ยุคนี้ที่เราหาการ์ดจอแยกมาประกอบเกมมิ่งพีซีของตัวเองไม่ได้แถมราคาก็แพงมาก เกมเมอร์หลาย ๆ คนจึงหันไปประกอบคอมไม่มีการ์ดจอมาใช้เล่นเกมกันมากขึ้น หรือบางคนก็ผันตัวไปเป็นสายคอนโซลเพื่อจะเล่นเกมกันเลย แต่จริง ๆ แล้ว เรายังมีตัวเลือกเป็นซีพียู AMD Ryzen Desktop Processors with AMD Radeon Graphics ที่มีการ์ดจอในซีพียูที่ประสิทธิภาพดีเพียงพอจะเล่นเกมระดับ AAA ในปัจจุบันนี้ได้หลายเกมอย่างแน่นอนโดยไม่ต้องพึ่งการ์ดจอแยกเลย
แต่อย่างไรก็ตาม สเปคนี้จะเป็นการ์ดจอออนบอร์ดที่อยู่ในซีพียู ดังนั้นการปรับกราฟฟิคจะทำได้ระดับ Low และปรับการตั้งค่าบางส่วนเป็น Medium ได้บ้าง และสเปคพีซีที่แนะนำในบทความนี้จะเป็นสเปคระดับจัดเอาไว้รองรับการอัพเกรดในอนาคตเมื่อการ์ดจอแยกกลับมาขายในราคาปกติแล้ว หรือถ้าใครอยากใช้ AMD Ryzen Desktop Processors with AMD Radeon Graphics ต่อไปก็ใช้เล่นเกมต่อไปได้เลยเช่นกัน
รอวันการ์ดจอแยกกลับมาราคาปกติ ก็อาจจะต้องรอไปก่อน
AMD Ryzen Desktop Processors with AMD Radeon Graphics จะแรงก็ต้องตั้งค่าใน BIOS ด้วย
เชื่อว่าบางคนอาจจะติดเรียกซีพียู AMD Ryzen ที่มีการ์ดจอในตัวว่า AMD Ryzen G-Series คล้าย ๆ กับผู้เขียนอยู่บ้าง เนื่องจากหลังตัวเลขบอกชื่อรุ่นของซีพียูจะมีตัว G ที่มาจากคำว่า Graphic ติดห้อยท้ายมาจึงเรียกไปตามนั้น แต่จริง ๆ แล้วทาง AMD ตั้งชื่อให้ซีพียูตระกูลนี้ว่า AMD Ryzen Desktop Processors with AMD Radeon Graphics (ต่อจากนี้ขอเรียกสั้น ๆ ว่า AMD Ryzen G-Series) ซึ่งเป็นภาคต่อของซีพียูตระกูล AMD APU (AMD Accelerated Processing Unit) นั่นเอง
ซึ่งประสิทธิภาพของ AMD Ryzen G ในปัจจุบันนี้ก็ถือว่ามีประสิทธิภาพดีทีเดียวถ้าจะประกอบคอมไม่มีการ์ดจอ ซึ่งผู้เขียนเคยกล่าวถึงในบทความ “จัดสเปคคอม 20000 บาท ทำงานไวเกมก็ลื่น มี AMD, Intel เลือกได้” ไปก่อนหน้านี้แล้ว ผู้สนใจสามารถเข้าไปอ่านและดูประสิทธิภาพตอนเล่นเกมได้ โดยผู้เขียนจัดการแยกเป็นรุ่น Ryzen 3 3200G และ Ryzen 5 3400G ไว้แล้ว
ด้านของซีพียู AMD Ryzen 7 ที่มีการ์ดจอแยกในบทความประกอบคอมไม่มีการ์ดจอนี้ ผู้เขียนเลือกเป็นรุ่น AMD Ryzen 7 Pro 4750G มาใช้ประกอบในสเปค แต่เนื่องจากยังไม่ได้อัพเดทเข้าไปในฐานข้อมูลจึงขอใช้ซีพียูรุ่นที่ราคาใกล้เคียงกันเพื่อแสดงราคาแทน
