1. กล่อง
กล่องก็มีความสำคัญกับตัวเครื่องไม่น้อย เพราะว่ามันเป็นส่วนที่ปกป้องเครื่องของเราตั้งแต่โรงงานมาจนถึงมือเรา ถ้าหากเครื่องที่พนักงานหยิบมาให้เราบุบบู้บี้เกินความพอดี เช่น มุมบุบ กล่องขาด ก็แสดงให้เห็นถึงว่าการขนส่งมีการกระแทกอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะส่งผลถึงเครื่องที่อยู่ในกล่องได้
2. ฉลากข้างกล่อง
พยายามดูให้รุ่นและสเปกที่ติดอยู่ข้างกล่องเป็นรุ่นเดียวกับที่เราซื้อหรือสั่งจองไว้ เพื่อความแน่นอนที่ว่าเราจะได้เครื่องในรุ่นที่เราสั่งจองไว้จริง ๆ เพราะกล่องบางยี่ห้อเหมือนกันแทบทุกรุ่นเลย จะต่างก็
เพียงฉลากที่ติดบอกสเปกและรุ่นเท่านั้นเอง แต่ถึงซีเรียลหรือรหัสจะไม่ตรงก็ไม่เป็นไรครับ เอาซีเรียลหรือรหัสที่เครื่องเป็นสำคัญแล้วกันครับ
3. ฉลากที่เครื่อง
หลาย ๆ ยี่ห้อนั้นใช้รูปทรงของตัว Body ตัวเดียวกันในเครื่องหลาย ๆ รุ่นจะมีก็เพียงฉลากหรือสติกเกอร์ที่บอกไว้ว่า เครื่องนี้รุ่นอะไร มีสเปกเป็นอย่างไร ให้ดูให้ตรงกับในใบสเปกเครื่องที่เราได้จองหรือซื้อ
ไว้ บางรุ่นอาจจะมีเพียงฉลากบอกเพียงแค่เลขรุ่น ซึ่งเราก็ต้องเอาเลขรุ่นที่เครื่องนั้นไปเทียบกับในใบโบรชัวร์อีกทีว่ารุ่นเดียวกันใช่หรือไม่
4. ริ้วรอยต่าง ๆ บนเครื่อง
เราต้องการเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านมือชายใดมาก่อน เพราะฉะนั้น เครื่องที่ออกมาจากกล่องไม่ควรมีริ้วรอยใด ๆ เลย หรือถ้ามีก็อาจจะมีบ้างเล็กน้อยจนแทบสังเกตไม่เห็นเลย ก่อนรับเครื่องมาก็ส่องซะน่อย
นะครับว่ามีริ้วรอยหรือเปล่า รวมถึงคราบต่าง ๆ ที่ไม่ควรมีเลย ก็จะดีมาก คงไม่มีใครอยากให้มีริ้วรอยใด ๆ เกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้ทำใช่ไหมครับ โดยอาจจะหมายรวมไปถึงความเสียหายอื่น ๆ อย่าง Body
เกิดความเสียหาย เช่น แตก หรือหักด้วยนะครับ
5. วอย สติกเกอร์รับประกัน
หลาย ๆ ยี่ห้อมีการติดวอยด์หรือสติกเกอร์รับประกันด้วย เพื่อบอกระยะเวลาการรับประกัน หรืออาจจะติดตามน็อตหรือที่ฝาปิดของอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ดูว่า วันที่รับประกันถูกต้องหรือเปล่า และสติกเกอร์ที่ปิดมี
ความเสียหายหรือเปล่า เช่น ขาด หรือเป็นรอย เพราะถ้าหากสติกเกอร์ขาดหรือได้รับความเสียหายอาจจะส่งผลถึงประกันด้วย
6. ของแถม
อย่าคิดว่าเป็นของแถมจะไม่ต้องเช็กนะครับ นอกจากจะเช็กว่าของแถมครบหรือเปล่า ก็ต้องดูด้วยนะครับว่า ของแถมที่ให้นั้นตรงตามที่โฆษณาไว้หรือเปล่า เช่น แฟลชไดรฟ์มีความจุตามที่บอกไว้ เมาส์ที่
