Connect with us

Hi, what are you looking for?

Special Story

วิธีดูคอร์ Intel Gen 12 ฉบับเข้าใจง่าย แต่ละคอร์ใช้ทำอะไร?? แล้วใช้กับ Windows 10 ได้ไหม?

วิธีดูคอร์ Intel Gen 12 นั้นต่างจาก Intel Gen 11 คนละเรื่อง! เอาความเข้าใจเก่ามาใช้ไม่ได้หรอกนะ!

Share image Edit Name 1gen12 1

Intel Gen 12 ถือเป็นการปรับดีไซน์ซีพียูครั้งใหญ่ของทาง Intel จากที่ในอดีตจะมีแต่คอร์ชุดเดียวและระบบ Hyper-Threading ทำให้แต่ละคอร์ของซีพียูทำงานส่งและรับข้อมูลได้พร้อมๆ กันในครั้งเดียว จึงได้ประสิทธิภาพดีขึ้นเป็นสองเท่าเหนือกว่าซีพียูในอดีตที่ทำทีละงานจนเสร็จแล้วค่อยรับคำสั่งต่อไป แต่เมื่อดีไซน์นี้ใช้งานมาต่อเนื่องหลายปีจนขาดความสดใหม่และบริษัทคู่แข่งก็มีนวัตกรรมนี้เหมือนกันแล้วทำราคาได้ถูกกว่าจนผู้ใช้เริ่มเบนความสนใจไป มันจึงทำให้ทาง Intel ต้องเริ่มหานวัตกรรมใหม่ๆ มาเสริมในซีพียูบ้าง นั่นคือการปรับดีไซน์โครงสร้างของซีพียูนั่นเอง

Advertisement

Intel 12th Generation หรือ Intel Alder Lake จึงเป็นซีพียูรุ่นแรกที่มีคอร์เป็น 2 ชุด โดยมี P-Core (Performance Core) และ E-Core (Efficiency Core) แล้วมี Intel Thread Director (ITD) ซึ่งฝังเอาไว้ในตัวคอยดูและแจกแจงงานต่างๆ ให้คอร์แต่ละแบบโดยเหมาะสม โดยหลักการทำงานเมื่ออิงจากเอกสารเผยแพร่ของทาง Intel บนหน้าเว็บไซต์ รูปแบบการทำงานของ Intel Gen 12 ก็จะแตกต่างไปจากซีพียู Intel รุ่นก่อนโดยซีพียูใช้ P-Core รันงานทั้งหมดก่อน และเมื่อ AI ใน ITD ตรวจเจอและประเมินแล้วว่างานนั้นไม่จำเป็นต้องใช้ P-Core ก็จะส่งงานต่อให้ E-Core รับหน้าที่ต่อเพื่อให้ซีพียูสามารถทำงานได้เต็มที่

วิธีดูคอร์ Intel Gen 12

ซึ่งตัว ITD จะมีอัลกอริธึ่มประเมินการทำงานแยกเป็น 4 ระดับ และทำงานได้รวดเร็ว จากสื่อต่างประเทศได้เผยแพร่รูปแบบการทำงานของ Intel Gen 12 ว่าจะรันงานแยกเป็น 4 Class ตามลำดับดังนี้

  • Class 3 : รันงานรอง โดยไม่เข้าไปกวนงานหลัก
  • Class 0 : โปรแกรมทั่วไป
  • Class 1 : งานที่ใช้ชุดคำสั่ง AVX/AVX2
  • Class 2 : งานที่ใช้ชุดคำสั่ง AVX-VNNI

แต่ถึง Intel Gen 12 จะดูน่าสนใจ มีรูปแบบการทำงานที่ล้ำสมัยเหนือคู่แข่งเท่าไหร่ก็ตาม แต่เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ในโลกที่มีซอฟท์แวร์เก่ารันอยู่มากพอสมควร และวิธีการนับคอร์เธรดของ Intel Gen 12 ก็ยังใช้ความเข้าใจเดิมอย่างที่ผ่านมาไม่ได้อีกด้วย จึงต้องหาข้อมูลแยกแต่ละรหัสไปว่าถ้าเป็นรุ่นนี้ทาง Intel ติดตั้ง P-Core, E-Core มาให้อย่างละกี่คอร์กันแน่

เมื่อ Intel 12th Generation นับคอร์แบบเดิมไม่ได้อีกต่อไป

coreandthreadfor12thgen

 