จากการทดสอบเล่นเกมที่ความละเอียด 1080p ในคลิป จะเห็นว่าตัวซีพียูและการ์ดจอในชิปนั้นมีประสิทธิภาพดีทีเดียว เมื่อปรับกราฟฟิคไว้ระดับ Low แล้วก็ยังเล่นเกมระดับ AAA ได้เฟรมเรทสูงในระดับเล่นเกมได้สบาย ๆ และภาพในเกมก็ยังออกมาสวยดีทีเดียว ซึ่งถ้าเน้นเล่นเกมออนไลน์ทั่วไปก็จัดว่าแรงมากหายห่วง
AMD Ryzen G-Series อยากแรงต้องตั้งแชร์แรมใน BIOS สักหน่อย
วิธีการแชร์แรมของพีซีให้การ์ดจอในซีพียู (ภาษาฮินดู) แนะนำให้ดูประกอบคำอธิบาย ส่วนหน้า BIOS เริ่มตอนนาทีที่ 1:14 เป็นต้นไป
เนื่องจากทาง AMD ออกแบบให้ AMD APU นั้นมีการ์ดจอในตัวแต่เพราะพื้นที่มีจำกัด จึงไม่สามารถฝังเม็ดแรมเอาไว้กับตัวชิปได้ ดังนั้นจึงถูกพัฒนาให้เข้ามาแชร์แรมของตัวเครื่องร่วมกันกับตัวเครื่อง ซึ่งระบบจะจัดสรรพื้นที่แรมให้การ์ดจอตามปริมาณแรมที่มีอยู่ในเครื่องนั่นเอง
แต่ถ้าเครื่องของเรามีแรมให้แชร์เอาไว้ใช้เยอะ ก็สามารถตั้งค่าให้การ์ดจอ AMD Radeon Vega ที่อยู่ในซีพียูเข้ามาใช้พื้นที่แรมได้มากขึ้นด้วย แต่ข้อจำกัดคือ ทาง AMD ไม่เปิดให้แก้ในหน้าระบบ Windows แต่ต้องเข้าไปทำในหน้า BIOS ของเมนบอร์ดแทน ซึ่งขั้นตอนนั้นไม่ยากนักและสามารถทำตามขั้นตอนในคลิปด้านบนได้เลย ส่วนขั้นตอนจะมีดังนี้
- ให้ Restart พีซีที่ติดตั้งซีพียู AMD Ryzen G-Series เอาไว้ เมื่อเครื่องกำลังรีสตาร์ทแล้วเข้าสู่หน้าจอดำ ให้กด F2+Del เป็นระยะ ๆ เพื่อเข้าหน้า BIOS
- ที่หน้า BIOS ให้เลือกที่แท็บ Chipset แล้วสังเกตที่คำว่า Integrated Graphics จะเป็นส่วนของการตั้งค่ากับการ์ดจอในตัวซีพียู AMD Ryzen G-Series
- ที่ Integrated Graphics ให้เลือกคำว่า Auto แล้วเปลี่ยนเป็น Forces ในส่วน UMA Mode เลือกเป็น UMA Specified จะมีคำสั่ง UMA Frame Buffer Size เพิ่มขึ้นมา ในส่วนนี้เราสามารถตั้งค่าแชร์แรมในตัวเครื่องให้กับการ์ดจอในซีพียูได้เลย โดยตัวเครื่องจะเปิดให้เลือกตามขนาดของแรมที่เราติดตั้งเอาไว้ในเครื่องของเรา
ในส่วนของการแชร์ปริมาณ RAM ในเครื่องของเราให้การ์ดจอแยก ผู้เขียนขอแนะนำให้แชร์ราว 25-30% จากแรมทั้งหมดในเครื่อง เพื่อเผื่อเอาไว้ให้ตัวเครื่องสามารถเอาไปใช้งานอย่างอื่นได้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยทดลองกับ AMD APU A8-5600K ที่เคยใช้มาในอดีตขอแนะนำดังนี้
- ถ้ามีแรมในเครื่อง 8 GB แนะนำให้แชร์ 2 GB จะเหลือแรมอีก 6 GB เอาไว้แชร์ให้ Windows 2 GB และเกมอีก 4 GB จะครบ 8 GB พอดี
- ถ้ามีแรมในเครื่อง 16 GB แนะนำให้แชร์ราว 4-8 GB จะเหลือแรมอีก 8-12 GB เอาไว้แชร์ให้โปรแกรมต่าง ๆ ในเครื่องได้พอดี
