หลายคนคงได้รู้จัก CULV กันไปแล้ว แน่นอนครับ ผมเชื่อว่าหลายคนสงสัยแน่นอน ในเมื่อซีพียูตระกูล ATOM มีอยู่แล้ว จะยังมี CULV ออกมาทำไมให้ซ้ำซ้อน ทั้งๆที่ ATOM ก็ประหยัดพลังงาน ใช้ได้ที 5-6 ชั่วโมงอยู่แล้ว ก็แน่ล่ะครับ มันเป็นหนทางที่จะดูดเงินจากกระเป๋าเราได้ดีทีเดียว หุหุหุ
ATOM ก็อาจจะถือว่าเป็น CPU แบบ ULV (Ultra Low Voltage) ได้ครับ เนื่องจากการใช้พลังงานที่ค่อนข้างต่ำ เหมาะกับการนำมาใช้งานบนเน็ตบุ๊ค ที่เหมาะกับการใช้งานจากแบตเตอรี่ ประหยัดพลังงาน และความร้อนน้อยลงด้วยครับ โดยเฉพาะ ATOM รุ่นยอดนิยมที่โผล่ออกมาจาก Intel อย่าง ATOM N270 และ N280 แล้ว ประสิทธิภาพถือว่าอยู่ในระดับที่ดีทีเดียว
เราจะมาดู Spec ของ ATOM N270 ,N280 และ ซีพียู แบบ CULV บางรุ่นกันครับ
Model |
Clock Speed (GHz) |
FSB (MHz) |
L2 (MB) |
TDP (W) |
HD Boost |
Core 2 Duo | |||||
SU9600 | 1.6 | 800 | 3 | 10 | Ok |
SU9400 | 1.4 | 800 | 3 | 10 | Ok |
Core 2 Solo | |||||
SU3500 | 1.4 | 800 | 3 | 5.5 | Ok |
Pentium Dual Core | |||||
SU2700 | 1.3 | 800 | 2 | 10 | – |
Celeron (Single Core) | |||||
723 | 1.2 | 800 | 1 | 10 | – |
สเปกของ Intel Atom N280
Core Frequency: 1.66GHz
Front Side Bus: 667MHz
Cache: 512 KB
Code Name: Daimonville
Number of Cores: 1
Technology: 45 nm
Core Voltage: 0.9V-1.162V
Max TDP: 2.5 Watts
Chipset: Intel GN40
Socket: PBGA437
ราคา: 2100-2275 บาท
สเปกของ Intel Atom N270
Core Frequency: 1.60GHz
Front Side Bus: 533MHz
Cache: 512 KB
Code Name: Daimonville
Number of Cores: 1
Technology: 45 nm
Core Voltage: 0.9V-1.162V
Max TDP: 2.5 Watts
Chipset: Intel GN40
Socket: PBGA437
ราคา: 1500-1750 บาท
พูดถึง CPU ประหยัดพลังงาน สิ่งแรกที่เราน่าจะพิจารณาเลย คงจะเป็น TDP หรือค่าการใช้พลังงานครับ เราจะเห็นได้ว่า ยังไงก็แล้วแต่ CULV ที่โฆษณานักหนาว่ากินไฟน้อย มันก็ยังน้อยไม่เท่า ATOM อยู่ดีล่ะครับ เพราะสเปค 2 ตัวที่เรายกมาเป็นตัวอย่าง ATOM ยังคงใช้พลังงานเพียงแค่ 2.5 w ขณะที่ CULV ใช้พลังงานตั้งแต่ 5.5 w ? 10 w
เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพคร่าวๆ จากสเปคที่ให้มา ก็คงต้องบอกว่า ATOM เป็นรอง CULV อยู่พอสมควรเลยครับ ตั้งแต่ FSB ที่ ATOM จะอยู่ที่ 533-667 MHz แต่ CULV อยู่ที่ 800 MHz และ L2 Cache ของ ATOM ทั้ง 2 รุ่นนั้นมีอยู่เพียง 512 K เมื่อเทียบกับ CULV ที่มีตั้งแต่ 1-3 MB แล้ว แน่นอนครับ เทียบกันไม่ติด จึงไม่แปลกอะไรที่ CULV จะกินพลังงานมากกว่า ATOM อยู่พอสมควร
จากโน๊ตบุ๊คในตลาดตอนนี้ เราจะเห็นได้ว่า CPU แบบ CULV ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่โน๊ตบุ๊คในขนาดที่อยู่ระหว่างเน็ตบุ๊คกับโน๊ตบุ๊ค ซึ่งในระดับเดียวกันนี้ เราจะเห็น CPU จากค่าย AMD? ออกมาอีกตัว ซึ่งก็คือ Athlon Neo ครับ รายละเอียดทางเทคนิคของ Athlon Neo ก็จะมีดังต่อไปนี้
AMD Athlon Neo MV-40
Model: MV-40
OPN Tray: AMGMV40OAX4DX
OPN PIB: N/A
Operating Mode: 32 Bit และ 64 Bit
Frequency (MHz): 1600
System Bus Speed (MHz): 1600
TDP: 15 W
L2 Cache Size: 512 KB
Process Technology: 65nm SOI
Package/Infrastructure Socket: ASB1
ส่วนตัวผมรู้สึกว่า AMD ไม่ค่อยทุ่มมากับ CPU ในระดับนี้เท่าไหร่ แรกเริ่มทีเดียว Athlon Neo เป็น CPU ที่ถูกสร้างมาใช้กับโน๊ตบุ๊คในพิกัดที่อยู่ระหว่างเน็ตบุ๊คกับโน๊ตบุ๊คครับ ซึ่งก็พิกัดเดียวกับ CULV ในปัจจุบันนั่นเอง แต่เมื่อดูรายละเอียดทางเทคนิคของ Athlon Neo แล้ว ก็ต้องบอกว่า ไม่ได้ดีไปกว่า ATOM สักเท่าไหร่เลย รวมถึงการใช้พลังงาน ที่สูงกว่าทั้ง ATOM และ CULV อีกด้วย คือ 15 W ดังนั้นก็ต้องบอกว่า Athlon Neo คงยังไม่ใช่ตัวเลือกที่น่าสนใจนัก
