ในงานการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินประจำปีงบประมาณที่ผ่านมาของ Intel นั้นมีเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจเกิดขึ้น โดยในงานดังกล่าวนั้นทาง CFO ของทาง Intel อย่างคุณ George Davis ได้ออกมาพูดเอาไว้ว่าโรงงานที่ทำการผลิตที่กระบวนการผลิตระดับ 10 nm ของทาง Intel ในปัจจุบันนั้นผลการผลิตชิปโดยรวมพบว่าไม่เป็นไปดังที่ทาง Intel ได้ตั้งความหวังเอาไว้ โดยปัญญาหานั้นก็คือผลผลิตโดยรวมของการใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm ของทาง Intel นั้นไม่ได้มาตรฐานและเป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งทาง CFO นั้นได้เปรียบเทียบกับกระบวนการผลิตที่ระดับ 14 nm รวมถึง 22 nm และสรุปออกมาว่าผลการผลิตชิปที่ได้ประสิทธิภาพนั้นต่ำกว่าการผลิตที่กระบวนการผลิตทั้ง 2 ดังกล่าวเป็นอย่างมาก
หลังจากที่มีการล่าช้ามาเป็นปีแล้วนั้นทาง Intel โดยคุณ George Davis เองได้ยอมรับว่ากระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm นั้นไม่สามารถที่จะเร่งความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลให้เพิ่มขึ้นได้จนแตกต่างไปจากกระบวนการผลิตที่ระดับ 14 nm++ ที่ใช้ในการผลิตหน่วยประมวลผลในรุ่นปัจจุบันอยู่ ซึ่งนี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้เห็นหน่วยประมวลผลหลายๆ รุ่นของทาง Intel เองนั้นยังคงใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 14 nm++ อยู่สำหรับหน่วยประมวลผลบน Desktop และ Server
นอกไปจากนั้นแล้วทางคุณ George Davis เองก็ยังออกมายอมรับอีกด้วยว่าการที่หากทาง Intel จะยังคงพยายามที่จะผลิตชิปที่กระบวนการผลิตระดับ 10 nm นั้นดูเหมือนจะไม่สามารถตามทันคู่แข่งได้แล้ว ดังนั้นภายใน Intel เองจึงอาจจะตัดสินใจที่จะก้าวเข้าสู่กระบวนการผลิตที่ระดับ 7 nm แทนเพื่อที่จะแย่งตลาดหน่วยประมวลผลกลับคืนมาจากทาง AMD นอกไปจากนั้นแล้วเพื่อที่จะให้ทาง Intel สามารถกลับเป็นผู้นำได้อีกครั้งทาง Intel อาจจะมีการเร่งพัฒนากระบวนการผลิตที่ระดับ 5 nm ให้ทันกับคู่แข่งด้วย
ทั้งนี้ก็คงต้องตามดูกันต่อว่าทาง Intel เองนั้นจะตัดสินใจอย่างไรกับอนาคตการใช้กระบวนการผลิตของตัวเองเนื่องจากว่าทางคู่แข่งเองนั้นก็มีแผนการที่จะกระโดดข้ามไปใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 5 nm ในช่วงที่ทาง Intel ได้ตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่าจะใช้กระบวนการผลิตที่ระดับ 7 nm หรือมในช่วงปี 2021 นี้แล้ว เชื่อได้ว่าหากทาง Intel เองนั้นยังคงยึดอยู่กับกระบวนการผลิตที่ระดับ 10 nm อยู่ล่ะก็งานนี้ส่วนแบ่งในตลาดหน่วยประมวลผลของทาง Intel จะโดนทางฝั่ง AMD นั้นแย่งไปเป็นจำนวนมาก
ที่มา : notebookcheck