- ถ้ามีแรมในเครื่อง 32 GB แนะนำให้แชร์ไม่เกิน 8 GB เพราะมากเพียงพอเอาไว้ให้การ์ดจอในซีพียูใช้งานแล้ว
เมื่อแชร์เสร็จแล้วให้กด Save & Exit เพื่อ Restart เครื่องอีกครั้ง เมื่อเปิดดูข้อมูลเกี่ยวกับ RAM ใน This PC จะเห็นว่าตัวเครื่องจะแบ่งแรมบางส่วนไปให้การ์ดจอในซีพียูแล้วตามที่ตั้งค่าไว้
แนะนำ 4 สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอ รองรับการอัพเกรดในอนาคตด้วย
สำหรับ 4 สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอที่จัดมาแนะนำในบทความนี้จะมีตั้งแต่ราคาเริ่มต้นเพียง 15,000 บาท ไปจนถึงสามหมื่นบาท ซึ่งแต่ละสเปคก็ถือว่าดีในระดับที่เล่นเกมได้และรองรับการอัพเกรดไปใช้ซีพียูรุ่นไม่มีการ์ดจอได้ในอนาคตเมื่อการ์ดจอราคาถูกลงแล้วหาซื้อมาติดตั้งในเครื่องได้ง่ายขึ้นแล้ว แต่ในหน้าสเปคยังไม่รวมหน้าจอเอาไว้เพื่อให้ผู้ที่สนใจประกอบตามสเปคนี้สามารถเลือกจอรุ่นที่ต้องการได้ด้วย
สำหรับคนที่ยังไม่มีหน้าจอเกมมิ่งสามารถเลือกดูรุ่นแนะนำในบทความแนะนำจอ 144 Hz ราคาไม่เกิน 10,000 บาท ที่ผู้เขียนเคยแนะนำเอาไว้ได้เลย ส่วนทั้ง 4 สเปคจะมีดังนี้
- AMD Ryzen 3 3200G สเปคเริ่มต้นงบ 14,620 บาท
- AMD Ryzen 5 3400G สเปคเริ่มแรง งบ 24,470 บาท
- AMD Ryzen 7 Pro 4750G สเปคแรงพร้อมอัพเกรด งบ 33,680 บาท
- AMD Ryzen 7 Pro 4750G สเปคแรงรอการ์ดจอ งบ 35,220 บาท
1. AMD Ryzen 3 3200G สเปคเริ่มต้นงบ 14,620 บาท
ถ้างบประกอมคอมไม่มีการ์ดจอมีอยู่ช่วงหมื่นต้นแล้วต้องการเกมมิ่งพีซีเอาไว้เล่นเกมสักเครื่องจะขอแนะนำให้เริ่มต้นกับสเปคซีพียู AMD Ryzen 3 3200G จับคู่กับเมนบอร์ด ASRock B450 Pro4 ซึ่งถ้าต้องการเล่นเกมระดับ AAA เพียงปรับกราฟฟิคไว้ระดับ Low ก็สามารถเล่นเกมได้แล้ว และเฟรมเรทเฉลี่ยจะอยู่ราว 30 เฟรมอีกด้วย
สเปคที่แนะนำใช้ซีพียู AMD Ryzen 3 3200G เป็นซีพียู 4 คอร์ 4 เธรด ความเร็ว 3.6-4.0 GHz มีการ์ดจอ AMD Radeon Vega 8 ติดตั้งมาในตัว สามารถเล่นเกมได้ทันที ใช้แรม Apacer Nox RGB Aura2 ขนาด 16GB (8*2) DDR4 บัส 2400 MHz ใช้ฮาร์ดดิสก์เป็น M.2 NVMe รุ่น WD Blue SN550 ความจุ 1TB ความเร็ว Read 2,400 MB/s และ Write 1,950 MB/s ซึ่งเพียงพอต่อการเล่นเกมในปัจจุบันได้ทุกเกม จ่ายไฟด้วย PSU 700W ของ SILVERSTONE ST70F-ES230 ได้มาตรฐาน 80 Plus และเคสเป็น AEROCOOL Split TG RGB