แถมมาเสียหรือเปล่า กระเป๋าขาดหรือเปล่า ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เราสบายใจได้นะครับ
7. เช็กเครื่องก่อนจ่าเงิน
พยายามเช็กเครื่องก่อนจ่ายเงิน เพราะถ้าหากเครื่องมีปัญหาไม่ว่าจะจากเหตุใด ๆ ก็ตาม เราจะได้ต่อรองกับพนักงานขายได้ เช่น เปลี่ยนเครื่องใหม่ หรือเปลี่ยนรุ่นได้ เงินไม่ใช่น้อย ๆ นะครับจ่ายเงินไป
แล้วกลับได้เครื่องมีปัญหาหรือมีตำหนิมาคงไม่ดีแน่
8. ก่อนกลับ
อย่าลืมขอใบเสร็จและนามบัตรนะครับ เผื่อกรณีเครื่องมีปัญหาภายใน 7 วัน เราจะได้นำเครื่องมาให้ทางร้านจัดการได้ครับ เพราะถ้าหากเราไม่มีใบเสร็จ ร้านก็อาจจะปัดความรับผิดชอบได้ ซื้อจากร้าน
ไหน ก็อย่าลืมจำนะครับ จะได้กลับมาถูก หรือถ้าหากซื้อตามงานต่าน ๆ เช่น Commart หรือ Comworld ก็ขอนามบัตรของร้านไว้ หรือถ้าใบเสร็จมีที่อยู่ร้านค้าก็ใช้ได้เหมือนกันครับ
ต่อมาเมื่อเปิดเครื่องแล้วก็เช็กเครื่องในส่วนของโปรแกรมบ้าง โดยผมจะขอแนะนำในส่วนของ
Dead Pixel Tester (ตรวจสอบ Dead Pixel บนจอภาพ )
ก่อนจะรับเครื่องสิ่งหนึ่งที่เราควรจะทำมากที่สุดก็คือ การตรวจสอบหา Dead Pixel ครับ เพราะหากว่าเอากลับมาบ้านแล้วเกิดไปเจอเข้าทีหลัง และไม่มีจำนวนจุด Dead Pixel ตามเงื่อนไขที่ตั้งไว้ เคลมก็ไม่ได้ เปลี่ยนก็ไม่ได้เช่นกัน
Dead Pixel แปลกันตรง ๆ ก็คือ จุดตาย หรือจุดเสีย นั่นเอง บนจอแอลซีดีจะให้การแสดงผลที่เป็นจุดสีเรียง ๆ กันไป ซึ่งเราเรียกว่า Pixel นั่นเองครับ ตอนนี้ถ้าอยู่หน้าเครื่องลองมองใกล้ ๆ หรือเอาแว่นขยายหรือกล้องถ่ายรูปซูมแล้วถ่ายภาพมาก็ได้ จะเห็นว่ามันเป็นจุด ๆ เรียงกันไปหมด และที่เราเห็นเป็นภาพนั้นก็เพราะว่า จุดสีต่าง ๆ เหล่านี้นั่นเอง ใน 1 หน้าจอนั้นมีจำนวนมากตามความละเอียดที่ทำได้ครับ เช่น 1440 ? 900 พิกเซล ก็หมายถึง มีจุดเรียงกันในแนวนอน 1,440 จุด และแนวตั้ง 900 จุด รวมจุด (Pixel) บนหน้าจอทั้งหมดก็ 1,296,000 จุด (Pixel) เยอะมั้ยครับ
Web Site http://www.dataproductservices.com/dpt
หวังว่าเทคนิกการเลือกโน๊ตบุ๊ค พร้อมกับการเช็กสเปกแบบง่าย ๆ นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่า หรือถ้ามีปัญหาสงสัยอย่างไร ก็สามารถโพสต์ถามได้ที่เว็บบอร์ดหรือเฟซบุ๊กของ NBS ได้เลยครับ และในงานคอมมาร์ทครั้งนี้ NBS เรามีกิจกรรมอะไรพิเศษในงานอย่างแน่นอน รอติดตามชมกัน
และอย่าลืมนะครับว่า ถ้าต้องการค้นหาโน๊ตบุ๊คถูกใจละก็ต้อง notebookspec.com