Connect with us

Hi, what are you looking for?

Buyer's Guide

How to – วิธีตรวจสอบโน๊ตบุ๊คว่ารองรับอัพเกรด SSD M.2 เป็นมาตรฐาน NVMe PCIe หรือได้แค่ M.2 SATA 3

สำหรับโน๊ตบุ๊คปี 2019 ระดับกลางๆ เริ่มมาพร้อมกับแหล่งเก็บข้อมูล SSD M.2 มาตรฐาน NVMe PCIe กันหมดแล้ว ซึ่งมีข้อดีกว่ามาตรฐานแบบเดิมๆ อย่าง M.2 SATA 3

สำหรับโน๊ตบุ๊คปี 2019 ระดับกลางๆ เริ่มมาพร้อมกับแหล่งเก็บข้อมูล SSD M.2 มาตรฐาน NVMe PCIe กันหมดแล้ว ซึ่งมีข้อดีกว่ามาตรฐานแบบเดิมๆ อย่าง M.2 SATA 3 ก็คือ ในเรื่องของความเร็วที่มากกว่าเป็น 2 – 3 เท่าตัว ช่วยในเรื่องของความเร็วระบบโดยรวมของการใช้งานทั่วไป รวมไปถึงกรณีที่โอนไฟล์ไปมาในเครื่องก็มีความรวดเร็วทันที อีกทั้งกรณีที่เราเชื่อมต่อด้วย Thunderbolt 3 แล้วคัดลอกไฟล์ไปมากับ External Storage ก็ลื่นไหลไม่มีหน่วง อย่างไรด็ตามสำหรับโน๊ตบุ๊ครุ่นเริ่มต้นราคาไม่แพงมากช่วงราคาไม่ถึงหมื่นบาทหรือหมื่นกว่าบาท ยังคงเป็น M.2 SATA 3 อยู่

MSI GT76 Titan Review NBS 123

Advertisement

ซึ่งที่ผ่านมาเชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหาซื้อโน๊ตบุ๊คมาซักพัก ที่ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าหน่อยประมาณ 2 – 3 ปีนี้ แล้วอยากหาซื้อ SSD M.2 มาใส่อัพเกรดเพิ่ม แต่ไม่รู้ไม่แน่ใจว่าจะซื้อมาตรฐานไหนดี ซึ่งในตลาดปัจจุบันที่มีขายจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ มาตรฐาน SATA 3 ที่สามารถใช้ได้ทุกเครื่องที่รองรับ M.2 และมาตรฐาน NVMe PCIe ที่ใส่ได้เฉพาะรุ่นใหม่ๆ และไม่ได้รองรับทุกเครื่อง โดยในบทความนี้จะมาแนะนำวิธีตรวจสอบดูว่าโน๊ตบุ๊คของเรารองรับแบบไหนไปดูกัน จะได้ไปหาซื้อ SSD มาใช้ให้ถูกมาตรฐานของตัวเครื่องนั้นๆ นั่นเอง

1. แกะฝาหลังตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คออกมาดูเอง

แน่นอนว่าถ้าอยากให้ชัวร์ที่สุดก็ต้องแกะเครื่องออกมาดู ซึ่งส่วนใหญ่โน๊ตบุ๊คตั้งแต่ปี 2016 หรือที่ใช้ CPU Intel Gen 6 ขึ้นไป จะรองรับทั้งมาตรฐาน SATA 3 และ NVMe PCIe เลย โดยตัวเครื่องโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆ จะมีโอกาสที่เป็นเป็นพอร์ต M.2 มาตรฐาน Combo ใส่ได้ทั้ง SATA 3 และ NVMe PCIe ในช่องเดียว แต่ก็จะมีบางรุ่นที่พอร์ต M.2 จะรองรับเฉพาะ M.2 SATA 3 หรือ M.2 NVMe PCIe เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งตามภาพด้านล่างนี้เราจะเห็นถึงหน้าตา SSD ของ 2 มาตรฐานที่แตกต่างกันด้วย