เมนบอร์ดที่รวมอุปกรณ์บนเครื่องทั้งหมดเป็น ASRock B450 Pro4 เป็นบอร์ด ATX ที่ติดตั้ง USB 3.2 Gen2 Type-C มาให้บนเมนบอร์ด สามารถรับส่งข้อมูลกับสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งใช้ภาคจ่ายไฟคุณภาพดี 10 Power Phase ทำให้สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอรุ่นเริ่มต้นใช้งานได้นานยิ่งขึ้นและสามารถอัพเกรดไปใช้ AMD Ryzen G 5000 Series ในอนาคตได้ ตัวบอร์ดรองรับแรมตั้งแต่ 2133-3200 MHz ทั้งหมด 4 แถวด้วยกัน
พอร์ตด้านหลังเครื่องมีติดตั้งพอร์ต PS/2 x 1 ช่อง สำหรับต่อเมาส์หรือคีย์บอร์ด, VGA x 1 ช่อง, HDMI x 1 ช่อง, DisplayPort 1.2 x 1 ช่อง, RJ45 LAN x 1 ช่อง, USB 2.0 x 2 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-A x 1 ช่อง, USB 3.2 Gen1 Type-A x 4 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-C x 1 ช่อง พร้อมชุด HD Audio Ports มี Line in / Front Speaker / Microphone ติดตั้งมาให้ด้วย ซึ่งสเปคนี้จัดว่าเพียงพอและรองรับการอัพเกรดในอนาคตได้อย่างแน่นอน
สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอ AMD Ryzen 3 3200G
- ซีพียู AMD Ryzen 3 3200G แบบ 4 คอร์ 4 เธรด ความเร็ว 3.6-4.0 GHz
- การ์ดจอในซีพียู AMD Radeon Vega 8
- แรม Apacer Nox RGB Aura2 ขนาด 16GB (8*2) DDR4 บัส 2400 MHz
- ฮาร์ดดิสก์ M.2 NVMe รุ่น WD Blue SN550 ความจุ 1 TB
- เมนบอร์ด ASRock B450 Pro4 ขนาด ATX
- พอร์ตบนเมนบอร์ดมี PS/2 x 1, VGA x 1 ช่อง, HDMI x 1 ช่อง, DisplayPort 1.2 x 1 ช่อง, RJ45 LAN x 1 ช่อง, USB 2.0 x 2 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-A x 1 ช่อง, USB 3.2 Gen1 Type-A x 4 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-C x 1 ช่อง, ชุด HD Audio Ports 1 ชุด
- พาวเวอร์ซัพพลาย SILVERSTONE ST70F-ES230 จ่ายไฟ 700W มาตรฐาน 80 Plus
- เคส AEROCOOL Split TG RGB
- ราคา 14,620 บาท
2. AMD Ryzen 5 3400G สเปคเริ่มแรง งบ 24,470 บาท
สำหรับสเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอราคา 24,470 บาท จะใช้เมนบอร์ด, เคส, พาวเวอร์ซัพพลายร่วมกับสเปคในข้อที่แล้วแต่อัพเกรดชิ้นส่วนอื่นให้ดียิ่งขึ้น เมื่อต้องการเปลี่ยนไปใช้ซีพียู AMD Ryzen พร้อมการ์ดจอแยกก็สามารถเปลี่ยนซีพียูแล้วเพิ่มการ์ดจอเข้าไปได้ทันที
