฟฟิศที่ต้องการให้เน็ตแรงทั่วทั้งบ้านแนะนำให้ลงทุนกับ Mesh Router อย่าง TP-Link Deco BE65 BE11000 Whole Home Mesh และแนะนำให้ซื้อเป็นแพ็คเกจ 2 ชิ้นจะพอดีกับบ้านหรือ Home Office ขนาด 2-3 ชั้นพอดี ตั้งค่าได้ง่ายด้วยแอพฯ ของ TP-Link Deco เซ็ตเราเตอร์ตัวหลักและ Mesh node ได้เพียงเสียบปลั๊ก ต่อสาย LAN แล้วเปิดแอพฯ ก็ทำตามคำแนะนำบนหน้าจอได้ทันทีและยังใช้มอนิเตอร์การใช้งานของสมาชิกในบ้านและแชร์ Guest network ให้ผู้อื่นได้อีก แต่กลับกัน TP-Link Deco ตัวนี้จะไม่มี EasyMesh จึงต้องใช้งานกับตระกูล Deco ด้วยกันเท่านั้น หากใครสนใจ Router WiFi 7 ตัวนี้อยู่สามารถดูข้อมูลในคลิปเพิ่มเติมได้

ข้อดี

  1. เป็น Mesh Router เลือกซื้อได้ระหว่าง 2 หรือ 3 ตัว ช่วยให้สัญญาณอินเตอร์เน็ตแรงและเสถียรขึ้น
  2. มีระบบ AI Roaming ช่วยเช็คและสลับเครือข่าย Mesh ให้ได้ความเร็วสูงสุดโดยอัตโนมัติ
  3. ตั้งค่าใช้งานร่วมกับ Google Home หรือ Amazon Alexa สั่งการด้วยเสียงได้ในทันที
  4. ตั้งค่าได้ง่ายๆ ด้วยแอพฯ TP-Link Deco ใช้ตั้งค่า Router กับ node รวมถึงมอนิเตอร์ใช้งานได้ง่าย
  5. ได้ระบบนิรภัย HomeShield ไว้ป้องกันการเจาะระบบจากภายนอกเข้ามาขโมยข้อมูลได้
  6. มีพอร์ต WAN/LAN 2.5 Gbps ติดมาให้ 4 ช่อง ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวก
  7. มี USB 3.0 ติดตั้งมา 1 ช่อง ใช้ทำ Personal Cloud ได้สะดวก
  8. ตั้งค่า Guest network ได้ทั้ง 3 คลื่นและตั้งเวลาแชร์ได้ง่าย

ข้อสังเกต

  1. ไม่รองรับฟังก์ชั่น EasyMesh เหมือนกับเราเตอร์รุ่นอื่นของ TP-Link ต้องใช้ตระกูล Deco เท่านั้น
  2. ถ้าเชื่อมต่อ Mesh WiFi แนะนำให้เดินสายแบบ LAN สัญญาณจะเสถียรกว่า Wireless

4. TP-Link Deco BE85 BE22000 Tri-Band Whole Home Mesh (38,990 บาท)

WiFi 7
  • Wireless Standard : Wi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11be
  • Frequency : 2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 19,000 Mbps (1376+8640+11520 Mbps)
  • Wireless Security : SPI Firewall, Access Control, HomeShield Security
  • Ports : 10 Gbps WAN/LAN*1, 10 Gbps SFP+/RJ45 Combo WAN/LAN*1, 2.5 Gbps LAN*2, USB 3.0*1
  • Price : แพ็คเกจ 2 ชิ้น 38,990 บาท (TP-Link Shopee Mall)

สุดท้ายเป็น TP-Link Deco BE85 BE22000 Tri-Band Whole Home Mesh หรือ Deco BE65 แบบอัพเกรดเพิ่มความเร็วรับส่งข้อมูลให้มากขึ้น โดยยกข้อดีจากรุ่นเล็กมาใช้ทั้งหมดแต่เปลี่ยนจากพอร์ต 2.5 Gbps*4 ช่องเป็น 10 Gbps WAN/LAN กับ 2.5 Gbps LAN อย่างละ 2 ช่อง เป็นช่องความเร็วสูงไว้ใช้ต่อจาก Router ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตกับ Mesh Node ให้รับส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตได้รวดเร็ว แม้ราคาจะสูงมากก็จริงแต่เป็น WiFi 7 Router ที่ลงทุนแล้วใช้งานได้นานมากแน่นอน


สรุปสเปค 4 WiFi 7 Router ตัวเด็ด อัพเกรดแล้วเน็ตแรง ใช้งานดีขึ้นหลาย!!