กลับมาถึง CULV กับ ATOM กันบ้างครับ จริงอยู่ที่ในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ATOM อาจจะดูดีกว่า CULV แต่ในเรื่องของประสิทธิภาพ ทาง Intel ได้มีการเปิดเผยมาเองว่า CULV เป็น CPU ที่มีประสิทธิภาพในระดับเดียวกับซีพียูในตระกูล Core2 เดิมครับ ซึ่งแน่นอน เมื่อพิจารณาจาก L2 Cache และรายละเอียดทางเทคนิคอื่นๆ แล้ว ก็คงต้องบอกว่า CULV เหมาะกับการทำงานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงกว่า ATOM ครับ เช่น การเล่นเกมส์และกราฟฟิกในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าดูจาก Platform ของโน๊ตบุ๊คและซีพียูแล้ว ต้องบอกว่า CULV เหมาะสมกว่า ATOM ด้วยประการทั้งปวงครับ เพราะ ATOM ถูกออกแบบมาให้ใช้กับ Netbook คงไม่มีใครนำ Netbook จอเล็กกะจิดริดไปเล่นเกมส์ใช่มั้ยครับ ?
ส่วนเรื่องของการประหยัดพลังงานนั้น เฉพาะตัว CPU เราอาจจะเห็นว่า ATOM ใช้พลังงานน้อยกว่า CULV แต่ทำไม CULV บางตัวใช้งานได้ตั้ง 8 ชั่วโมง แต่ ATOM บางตัวใช้งานได้แค่ 6 ชั่วโมงเอง ซึ่งในการใช้งานจริงๆ? นั้น ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆด้วยครับ ไม่ว่าจะแป็นแบตเตอรี่ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ และลักษณะการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนครับ ดังนั้นแล้ว ผู้ผลิตจะคำนวณระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ยของ CULV และ ATOM มาใกล้เคียงกัน เพราะการใช้งานที่แตกต่างกันและอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงคุณภาพของแบตเตอรี่ที่แตกต่างกันด้วยนั่นเอง ส่วนเรื่องความร้อนโน๊ตบุ๊คที่ใช้ซีพียู ATOM เน้นการออกแบบตัวเครื่องที่ค่อนข้างเล็ก กะทัดรัด ระบบระบายความร้อนดี และตัวซีพียูเองถูกพิกัดน้ำหนักมาเพื่อใช้งานทั่วๆไป เรื่องความร้อนจึงไม่น่าเป็นห่วง ส่วน CULV มีเทคโนโลยี Intel Laminar Wall Jet ที่ทำให้การระบายความร้อนมีประสิทธิภาพ จึงไม่ต้องพึ่งพาฮีตซิงค์ใหญ่โต ถึงจะใช้งานหนักยังไง เทคโนโลยีนี้ก็จะช่วยในเรื่องของการระบายความร้อนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เรื่องความร้อนก็คงไม่ใช่ปัญหาของ CULV ด้วยเช่นกัน
บทสรุปของ CPU ทั้ง 3 ตัวนี้ คงจะได้ว่า
- AMD Athlon Neo Peocessor ยังดูไม่น่าสนใจเมื่อเทียบกับ CULV และ ATOM เพราะ Athlon Neo ถูกกำหนดพิกัดมาชนกับ CULV โดยเฉพาะ แต่เมื่อดูรายละเอียดทางเทคนิคแล้ว ยังคงไม่แตกต่างกับ ATOM มากนัก
- ATOM เหมาะกับการใช้งานที่ไม่หนักมาก พิมพ์งาน เล่นอินเตอร์เน็ต ดูหนังทั่วๆไป ไม่เหมาะกับการใช้งานค่อนข้างหนักอย่างเล่นเกมส์ ทำงานกราฟฟิกเบื้องต้น ซึ่งงานตรงนั้น ควรจะเป็นหน้าที่ของ CULV มากกว่า เนื่องจากรายละเอียดทางเทคนิคที่สูงกว่านั่นเอง
- การออกแบบตัวโน๊ตบุ๊คที่ใช้ ซีพียู ATOM และ CULV ผู้ผลิตส่วนใหญ่จะออกแบบต่างกันอยู่แล้ว ดังนั้น ระยะเวลาการใช้งานเฉลี่ยของเครื่องอาจไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ของผู้ผลิตด้วย ผู้ซื้อจึงควรที่จะตรวจสอบรายละเอียดตัวเครื่องก่อนการตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
** สรุปตารางเปรียบเทียบ SPEC และ Performance
ที่มา: notebookcheck.net, hwbot.org, tomhardware.com, notebookspec.com