สเปคนี้จะอัพเกรดมาใช้ซีพียู AMD Ryzen 5 3400G เป็นซีพียูแบบ 4 คอร์ 8 เธรด ความเร็ว 3.7-4.2 GHz มีการ์ดจอ AMD Radeon Vega 11 ติดตั้งอยู่ในตัว แรมเป็นรุ่น Apacer Panther 32 GB (16*2) บัส 3200 MHz ใช้ M.2 NVMe รุ่น WD Black SN850 ความจุ 1 TB เป็น PCIe 4.0 แทนและมีฮาร์ดดิสก์ SATA III Western Digital 1 TB อีกหนึ่งลูกเอาไว้เซฟไฟล์และงานแยกไว้อีกหนึ่งลูกด้วย ส่วนการต่อหน้าจอสำหรับเล่นเกมถ้าต้องการให้ประสิทธิภาพออกมาสูงที่สุด แนะนำเป็นพอร์ต HDMI หรือ DisplayPort 1.2 ส่วน VGA ให้ใช้เป็นหน้าจอเสริมเอาไว้เปิดเว็บไซต์หรือโปรแกรมอื่น ๆ เช่น Discord จะดีกว่า
สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอ AMD Ryzen 5 3400G
- ซีพียู AMD Ryzen 5 3400G แบบ 4 คอร์ 8 เธรด ความเร็ว 3.7-4.2 GHz
- การ์ดจอในซีพียู AMD Radeon Vega 11
- แรม Apacer Panther 32 GB (16*2) บัส 3200 MHz
- ฮาร์ดดิสก์ M.2 NVMe รุ่น WD Black SN850 ความจุ 1 TB
- เมนบอร์ด ASRock B450 Pro4 ขนาด ATX
- พอร์ตบนเมนบอร์ดมี PS/2 x 1, VGA x 1 ช่อง, HDMI x 1 ช่อง, DisplayPort 1.2 x 1 ช่อง, RJ45 LAN x 1 ช่อง, USB 2.0 x 2 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-A x 1 ช่อง, USB 3.2 Gen1 Type-A x 4 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-C x 1 ช่อง, ชุด HD Audio Ports 1 ชุด
- พาวเวอร์ซัพพลาย SILVERSTONE ST70F-ES230 จ่ายไฟ 700W มาตรฐาน 80 Plus
- เคส AEROCOOL Split TG RGB
- ราคา 24,470 บาท
3. AMD Ryzen 7 Pro 4750G สเปคแรงพร้อมอัพเกรด งบ 33,680 บาท
สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอสเปคนี้ จะอิงพื้นฐานจากสเปคในข้อที่แล้วมาเช่นกัน แต่เปลี่ยนเมนบอร์ดและซีพียูเป็นรุ่นประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยราคาของซีพียูตัวแทนนั้นจะถูกกว่า AMD Ryzen 7 Pro 4750G อยู่ 60 บาทด้วยกัน ดังนั้นราคาในภาพสเปคด้านบนจะถูกกว่าเล็กน้อย ขอให้ผู้อ่านยึดราคาที่เขียนเอาไว้ในบทความแทน
สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอสเปคนี้ใช้ซีพียู AMD Ryzen 7 Pro 4750G เป็นซีพียูแบบ 8 คอร์ 16 เธรด ความเร็ว 3.6-4.4 GHz ประสิทธิภาพสูงและเป็นซีพียูรุ่นใหม่ ใช้การ์ดจอในซีพียูเป็น AMD Radeon Vega 8 ประสิทธิภาพสูง ซึ่งสเปคนี้ถ้าราคาการ์ดจอลดมาอยู่ในระดับเท่าราคาแนะนำขายจากทางโรงงาน (MSRP) แล้ว ก็สามารถซื้อมาใส่ได้เลยเพราะคอร์ของซีพียูนั้นจัดว่าแรงจนไม่ต้องเปลี่ยนรุ่นเลยก็ได้
เมนบอร์ดเป็น ASRock B550 Phantom Gaming 4/ac เป็นเมนบอร์ดขนาด ATX รองรับ AMD Ryzen 4000 G-Series ฟีเจอร์เด่นคือระบบเสียง Nahimic Audio ทำงานผ่านทางพอร์ต USB, Wi-Fi, HDMI หรือพอร์ตแบบอนาล็อกก็ได้ สามารถปรับระบบเสียงทั้งการฟังเพลงและเล่นเกมได้ด้วยซอฟท์แวร์ Sound Tracker มีพอร์ต WiFi 5 มาตรฐาน 802.11ac รองรับ Bluetooth 4.2 นอกจากนี้พอร์ต HDMI ยังรองรับการต่อหน้าจอ 4K 60 Hz อีกด้วย
พอร์ตด้านหลังเมนบอร์ดมี PS/2 x 1 ช่อง รองรับการต่อเมาส์หรือคีย์บอร์ด, HDMI x 1 ช่อง, พอร์ต USB 3.2 Gen1 Type-A x 6 ช่อง, LAN RJ45 x 1 ช่อง, ช่องเสา Wi-Fi 5 x 1 ชุด, ชุดช่อง HD Audio Jacks มีหัว Line in / Front Speaker / Microphone ติดตั้งมาให้ เรียกว่าครบถ้วน แต่มีจุดสังเกตคือมีพอร์ตต่อหน้าจอเพียงช่องเดียวเท่านั้น ซึ่งถ้าต้องการต่อหน้าจอเสริมอาจจะเปลี่ยนไปใช้บอร์ด ASRock B450 Pro4 ในข้อที่แล้วแทนก็ได้เช่นกัน
สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอ AMD Ryzen 7 Pro 4750G
- ซีพียู AMD Ryzen 7 Pro 4750G แบบ 8 คอร์ 16 เธรด ความเร็ว 3.6-4.4 GHz
- การ์ดจอในซีพียู AMD Radeon Vega 8
- แรม Apacer Panther 32 GB (16*2) บัส 3200 MHz
- ฮาร์ดดิสก์ M.2 NVMe รุ่น WD Black SN850 ความจุ 1 TB
- เมนบอร์ด ASRock B550 Phantom Gaming 4/ac ขนาด ATX
- พอร์ตบนเมนบอร์ดมี PS/2 x 1, HDMI x 1 ช่อง, RJ45 LAN x 1 ช่อง, USB 3.2 Gen1 Type-A x 6 ช่อง, ช่องเสา Wi-Fi 5 x 1 ชุด, HD Audio Ports 1 ชุด
- พาวเวอร์ซัพพลาย SILVERSTONE ST70F-ES230 จ่ายไฟ 700W มาตรฐาน 80 Plus
- เคส AEROCOOL Split TG RGB
- ราคา 33,680 บาท
4. AMD Ryzen 7 Pro 4750G สเปคแรงรอการ์ดจอ งบ 35,220 บาท
ส่วนของสเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอตัวสุดท้ายเป็นสเปคที่จัดเต็มเอาไว้รอราคาการ์ดจอกลับมาเป็นราคาปกติ ซึ่งใช้สเปคเดียวกับสเปคที่แล้วเกือบทั้งหมด ยกเว้นเปลี่ยนเมนบอร์ดมาใช้ชิปเซ็ต X570 แทนและรองรับการโอเวอร์คล็อกซีพียูได้เต็มที่ เมื่อได้การ์ดจอใหม่มาใส่เครื่องแล้วโหลดไดรเวอร์เสร็จก็สามารถเล่นเกมได้ทันที
เมนบอร์ดรุ่นแนะนำในสเปคนี้เป็น MSI MPG X570 GAMING PLUS ซึ่งเป็นเมนบอร์ด ATX คุณภาพดี มีฟีเจอร์เด่น คือ Core Boost ซึ่งมีช่องจ่ายไฟให้ซีพียูต่อแบบ 8+4 สามารถจ่ายไฟให้ซีพียูได้เยอะและเสถียรยิ่งขึ้น เมนบอร์ดเป็นคุณภาพระดับ Server-grade เน้นความเสถียรและแข็งแรง มีพัดลมระบายความร้อนติดตั้งไว้ที่ชุด MOSFET ช่วยระบายความร้อนให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นและฟีเจอร์ดี ๆ อีกมากมายติดตั้งไว้ในบอร์ดรุ่นนี้ นอกจากนี้ยังรองรับซีพียู AMD Ryzen 5000 Series และย้อนหลังกลับไปแทบทุกรุ่น และถ้าใครอยากเพิ่มความแรงก็สามารถใส่ AMD Ryzen 9 เข้าไปแทน AMD Ryzen 7 Pro 4750G ตัวนี้ก็ได้ รองรับแรม 4 ช่อง บัส 1866-4266 MHz ความจุสูงสุด 128 GB ทีเดียว
พอร์ตบนเมนบอร์ดมี USB 2.0 x 2 ช่อง, USB 3.2 Gen1 Type-A x 4 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-A x 1 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-C x 1 ช่อง, LAN RJ45 ชิปเซ็ต Realtek 81111H เป็น Gigabit LAN รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง, ช่องต่อเมาส์หรือคีย์บอร์ด PS/2 x 1 ช่อง, HDMI x 1 ช่อง, ชุด HD Audtio Ports x 1 ชุด มี 5 ช่อง มี Optical S/PDIF x 1 ช่องด้วย ใช้ชิปเสียง Realtek ALC1220 Codec เรียกว่าเป็นบอร์ดประสิทธิภาพสูงมากรุ่นหนึ่งซึ่งไม่ควรมองข้ามทีเดียว
สเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอ AMD Ryzen 7 Pro 4750G สเปคแรง
- ซีพียู AMD Ryzen 7 Pro 4750G แบบ 8 คอร์ 16 เธรด ความเร็ว 3.6-4.4 GHz
- การ์ดจอในซีพียู AMD Radeon Vega 8
- แรม Apacer Panther 32 GB (16*2) บัส 3200 MHz
- ฮาร์ดดิสก์ M.2 NVMe รุ่น WD Black SN850 ความจุ 1 TB
- เมนบอร์ด MSI MPG X570 GAMING PLUS ขนาด ATX
- USB 2.0 x 2 ช่อง, USB 3.2 Gen1 Type-A x 4 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-A x 1 ช่อง, USB 3.2 Gen2 Type-C x 1 ช่อง, LAN RJ45 ชิปเซ็ต Realtek 81111H เป็น Gigabit LAN, ช่องต่อเมาส์หรือคีย์บอร์ด PS/2 x 1 ช่อง, HDMI x 1 ช่อง, ชุด HD Audtio Ports x 1 ชุด มี 5 ช่อง มี Optical S/PDIF x 1 ช่องด้วย ใช้ชิปเสียง Realtek ALC1220 Codec
- พาวเวอร์ซัพพลาย SILVERSTONE ST70F-ES230 จ่ายไฟ 700W มาตรฐาน 80 Plus
- เคส AEROCOOL Split TG RGB
- ราคา 35,220 บาท
จากสเปคประกอบคอมไม่มีการ์ดจอที่ผู้เขียนนำเสนอมาทั้งหมดนี้ ใครที่สนใจก็สามารถนำสเปคที่ผู้เขียนจัดเอาไว้ไปประกอบเป็นเครื่องที่ร้านคอมพิวเตอร์ใกล้บ้านได้เลย หรือต้องการเอามาเป็นแนวทางอัพเกรดหรือลองปรับแต่งจากสเปคนี้ให้ตอบโจทย์ทั้งการใช้งานและเงินในกระเป๋าที่สุดก็ได้เช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามสเปคทั้ง 4 สเปคนี้ยังไม่รวมหน้าจอคอมพิวเตอร์เอาไว้ในงบประมาณนี้ด้วย ซึ่งถ้าใครมีหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ก็ไม่มีปัญหา แต่คนที่ยังไม่มีหน้าจอควรเผื่องบประมาณเอาไว้ซื้อหน้าจอของตัวเองด้วย จะได้เปิดเครื่อง ลง Windows 10 ติดตั้งแล้วเล่นเกมได้ทันที