M.2

2. เช็คหน้าสเปคจากทางแบรนด์ผู้ผลิตโน๊ตบุ๊ค

เป็นหนึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดและไม่ต้องแกะเครื่องคือเข้าเว็บไซต์ของผู้ผลิตของแบรนด์โน๊ตบุ๊คเองเลย ซึ่งหลักๆ แล้วก็จะมีบอกว่ารองรับหรือไม่รองรับ อย่างตามภาพด้านล่างนี้จะเป็น MSI GT76 Titan ที่เห็นว่าจะมีช่องใส่ SSD M.2 ถึง 3 ช่องด้วยกัน โดยแบ่งเป็นมาตรฐาน NVMe PCIe อย่างเดียวที่ 1 ช่อง ส่วน Combo ที่เป็น NVMe PCIe / SATA 3 อีก 2 ช่องด้วยกัน

ssd m.2 nvme

3. ให้ร้านหรือศูนย์บริการช่วยตรวจสอบ

2 ข้อแรกที่แนะนำไปเราสามารถทำได้ด้วยตนเอง ซึ่งมาถึงจุดนี้แล้วถึงแม้ว่าโน๊ตบุ๊คจะรองรับ SSD M.2 NVMe PCIe แล้วก็จริง ก็ใช่ว่ากรณีที่เราซื้อ SSD M.2 NVMe PCIe รุ่นที่ต้องการมาแล้ว แล้วจะใส่ได้ทุกยี่ห้อทุกแบรนด์ แนะนำถ้าให้เอาแน่นอนที่สุด ยกโน๊ตบุ๊คไปร้านที่เราซื้อ SSD หรือศูนย์บริการแล้วให้ร้านหรือศูนย์บริการแกะใส่ให้เลยจะดีที่สุด (แนะนำให้เลือกยี่ห้อที่ได้มาตรฐาน มีประกันชัดเจน) อย่างน้อยที่สุดร้านนั้นๆ ก็จะช่วยเลือก ช่วยหา SSD ที่ลงตัวเหมาะสมที่สุดได้

MSI Promotion Commart Joy 2019 4

ข้อควรรู้และระมัดระวัง

  • SSD M.2 SATA 3 ใส่ได้กับโน๊ตบุ๊คเครื่องที่เป็นมาตรฐาน SSD M.2 เท่านั้น ไม่สามารถที่จะใส่ NVMe PCIe ได้เลย เพราะฟอร์มคนละหน้าตา
  • อย่าลืมอัปเดต BIOS โน๊ตบุ๊คให้เป็นรุ่นล่าสุดเสมอ เพื่อให้รองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆ และแก้บัคต่างๆ (บางครั้งใส่ SSD m.2 NVMe PCIe ตัวนี้ไม่ได้ พออัป BIOS แล้วใส่ได้เฉยก็มี)
Click to comment
Advertisement

บทความน่าสนใจ

REVIEW

Kingston NV3 2TB ความจุเยอะ อ่านเขียนไว ตอบโจทย์คนทำงาน คอเกมและครีเอเตอร์ Kingston NV3 เป็น SSD M.2 NVMe รุ่นใหม่ล่าสุด ออกแบบมาเพื่อผู้ใช้งานเริ่มต้นกับ SSD M.2 ไม่ว่าจะเป็นบนคอมพิวเตอร์พีซี โน๊ตบุ๊ค ในชีวิตประจำวัน กับความจุที่มากสุดถึง 2TB ทำให้รองรับได้ทั้งการติดตั้งระบบปฏิบัติการ ไปจนถึงการลงโปรแกรม...

REVIEW

SanDisk Desk Drive SSD 8TB เก็บข้อมูลเร็ว ความจุเยอะสะใจ จะไฟล์ใหญ่หรือจำนวนมาก ก็จบได้ในตัว Sandisk Desk Drive SSD 8TB เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงในแบบ SSD ระดับมืออาชีพ ให้ความจุมากถึง 8TB มากกว่า SSD หรือ HDD ในแบบต่อภายนอก...

PR-News

ADATA นำเสนอนวัตกรรมใหม่ในปี 2024 ภายใต้แนวคิด “Innovate Today, Embrace Tomorrow” บริษัท เอดาต้า เทคโนโลยี จำกัด ผู้นำด้านแบรนด์โมดูลหน่วยความจำ และความจำแฟลชระดับโลก ได้ร่วมทีมกับแบรนด์เกมมิ่ง XPG และแบรนด์หน่วยความจำสำหรับงานอุตสาหกรรม ADATA Industrial ในงาน Computex Taipei 2024 ระหว่างวันที่...

CONTENT

ประกอบ External SSD ด้วยตัวเองปี 2024 ทำได้ง่ายนิดเดียว เลือกของได้เองถูกใจ ประหยัดค่าใช้จ่าย External SSD เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอกแบบที่นำไปใช้ต่อกับคอม ซึ่งได้รับความนิยมสูงขึ้นมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยความจุต่อราคาที่ถูกลง รวมถึงความแพร่หลายของอุปกรณ์ที่มีให้เลือกมากขึ้น โดยหนึ่งในแนวทางที่น่าสนใจก็คือการหา SSD และกล่อง enclosure box มาเพื่อประกอบ external เอง แต่จากการที่ SSD...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

บันทึก