เรียกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญของคนที่กำลังจะขยับหรือคิดจะเปลี่ยนโน๊ตบุ๊ค แต่ต้องมาสะดุดเล็กน้อยกับการมาของซีพียูรุ่นใหม่จาก Intel Gen 10 ที่เริ่มวางจำหน่ายแล้วในช่วงเวลานี้ เพราะมีให้เลือกทั้ง Ice Lake ที่ใช้กระบวนการผลิตใหม่ 10nm พร้อมกับการปรับปรุงส่วนสำคัญ ทั้งหน่วยประมวลผล CPU Core และกราฟิกรุ่นใหม่ Gen11 เพื่อเพิ่มความสามารถให้สูงยิ่งขึ้น
แต่ซีพียูรุ่นใหม่ที่ออกมา ก็ไม่ได้มีแค่ Ice Lake เท่านั้น แต่ยังมีซีพียูที่ใช้กระบวนการผลิต 14nm ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในชื่อของ Skylake ที่ไม่ได้มีการอัพเดตอะไรจากเดิมเป็นพิเศษในแง่ของสถาปัตยกรรมภายใน เพียงแต่เพิ่มการสนับสนุนหน่วยความจำที่เร็วขึ้น และสนับสนุน WiFi 6 เท่านั้น ดังนั้นคนที่กำลังจะซื้อโน๊ตบุ๊คใหม่ที่เป็น Intel Gen 10 อาจจะต้องสังเกตสักเล็กน้อย ง่ายๆ ก็คือ Comet Lake จะเป็นแบบ U series 15W ในขณะที่ Ice Lake จะมีทั้ง 15W รวมไปถึงรุ่น 9W และ 28W ฉะนั้นถ้าจะเลือกในรุ่นที่เน้นพกพาหรือ Ultra slim ก็จะมีตัวเลือกทั้ง 2 แบบเลย
โดยรายละเอียดความแตกต่างของซีพียูทั้ง 2 ซีรีส์นี้ สามารถดูได้ตามตารางเปรียบเทียบ ซึ่ง Ice Lake จะมาพร้อมกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีข้อจำกัดตรงการทำงานแบบ 4-core และความเร็วสัญญาณนาฬิกาแบบปานกลาง ตัวท็อปสุดจะอยู่ที่ 3.9GHz ที่ 15W ส่วน Comet Lake จะมีกราฟิกพื้นฐานที่ใช้กันมานาน แต่มีสัญญาณนาฬิกาสูงขึ้น และไปได้สุดถึง 4.9GHz รวมถึงมีสูงสุด 6-core สำหรับ i7 รุ่นท็อป โดยที่ Intel พยายามอย่างมาในการนำซีพียู 6-core มาอยู่ในแพ็กเกจ 15W นี้
การสังเกตโค๊ตของซีพียูทั้ง 2 รุ่นสามารถดูได้จากตัวเลขด้านบนนี้ โดยที่ Ice Lake จะเป็นรูปแบบที่ใช้มาก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเช่น Intel Core/ i7/ 1065/ G7 (Brand/ รหัสรุ่น/ Gen Indicator/ SKU/ Level Graphic) ส่วนทาง Comet Lake ตัวอย่าง Intel Core/ i7/ 10710/ U (Brand/ รหัสรุ่น/ Gen Indicator/ SKU/ Product Line) ตารางเปรียบเทียบระหว่าง Ice Lake และ Comet Lake ที่ใช้รหัส Gen10 นอกจากกระบวนการผลิตที่ 10nm และ 14nm แล้ว ยังมีเรื่องของ TDP และ Core/ Thread สูงสุด, Cache size และ Max Turbo ที่ทาง Comet Lake มีมากกว่า ส่วนการสนับสนุนเมมโมรีหรือแรม Ice Lake จะยังได้เปรียบ เพราะสนับสนุน LP4 หรือ LP4x ได้ถึง 3733MHz
โดยในตารางของซีพียู Intel Gen10 “Comet Lake” ในแบบ Y series จะมี 4 รุ่น ประกอบด้วย i3, i5 และ i7 เริ่มที่ 2 core/ 4 thread ไปจนถึง 4 core/ 8 thread มีค่า TDP ต่ำเหมาะกับโน๊ตบุ๊คที่เน้นการพกพา ประหยัดไฟ และใน U series จะมีตั้งแต่ i3, i5 และ i7 เช่นกัน เริ่มที่ 2 core/ 4 thread ไปจนถึง 6 core/ 12 thread ค่า TDP สูงสุด 25W กับสัญญาณนาฬิกาเมื่อ Boost turbo สูงถึง 4.9GHz ในแบบ Single Thread ส่วนถ้าบูสท์แบบ All core จะไปได้ที่ 4.3GHz สำหรับ i7-10510U ซึ่ง Boost clock จะสูงกว่าบน i7-8665U อยู่เล็กน้อย
บนการทดสอบของ Techspot ใช้โน๊ตบุ๊ค MSI Prestige 14 A10SC ที่ใช้ซีพียู Intel Core i7-10710U ร่วมกับการ์ดจอ GeForce GTX 1650 Max-Q และแรม 16GB ทดสอบเปรียบเทียบกับซีพียูรุ่นอื่นๆ ดังนี้
Intel Core i7-10710U vs Core i7-7700HQ เป็นการทดสอบที่ค่อนข้างห่างเจนเนอเรชั่นกันพอสมควร ระหว่างซีพียู 15W กับ 45W อย่างไรก็ดีกับซีพียูตั้งแต่ช่วง 3 ปีที่แล้ว กับเวลานี้ แม้จะไม่ได้ต่างกันแบบก้าวกระโดดมากนัก แต่ด้วยรายละเอียดปลีกย่อย ที่จะเกิดขึ้นบนซอฟต์แวร์และการทำงานของ Core/ Thread โดยมีเรื่องของค่า TDP เข้ามาเกี่ยวข้อง ก็ทำให้ซีพียู Gen 10 นี้ น่าจับตามองไม่น้อย เพราะเรื่องของขนาด ดีไซน์ น้ำหนัก และการระบายความร้อนจะสามารถสร้างความแตกต่างได้มากกว่าเรื่องของประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
นี่คือผลทดสอบบางส่วนจากซีพียู Intel Gen10 รุ่นใหม่ บนแพลตฟอร์มของโน๊ตบุ๊ค ซึ่งก็คงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นผลดีสำหรับโน๊ตบุ๊คในกลุ่มที่เน้นบางเบา แต่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดี ก็คงต้องรอออกมาให้ครบไลน์ทั้งหมดก่อน รวมถึงการมาของกราฟิกตัวใหม่จากค่ายต่างๆ ที่อาจทำให้ซีพียูใหม่นี้ แสดงศักยภาพได้ดีขึ้น อย่างไรก็ทาง NBS ก็มีโน๊ตบุ๊คในกลุ่มที่เป็น Gen10 มาทดสอบกันบ้างแล้ว สามารถติดตามแอดมินโป้งกันได้เลยครับ ส่วนถ้าซีพียู Intel Gwn 10 มาคุณมีความสนใจอยากเปลี่ยนหรือซื้อโน๊ตบุ๊ครุ่นใหม่กันหรือไม่ก็ลองคอมเมนต์กันมาด้านล่างนี้กันได้เลยครับ
ที่มา: Intel Gen 10