ในอดีต ภาพจำของซีพียู Intel แต่ละรุ่นของแต่ละคนก็จะจำกันง่ายๆ ว่า Intel Core i3 จะมีอยู่ 2 คอร์ 4 เธรด ขยับมา Core i5 เป็น 4 คอร์ 8 เธรด เท่ากับ Intel Core i7 แต่พอเป็นตัวท็อปก็จะได้ความเร็วเยอะขึ้นอะไรแบบนี้เป็นต้น แต่ความเข้าใจนั้นใช้กับ Intel 12th Gen แล้ว นั่นเพราะการดีไซน์แบบ Scalable Client Architecture ปรับเพิ่มลดจำนวน P-Core, E-Core ได้ ทำให้คอร์เธรดของซีพียูบางรหัสอาจจะเหมือนกัน แต่บางรุ่นแม้จะใช้ชื่อ Intel Core i7 เหมือนกัน แต่อาจได้คอร์เยอะกว่าด้วยซ้ำซึ่งจุดนี้ทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนได้ง่ายๆ ดังนั้นเมื่อเห็นรุ่นซีพียูแล้ว ผู้เขียนขอแนะนำให้เปิดหาข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ ark.intel.com สักนิดเพื่อดูจำนวน P-Core ซึ่งเป็นคอร์หลักใช้งานจริงซึ่งสำคัญกว่า E-Core ก่อน ว่าซีพียูรุ่นนั้นมีมาให้กี่คอร์กันแน่

ด้านการนับจำนวนและหลักการทำงานของซีพียู Intel 12th Gen สถาปัตยกรรม Alder Lake ทาง Intel ก็ได้ทำคลิปสรุปวิธีการทำงานออกมาให้ชมก่อนหน้านี้แล้ว โดยคอร์ทั้งสองชุดจะทำงานดังนี้

  • P-Core (Performance Core) – คอร์ใช้งานหลักแบบประสิทธิภาพสูงพร้อมฟีเจอร์ Hyper-Threading ซึ่ง E-Core จะไม่มีฟีเจอร์นี้ รับหน้าที่รันงานหลักทั้งหมดก่อน ITD จะเข้ามาดึงงานบางอย่างออกไปไว้ที่ E-Core ซึ่งจะใช้เล่นเกม, ตัดต่อวิดีโอ, AI Workload ฯลฯ จะมารันอยู่กับคอร์ชุดนี้เป็นหลัก
  • E-Core (Efficiency Core) – คอร์ชุดเล็กสำหรับรันงานเบื้องหลังเพื่อให้ P-Core ทำงานได้เต็มที่ ไม่มี Hyper-Threading และมีขนาดแค่ 1/4 ส่วนของ P-Core เป็นงานไม่กินพลังงานมาก เช่น เช็คอีเมล์, อัพเดท Patch ของ Windows และอาจจะซัพพอร์ต P-Core บ้างเล็กน้อย
  • Intel Thread Director (ITD) – ระบบจัดสรรการทำงานของคอร์ภายในตัวซีพียูโดยไม่พึ่งระบบปฏิบัติการภายในตัวเครื่องเหมือน Intel 11th Gen ลงไป โดยทาง Intel พัฒนาฟังก์ชั่นนี้ร่วมกับ Microsoft และจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อนำซีพียู Intel Gen 12 ไปใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows 11 ขึ้นไป เพราะชุดคำสั่งบริหารคอร์ซีพียูของ Windows 11 จะไม่เข้ามาก้าวก่าย ITD นั่นเอง
ตัวอย่างซีพียู Intel Gen 12 รุ่นยอดนิยมในโน๊ตบุ๊คหลายๆ รุ่น ณ ตอนนี้
สเปคของซีพียู Intel Gen 12 คอร์, เธรด ความเร็ว ค่า TDP การ์ดจอ สถาปัตยกรรม
Intel Core
i3-1215U
6 คอร์ 8 เธรด