สรุปสเปค
WiFi 7 Router
TP-Link Archer BE550
BE9300 Tri-Band
TP-Link Archer BE800
BE19000 Tri-Band
Wireless StandardWi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11beWi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11be
Frequency2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 9,300 Mbps (574+2880+5760 Mbps)2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 19,000 Mbps (1376+5760+11520 Mbps)
Wireless SecuritySPI Firewall
Access Control
Appliaction Layer Gateway
HomeShield Security
SPI Firewall
Access Control
Appliaction Layer Gateway
HomeShield Security
Ports2.5 Gbps WAN*1
2.5 Gbps LAN*4
USB 3.0*1
10 Gbps WAN/LAN*1
10 Gbps SFP+/RJ45 Combo WAN/LAN*1
2.5 Gbps LAN*4
USB 3.0*1
Price 9,99019,990
สรุปสเปค
WiFi 7 Router
TP-Link Deco BE65
BE11000 Whole Home Mesh
TP-Link Deco BE85
BE22000 Tri-Band Whole Home Mesh
Wireless StandardWi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11beWi-Fi 7 มาตรฐาน 802.11be
Frequency2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 9,300 Mbps (574+2880+5760 Mbps)2.4 / 5 / 6GHz ความเร็ว 19,000 Mbps (1376+5760+11520 Mbps)
Wireless SecuritySPI Firewall
Access Control
HomeShield Security
SPI Firewall
Access Control
HomeShield Security
Ports2.5 Gbps LAN*4
USB 3.0*1
10 Gbps WAN/LAN*1
10 Gbps SFP+/RJ45 Combo WAN/LAN*1
2.5 Gbps LAN*4
USB 3.0*1
Price 18,99038,990
WiFi 7

ในปี 2024 นี้ WiFi 7 ก็กลายเป็นมาตรฐานใหม่ล่าสุดของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว ซึ่งมีข้อดีหลายอย่างตามข้อมูลข้างต้น หากใครคิดอยากอัปเกรดอุปกรณ์ WiFi Router ภายในบ้านจากมาตรฐานเก่าอย่าง WiFi 5 ให้เป็น WiFi 7 ก็คุ้มมาก เพราะได้ความเร็วสูงขึ้นไม่พอ ยังใช้ควบคุม IoT ภายในบ้านได้ดีขึ้นอีก แต่ถ้าใครใช้ WiFi 6, 6E ก็ยังไม่ต้องรีบเปลี่ยนเพราะประสิทธิภาพต่างกันน้อยมากจนคิดว่ารอไปอีกสัก 4 ปี ให้ WiFi 8 มาเป็นมาตรฐานใหม่ไปเลยก็ได้

ส่วนวิธีการเลือก WiFi Router แนะนำว่า Router ปกติจะเหมาะกับบ้าน 1-2 ชั้นไม่เกิน 200 ตารางวาจะกระจายสัญญาณได้ครอบคลุมอย่างแน่นอน แต่ถ้าเป็นบ้านหรือออฟฟิศตึกแถวมีหลายชั้นจะเหมาะกับ Mesh Router มากกว่า แค่ตั้งตัวหลักไว้คู่กับ Router จากผู้ให้บริการแล้วต่อ LAN ไปยัง Node สัญญาณอื่นๆ ในตัวบ้านจะทำให้สัญญาณเน็ตแรงทั่วทั้งบ้านจะเหมาะกว่า ดังนั้นก่อนจะซื้อ Router WiFi 7 ไปใช้ อย่าลืมคำนึงถึงอาคารที่เอาไปใช้งานด้วยจะได้จ่ายแล้วคุ้มจบในทีเดียว


FAQ

Screenshot 2024 02 10 110713

1. หากโน๊ตบุ๊คหรือสมาร์ทโฟนรองรับแค่ WiFi 6, 6E จะใช้กับ Router WiFi 7 ได้ไหม?

ตอบ ได้แน่นอน เพราะมีฟังก์ชั่น Backward Compatibility รองรับ WiFi เวอร์ชั่นก่อนหน้าทั้งหมด แต่อาจจะได้ความเร็วไม่เต็มที่เท่ากับอุปกรณ์ที่รองรับ WiFi 7

2. WiFi Router มีเสาสัญญาณหลายอันมีข้อดีอย่างไร?

ตอบ มีเสาสัญญาณหลายอันจะทำให้รับส่งข้อมูลได้หลายอุปกรณ์พร้อมกัน ไม่ต้องรอหรือดีเลย์นาน

3. หากมีอุปกรณ์ IoT ควรนำไปเชื่อม WiFi คลื่นไหนดี?

ตอบ อุปกรณ์ IoT ใช้คลื่น 2.4GHz ก็เพียงพอแล้ว เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ต้องการแค่มีอินเตอร์เน็ตเอาไว้ควบคุมการทำงานแต่ไม่ต้องเร็วมากก็ได้

4. การที่ WiFi มี Bandwidth มากมีข้อดีอย่างไร?

ตอบ ยิ่ง WiFi มีแบนด์วิธกว้างยิ่งทำให้รับส่งข้อมูลได้เร็วยิ่งขึ้น สังเกตว่าจาก WiFi 6 มาเป็น WiFi 7 จะมีแบนด์วิธกว้างขึ้นจาก 160MHz เป็น 320MHz ให้มีความเร็วสูงขึ้น

5. VPN คืออะไรและควรใช้หรือไม่?

ตอบ VPN (Virtual Private Network) เป็นโปรโตคอลรับส่งข้อมูลแบบ Point-to-Point ช่วยเพิ่มความปลอดภัยและเป็นส่วนตัวให้ตอนใช้อินเตอร์เน็ต ช่วยปกปิด IP Address ของเราได้ด้วย

6. สถานการณ์แบบไหนควรใช้ VPN?

ตอบ เวลาเชื่อมต่อ WiFi สาธารณะด้วยอุปกรณ์ส่วนตัวควรเปิดเสมอเพื่อความเป็นส่วนตัวและปลอดภัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

6WiFi Repeater
Wi-Fi 6 6E AX
เช็คความเร็วเน็ต
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

Accessories review

TP-Link Tapo C200C กล้องวงจรปิดต่อมือถือได้ พ่วง Google Home ก็สะดวก ส่องสิ่งต่างๆ รอบบ้านได้ทุกเวลา ราคาค่างวดหนึ่งใบม่วง! ในปัจจุบัน เวลาจะไปเที่ยวหรือไปทำงานเช้าเย็นกลับก็ตาม เป็นใครก็ต้องห่วงสมาชิกในบ้านหรือสัตว์เลี้ยงจนต้องหากล้องวงจรปิดมาติดเพิ่มแน่นอน ซึ่ง TP-Link Tapo C200C เป็นกล้องคุณภาพดีราคาเบาเพียง 499 บาท แต่ให้ฟีเจอร์มาเกินราคาพร้อมชุดติดตั้งไม่ว่าจะวางบนโต๊ะหรือแขวนกำแพงกับเพดานก็ได้และสื่อสารกับคนปลายทางได้ผ่าน Tapo App...

How to

โลกในตอนนี้ไม่สามารถตัดขาดจากอินเทอร์เน็ตได้เลยไม่ว่าจะเรื่องงานหรือความบันเทิงก็ต้องใช้มันทั้งนั้น แต่อุปกรณ์ไอทีทุกชิ้นต่างต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ตบ้างให้อุปกรณ์ได้โหลดการตั้งค่ากลับมาใหม่อีกครั้งเป็นระยะๆ เพื่อให้ใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการรีเซ็ตสัญญาณจะคล้ายกับวิธีการแก้ปัญหาคอมพิวเตอร์ต่อ Wi-Fi ไม่ได้ แต่ในบทความนี้จะเน้นเรื่องลำดับขั้นตอนการแก้ปัญหาเน็ตบ้านหรือเน็ตออฟฟิศใช้งานไม่ได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ต้นก่อนติดต่อช่างให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาในภายหลัง เมื่อไหร่ต้องรีเซ็ตสัญญาณเน็ต? ทำแล้วดีอย่างไร? การรีเซ็ตสัญญาณอินเทอร์เน็ตนอกจากการปิดเปิดเราเตอร์ ก็รวมถึงการรีเซ็ตในระบบปฏิบัติการด้วย ถ้าไดรเวอร์มีปัญหาสามารถกด Roll Back driver หรือโหลดมาติดตั้งใหม่จะช่วยแก้ปัญหาได้ ถ้ารีเซ็ตสัญญาณแล้วใช้งานไม่ได้ อาจเกิดปัญหาจาก Node กระจายสัญญาณของผู้ให้บริการก็ได้ เมื่อติดตั้งเน็ตบ้านเอาไว้แล้ว แนะนำให้ขอบัญชีและรหัสผ่านเอาไว้เข้าไปตั้งค่าเราเตอร์เผื่อไว้ด้วย 6 วิธีรีเซ็ตสัญญาณเน็ตด้วยตัวเอง...

รีวิว Asus

ASUS Vivobook S 15 S5507QA ความหวังใหม่ของคนทำงานด้วยพลัง Snapdragon X Elite และฟีเจอร์ครบเครื่อง! ถ้าพูดถึง Qualcomm ทุกคนย่อมคิดถึงชิปเซ็ตในสมาร์ทโฟนก่อน จนกระทั่งยักษ์แห่งวงการสมาร์ทโฟนจับมือกับเหล่ายักษ์แห่งวงการคอม ก็ได้เป็น ASUS Vivobook S 15 S5507QA โน๊ตบุ๊ค Copilot+ PC รุ่นแรกรับยุคแห่ง...

Accessories review

TP-Link TL-MR105 เราเตอร์ซิม 4G LTE ใช้ง่ายแค่ใส่ซิมก็พร้อมใช้! ในปัจจุบันแม้เราจะสามารถสมัครใช้บริการเน็ตบ้านความเร็วสูงได้ แต่คนที่อยู่หอพักหรือบ้านเช่าแล้วเจ้าของไม่อนุญาตให้ดัดแปลงอาคารก็ทำอะไรไม่ได้ TP-Link TL-MR105 เราเตอร์ 4G LTE ที่ออกแบบให้ใส่ซิมเน็ตก็เชื่อมต่อกับโลกอินเทอร์เน็ตได้ทันทีจึงเป็นตัวเลือกของชาวบ้านเช่าหอพักแน่นอน ข้อดีของเราเตอร์ตัวนี้ ทั้งจ่ายสัญญาณให้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับมันได้มากสุด 32 เครื่อง ทั้งผ่าน Wi-Fi หรือต่อสาย LAN ก็ได้ รองรับความเร็วสูงสุดถึง...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก