สเปกของเครื่อง Asus U53J นั้นไม่ใช่สวยแต่รูปแน่นอน เพราะพกซีพียูระดับ Intel Core i7-620 ความเร็ว 2.66 ? 3.33 GHz แบบ Dual Core พร้อม Hyper Threading แรมขนาด 4 GB DDR3 การ์ดจอ NVIDIA GeForce 310M ฮาร์ดดิสก์ขนาด 500 GB พร้อมเครื่องอ่านแผ่น Blu-Ray ด้วย ได้ดูภาพยนตร์แบบเต็ม ๆ ในหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366 x 768 นอกจากนั้นยังมาพร้อมพอร์ต USB 3.0 เห็นกันแล้วว่าเครื่องนี้ประสิทธิภาพไม่น้อยหน้าเครื่องอื่น ๆ แน่นอน แต่จุดเด่นจริง ๆ ไม่ใช่แค่สเปกเครื่องอย่างเดียว แต่เป็นการออกแบบด้วย เป็นอย่างไรไปชมกัน
รูปลักษณ์ภายนอก
ถึงจะปิดฝาอยู่แต่ก็เห็นถึงความโฉบเฉี่ยวด้วยโลหะที่หุ้มอยู่รอบ ๆ ดูสมัยใหม่ดีเหลือเกิน
ลองเปิดฝาจอขึ้นมายลโฉมเนื้อไม้ไผ่ที่เป็นจุดขายในด้านการออกแบบของเครื่อง Asus U53J ถ้าใครได้เป็นเจ้าของเครื่องนี้ ไม่ว่าจะเอาไปใช้ที่ไหนต้องมีคนหันมามองตัวเครื่องกันแน่นอน สำหรับวัสดุที่นำมาทำตัวเครื่องนั้น เนื้อไม้ยังเป็นรอยคราบได้เหมือนกับพลาสติกทั่วไปนะครับ แถมต้องระวังเรื่องของน้ำมากกว่าเดิม สำหรับโลหะที่เอามาหุ้มรอบ ๆ ก็เป็นการเพิ่มความแข็งแรงให้กับตัวเครื่อง แต่ขณะเดียวกันก็มีปัญหาไฟรั่วออกมาด้วย น่าเสียดายเรื่องความปลอดภัยในส่วนนี้มาก
รูปลักษณ์ภายใน
เปิดหน้าจอเข้ามาดูด้านในกันบ้าง เราจะเห็นการใช้วัสดุหลาย ๆ อย่างมาประกอบกัน ทั้งไม้ไผ่ พลาสติก และโลหะ ตัวเครื่องยังมีการหุ้มรอบ ๆ ด้วยโลหะเหมือนเดิม บริเวณที่พักมือเป็นไม้ไผ่ บริเวณคีย์บอร์ดเป็นโลหะ ส่วนขอบจอเป็นพลาสติกเงาดำ มองผ่าน ๆ ก็สวยดี แต่การออกแบบส่วนของคีย์บอร์ดยังเหลือพื้นที่เปล่า ๆ เอาไว้เยอะ น่าจะเอามาทำปุ่มพิเศษเพิ่มเติมให้ใช้งาน จุดที่น่าจะเด่นที่สุดภายในส่วนนี้ก็คือ Touch Pad ที่ใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุเหมือนกัน
คีย์บอร์ดในส่วนของแป้นพิมพ์ตัวอักษรมีขนาดกำลังพอเหมาะไม่ใหญ่เกินไปเหมือนในรุ่น B Series แต่ปุ่มตัวเลขกลับมีการลดขนาดลงไปอีกเล็กน้อย ซึ่งทำให้การพิมพ์ลำบากมากขึ้น ในขณะที่พื้นที่บริเวณข้าง ๆ ก็เหลือเปิดกว้างอีกมาก จึงไม่น่าจะมีปัญหาในการทำปุ่มให้มีขนาดเท่ากัน
ปุ่มเปิด/ปิดเครื่องขนาดเล็กตามสไตล์ของ Asus
ปุ่มสำหรับเข้า Express Gate
หน้าจอ
หน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ความละเอียด 1366 x 768 เป็นจอ LED แบบเห็นเงาสะท้อนสีสดแต่สู้แสงได้ไม่ดี
หน้าจอของเครื่อง Asus U53J มีความหนา แต่ไม่ได้หนาจนน่าเกลียด เพราะฝาทำจากไม้ไผ่ ซึ่งแผ่นก็ควรจะมีความหนาระดับหนึ่ง
น้ำหนัก
น้ำหนักประมาณ 2.90 กิโลกรัม
น้ำหนักรวมอาแดปเตอร์ประมาณ 3.3 กิโลกรัม
ด้านล่างของเครื่อง
พลิกมาดูด้านล่าง เราจะเห็นว่าสุดท้ายเครื่อง Asus U53J ก็ยังใช้พลาสติกในการประกอบอยู่ดี? สำหรับช่องระบายอากาศก็มีให้เฉพาะบริเวณฝาที่เปิดไว้เปลี่ยนอุปกรณ์ภายในเป็นหลัก ดูเหมือนว่าทาง Asus จะมั่นใจในระบบระบายอากาศภายในอยู่มาก แต่จะสู้สภาพอากาศบ้านเราได้หรือเปล่า ต้องลองทดสอบกันดู
ช่องระบายอากาศ
ช่องระบายมากระจุกกันอยู่ที่ฝาเปิด อีกอย่างที่น่าสังเกตมาก คือ การเอาสัญลักษณ์ไฟแสดงสถานะมาไว้ด้านล่าง ทำให้ลำบากกับผู้ใช้ ไม่สามารถรู้ได้ว่าไฟไหนหมายถึงอะไรจากการมองผ่าน
ช่องระบายอากาศด้านข้าง