ซอฟต์แวร์ที่มากับตัวเครื่องที่จะไม่ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือ Super POSH ครับ ซึ่งจะเป็นโปรแกรมจัดการในด้านต่าง ๆ ของเครื่อง
ส่วนของการปรับการใช้พลังงานก็จะคล้าย ๆ กับของใน Windows ครับ โดยในหมวดล่างสุดก็จะเป็นแบบ Dynamic ที่จะปรับไปเองตามการใช้งานของผู้ใช้
ในแถบสีเหลือง (advance) ก็จะมีให้ปรับเพิ่มเติมหลายรายการ อย่างเช่น SmartEye ที่จะใช้เว็บแคมในการตรวจจับว่าผู้ใช้อยู่ที่หน้าจอหรือไม่ ถ้าไม่อยู่เกินระยะเวลาที่ตั้งไว้ก็จะดับจอลง
ในหน้านี้ก็จะเป็นการปรับแต่งเกี่ยวกับการใช้งานปุ่ม fn กับปุ่มอื่น ๆ ว่าจะให้ UI ของแต่ละฟังก์ชันไปแสดงผลที่ตรงไหนของจอ? รวมทั้งใช้ปรับการแสดงผลของ OSD Statusbar ด้วย
หน้าจอนี้ใช้สำหรับปรับแต่งเพื่อเพิ่มหรือกู้คืนความเร็วกลับมาให้กับ Windows ของเราครับ ซึ่งที่จริงมันก็คือ utility ใน Windows นั่นละ เพียงแค่นำมาจัดเรียงเอาไว้ด้วยกันแบบรวมศูนย์เพื่อความง่ายในการเรียกใช้งาน
ส่วนสุดท้ายใช้แสดงข้อมูลต่าง ๆ ของตัวเครื่อง โดยดูแล้วจะเน้นไปที่ HDD มากกว่า
(ต้องขออภัยสำหรับหน้าจอ Windows และ Windows Experience Index ที่ไม่มีภาพมาให้ชมครับ)
Windows ที่ใช้ในการทดสอบนั้นเป็น Windows 7 Professional 64-bit
CPU ที่อยู่ใน Gigabyte Q2432A นี้จัดได้ว่าค่อนข้างแรงเลยครับ นั่นคือ Intel Core i7-2620M ที่มีความเร็วพื้นฐานเป็น 2.70 GHz ที่นับว่าสูงมากแล้ว และยังสามารถเร่งความเร็วได้ด้วย Turbo Boost โดยความเร็วสูงสุด คือ 3.40 GHz ส่วนคอร์ในการทำงานนั้นมี 2 คอร์ 4 เทรดประมวลผล ทำให้เสมือนว่ามี 4 คอร์ช่วยกันทำงาน ส่วน L3 cache ก็มีให้มา 4 MB ด้วยกัน
ชิปเซ็ตที่ใช้นั้นเป็น Intel HM65 ในรุ่น B2 แต่คาดว่าน่าจะได้รับการแก้ไขแล้ว (หรืออาจจะเนื่องด้วยเครื่องนี้เป็นเครื่องเดโม)
แรมที่ให้มาเป็นของ Samsung ทั้ง 2 แถว แถวละ 2 GB สามารถทำงานได้ที่ประมาณ 1333 MHz ครับ
ที่น่าดีใจคือ CPU-Z สามารถมองเห็นการ์ดจอทั้ง 2 ตัวครับ ทั้ง Intel HD Graphics 3000 และ AMD Radeon HD 6730M
GPU-Z สามารถดึงข้อมูลของ AMD Radeon HD 6730M ออกมาได้เกือบครบเลยทีเดียว ความเร็วของตัวชิปก็ถือว่าสูงใช้ได้เลย สามารถเล่นเกมได้สบาย ๆ แน่นอน แรมก็ให้มาถึง 1 GB อีกทั้งยังรองรับ DirectCompute 5.0 ที่ช่วยในการประมวลผลโดยใช้การ์ดจอเข้าช่วยนั่นเอง
ส่วน Intel HD Graphics 3000 นั้นก็ธรรมดา ๆ ครับ ไม่มีอะไรพิเศษนัก แต่ก็แน่นอนว่ามันก็พอเล่นเกมได้บ้างในการปรับความละเอียดที่ไม่สูงนัก แต่นำไปใช้ในการรับชมภาพยนตร์ HD ได้อย่างสบาย ๆ และมีจุดเด่นข้อหนึ่งที่สำคัญ คือ มันกินไฟน้อย ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้งานที่ไม่หนักมากนักและต้องการการใช้พลังงานที่น้อย
ซึ่งใน AMD Radeon HD 6730M นี้ก็มีระบบสลับการทำงานของการ์ดจออย่าง AMD Dynamic Switchable Graphic ที่จะสลับไปใช้การ์ดจอแยกเมื่อมีการทำงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงหรือเมื่อเสียบปลั๊กไฟอยู่ และสลับไปใช้ IGP เมื่อใช้งานแบตเตอรี่หรือเมื่อมีการใช้งานเครื่องน้อย และยังสามารถเข้าไปตั้งค่าใน Catalyst Control Center ได้เลยว่าจะให้โปรแกรมไหนใช้การ์ดจออะไร ซึ่งเท่าที่ทดลองใช้มาก็สามารถทำงานได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว ประสบปัญหาน้อยกว่าระบบ Optimus ซะอีกด้วยซ้ำ