แยกเป็น

2 P-Core
4 E-Core
3.3~4.4GHz 12 วัตต์ Intel UHD Graphics Intel 7
Intel Core
i5-12500H
12 คอร์ 16 เธรด

แยกเป็น

4 P-Core
8 E-Core
3.3~4.5GHz 35 วัตต์ Intel Iris Xe Graphics Intel 7
Intel Core
i5-1240P
12 คอร์ 16 เธรด

แยกเป็น

4 P-Core
8 E-Core
3.3~4.4GHz 20 วัตต์ Intel Iris Xe Graphics Intel 7
Intel Core
i7-1255U
10 คอร์ 12 เธรด

แยกเป็น

2 P-Core
8 E-Core
3.5~4.7GHz 12 วัตต์ Intel Iris Xe Graphics  Intel 7
Intel Core
i7-1260P
12 คอร์ 16 เธรด

แยกเป็น

4 P-Core
8 E-Core
3.4~4.7GHz 20 วัตต์ Intel Iris Xe Graphics Intel 7
Intel Core
i7-12700H
14 คอร์ 20 เธรด

แยกเป็น

6 P-Core
8 E-Core
3.5~4.7GHz 35 วัตต์ Intel Iris Xe Graphics Intel 7

จากตารางจะเห็นว่าซีพียู Intel Gen 12 หลายๆ รุ่นแม้จะเขียนปริมาณคอร์และเธรดเยอะก็ตาม แต่เป็นการเขียนโดยรวบ P-Core, E-Core เข้าหากันอาจจะทำให้ผู้ที่ไม่ได้ติดตามเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่องเกิดการเข้าใจผิดได้ หากนำซีพียูรุ่น Intel Core i7-12700H มาเป็นตัวอย่างแล้วคิดจำนวนคอร์เธรดที่เขียนโดยรวมข้างบนจะเป็นดังนี้

  • คอร์ – คำนวณแบบไม่รวม Hyper-Threading เมื่อบวกแล้วได้ 6+8 = 14 คอร์
  • เธรด – คำนวณแบบรวม Hyper-Threading เมื่อบวกแล้วได้ 6+6+8 = 20 เธรด

และถ้าสังเกตจะเห็นจุดน่ากังขาที่ i3-1215U และ i7-1255U มี 2 P-Core เท่ากัน แต่ใช้วิธีเพิ่ม E-Core จาก 4 ไป 8 คอร์แทนเพื่อให้มีคอร์รันงานเบื้องหลังมากยิ่งขึ้นและพอนับคอร์รวมก็จะดูมีให้ใช้งานเยอะและน่าจะทำงานได้เร็ว แต่ในแง่การใช้งานจริงอาจจะทำงานได้ไล่เลี่ยกันไม่ต่างกันอย่างที่ควรก็ได้

เทคโนโลยีใหม่ก็ต้องมีบั๊กแซมมาเป็นเรื่องปกติ เพราะโปรแกรมต่างๆ ยังไม่คุ้นเคย

intel 12th gen core 1

นับจากวันที่ 4 พฤษจิกายน พ.ศ. 2564 หลังจาก Intel เปิดตัวสถาปัตยกรรม Alder Lake และเริ่มวางจำหน่ายในท้องตลาดหลังจากนั้นมาไม่นาน ทว่าปัญหาของการออกแบบชุดคอร์แยกเป็น 2 ชุด ก็ยังตามมาเรื่อยๆ แต่ก็ยังได้รับการแก้ไขให้เรียบร้อยเป็นระยะๆ ซึ่งปัญหาที่ผู้ใช้ต่างประเทศพบเจอเมื่ออัพเกรดมาเป็น Intel 12th Gen แล้ว จะมีดังนี้

  1. (ได้รับการแก้ไขแล้วเมื่อ 25 มกราคม พ.ศ. 2565) เกิดปัญหาเมื่อบางเกมที่ใช้ Denuvo DRM (Digital Right Management) เมื่อรันบน Intel 12th Gen แล้วเล่นเกมไม่ได้
  2. เกิดปัญหาผู้ใช้ชื่อ CrissTi แจ้งเข้ามาในเว็บบอร์ดของ Intel ว่าเมื่อใช้ i7-12700K แล้วรันโปรแกรม 3 เธรด เกิดปัญหาว่าซีพียูทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ทางผู้เชี่ยวชาญของ Intel จึงแจ้งให้โหลด Intel SSU สำหรับ Windows ไปติดตั้งเพิ่มเติม
  3. ExamSoft ผู้ให้บริการซอฟท์แวร์ด้านการศึกษาแจ้งว่า Intel Gen 12 ใช้กับซอฟท์แวร์ของทางบริษัทไม่ได้และเกิดปัญหาตอนใช้งาน ซึ่งผู้ใช้ทวิตเตอร์ Melissa Esq. เป็นผู้โพสท์ปัญหาดังกล่าวเอง
  4. ล่าสุดเมื่ออัพเดทระบบปฏิบัติการ Windows 11 เป็นแพทช์ 22H2 แล้ว ITD จัดสรรคอร์ให้โปรแกรมผิดพลาด โดยผู้ใช้ชื่อ kuugkjv-8772 ได้โพสท์ในเว็บบอร์ดของ Microsoft ว่าโปรแกรม HandBrake ถูก ITD นำไปรันบน E-Core จนประสิทธิภาพลดลง จึงต้องสั่งปิด E-Core ใน BIOS ของเมนบอร์ดเพื่อลดปัญหานี้

