โปรแกรม Super PI คือ การคำนวณค่า PI จากเส้นรอบวง (กลม)/เส้นผ่านศูนย์กลาง จะได้เป็นค่า 3.14? โดยที่ทศนิยมนั้นเป็นเลขที่ไม่ลงตัวที่มีค่าอนันต์ (เลขหลังทศนิยมไม่มี Loop ซ้ำ) ดังนั้น เมื่อ Loop เป็นค่าอนันต์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่สามารถหยุดการคำนวณได้ ถ้าไม่สั่งให้มันหยุด ในโปรแกรม Super PI จะทำการกำหนดเอาไว้ว่าให้คำนวณที่จุดสิ้นสุดตรงไหน (เช่น 1M คือ คำนวณที่ทศนิยม 1 ล้านตำแหน่ง) โดยแบ่งเป็นช่วง Loop อย่าง PI 1M ใช้ 19 Loop เท่ากับคำนวณ Loop ละ 52632 ตำแหน่ง ต่อ 1 Loop ยิ่งซีพียูมีประสิทธิภาพเท่าไร ยิ่งใช้เวลาคำนวณได้น้อยลง
มีหลักการทำงานคล้าย ๆ กับ Super PI แต่จะรองรับการทำงานของซีพียูหลายหัวหรือหลาย Thread พร้อมกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับตัว Turbo Boost เพราะซีพียูทำงานพร้อมกันหลายหัว ทำให้ความเร็วของซีพียูไม่สูงมาก เพราะจำเป็นต้องแชร์ทรัพยากรเพื่อทำงานในเวลาเดียวกัน
พอสั่งให้ทำงานครบ 4 แกน ก็ยังสามารถทำเวลาออกมาได้ดีที่สุดใน Core i5 ซีรี่ย์ 4
wPrime
เป็นโปรแกรมที่จะทดสอบการทำงานในด้านตรรกะของซีพียูอย่างเต็มรูปแบบและความสามารถขีดสุดของซีพียูรุ่นนั้น ๆ
ทำเวลาออกมาได้ดีเลย
การถอดรหัสกราฟิกนั้นสามารถทำได้แตะก้นเครื่อง Core i5-560M เลย
วิธีทดสอบ : ทดสอบความเร็วในการอ่านข้อมูล สเปกของ HDD เป็นฮาร์ดดิสก์ขนาด 320GB
คะแนนออกมาไม่แตกต่างอะไรกับมาตรฐาน HD Notebook ที่มีความเร็วรอบ 5400rpm
ทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องทั้งหมดด้วยโปรแกรม PCMark05
วิธีทดสอบ : รันโปรแกรมโดยให้ทดสอบทั้ง System, CPU, Memory, Graphics, HDD
คะแนนออกมาได้สูสีกับ Toshiba M500 เลย
PCMarkVantage
โปรแกรมใหม่อีกโปรแกรมที่กำลังเป็นที่นิยมใช้ในการทดสอบเครื่องมากขึ้น ซึ่งผมเองก็อยากจะเอามาแนะนำให้ทุกท่านได้ชมกัน แต่โปรแกรมนี้ผมจะทดสอบกับเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีๆ และแรงๆ เท่านั้นนะครับ ซึ่งเครื่องที่มีประสิทธิภาพไม่ดีจะข้ามไปไม่ทดสอบ เพราะทดสอบผ่านยากมากเลย
โอโห่ ทำได้ดีกว่าตัวเคยแรงกับเจ้า Lenovo Y550P อีกส่วนนี้เป็นผลมาจากคะแนนของ Product นี่เอง
ต้องบอกว่าน่าเสียดายตรงที่การ์ดจอที่ใส่มานั้นมีประสิทธิภาพยังไม่สูงพอ
Unigine Heaven 2.1
โปรแกรมใหม่ที่จะเข้ามาเสริมการทดสอบการ์ดจอ ซึ่งรองรับ DX11 โดยจะเริ่มทดสอบกันในซีรีส์ 5XXX นี้เป็นซีรีส์แรก
รองรับ DirectX 11 ก็จริง แต่เล่นเกมโหดๆนั้นไม่น่ารอด
โปรแกรมทดสอบอีกตัวที่อยากแนะนำ โดยเป็นโปรแกรมที่ทดสอบภาพรวมของเครื่องแล้วสรุปมาเป็นคะแนนรวม ทำให้สามารถเปรียบเทียบกับรุ่นอื่น ๆ ได้ง่าย อีกทั้งยังแจกแจงคะแนนทดสอบในแต่ละส่วนให้เห็นอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าคะแนนประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องนั้นออกมาได้ดีมาก ๆ อาจจะเป็นเพราะไดรเวอร์ด้วย
Hardware Monitor
อุณหภูมิแวดล้อมขณะทดสอบประมาณ 35-36 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิก่อน Burn-in
วิธีทดสอบ : ขั้นแรกจะเป็นการทดสอบโดยการเปิดใช้งานเครื่องทั่วไป เช่น เล่นอินเตอร์เน็ต พิมพ์งาน
Burn-in CPU
วิธีทดสอบ : ทดสอบโดยการ Burn-in โดยใช้โปรแกรม CPU Burn-in 4 หน้าต่างโปรแกรม เพื่อรันซีพียูให้ทำงานที่ 100% และเปิดเกมเพื่อให้การ์ดจอทำงานเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในช่วงเวลากลางวัน
อุณหภูมิหลัง Burn-in
อุณหภูมิในเครื่องล็อตใหม่ของ Fujitsu Lifebook LH530V-i5 ทำออกมาได้ดีกว่าเดิมเยอะเลยครับ ไม่เกิน 80 องศาเหมือนเครื่องรุ่นก่อน
ทดสอบเวลาในการใช้งานแบตเตอรี่
แบบที่ 1 ใช้งานทั่วไป
แบบที่ 2 ใช้งานหนัก ๆ
เวลาในการชาร์จแบตเตอรี่
การใช้งานแบตเตอรี่ก็อยู่ในเกณฑ์ทั่วๆไป ไม่หมดไวจนเกินไปและไม่ได้อึดอะไรเช่นกัน