อีกจุดน่าสังเกตจากสื่อต่างประเทศ คือ Intel Alder Lake รุ่นที่เพิ่งวางตลาดใหม่ๆ มีชุดคำสั่ง Intel AVX-512 (Intel Advanced Vector Extensions 512) ใช้เร่งประสิทธิภาพการคำนวณเวคเตอร์เพื่อเสริมการทำงานเชิงวิศวกรรม, วิทยาศาสตร์ และงานหนักต่างๆ ติดตั้งมาใน P-Core เท่านั้น ถ้าใช้ E-Core ก็ใช้ชุดคำสั่งนี้ไม่ได้ ต้องสั่งปิดใน BIOS ของเมนบอร์ดซึ่งผู้ใช้พีซีก็ไม่มีปัญหา แต่ฝั่งโน๊ตบุ๊คจะปิดได้แค่บางรุ่นเพราะเหตุผลเรื่องการยืดระยะเวลาใช้งานด้วยแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นนั่นเอง

ถ้าใช้ Intel Gen 12 ต้อง Windows 11 เท่านั้น?

Screenshot 2022 12 15 161221

ด้านซีพียูนอกจากจะเป็นดีไซน์ใหม่แตกต่างจากที่คุ้นเคย, ยังมีบั๊กและซอฟท์แวร์แบบเก่ายังไม่คุ้นเคยกับดีไซน์เช่นนี้ ระบบปฏิบัติการ Windows ก็ไม่เว้น โดยทาง Intel และ Microsoft ได้ร่วมกันออกแบบระบบปฏิบัติการ Windows 11 ให้ใช้งานกับ Intel Alder Lake ได้ดีที่สุดโดยระบบปฏิบัติการจะไม่เข้ามาจัดสรรการทำงานของคอร์ซีพียูเหมือน Windows รุ่นก่อนหน้า

ในทางกลับกัน ผู้ใช้บางคนที่ยังอยากใช้ Windows 10 อยู่แต่ก็อยากใช้ Intel Gen 12 ก็ไม่ได้ โดยทางสื่อต่างประเทศอย่าง AnandTech ได้กล่าวถึงปัญหาดังกล่าวเอาไว้ว่าถ้าทำเช่นนี้ ตัว Windows 10 เองจะมอง E-Core เป็นชุดคอร์ประสิทธิภาพต่ำ ไม่ทราบเรื่องความเร็วประมวลผลและไม่รู้ว่าจะจัดสรรงานอะไรให้คอร์ชุดนี้ทำดี ผิดกับ Windows 11 ซึ่งมีชุดคำสั่งกำหนดความสำคัญของการทำงาน (Instruction Prioritization model) ทำให้ Intel Alder Lake ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

intel 12th gen core 5

ในทางกลับกัน ผู้ใช้ที่ชอบและคุ้นเคยกับ Windows 10 ก็จะถูกจำกัดไว้กับซีพียู Intel Gen 11 ที่มีคอร์ประมวลผลชุดเดียวไปโดยปริยาย จะอัพเดทมาเป็น Intel Gen 12 ก็ใช้งานได้ไม่เต็มที่ หรือไม่ก็ต้องยอมย้ายมาเป็น Windows 11 แทน และก็อาจจะได้พบกับบั๊กที่กล่าวไปข้างต้นเข้ามารบกวนการทำงานอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ Jarrod’s Tech ก็ได้ทดสอบเอา Intel Gen 12 ไปใช้กับ Windows 10 และ 11 ว่าได้ผลแตกต่างกันมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในแง่การใช้ทำงานกับโปรแกรมทั่วไปอาจจะไม่แตกต่างกันมาก ยกเว้นใครที่จะประกอบเกมมิ่งพีซีแล้วใช้ Intel Gen 12 ไม่ควรใช้ Windows 10 เลย ซึ่งในคลิปจะเห็นว่าผลการทดสอบเมื่อใช้ Windows 10 กับ Intel Gen 12 นอกจาก FPS เฉลี่ยจะทำได้แพ้ Windows 11 แล้ว ในส่วนผลการทดสอบ 1% Low หรือค่าเฟรมเรทต่ำสุดเฉลี่ย 100 เฟรม จะเห็นว่า Windows 10 ทำได้แย่กว่า Windows 11 อย่างชัดเจน จึงเป็นการบังคับกลายๆ ว่า Intel Alder Lake ต้อง Windows 11 เท่านั้น

ผลการทดสอบจาก Notebookspec

 

จากบทความทดสอบและรีวิวโน๊ตบุ๊คซีพียู Intel Alder Lake มาเทียบกับคู่แข่งอย่าง AMD Ryzen 6000 Series ที่มีเงื่อนไขใกล้เคียงกันเท่าที่ทำได้ คือ เป็นซีพียูที่มี Hyper-Threading จำนวน 16 เธรดเท่ากัน และเทียบคะแนนด้วย CINEBENCH R20 ซึ่งเน้นทดสอบการทำงานของคอร์ซีพียูเป้นหลัก จะเห็นได้ว่าพลังการประมวลผลต่อคอร์ของ Intel Alder Lake กับ AMD Ryzen ไม่ว่าจะ 5000, 6000 Series ก็ได้คะแนนไล่เลี่ยกันทั้งหมด แต่ถ้าเป็น Ryzen PRO Series กลับกลายเป็นทำคะแนนได้ฉีกขึ้นไปเลย

ในมุมของผู้เขียนเอง คิดว่าเหตุผลที่ Intel Alder Lake ทำคะแนนได้ระดับไล่เลี่ยกันเช่นนี้ สันนิษฐานว่ามาจาก ITD ที่โยกการ Benchmark ด้วย CINEBENCH R20 ลงไปที่ E-Core ก็เป็นไปได้ เพราะด้านการทดสอบด้วย PCMark 10 นั้น Intel Alder Lake ก็ทำคะแนนได้ดีไม่แพ้กับ AMD Ryzen เลยด้วยซ้ำ

ฝั่งของ BatteryMon เอง ผู้เขียนพยายามเลือกโน๊ตบุ๊ค 2 รุ่นที่แบตเตอรี่มีความจุใกล้เคียงกันที่สุด 2 รุ่น ซึ่งฝั่ง Intel Alder Lake มีขนาด 74Wh กับ AMD Ryzen 6000 Series มี 72Wh เท่านั้น เมื่อเทียบกันแล้วจะเห็นว่าระยะเวลาใช้งานด้วยแบตเตอรี่ของทั้งสองฝั่งสูสีกัน แม้ฝั่ง AMD จะจัดการพลังงานได้ดีกว่าจนใช้ได้ 13 ชั่วโมงก็ตาม แต่ฝั่ง Intel ก็ใช้งานได้ร่วม 12 ชั่วโมงทีเดียว ซึ่งค่อนข้างน่ากังขาเล็กน้อยที่แม้ Intel จะมี E-Core ก็ตาม แต่ระยะเวลาใช้งานยังทำได้นานระดับหนึ่งเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม เรื่องระยะเวลาใช้งานแบตเตอรี่นั้นแม้จะเห็นว่าใช้งานได้นานเท่าไหร่ก็ตาม แต่ก็มีตัวแปรในแง่การใช้งานจริงเยอะมากไม่ว่าผู้ใช้จะเสียบชาร์จแบตเตอรี่เมื่อไหร่, ปรับความสว่างและระดับเสียงลำโพงดังมากน้อยแค่ไหนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

intel 12th gen core 6

จากข้อสังเกตและวิธีการดูคอร์ซีพียู Intel Gen 12 ที่ได้นำเสนอไป จะเห็นว่าการยกเครื่องสถาปัตยกรรมครั้งใหม่นี้จะมีวิธีการนับจำนวนคอร์ไม่เหมือนเดิม เอาความคุ้นเคยเก่าในอดีตมาเทียบไม่ได้เลย ถ้าให้ดีก็ควรค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลของทาง Intel เสริมเข้าไปด้วยว่าซีพียูรุ่นดังกล่าว ทางบริษัทติดตั้ง P-Core, E-Core มาให้เท่าไหร่กันแน่ ซึ่งถ้า P-Core มีมากเท่าไหร่ก็จะทำงานประมวลผลได้ดียิ่งขึ้น ในทางกลับกันก็จะเป็นรุ่นประสิทธิภาพสูงที่ใช้พลังงานมากขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะเห็นว่า Intel Alder Lake ยังมีบั๊กต่างๆ ออกมาเนืองๆ ก็ตาม แต่ก็เพราะเป็นสถาปัตยกรรมใหม่ที่ต้องให้เวลาการปรับปรุงพัฒนาต่อไปด้วย ซึ่งถ้าต่อไปการทำคอร์ 2 ชุดได้รับการพัฒนาชุดคำสั่งภายในให้ดีขึ้นแล้ว ก็เชื่อว่ามันจะทำงานได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน แต่ ณ ตอนนี้ถ้าใครเป็น Early Adopter รีบซื้อมาใช้งานก่อนก็ต้องคอยติดตามและหาข้อมูลวิธีการปรับแต่ง Intel Gen 12 เป็นระยะๆ ด้วยจะได้ใช้ซีพียูนี้ทำงานได้ดีที่สุด


บทความที่เกี่ยวข้อง

laptop screen cover

shutdown cover

Share image Edit Name 2acer 2022 office

Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

รีวิว MSI

MSI Stealth A16 AI+ ครีเอเตอร์โน๊ตบุ๊คเล่นเกมได้ ดีไซน์เรียบหรูและแรงด้วยพลัง AMD Ryzen AI ทำได้ทุกงานเล็กใหญ่!! นอกจาก MSI Titan กับ MSI Raider สองพี่น้องตัวแรงขวัญใจเกมเมอร์แล้ว ฝั่งครีเอเตอร์หน้าตาเรียบหรูซ่อนความแรงก็มี MSI Stealth A16 AI+ ให้ครีเอเตอร์หาซื้อเอาไว้ทำงานกราฟิคตั้งแต่แต่งภาพและตัดต่อวิดีโอความละเอียดสูงก็ได้ ปั้นโมเดล...

Special Story

ถ้านับในช่วงหลัง ๆ มา ชิปกราฟิกแบบ iGPU ที่อยู่ใน CPU โน้ตบุ๊กของ AMD ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจนทำให้มีประสิทธิภาพสูงถึงระดับที่สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะกับการใช้เล่นเกมที่ข้ามกำแพงจากในอดีตกราฟิกแบบ iGPU มักจะทำได้อย่างมากก็เป็นเกมออนไลน์ เกมเก่าที่มีอายุนานพอสมควรแล้ว กลายมาเป็นสามารถเล่นเกมระดับ AAA และเกมใหม่ล่าสุดได้ ซึ่งปัจจุบันก็เดินทางมาถึง AMD Radeon 800M series ที่มาพร้อมกับชิป AMD...

Buyer's Guide

เล่นเกมด้วย Intel Core Ultra 5 245K กับ 7 เกมยอดนิยมบนการ์ดจอบนซีพียู Intel ไหวมั้ย ลื่นรึเปล่า? Intel Core Ultra 5 245K เป็นซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุด ที่เพิ่งปล่อยลงสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา นอกจากเรื่องความแรงและประสิทธิภาพในการทำงาน ทั้งด้านการประมวลผล หรือปัจจุบันก็มีเรื่องของ...

Special Story

ปีนี้นับเป็นปีที่ซีพียูโน้ตบุ๊กของ AMD มีการเปลี่ยนแปลงแบบเห็นได้ชัด และมีความน่าสนใจในด้านประสิทธิภาพที่สูงขึ้นโดยที่ยังคุมการใช้พลังงานและความร้อนได้ดี ทำให้เราได้เห็นการนำซีพียู AMD ไปใช้ทั้งในโน้ตบุ๊กทำงานทั่วไป เกมมิ่งโน้ตบุ๊กตั้งแต่สเปคระดับเริ่มต้นไปจนถึงระดับท็อป รวมถึงในกลุ่มเครื่องเกมพีซีพกพาด้วย แต่ที่จะเด่นชัดสุดคงหนีไม่พ้นชิปรุ่นใหม่ล่าสุดที่มีโค้ดเนมว่า AMD Strix Point หรือในชื่อที่ใช้จริงนั่นคือ AMD Ryzen AI 300 series นั่นเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก